คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ม. 24 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2503/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาโครงการกิจการของรัฐที่ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ร่วมงานฯ ทำให้สัญญาและคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะ
กิจการจำหน่ายและจ่ายรางวัลสลากบำรุงการกุศลแบบอัตโนมัติ เป็นกิจการที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ซึ่งเป็น "รัฐวิสาหกิจ" และเป็น "หน่วยงานเจ้าของโครงการ" มีอำนาจหน้าที่ที่จะกระทำได้ตาม พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 มาตรา 5 (3) เพราะเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่การดำเนินกิจการของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จึงเข้าลักษณะเป็น "กิจการของรัฐ" และเป็นกิจการที่มีเงินลงทุนหรือทรัพย์สินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป ซึ่งเข้าเกณฑ์เป็น "โครงการ" ในกิจการของรัฐตามนัยของบทนิยามความหมายต่างๆ ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 และตามข้อตกลงในสัญญาแต่งตั้งผู้แทนจำหน่ายและจ่ายรางวัลสลากบำรุงการกุศลแบบอัตโนมัติก็มีข้อตกลงในสาระสำคัญว่าผู้คัดค้านได้มอบหมายให้ผู้ร้องซึ่งเป็นเอกชนลงทุนแต่ฝ่ายเดียวโดยวิธีการอนุญาตหรือให้สิทธิที่จะดำเนินกิจการแทนผู้คัดค้านในการดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของรัฐ ซึ่งเข้าบทนิยามความหมายของคำว่า "ร่วมงานหรือดำเนินการ" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ด้วย สัญญาแต่งตั้งผู้แทนจำหน่ายและจ่ายรางวัลสลากบำรุงการกุศลแบบอัตโนมัติจึงเป็นสัญญาที่คู่สัญญาคือผู้ร้องและผู้คัดค้านจะต้องกระทำภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 เมื่อการทำสัญญาฉบับนี้มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ ทั้งขั้นตอนการเสนอโครงการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 2 มาตรา 6 ถึงมาตรา 11 ตลอดจนขั้นตอนในส่วนของวิธีการดำเนินโครงการภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วตามความในหมวด 3 ตั้งแต่มาตรา 12 ถึงมาตรา 21 สัญญาแต่งตั้งผู้แทนจำหน่ายและจ่ายรางวัลสลากบำรุงการกุศลแบบอัตโนมัติจึงกระทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 จึงเป็นสัญญาที่ไม่มีผลผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่สัญญา และย่อมส่งผลทำให้สัญญาข้อ 26 ซึ่งเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งในสัญญาแต่งตั้งผู้แทนจำหน่ายและจ่ายรางวัลสลากบำรุงการกุศลแบบอัตโนมัติอันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทโดยเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการเพื่อชี้ขาดไม่มีผลบังคับใช้ไปด้วย ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ฉบับลงวันที่ 4 ธันวาคม 2543 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาดจึงเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้น กรณีย่อมเข้าเกณฑ์ตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ที่ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการให้จึงเป็นการพิพากษารับบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 24 วรรคหนึ่ง ของ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 และเนื่องจาก พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 เป็นบทกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ให้การลงทุนในกิจการของรัฐที่มีวงเงินลงทุนสูงไม่ตกอยู่ภายใต้การพิจารณาของบุคคลผู้เดียวหรือหน่วยงานเดียว เพื่อประโยชน์โดยรวมของประเทศชาติ ซึ่งเป็นบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน กรณีจึงต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 26 (2) แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 และมาตรา 45 (2) แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ผู้คัดค้านมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อคืนที่ดินเช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ราคาซื้อขายต้องเป็นไปตามราคาตลาด
ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา9(1)เพียงแต่กำหนดว่าในการพิจารณาเรื่องอันเกี่ยวกับการเช่าในเขตหมู่บ้านใดให้ผู้ใหญ่บ้านแห่งหมู่บ้านนั้นเป็นกรรมการด้วยเท่านั้นฉะนั้นหากการประชุมมีกรรมการประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดตามมาตรา18วรรคหนึ่งการประชุมก็ชอบด้วยกฎหมายแล้ว คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่ให้โจทก์ซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคาที่ล.ขายให้ส.ไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งเพราะโจทก์มีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคาที่จำเลยซื้อไว้จากส.หรือตามราคาตลาดในขณะที่มีการซื้อขายกัน แม้พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2525จะบัญญัติในมาตรา56วรรคสองว่าคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์ตามมาตรา56วรรคหนึ่งให้เป็นที่สุดและในมาตรา58วรรคหนึ่งว่าในกรณีมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าวเมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลในการพิจารณาของศาลให้ถือว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาตามคำวินิจฉัยดังกล่าวในกรณีนี้โดยอนุโลมซึ่งการพิจารณาพิพากษาดังกล่าวนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา221บัญญัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการคือพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530โดยมีบทบัญญัติในมาตรา24วรรคหนึ่งว่า"ในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดใดไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับข้อพิพาทนั้นหรือเป็นคำชี้ขาดที่เกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมิได้อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการที่มีผลผูกพันตามกฎหมายหรือคำขอของคู่กรณีให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้น"และในมาตรา24วรรคสองว่า"ในกรณีที่คำชี้ขาดมีความบกพร่องอันมิใช่สาระสำคัญและอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้เช่นการคำนวณตัวเลขหรือการกล่าวอ้างถึงบุคคลหรือทรัพย์สิ่งใดผิดพลาดไปศาลอาจแก้ไขให้ถูกต้องและมีคำพิพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดที่ได้แก้ไขแล้วนั้นได้"แต่ก็เห็นได้ว่าการนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบลจะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบลโดยเฉพาะในข้อที่ว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524มาตรา54วรรคหนึ่งหรือไม่มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของคชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของคชก.