คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 180

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2548/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ต้องระบุรายละเอียดสำคัญของคดีอาญาเดิม เพื่อให้ศาลพิจารณาเรื่องอายุความได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาคดีก่อน โดยเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า "เมื่อประมาณต้นเดือนมีนาคม 2515 ข้าพเจ้าจึงได้ทราบเรื่องว่า จำเลยหมิ่นประมาทข้าพเจ้า" และเบิกความในชั้นพิจารณาว่า "ข้าพเจ้ามารู้แน่ชัดว่าจำเลยร้องเรียนข้าพเจ้าไปยังกรมสรรพากรเอาต้นเดือนมีนาคม 2515" ซึ่งความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี ถ้าเบิกความไปตามความจริงแล้ว คดีดังกล่าวย่อมขาดอายุความ ดังนี้ ความจริงเป็นอย่างไร โจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง ทั้งเมื่ออ่านคำฟ้องโดยตลอดแล้วก็ไม่อาจอนุมานเอาได้ นอกจากนั้นเมื่อโจทก์อ้างว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีก่อนโจทก์ก็ต้องบรรยายฟ้องพอให้เห็นความสำคัญนั้นๆด้วย การที่โจทก์กล่าวแต่เพียงว่า ถ้าจำเลยเบิกความตามความจริงแล้ว คดีจะขาดอายุความ โดยมิได้กล่าวให้ปรากฏในคำฟ้องคดีนี้ว่าคดีอาญาคดีก่อนเป็นคดีที่ใครฟ้องใคร ด้วยข้อหาอะไร เช่นนี้ ศาลย่อมไม่อาจพิเคราะห์ได้ว่าวัน เดือน ปี ตามคำเบิกความของจำเลยนั้นเป็นข้อสำคัญในเรื่องอายุความของคดีอาญาคดีก่อนหรือไม่ ทั้งคำฟ้องของโจทก์จะต้องสมบูรณ์อยู่แล้วโดยศาลไม่จำต้องไปตรวจดูสำนวนคดีอื่นที่โจทก์อ้างถึงเอาเองก่อนฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จในคดีจัดการมรดก: ประเด็นสำคัญไม่ใช่จำนวนทายาทหรือทรัพย์สิน
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกประเด็นในคดีมีว่า ผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลหรือไม่ มีเหตุที่จะแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 และผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1718 หรือไม่ส่วนที่ว่าเจ้ามรดกมีทายาทกี่คน ทรัพย์มรดกมีเท่าไรนั้นมิใช่ข้อสำคัญในคดี ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะเบิกความเกี่ยวกับจำนวนทายาทหรือแสดงหลักฐานทรัพย์มรดกไม่ตรงต่อความจริงไปบ้าง ก็ไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177,180
คดีฟ้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดกประเด็นในคดีอยู่ที่ว่าผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามกฎหมายหรือไม่ซึ่งหน้าที่ผู้จัดการมรดกนี้เริ่มต้นแต่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งตามมาตรา 1716 ดังนั้น แม้ผู้จัดการมรดกจะเบิกความเท็จในคดีดังกล่าวว่าไม่รู้ตัวทายาทของเจ้ามรดกบางคนในขณะที่ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี จึงไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จในคดีผู้จัดการมรดก: ประเด็นสำคัญของคดีไม่ใช่จำนวนทายาทหรือทรัพย์สิน
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นในคดีมีว่าผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลหรือไม่ มีเหตุที่จะแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 และผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1718 หรือไม่ ส่วนที่ว่าเจ้ามรดกมีทายาทกี่คน ทรัพย์มรดกมีเท่าไรนั้นมิใช่ข้อสำคัญในคดี ดังนั้นแม้ผู้ร้องจะเบิกความเกี่ยวกับจำนวนทายาทหรือแสดงหลักฐานทรัพย์มรดกไม่ตรงต่อความจริงไปบ้าง ก็ไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จหรือแสดงหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177, 180
คดีฟ้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดกประเด็นในคดีอยู่ที่ว่า ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งหน้าที่ผู้จัดการมรดกนี้เริ่มต้นแต่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งตามมาตรา 1716 ดังนั้น แม้ผู้จัดการมรดกจะเบิกความเท็จในคดีดังกล่าวว่าไม่รู้ตัวทายาทเจ้ามรดกบางคนในขณะที่ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีจึงไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1474/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบกันทำสัญญากู้เท็จเพื่อหลอกลวงเจ้าหนี้และเบิกความเท็จในชั้นศาล มีความผิดทางอาญา
จำเลยที่ 1 แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำเลยที่ 2 อันไม่เป็นความจริงย่อมมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้รับสมอ้างเป็นเจ้าหนี้ ถือว่าได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
ในการพิจารณาคำขอเฉลี่ยทรัพย์ จำเลยทั้งสองเบิกความว่ามีหนี้สินต่อกัน อันเป็นความเท็จ จึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จและจำเลยที่ 2 ผู้อ้างอิงสัญญากู้เป็นพยานหลักฐาน มีความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จอีกด้วย
โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษา เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้เบิกความเท็จ และนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1474/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบกันสร้างหนี้เท็จเพื่อโกงเจ้าหนี้และการเบิกความเท็จต่อศาล
จำเลยที่ 1 แกล้งให้ตนเองเป็นหนี้จำเลยที่ 2 อันไม่เป็นความจริง ย่อมมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้รับสมอ้างเป็นเจ้าหนี้ ถือว่าได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
