คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 135

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการล้มละลายทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินทั้งหมด แม้มีหนี้ภาษีเกิดขึ้นก่อนศาลสั่งยกเลิก
ตามประมวลรัษฎากรอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ขณะเกิดมูลกรณีนี้ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคมทุกๆปีและต้องยื่นแบบรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในกำหนดดังกล่าวด้วยส่วนผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของตนทุกเดือนภาษีและต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภายในวันที่15ของเดือนถัดไปดังนี้แสดงว่ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไปส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์สำหรับปี2521และปี2522จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม2522และเดือนมีนาคม2523ตามลำดับส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์สำหรับเดือนกันยายนและตุลาคม2521ก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่15ของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน2521ตามลำดับการที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่1ได้เรียกตรวจสอบไต่สวนแล้วทำการประเมินตามแบบแจ้งการประเมินเอกสารหมายล.1ถึงล.3และแจ้งไปยังโจทก์ในภายหลังซึ่งโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วนหาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยหรือเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน แม้พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา136จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)และ(4)เอาไว้แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา135(3)และ(4)ก็เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้วลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดกรณีจึงไม่อาจนำมาตรา77ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีพฤติการณ์ฉ้อฉลภาษีหรือไม่อีกต่อไป เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายมาตรา135(3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมดซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้องจำเลยที่2ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการล้มละลายทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นหนี้สินรวมถึงหนี้ภาษีอากร แม้ศาลจะไม่ได้ระบุผลของการยกเลิกการล้มละลายไว้
ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับแก่โจทก์ขณะเกิดมูลกรณีนี้ผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในเดือนมีนาคมทุกๆปีและต้องยื่นแบบรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในกำหนดดังกล่าวส่วนผู้ประกอบการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้ามีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับของตนทุกเดือนภาษีและต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าทุกเดือนภายในวันที่15ของเดือนถัดไปแสดงว่ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของแต่ละปีได้เกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีถัดไปส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าก็ได้เกิดขึ้นแล้วทุกเดือนภาษีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาให้ยื่นแบบแสดงรายการค้ามูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ปี2521และปี2522จึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมีนาคม2522และเดือนมีนาคม2523ส่วนมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์เดือนกันยายนและตุลาคม2521ก็เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่15ของเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน2521การที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานจึงเรียกตรวจสอบไต่สวนแล้วทำการประเมินใหม่และแจ้งไปยังโจทก์โจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์นั้นเป็นเรื่องให้โจทก์ชำระค่าภาษีอากรที่เกิดขึ้นแล้วให้ถูกต้องครบถ้วนหาใช่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าดังกล่าวเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คำวินิจฉัยหรือเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไม่มูลหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและมูลหนี้ค่าภาษีการค้าของโจทก์จึงเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์เด็ดขาด แม้พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา136จะมิได้บัญญัติถึงผลของการยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)และ(4)เอาไว้แต่เมื่อพิจารณาถ้อยคำในมาตรา135(3)และ(4)เห็นได้ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายด้วยเหตุตามอนุมาตราดังกล่าวแล้วลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นหนี้สินไปทั้งหมดไม่อาจนำมาตรา77ซึ่งเป็นเรื่องผลของการปลดจากการล้มละลายมาใช้บังคับได้เมื่อปรากฏว่าศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา135(3)โจทก์จึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมดซึ่งรวมทั้งหนี้ภาษีอากรตามฟ้องด้วยจำเลยที่2ไม่มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา12