ตำบลหรือไม่ศาลต้องพิจารณาว่าราคาที่คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ถ้ามิใช่ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้แม้การพิพากษาดังกล่าวจะเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบลซึ่งมิใช่เป็นการแก้ไขตามมาตรา24วรรคสองของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำวินิจฉัย คชก.ตำบล: ศาลมีอำนาจตรวจสอบและแก้ไขราคาซื้อขายที่ดินตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 9(1) เพียงแต่กำหนดว่า ในการพิจารณาเรื่องอันเกี่ยวกับการเช่าในเขตหมู่บ้านใด ให้ผู้ใหญ่บ้านแห่งหมู่บ้านนั้นเป็นกรรมการด้วยเท่านั้น ฉะนั้นหากการประชุมมีกรรมการประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง การประชุมก็ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำวินิจฉัยของคชก.ตำบลที่ให้โจทก์ซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคาที่ ล.ขายให้ ส.ไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง เพราะโจทก์มีสิทธิซื้อที่นาพิพาทจากจำเลยในราคาที่จำเลยซื้อไว้จาก ส.หรือตามราคาตลาดในขณะที่มีการซื้อขายกัน
แม้ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2525จะบัญญัติในมาตรา 56 วรรคสอง ว่า คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลที่มิได้อุทธรณ์ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด และในมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ว่า ในกรณีมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว เมื่อผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลในการพิจารณาของศาลให้ถือว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการโดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโต-ตุลาการใน ป.วิ.พ.มาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาตามคำวินิจฉัยดังกล่าวในกรณีนี้โดยอนุโลม ซึ่งการพิจารณาพิพากษาดังกล่าวนี้ ป.วิ.พ.มาตรา 221บัญญัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ คือ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530 โดยมีบทบัญญัติในมาตรา 24 วรรคหนึ่งว่า "ในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดใดไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้น หรือเป็นคำชี้ขาดที่เกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมิได้อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการที่มีผลผูกพันตามกฎหมายหรือคำขอของคู่กรณีให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดนั้น" และในมาตรา 24วรรคสอง ว่า "ในกรณีที่คำชี้ขาดใดมีความบกพร่องอันมิใช่สาระสำคัญและอาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ เช่น การคำนวณตัวเลขหรือการกล่าวอ้างถึงบุคคลหรือทรัพย์สิ่งใดผิดพลาดไป ศาลอาจแก้ไขให้ถูกต้องและมีคำพิพากษาให้บังคับตามคำชี้ขาดที่ได้แก้ไขแล้วนั้นได้" แต่ก็เห็นได้ว่า การนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาบังคับตามคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล จะต้องนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดต่อสภาพความชอบด้วยกฎหมายของคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของคชก.ตำบล โดยเฉพาะในข้อที่ว่า ราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยให้ผู้รับโอนขายนาให้แก่ผู้เช่านาเป็นราคาตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 วรรคหนึ่งหรือไม่ มิใช่ข้อที่เป็นดุลพินิจเด็ดขาดของ คชก.ตำบลในการพิจารณาว่าจะบังคับตามคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาว่า ราคาที่ คชก.ตำบลวินิจฉัยเป็นราคาตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ถ้ามิใช่ ศาลย่อมพิจารณาจากพยานหลักฐานและกำหนดราคาให้ถูกต้องแล้วพิพากษาให้บังคับให้ขายตามราคาที่กำหนดไปได้ แม้การพิพากษาดังกล่าวจะเป็นการแก้ไขคำวินิจฉัยที่ถึงที่สุดของ คชก.ตำบล ซึ่งมิใช่เป็นการแก้ไขตามมาตรา24 วรรคสอง ของ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำวินิจฉัย คชก. ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากโจทก์มิได้ใช้สิทธิซื้อภายในกำหนด
ฟ้องโจทก์เป็นการร้องขอต่อศาลให้บังคับกรณีมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยหรือคำสั่งอันเป็นที่สุดของ คชก. ตำบลหรือ คชก.จังหวัด ซึ่งพ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 58 วรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการใน ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม และตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดในกรณีที่ศาลเห็นว่าคำชี้ขาดไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทนั้น เมื่อ พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 54วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ผู้เช่านาต้องใช้สิทธิซื้อนาพิพาทภายในกำหนดเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ผู้เช่านารู้หรือควรจะรู้ หรือภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่ผู้ให้เช่านาโอนมานั้นแต่ตามฟ้องปรากฏว่าจำเลยที่ 1 โอนขายนาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 27สิงหาคม 2528 และโจทก์ทั้งสองทราบเรื่องเมื่อประมาณเดือนมกราคม 2532หลังจากนั้นจึงดำเนินการยื่นเรื่องราวต่อ คชก.ตำบล เพื่อวินิจฉัยข้อพิพาท เมื่อวันที่19 มกราคม 2532 ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ทั้งสองมิได้ใช้สิทธิซื้อนาภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่จำเลยที่ 1 โอนขายนาพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ที่ชี้ขาดให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิซื้อนาพิพาทจากจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบแม้จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล เกินกำหนดเวลาตามมาตรา 56 และจำเลยที่ 2 มิได้ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก.ตำบล ศาลก็ต้องปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดของ คชก.ตำบลตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง ประกอบพ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการฯ มาตรา 24 ดังกล่าวและเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งจำเลยที่ 2 ก็ได้กล่าวแก้ในคำแก้ฎีกาด้วย ศาลฎีกาวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)