พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17282/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษบทหนักในความผิดฐานทำไม้และล่าสัตว์ป่า ต้องพิจารณาตามลำดับโทษใน ป.อ. มาตรา 18
การพิจารณาว่ากฎหมายบทใดมีโทษหนักกว่ากันต้องถือตามลำดับที่วางไว้ใน ป.อ. มาตรา 18 และหากเป็นโทษในลำดับเดียวกันให้ถือตามบทที่มีอัตราโทษขั้นสูงกว่าเป็นเกณฑ์ เมื่อความผิดฐานร่วมกันทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง กำหนดอัตราโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง กำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท โทษจำคุกตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จึงเป็นบทหนักกว่า และเมื่อใช้บทบัญญัติที่มีโทษหนักแล้วก็ใช้บทดังกล่าวเป็นบทลงโทษแต่บทเดียว ถึงแม้บทหนักจะไม่มีโทษขั้นต่ำ แต่บทเบากว่ามีโทษขั้นต่ำ ศาลก็ชอบที่จะลงโทษตามบทที่หนักโดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำในบทที่เบากว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ลงโทษจำเลยทั้งห้าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 42 วรรคสอง (3), 54 วรรคหนึ่ง จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ vs. พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ ก. ว่า จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันทำไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยนำไม้ซึ่งแปรรูปแล้วใส่กระบะพ่วงรถไถนาเดินตามออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม้การกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าวเป็นความผิดฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, 73 วรรคหนึ่ง เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 4 (5) ให้ความหมายว่าการนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ เป็นการทำไม้ ตามนิยามคำว่า "ทำไม้" ด้วยก็ตาม แต่ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 38 ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามด้วยนั้น มิได้บัญญัติให้การนำไม้ออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามฟ้อง เป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าวดังเช่นที่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสามตามฟ้อง จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันตัดหรือโค่นต้นไม้หรือพฤกษชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 38, 54 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดตามมาตราดังกล่าว เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8275/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ติดต่อจ้างรถไถดินในเขตป่าสงวนฯ มีความผิดฐานสนับสนุนการกระทำผิด
จำเลยเป็นเพียงผู้ติดต่อหารถแทรกเตอร์ไปไถที่ดินที่เกิดเหตุเพื่อได้รับค่าตอบแทนจากเจ้าของรถแทรกเตอร์ จะถือว่าจำเลยร่วมยึดถือครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินที่เกิดเหตุหาได้ไม่ แต่จำเลยทราบว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตป่าสงวนแห่งชาติ การที่จำเลยติดต่อหารถแทรกเตอร์ไปไถที่ดินที่เกิดเหตุแม้จะทำเพื่อหวังประโยชน์ตอบแทนจากเจ้าของรถแทรกเตอร์ ก็ถือได้ว่าเป็นการให้ความช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำความผิด จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนตาม ป.อ. มาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7719/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษบทหนักตามกฎหมายอาญา: เปรียบเทียบอัตราโทษจำคุกและปรับเพื่อลงโทษบทที่หนักที่สุด
การวินิจฉัยว่าบทกฎหมายใดมีโทษหนักกว่ากันต้องถือตามลำดับที่วางไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา18ถ้าเป็นโทษในลำดับเดียวกันต้องถือบทที่มีอัตราโทษขั้นสูงกว่าเป็นเกณฑ์เมื่อพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535มาตรา54วรรคหนึ่งกำหนดอัตราโทษจำคุกไม่เกิน7ปีหรือปรับไม่เกิน100,000บาทหรือทั้งจำทั้งปรับแต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติพ.ศ.2507มาตรา31วรรคหนึ่งกำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่6เดือนถึง5ปีและปรับตั้งแต่5,000ถึง50,000บาทโทษจำคุกตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ.2535มาตรา54วรรคหนึ่งจึงเป็นบทหนักกว่าและเมื่อใช้บทบัญญัติที่มีโทษหนักแล้วก็ใช้บทดังกล่าวเป็นบทลงโทษแต่บทเดียวถึงแม้บทหนักจะไม่มีโทษขั้นต่ำแต่บทเบากว่ามีโทษขั้นต่ำศาลก็ชอบที่จะลงโทษตามบทที่หนักโดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำในบทที่เบากว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7719/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เกณฑ์การลงโทษบทหนัก-บทเบา: ใช้บทที่มีโทษจำคุกสูงสุด แม้บทหนักไม่มีโทษขั้นต่ำ
การวินิจฉัยว่าบทกฎหมายใดมีโทษหนักกว่ากัน ต้องถือตามลำดับที่วางไว้ใน ป.อ.มาตรา 18 ถ้าเป็นโทษในลำดับเดียวกันต้องถือบทที่มีอัตราโทษขั้นสูงกว่าเป็นเกณฑ์ เมื่อ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 54วรรคหนึ่ง กำหนดอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่งกำหนดอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง50,000 บาท โทษจำคุกตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา54 วรรคหนึ่ง จึงเป็นบทหนักกว่า และเมื่อใช้บทบัญญัติที่มีโทษหนักแล้ว ก็ใช้บทดังกล่าวเป็นบทลงโทษแต่บทเดียว ถึงแม้บทหนักจะไม่มีโทษขั้นต่ำ แต่บทเบากว่ามีโทษขั้นต่ำศาลก็ชอบที่จะลงโทษตามบทที่หนักโดยไม่ต้องคำนึงถึงโทษขั้นต่ำในบทที่เบากว่า