พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: การพิพากษาเกินคำขอและข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 31 โดยดำเนินการก่อสร้างผิดไปจากเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต ซึ่งต้องระวางโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองจึงไม่เกินคำขอ
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่แก้ไขแล้วบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดให้มีหรือดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำการควบคุมการก่อสร้างอาคารโดยมิได้จัดให้มีเครื่องป้องกันวัสดุตกหล่นและฝุ่นละอองฟุ้งกระจายรอบตัวอาคารที่ก่อสร้าง อันเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต ซึ่งจำเลยทราบแล้ว พร้อมทั้งอ้างพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิด ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดครบถ้วนสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารเพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดแก่สุขภาพ ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนอีก
ที่จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องเกี่ยวกับระยะเวลาที่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่แก้ไขแล้วบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดให้มีหรือดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำการควบคุมการก่อสร้างอาคารโดยมิได้จัดให้มีเครื่องป้องกันวัสดุตกหล่นและฝุ่นละอองฟุ้งกระจายรอบตัวอาคารที่ก่อสร้าง อันเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต ซึ่งจำเลยทราบแล้ว พร้อมทั้งอ้างพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิด ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดครบถ้วนสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารเพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดแก่สุขภาพ ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนอีก
ที่จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องเกี่ยวกับระยะเวลาที่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ไม่แล้วเสร็จตามคำพิพากษาศาล และการพิสูจน์การปฏิบัติตามคำสั่ง
ศาลพิพากษาถึงที่สุดว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4,21,22,40,42,65,66 ทวิ,69,70,71เรียงกระทงลงโทษตามมาตรา 91 ฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 2 เดือนและปรับจำเลยทั้งสองคนละ 40,000 บาท และปรับอีกวันละคนละ 1,000 บาท ฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานลงโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 1 ปี และปรับจำเลยทั้งสองคนละ80,000 บาท และปรับอีกวันละคนละ 10,000 บาท รวมโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 1 ปี 2 เดือน และปรับจำเลยทั้งสองคนละ 120,000 บาท และปรับวันละคนละ 11,000 บาทจนกว่าจะรื้อถอนลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงเหลือโทษจำเลยที่ 2จำคุก 7 เดือน และปรับจำเลยทั้งสองคนละ 60,000 บาทและปรับรายวันอีกวันละคนละ 5,500 บาท นับแต่วันที่5 มิถุนายน 2538 จนกว่าจะรื้อถอน ให้รอการลงโทษ จำคุกจำเลยที่ 2 ไว้มีกำหนด 2 ปี ถ้าไม่ชำระค่าปรับ ให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29,30 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องว่า จำเลยที่ 2 ขอยื่นหลักฐาน การรื้อถอนอาคารเพื่อชำระค่าปรับตามคำพิพากษา โดยได้พยายามติดต่อขอเอกสารจากเขตราชเทวี เป็นเวลานาน แต่ไม่ได้รับความร่วมมือ จึงขอยื่นหลักฐาน เท่าที่จำเลยที่ 2 มี เป็นหลักฐานรับรองการรื้อถอนอาคาร เพื่อพิจารณา เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทุบ ผนังอาคารออกทุกด้าน รื้อบันไดเวียน ด้านหลังออก ทำให้ ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แล้ว แต่จำเลยที่ 2 ยังไม่ได้รื้อถอนส่วนที่เป็นโครงเหล็กหลังคาออก แต่เมื่อการรื้อถอนอาคารตามคำพิพากษามีความหมายว่า ต้องรื้อถอนส่วนอันเป็นโครงสร้างของอาคารที่ต่อ เกินจากทั้งหมดให้กลับสู่สภาพเดิม เมื่อปรากฏว่ายังมีโครงเหล็กหลังคาเหลืออยู่จะถือว่าจำเลยทั้งสองได้รื้อถอนเสร็จแล้วยังไม่ได้ ส่วนที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความใน พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 2 กฎกระทรวงดังกล่าวเป็นบทบัญญัติสำหรับให้ผู้จะ รื้อถอนอาคารจะต้องขออนุญาตมิใช่บทบัญญัติที่ให้ถือว่า จำเลยที่ 2 ได้รื้อถอนอาคารเสร็จแล้วแต่อย่างใดดังนี้จำเลยที่ 2 จะขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งแสดงว่าโครงเหล็กหลังคาส่วนที่เหลืออยู่ได้รื้อถอนเสร็จสิ้นไปแล้วไม่ได้ แต่เนื่องจากข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นไต่สวน มาแล้วในคดีนี้ยังไม่พอแก่การวินิจฉัยเพราะจำเลยที่ 2เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์คำสั่ง จึงชอบที่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อไต่สวนในกรณีนี้ต่อไปที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 2 ยังรื้อถอนอาคารไม่หมดนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการก่อสร้างอาคารผิดกฎหมาย แม้จะโอนกรรมสิทธิ์ไปแล้วก็ยังต้องรับผิดชอบ