ในการพิจารณาคำขอเฉลี่ยทรัพย์ จำเลยทั้งสองเบิกความว่ามีหนี้สินต่อกัน อันเป็นความเท็จ จึงมีความผิดฐานเบิกความเท็จ และจำเลยที่ 2 ผู้อ้างอิงสัญญากู้เป็นพยานหลักฐาน มีความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จอีกด้วย
โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษา เป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้เบิกความเท็จ และนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1718/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาฐานนำสืบพยานหลักฐานเท็จต้องมีผู้เสียหายโดยตรงและเอกสารเท็จต้องถูกนำสืบต่อศาล
เดิม จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ ร. ตามคำพิพากษา โจทก์เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ระหว่างอุทธรณ์ ต่อมาคดีถึงที่สุดร. ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 และของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3ผู้รับมอบอำนาจได้ร้องขัดทรัพย์ที่ยึดของจำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 2 ซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยมีหนังสือสัญญาซื้อขาย แต่ก่อนที่จะมีการพิจารณาคดีมูลกรณีจะเป็นเอกสารผู้ร้องขัดทรัพย์ได้ถอนคำร้องขัดทรัพย์ และร. ได้ถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แม้หนังสือสัญญาซื้อขายนั้นอันเป็นเอกสารเท็จ แต่จำเลยยังไม่ทันได้อ้างต่อศาลในการพิจารณาคดีร้องขัดทรัพย์ ทั้งในคดีร้องขัดทรัพย์นั้น โจทก์หาได้เป็นคู่ความด้วยไม่ โจทก์จึงยังไม่ได้รับความเสียหาย ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 180 ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 103/2496)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1718/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาฐานนำสืบพยานหลักฐานเท็จ ต้องเสียหายโดยตรงและเป็นคู่ความในคดี
เดิม จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ ร. ตามคำพิพากษา โจทก์เข้าเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ระหว่างอุทธรณ์ ต่อมาคดีถึงที่สุด ร. ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 และของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันเพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3ผู้รับมอบอำนาจได้ร้องขัดทรัพย์ที่ยึดของจำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 2 ซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยมีหนังสือสัญญาซื้อขาย แต่ก่อนที่จะมีการพิจารณาคดีผู้ร้องขัดทรัพย์ได้ถอนคำร้องขัดทรัพย์ และ ร. ได้ถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 แม้หนังสือสัญญาซื้อขายนั้น อันเป็นเอกสารเท็จ แต่จำเลยยังไม่ทันได้อ้างต่อศาลในการพิจารณาคดีร้องขัดทรัพย์ ทั้งในคดีร้องขัดทรัพย์นั้น โจทก์หาได้เป็นคู่ความด้วยไม่ โจทก์จึงยังไม่ได้รับความเสียหาย ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 180 ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 103/2496)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาฐานแจ้งข้อความเท็จต่อศาล กรณีหลักประกันคดีแพ่งที่ไม่เป็นจริง
จำเลยแพ้คดีแพ่งในชั้นอุทธรณ์ จึงฎีกาและร้องขอทุเลาการบังคับในระหว่างฎีกา ศาลมีคำสั่งให้หาหลักประกันในราคา 8 ล้านบาท ถ้าศาลพอใจหลักทรัพย์ก็ให้ทุเลาการบังคับ จำเลยเสนอหลักทรัพย์โดยตีราคามาให้พอแก่ราคาหลักประกันที่ศาลต้องการ แต่หลักทรัพย์นั้นมีใบหุ้นของบริษัทร้างซึ่งจำเลยรู้ดีว่าไม่มีมูลค่าแล้ว และมีโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยตีราคามาสูงเกินความจริงไปมากทำให้ศาลหลงเชื่อรับไว้เป็นหลักประกัน และอนุญาตให้ทุเลาการบังคับ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ในคดีแพ่งนั้นได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องคดีอาญาในความผิดดังกล่าวนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาจากการแจ้งข้อมูลเท็จต่อศาลเพื่อทุเลาการบังคับคดี ทำให้เจ้าหนี้เสียหาย
จำเลยแพ้คดีแพ่งในชั้นอุทธรณ์ จึงฎีกาและร้องขอทุเลาการบังคับในระหว่างฎีกา ศาลมีคำสั่งให้หาหลักประกันในราคา 8 ล้านบาท ถ้าศาลพอใจหลักทรัพย์ก็ให้ทุเลาการบังคับ จำเลยเสนอหลักทรัพย์โดยตีราคามาให้พอแก่ราคาหลักประกันที่ศาลต้องการ แต่หลักทรัพย์นั้นมีใบหุ้นของบริษัทร้างซึ่งจำเลยรู้ดีว่าไม่มีมูลค่าแล้ว และมีโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยตีราคามาสูงเกินความจริงไปมากทำให้ศาลหลงเชื่อรับไว้เป็นหลักประกัน และอนุญาตให้ทุเลาการบังคับ ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ในคดีแพ่งนั้นได้รับความเสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องคดีอาญาในความผิดดังกล่าวนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
การเบิกความหรือนำสืบแสดงพยานหลักฐานต่อศาลในการพิจารณาไต่สวนเพื่อมีคำสั่งอันเกี่ยวกับการนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ ถ้าคำเบิกความ หรือพยานหลักฐานที่นำสืบแสดงเป็นความเท็จและเป็นข้อสำคัญในประเด็นของเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยสั่งในการพิจารณาส่วนนั้น ก็ย่อมจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ นำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 และมาตรา 180 ได้
of 8