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5451/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ผู้ร้องในคดีล้มละลายและการบังคับคดีหลังยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดของจำเลยแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจำนองและการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องกระทำในคดีล้มละลายเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้นำมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ทั้งหลาย การกระทำของผู้ร้องจึงมิใช่กระทำการแทนจำเลย ซึ่งเป็นลูกหนี้และการขอเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทก็ปรากฏว่าเป็นกรณีพิพาทกันระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเท่านั้น ซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่โดยเฉพาะของผู้ร้องจะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพื่อที่จะติดตามเอาทรัพย์สินที่เคยเป็นของจำเลยกลับคืนเข้ากองทรัพย์สินของจำเลย เพื่อจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้นั้น เมื่อศาลได้ยกเลิกการล้มละลาย ผู้ร้องก็หมดอำนาจที่จะเก็บรวบรวมทรัพย์สินของจำเลย เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้อีกต่อไป แม้ว่าจำเลยหลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิขอให้บังคับในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการโอนและการจำนองให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทปฏิบัติตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการโอนและการจำนองมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความคือระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้าน เมื่อการยกเลิกการล้มละลายมีผลทำให้ผู้ร้องหมดอำนาจที่จะรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยแล้ว ก็มีผลทำให้ผู้ร้องไม่สามารถบังคับคดีต่อไปได้ หาใช่เป็นเรื่องการยกเลิกการล้มละลายจะเป็นการลบล้างคำพิพากษาหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5451/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ศาลยกเลิกการล้มละลายทำให้ผู้ร้องหมดอำนาจบังคับคดี
เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดของจำเลยแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจำนองและการโอนที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องกระทำในคดีล้มละลายเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้นำมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ทั้งหลายการกระทำของผู้ร้องจึงมิใช่กระทำการแทนจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้และการขอเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทก็ปรากฏว่าเป็นกรณีพิพาทกันระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเท่านั้นซึ่งเป็นอำนาจและหน้าที่โดยเฉพาะของผู้ร้องจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483เพื่อที่จะติดตามเอาทรัพย์สินที่เคยเป็นของจำเลยกลับคืนเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยเพื่อจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้นั้นเมื่อศาลได้ยกเลิกการล้มละลายผู้ร้องก็หมดอำนาจที่จะเก็บรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้อีกต่อไปแม้ว่าจำเลยหลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วก็ตามจำเลยก็ไม่มีสิทธิขอให้บังคับในคดีที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการโอนและการจำนองให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ คำพิพากษาที่ให้เพิกถอนการโอนและการจำนองมีผลผูกพันเฉพาะคู่ความคือระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเมื่อการยกเลิกการล้มละลายมีผลทำให้ผู้ร้องหมดอำนาจที่จะรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยแล้วก็มีผลทำให้ผู้ร้องไม่สามารถบังคับคดีต่อไปได้หาใช่เป็นเรื่องการยกเลิกการล้มละลายจะเป็นการลบล้างคำพิพากษาหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาละเลยไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ทำให้หมดสิทธิเรียกร้อง
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา27และมาตรา91เจ้าหนี้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตามจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่1เด็ดขาดเมื่อวันที่19พฤษภาคม2529ในคดีที่ ก. เป็นโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่1เป็นบุคคลล้มละลายแต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยที่1เมื่อวันที่11กันยายน2532เพราะหนี้สินของจำเลยที่1ได้ชำระเต็มจำนวนแล้วตามมาตรา135(3)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ซึ่งเป็นผลให้จำเลยที่1หลุดพ้นจากบรรดาหนี้สินทั้งปวงโจทก์จะอ้างว่าไม่ทราบว่าจำเลยที่1ถูกฟ้องคดีล้มละลายไม่ได้เพราะการฟ้องคดีล้มละลายได้กระทำโดยเปิดเผยและมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483บัญญัติบังคับไว้แล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 806/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ทำให้สิทธิในการรับชำระหนี้สิ้นสุดลง แม้ไม่ทราบการฟ้องล้มละลาย
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และมาตรา 91 เจ้าหนี้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตามจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย-ที่ 1 เด็ดขาดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2529 ในคดีที่ ก. เป็นโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลล้มละลาย แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2532 เพราะหนี้สินของจำเลยที่ 1 ได้ชำระเต็มจำนวนแล้วตามมาตรา 135 (3) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งเป็นผลให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นจากบรรดาหนี้สินทั้งปวง โจทก์จะอ้างว่าไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องคดีล้มละลายไม่ได้ เพราะการฟ้องคดีล้มละลายได้กระทำโดยเปิดเผย และมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 บัญญัติบังคับไว้แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ผู้ได้รับชำระหนี้มีสิทธิขอให้ยกเลิกการล้มละลายได้ตามกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ที่ศาลสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วก็มีสิทธิขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 135

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ไม่ช่วยดำเนินการล้มละลาย ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 135
เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และเจ้าหนี้อื่นไม่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และรับผิดในบรรดาค่าธรรมเนียมค่าเสียหาย หรือค่าใช้จ่ายในคดีล้มละลายและไม่มีเจ้าหนี้อื่นเต็มใจกระทำการดังกล่าวภายในกำหนด1 เดือน นับแต่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ขัดขืนละเลยนั้น แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมเงินเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยบ้างแล้ว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพียงแต่ขอให้ศาลสั่งปิดคดีก็ตาม ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ศาลสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ก็มีสิทธิขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 135

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังยกเลิกการล้มละลาย และผลกระทบต่อการจัดการทรัพย์สิน
เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายเนื่องจากหนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวน โดยบุคคลภายนอกเป็นผู้ชำระแทนจำเลย และคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว ลูกหนี้ผู้ล้มละลายย่อมหลุดพ้นจากการล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมหมดอำนาจในการจัดการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายทั้งนี้โดยไม่ต้องคำนึงว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะได้ประกาศโฆษณาคำสั่งยกเลิกการล้มละลายในราชกิจจานุเบกษาแล้วหรือไม่ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุดอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้แล้วผู้ร้องจึงไม่อาจขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดหรือระงับการจ่ายเงินที่บุคคลภายนอกนำมาชำระหนี้แทนจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 588/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ศาลยกฟ้องหากเจ้าหนี้หมดสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลายเดิมแล้ว
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายจนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว แต่โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อเกินกำหนดเวลา โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะเรียกร้องจากจำเลยในคดีล้มละลายได้และปรากฏว่าคดีดังกล่าวมีเจ้าหนี้รายเดียวยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา แต่ก็ถอนคำขอรับชำระหนี้ไป ศาลจึงสั่งยกเลิกการล้มละลาย การที่โจทก์นำมูลหนี้รายเดียวกันมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายเป็นคดีนี้อีก จึงถือได้ว่าเป็นเหตุที่ไม่สมควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลต้องยกฟ้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ตอนท้าย
of 4