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มีทั้งบทบัญญัติที่เป็นส่วนแพ่งและส่วนอาญา สำหรับบทบัญญัติในส่วนแพ่ง เช่น ขอให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารระงับการก่อสร้างหรือสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารโดยไม่ได้ขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา
สำหรับกรณีคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญาตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาท แต่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21, 65และมาตรา 42, 66 ทวิ และเป็นความผิดทางอาญาตามมาตรา 66 ทวิ วรรคสองซึ่งนอกจากต้องระวางโทษตามมาตรา 66 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินสามหมื่นบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้ การกระทำความผิดของจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงแยกได้เป็นสองส่วน ได้แก่ความรับผิดในทางแพ่ง คือ การรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างฝ่าฝืนมาตรา 21 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ตามมาตรา 42
สำหรับกรณีของจำเลยนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา โดยไม่ได้ขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นความรับผิดในทางแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยผิดกฎหมาย และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตามจำเลยจึงมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยจะได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปให้บุคคลภายนอกก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในทางอาญาของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาไปจนกว่าอาคารพิพาทจะได้มีการรื้อถอน เพราะหากยอมให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเมื่อโอนอาคารพิพาทให้แก่บุคคลภายนอก คำพิพากษาก็จะไร้ผลบังคับ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าปรับรายวันจนกว่าจำเลยจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบแล้ว
สำหรับกรณีคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทางอาญาตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โดยไม่ได้ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและรื้อถอนอาคารพิพาท แต่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21, 65และมาตรา 42, 66 ทวิ และเป็นความผิดทางอาญาตามมาตรา 66 ทวิ วรรคสองซึ่งนอกจากต้องระวางโทษตามมาตรา 66 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว ผู้ฝ่าฝืนยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกินสามหมื่นบาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนี้ การกระทำความผิดของจำเลยตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงแยกได้เป็นสองส่วน ได้แก่ความรับผิดในทางแพ่ง คือ การรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างฝ่าฝืนมาตรา 21 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ตามมาตรา 42
สำหรับกรณีของจำเลยนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา โดยไม่ได้ขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นความรับผิดในทางแพ่ง ดังนั้น เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยผิดกฎหมาย และเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตามจำเลยจึงมีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แม้จำเลยจะได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปให้บุคคลภายนอกก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในทางอาญาของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาไปจนกว่าอาคารพิพาทจะได้มีการรื้อถอน เพราะหากยอมให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเมื่อโอนอาคารพิพาทให้แก่บุคคลภายนอก คำพิพากษาก็จะไร้ผลบังคับ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระค่าปรับรายวันจนกว่าจำเลยจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการก่อสร้างผิดกฎหมาย แม้จะโอนกรรมสิทธิ์แล้ว ยังคงต้องปฏิบัติตามคำพิพากษา
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีทั้งบทบัญญัติที่เป็นส่วนแพ่งและส่วนอาญา การกระทำความผิดของจำเลยแยกได้เป็นสองส่วน คือ ความรับผิดในทางแพ่ง คือ การรื้อถอน อาคารพิพาทซึ่งก่อสร้างฝ่าฝืนมาตรา 21 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนหรือร้องขอต่อศาลให้บังคับให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยฝ่าฝืนต่อ พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯมาตรา 42 แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญา โดยไม่ได้ขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทซึ่งเป็นความรับผิดในทางแพ่ง เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทโดยผิดกฎหมายและเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยได้ทราบคำสั่งแล้วไม่ปฏิบัติตาม จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 21,65 และมาตรา 42,66 ทวิ แม้จำเลยจะได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปให้บุคคลภายนอกก็ตาม ก็ไม่ทำให้ความรับผิดในทางอาญาของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาชำระค่าปรับเป็นรายวันไปจนกว่าอาคารพิพาทจะได้มีการรื้อถอนเพราะหากยอมให้จำเลยไม่ต้องรับผิดเมื่อโอนอาคารพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกคำพิพากษาก็จะไร้ผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: คาน, โครงสร้าง, และอำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่น
