พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3479/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลายของหุ้นส่วนและการพิทักษ์ทรัพย์: หุ้นส่วนที่ออกไปแล้วต้องมีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนหุ้นส่วนที่เหลือไม่ต้องพิสูจน์
จำเลยที่ 2 และที่ 4 เคยเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนจำเลยที่ 1 แต่ได้ออกจากการเป็นหุ้นส่วนก่อนที่โจทก์จะฟ้องห้างจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลาย จำเลยที่ 2 และที่ 4 ย่อมมิใช่หุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 ในขณะโจทก์ฟ้องคดีและขณะที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาด แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีความรับผิดในฐานะของผู้เป็นหุ้นส่วนอันเกี่ยวแก่หนี้ซึ่งห้างจำเลยที่ 1 ได้ก่อให้เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกจากหุ้นส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1068 ก็ตาม แต่ถ้าโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าขณะโจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2 และที่ 4 มีหนี้สินล้นพ้นตัว ก็ไม่มีเหตุที่จะพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 และที่ 4 เด็ดขาด
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น ๆ ให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย กรณีมีเหตุที่จำเลยที่ 5 จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 5 ล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 89 อีก
จำเลยที่ 5 เป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ขณะที่โจทก์ฟ้องคดีและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อห้างจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ฟ้องทั้งห้างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนร่วมกับหุ้นส่วนอื่น ๆ ให้ล้มละลายศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 5 ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วย กรณีมีเหตุที่จำเลยที่ 5 จะต้องล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่จำเป็นต้องมีคำขอให้จำเลยที่ 5 ล้มละลายตามห้างจำเลยที่ 1 โดยอาศัยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 89 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3013/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดร่วมรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วน และการขอให้ล้มละลายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วน
เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดใดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นล้มละลายได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นหนี้สินของผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าว และผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องร่วมรับผิดในหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070,1077
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นการไต่สวนคำขอของโจทก์ฝ่ายเดียวในขั้นแรกขณะเริ่มฟ้อง และเพียงแต่ศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17ขณะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงเลยขั้นตอนที่ว่าคดีมีมูลหรือไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวเด็ดขาดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้โดยไม่ต้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวก่อน ผู้คัดค้านแสดงความจำนงต่อหุ้นส่วนอื่นขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแต่ยังมิได้แก้ไขข้อความดังกล่าวทางทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นการไต่สวนคำขอของโจทก์ฝ่ายเดียวในขั้นแรกขณะเริ่มฟ้อง และเพียงแต่ศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17ขณะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงเลยขั้นตอนที่ว่าคดีมีมูลหรือไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวเด็ดขาดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้โดยไม่ต้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวก่อน ผู้คัดค้านแสดงความจำนงต่อหุ้นส่วนอื่นขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแต่ยังมิได้แก้ไขข้อความดังกล่าวทางทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3013/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดรับผิดร่วมกับหนี้ห้างหุ้นส่วน: การขอให้ล้มละลายแม้การถอนตัวยังไม่จดทะเบียน
เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดใดแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นล้มละลายได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นหนี้สินของผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าว และผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เพราะผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องร่วมรับผิดในหนี้สินโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070, 1077
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นการไต่สวนคำขอของโจทก์ฝ่ายเดียวในขั้นแรกขณะเริ่มฟ้อง และเพียงแต่ศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17 ขณะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงเลยขั้นตอนที่ว่าคดีมีมูลหรือไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวเด็ดขาดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้โดยไม่ต้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวก่อน
ผู้คัดค้านแสดงความจำนงต่อหุ้นส่วนอื่นขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแต่ยังมิได้แก้ไขข้อความดังกล่าวทางทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้
การพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวเป็นการไต่สวนคำขอของโจทก์ฝ่ายเดียวในขั้นแรกขณะเริ่มฟ้อง และเพียงแต่ศาลเห็นว่าคดีมีมูลก็มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 17 ขณะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลาย ปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดเด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว จึงเลยขั้นตอนที่ว่าคดีมีมูลหรือไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดผู้เป็นหุ้นส่วนดังกล่าวเด็ดขาดเช่นเดียวกับห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นได้โดยไม่ต้องขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวก่อน
ผู้คัดค้านแสดงความจำนงต่อหุ้นส่วนอื่นขอถอนตัวออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแต่ยังมิได้แก้ไขข้อความดังกล่าวทางทะเบียนจึงยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดล้มละลาย: อำนาจต่อสู้คดี และการพิจารณาตามมาตรา 89 พ.ร.บ.ล้มละลาย
มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายแสดงให้เห็นชัดว่าในกรณีที่จะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างหุ้นส่วนนั้น กฎหมายได้บัญญัติกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่ไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษเมื่อปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างนั้นตามมาตรา 88 แล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างได้ และตามมาตรา 89 ให้พิจารณาต่อไปเพียงว่า ผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริงหรือไม่ถ้าปรากฏว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดล้มละลายตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริง ศาลก็มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ แล้วพิพากษาให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายไปตามห้างนั้นได้เลย เพราะหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดในหนี้สินแทนห้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจต่อสู้คดี หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้าง หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย และการฟ้องผู้ถือหุ้นไม่จำกัดความรับผิด
คำว่า "ซึ่งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน" ในพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 8(9) หมายความว่าในระหว่างการทวงถามครั้งแรกกับครั้งที่สองต้องมีระยะเวลาสามสิบวันเท่านั้น
โจทก์อาจฟ้องผู้ถือหุ้นชนิดไม่จำกัดความรับผิดให้ล้มละลายพร้อมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ โดยโจทก์ไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 89 ก่อน
โจทก์อาจฟ้องผู้ถือหุ้นชนิดไม่จำกัดความรับผิดให้ล้มละลายพร้อมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ โดยโจทก์ไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 89 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ระยะเวลาทวงหนี้ตาม พรบ.ล้มละลาย และการฟ้องผู้ถือหุ้นไม่จำกัดความรับผิด
คำว่า "ซึ่งมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน" ในพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 8(9) หมายความว่าในระหว่างการทวงถามครั้งแรกกับครั้งที่สองต้องมีระยะเวลาสามสิบวันเท่านั้น
โจทก์อาจฟ้องผู้ถือหุ้นชนิดไม่จำกัดความรับผิดให้ล้มละลายพร้อมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ โดยโจทก์ไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 89 ก่อน
โจทก์อาจฟ้องผู้ถือหุ้นชนิดไม่จำกัดความรับผิดให้ล้มละลายพร้อมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ โดยโจทก์ไม่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 89 ก่อน