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มิได้ให้บทนิยามอธิบายความหมายของคำว่า โครงสร้างอาคาร ไว้ แต่เมื่อพิจารณาความหมายในทางวิศวกรรมก่อสร้างและเจตนารมณ์ตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้แล้ว โครงสร้างอาคารหมายถึงส่วนประกอบที่สำคัญของอาคารซึ่งได้แก่ ฐานราก เช่น คานคอดิน ตอม่อเสา หรือส่วนกลางของอาคาร เช่น คาน พื้น หรือส่วนบนของอาคาร เช่น โครงหลังคา หลังคา เป็นต้น
คานลอยแม้มิได้เชื่อมติดกับเสา แต่ก็มีไว้สำหรับรองรับน้ำหนักและกำลังต้านทานเช่นเดียวกับคานโครงสร้าง นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาคาร จึงเป็นโครงสร้างของอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522เมื่อจำเลยกระทำต่อลักษณะ ขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก หรือเนื้อที่แห่งโครงสร้างของอาคารและเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่มิให้ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2528) ข้อ 1 (1) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 และมาตรา 5 (3) การกระทำของจำเลยจึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และการที่จำเลยเปลี่ยนโครงหลังคาจากไม้เป็นเหล็ก ย่อมเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยมิได้ใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม ซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามข้อ 1 (1)แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเช่นเดียวกัน
เมื่อจำเลยดัดแปลงอาคารอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจดำเนินการมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำการดังกล่าวได้ตามมาตรา 40 (2) แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 คำสั่งห้ามของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อจำเลยฝ่าฝืนจึงเป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้ว แม้ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้มีคำสั่งให้จำเลยแก้ไขแบบแปลนและเพิ่มรายการคำนวณตามที่จำเลยแจ้งขอดัดแปลงอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 39 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 ก็ตาม ก็หาทำให้คำสั่งห้ามที่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นคำสั่งห้ามที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่
คานลอยแม้มิได้เชื่อมติดกับเสา แต่ก็มีไว้สำหรับรองรับน้ำหนักและกำลังต้านทานเช่นเดียวกับคานโครงสร้าง นับได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาคาร จึงเป็นโครงสร้างของอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522เมื่อจำเลยกระทำต่อลักษณะ ขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก หรือเนื้อที่แห่งโครงสร้างของอาคารและเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่มิให้ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2528) ข้อ 1 (1) ซึ่งออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 และมาตรา 5 (3) การกระทำของจำเลยจึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และการที่จำเลยเปลี่ยนโครงหลังคาจากไม้เป็นเหล็ก ย่อมเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยมิได้ใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม ซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามข้อ 1 (1)แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว การกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเช่นเดียวกัน
เมื่อจำเลยดัดแปลงอาคารอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจดำเนินการมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำการดังกล่าวได้ตามมาตรา 40 (2) แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 คำสั่งห้ามของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อจำเลยฝ่าฝืนจึงเป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้ว แม้ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้มีคำสั่งให้จำเลยแก้ไขแบบแปลนและเพิ่มรายการคำนวณตามที่จำเลยแจ้งขอดัดแปลงอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 39 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522 ก็ตาม ก็หาทำให้คำสั่งห้ามที่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นคำสั่งห้ามที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และการฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้ การกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มิได้ให้บทนิยามอธิบายความหมายของคำว่า โครงสร้างอาคาร ไว้แต่เมื่อพิจารณาความหมายในทางวิศวกรรมก่อสร้างและเจตนารมณ์ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ตาม โครงสร้างอาคารหมายถึงส่วนประกอบที่สำคัญของอาคารซึ่งได้แก่ ฐานราก เช่นคานคอดิน ตอม่อ เสา หรือส่วนกลางของอาคาร เช่น คานพื้น หรือส่วนบนของอาคาร เช่น โครงหลังคา หลังคา เป็นต้น คานลอยแม้มิได้เชื่อมติดกับเสา แต่ก็มีไว้สำหรับรองรับน้ำหนักและกำลังต้านทานเช่นเดียวกับคานโครงสร้างนับได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาคาร จึงเป็นโครงสร้างของอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522เมื่อจำเลยกระทำต่อลักษณะ ขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วนน้ำหนัก หรือเนื้อที่แห่งโครงสร้างของอาคารและเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่มิให้ถือว่าเป็นการตัดแปลงอาคารตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11(พ.ศ. 2528) ข้อ 1(1)ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 4 และมาตรา 5(3) การกระทำของจำเลยจึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และการที่จำเลยเปลี่ยนโครงหลังคาจากไม้เป็นเหล็ก ย่อมเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยมิได้ใช้วัสดุชนิดเดียวกับของเดิม ซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามข้อ 1(1) แห่งกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวการกระทำของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นการดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยดัดแปลงอาคารอันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจดำเนินการมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำการดังกล่าวได้ตามมาตรา 40(2) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522คำสั่งห้ามของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงชอบด้วยกฎหมายและเมื่อจำเลยฝ่าฝืนจึงเป็นการกระทำความผิดสำเร็จแล้วแม้ต่อมาเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะได้มีคำสั่งให้จำเลยแก้ไขแบบแปลนและเพิ่มรายการคำนวณตามที่จำเลยแจ้งขอดัดแปลงอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ก็ตาม ก็หาทำให้คำสั่งห้ามที่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นคำสั่งห้ามที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร กรณีฝ่าฝืนวิธีการก่อสร้างตามใบอนุญาต
จำเลยกระทำการฝ่าฝืนไม่ปฎิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ที่แก้ไขแล้วมาตรา31นอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา65วรรคหนึ่งจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับแล้วยังต้องปรับรายวันตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนตามมาตรา65วรรคสองอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับรายวันจากการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร กรณีควบคุมการก่อสร้างผิดเงื่อนไข
จำเลยกระทำการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535มาตรา 31 ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2535 จนถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2536ดังนั้น นอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งแล้ว วรรคสองของมาตราดังกล่าวยังบัญญัติให้ปรับเป็นรายวันตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนมาตรา 31 คือตลอดเวลาที่ยังควบคุมการก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากวิธีการและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร จึงต้องปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดระยะเวลาดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับรายวันกรณีการก่อสร้างผิดเงื่อนไขใบอนุญาตตาม พรบ.ควบคุมอาคาร
จำเลยกระทำการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร(ฉบับที่2)พ.ศ.2535มาตรา31ระหว่างวันที่1พฤศจิกายน2535จนถึงวันที่5สิงหาคม2536ดังนั้นนอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา65วรรคหนึ่งแล้ววรรคสองของมาตราดังกล่าวยังบัญญัติให้ปรับเป็นรายวันตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนมาตรา31คือตลอดเวลาที่ยังควบคุมการก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากวิธีการและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตก่อสร้างดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคารจึงต้องปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดระยะเวลาดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับรายวันกรณีการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา65ได้บัญญัติให้ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา21ซึ่งก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนอกจากต้องรับโทษฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้วยังจะต้องรับโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามวรรคสองอีกด้วยทั้งนี้โดยไม่ต้องปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารดังกล่าวแล้วหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา65วรรคหนึ่งเพียงประการเดียวโดยมิได้ลงโทษตามมาตรา65วรรคสองด้วยจึงยังไม่ถูกต้อง