พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับรายวันกรณีการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา65ได้บัญญัติให้ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา21ซึ่งก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนอกจากต้องรับโทษฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งแล้วยังจะต้องรับโทษปรับอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามวรรคสองอีกด้วยทั้งนี้โดยไม่ต้องปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารดังกล่าวแล้วหรือไม่ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา65วรรคหนึ่งเพียงประการเดียวโดยมิได้ลงโทษตามมาตรา65วรรคสองด้วยจึงยังไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับฐานความผิดและการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดนั้นแยกออกจากกันได้เป็น 3 กรณี กล่าวคือ จำเลยดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 22, 65 วรรคหนึ่ง กระทงหนึ่งจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง, 67 กระทงหนึ่งและจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคสอง,65 วรรคสอง อีกกระทงหนึ่ง รวมเป็นความผิด 3 กระทง ทั้งคำฟ้องของโจทก์ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดนั้นเป็นที่เห็นได้ชัดว่า ความผิดทั้ง 3 กระทง ดังกล่าวได้เกิดขึ้นต่างวาระกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ตามบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลนั้น ฟ้องข้อ 1 (ก) โจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดคือ จำเลยดัดแปลงอาคารที่พักอาศัยซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยระบุว่าอาคารที่จำเลยดัดแปลงนั้นเลขที่ 940/43 ตั้งอยู่ที่ซอยเฉลียง 1 ถนนสายบางนา - ตราด แขวงบางนา เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยเมื่อวันที่14 พฤษภาคม 2534 เวลากลางวัน จำเลยได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ขนาดกว้าง 8.90 เมตร ยาว 22.10 เมตร และขนาดกว้าง 4.50 เมตร ยาว 8.00 เมตร ต่อเนื่องกันเชื่อมกับอาคารเลขที่ดังกล่าว ส่วนฟ้องข้อ 1 (ข) และ (ค) ที่เกี่ยวกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร ตลอดจนให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40วรรคหนึ่ง และ 42 วรรคสองนั้น ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งที่ กท 9009/5082 แจ้งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร แต่เมื่อระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน 2534 ถึงวันที่ 2กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 9 วัน เมื่อระหว่างวันที่ 9กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม6 วัน และเมื่อระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 7 วัน จำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวตลอดระยะเวลารวม 22 วันและเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งที่ กท. 9009/5082แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีคำสั่งที่ กท 9009/7380 แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง โดยคำสั่งทั้งสองกรณีนั้นจำเลยได้ทราบแล้วตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2534 และวันที่ 16 สิงหาคม 2534ตามลำดับ แต่จำเลยฝ่าฝืนโดยไม่รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง ดังนี้ฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงมีรายละเอียดต่าง ๆ ครบถ้วนตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19ได้บังคับไว้เพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนจำเลยทำการดัดแปลงอาคารอย่างไร เชื่อมส่วนใดของอาคารเดิม อาคารเดิมมีชั้นเดียวหรือหลายชั้น เชื่อมชั้นใดของอาคารเดิม และจำเลยได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยวิธีใด ทั้งไม่ได้แนบหนังสือคำสั่งมาท้ายฟ้องนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม
ตามบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลนั้น ฟ้องข้อ 1 (ก) โจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดคือ จำเลยดัดแปลงอาคารที่พักอาศัยซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยระบุว่าอาคารที่จำเลยดัดแปลงนั้นเลขที่ 940/43 ตั้งอยู่ที่ซอยเฉลียง 1 ถนนสายบางนา - ตราด แขวงบางนา เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยเมื่อวันที่14 พฤษภาคม 2534 เวลากลางวัน จำเลยได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ขนาดกว้าง 8.90 เมตร ยาว 22.10 เมตร และขนาดกว้าง 4.50 เมตร ยาว 8.00 เมตร ต่อเนื่องกันเชื่อมกับอาคารเลขที่ดังกล่าว ส่วนฟ้องข้อ 1 (ข) และ (ค) ที่เกี่ยวกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร ตลอดจนให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40วรรคหนึ่ง และ 42 วรรคสองนั้น ระบุว่า เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งที่ กท 9009/5082 แจ้งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร แต่เมื่อระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน 2534 ถึงวันที่ 2กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 9 วัน เมื่อระหว่างวันที่ 9กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม6 วัน และเมื่อระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 7 วัน จำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวตลอดระยะเวลารวม 22 วันและเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งที่ กท. 9009/5082แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีคำสั่งที่ กท 9009/7380 แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง โดยคำสั่งทั้งสองกรณีนั้นจำเลยได้ทราบแล้วตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2534 และวันที่ 16 สิงหาคม 2534ตามลำดับ แต่จำเลยฝ่าฝืนโดยไม่รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง ดังนี้ฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงมีรายละเอียดต่าง ๆ ครบถ้วนตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19ได้บังคับไว้เพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนจำเลยทำการดัดแปลงอาคารอย่างไร เชื่อมส่วนใดของอาคารเดิม อาคารเดิมมีชั้นเดียวหรือหลายชั้น เชื่อมชั้นใดของอาคารเดิม และจำเลยได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยวิธีใด ทั้งไม่ได้แนบหนังสือคำสั่งมาท้ายฟ้องนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3717/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน กรณีดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน
คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับฐานความผิดและการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดนั้นแยกออกจากกันได้เป็น 3 กรณี กล่าวคือจำเลยดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 22,65 วรรคหนึ่ง กระทงหนึ่งจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง,67 กระทงหนึ่งและจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคสอง,65 วรรคสอง อีกกระทงหนึ่งรวมเป็นความผิด 3 กระทง ทั้งคำฟ้องของโจทก์ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดนั้นเป็นที่เห็นได้ชัดว่าความผิดทั้ง 3 กระทง ดังกล่าวได้เกิดขึ้นต่างวาระกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตามบันทึกคำฟ้องด้วยวาจาที่ศาลบันทึกไว้ ประกอบบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาที่โจทก์ส่งต่อศาลนั้น ฟ้องข้อ 1(ก) โจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดคือ จำเลยดัดแปลงอาคารที่พักอาศัยซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยระบุว่าอาคารที่จำเลยดัดแปลงนั้นเลขที่ 940/43 ตั้งอยู่ที่ซอยเฉลียง 1 ถนนสายบางนา-ตราดแขวงบางนา เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โดยเมื่อวันที่14 พฤษภาคม 2534 เวลากลางวัน จำเลยได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ขนาดกว้าง 8.90 เมตร ยาว 22.10 เมตร และขนาดกว้าง 4.50 เมตร ยาว 8.00 เมตร ต่อเนื่องกันเชื่อมกับอาคารเลขที่ดังกล่าว ส่วนฟ้องข้อ 1(ข)และ(ค) ที่เกี่ยวกับคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคารตลอดจนให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง และ 42 วรรคสองนั้นระบุว่า เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งที่ กท 9009/5082 แจ้งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคาร แต่เมื่อระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน 2534 ถึงวันที่ 2 กรกฎาคม 2534ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 9 วัน เมื่อระหว่างวันที่ 9 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2534 ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 6 วัน และเมื่อระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม 2534 ถึงวันที่ 25 กรกฎาคม 2534ต่อเนื่องกันตลอดมารวม 7 วัน จำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวตลอดระยะเวลารวม22 วัน และเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2534 เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งที่ กท.9009/5082 แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีคำสั่งที่ กท 9009/7380 แจ้งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลงภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง โดยคำสั่งทั้งสองกรณีนั้นจำเลยได้ทราบแล้วตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2534 และวันที่ 16สิงหาคม 2534 ตามลำดับ แต่จำเลยฝ่าฝืนโดยไม่รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง ดังนี้ฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงมีรายละเอียดต่าง ๆครบถ้วนตามที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 ได้บังคับไว้เพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนจำเลยทำการดัดแปลงอาคารอย่างไรเชื่อมส่วนใดของอาคารเดิม อาคารเดิมมีชั้นเดียวหรือหลายชั้นเชื่อมชั้นใดของอาคารเดิม และจำเลยได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยวิธีใด ทั้งไม่ได้แนบหนังสือคำสั่งมาท้ายฟ้องนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบให้ปรากฏในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-กฎหมายใหม่มีผล: ศาลแก้โทษจำคุกเป็นปรับจากบทบัญญัติควบคุมอาคารที่แก้ไข
ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรีหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มิใช่ปัญหาข้อเท็จจริงแม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 โดยเห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น จึงเป็นการไม่ชอบ ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรีเป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยการหล่อเสา คานก่ออิฐผนัง และเทพื้นหลังคาชั้นสี่ และจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าวระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน 2531 ถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2531ส่วนคดีนี้จำเลยที่ 1 กับที่ 2 ร่วมกันดัดแปลงอาคารโดยการต่อเติมขยายเพิ่มขึ้นจาก 3 ชั้น เป็น 8 ชั้น และกระทำเมื่อวันที่ 30พฤษภาคม 2534 เช่นนี้แม้อาคารที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันดัดแปลงต่อเติมคดีนี้จะเป็นหลังเดียวกันกับอาคารในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ก็เป็นคนละกรรมต่างกันกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรี ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531ของศาลแขวงธนบุรี สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) ขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีนี้มีพระราชบัญญัติควบคุบอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับ โดยมาตรา 22 และ 25 ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 และ 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ตามลำดับและให้ใช้ความใหม่แทน ปรากฎว่าบทกำหนดโทษตามมาตรา65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งมีบทกำหนดโทษผู้ดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 22 รวมอยู่ด้วยมีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่มาตรา 65 ที่แก้ไขมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนมาตรา 70 เดิม ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษให้หนักขึ้นในการกระทำความผิดอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรมมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขมีระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆอันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด อันมีทั้งเป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ดังนั้นจึงต้องนำมาตรา 70 ที่แก้ไขอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิม มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองโดยอาศัยมาตรา 70 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกด้วย แต่มาตรา 70ที่แก้ไขไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ต่างหากจากบทกำหนดโทษหลักโดยกำหนดไว้ว่า ผู้กระทำต้องระวางลงโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ และศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ฉะนั้น เมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือ มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุก คงมีแต่โทษปรับ และมาตรา 70 ที่แก้ไขมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสองจึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยทั้งสอง คงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เพียงปรับซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ & กฎหมายอาคาร: การบังคับใช้กฎหมายที่เปลี่ยนแปลงหลังการกระทำผิด
ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรีหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มิใช่ปัญหาข้อเท็จจริง แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 ก็ชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 โดยเห็นว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ในศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบ
ในคดีอาญาหมายแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรีเป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยการหล่อเสา คาน ก่ออิฐผนัง และเทพื้นหลังคาชั้นสี่ และจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าวระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน2531 ถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2531 ส่วนคดีนี้จำเลยที่ 1 กับที่ 2 ร่วมกันดัดแปลงอาคารโดยการต่อเติมขยายเพิ่มขึ้นจาก 3 ชั้น เป็น 8 ชั้น และกระทำเมื่อวันที่30 พฤษภาคม 2534 เช่นนี้แม้อาคารที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันดัดแปลงต่อเติมคดีนี้จะเป็นหลังเดียวกันกับอาคารในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ก็เป็นคนละกรรมต่างกันกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรี ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531ของศาลแขวงธนบุรี สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
ขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีนี้มี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับ โดยมาตรา 22 และ 25 ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 และ 70 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ตามลำดับและให้ใช้ความใหม่แทน ปรากฏว่าบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งมีบทกำหนดโทษผู้ดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน-ท้องถิ่นตามมาตรา 22 รวมอยู่ด้วย มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่มาตรา 65 ที่แก้ไข มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนมาตรา 70 เดิม ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษให้หนักขึ้นในการกระทำความผิดอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่มาตรา 70 ที่แก้ไข มีระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ อันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด อันมีทั้งเป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ดังนั้น จึงต้องนำมาตรา 70ที่แก้ไขอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิม มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองโดยอาศัยมาตรา 70 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกด้วย แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ต่างหากจากบทกำหนดโทษหลัก โดยกำหนดไว้ว่าผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆและศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ฉะนั้น เมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือ มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุก คงมีแต่โทษปรับ และมาตรา 70 ที่แก้ไขมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสองจึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยทั้งสอง คงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เพียงปรับซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก
ในคดีอาญาหมายแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรีเป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยการหล่อเสา คาน ก่ออิฐผนัง และเทพื้นหลังคาชั้นสี่ และจำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าวระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน2531 ถึงวันที่ 6 ธันวาคม 2531 ส่วนคดีนี้จำเลยที่ 1 กับที่ 2 ร่วมกันดัดแปลงอาคารโดยการต่อเติมขยายเพิ่มขึ้นจาก 3 ชั้น เป็น 8 ชั้น และกระทำเมื่อวันที่30 พฤษภาคม 2534 เช่นนี้แม้อาคารที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันดัดแปลงต่อเติมคดีนี้จะเป็นหลังเดียวกันกับอาคารในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 การกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในคดีนี้ก็เป็นคนละกรรมต่างกันกับการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531 ของศาลแขวงธนบุรี ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 4921/2531ของศาลแขวงธนบุรี สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์จึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
ขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีนี้มี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ใช้บังคับ โดยมาตรา 22 และ 25 ให้ยกเลิกความในมาตรา 65 และ 70 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ตามลำดับและให้ใช้ความใหม่แทน ปรากฏว่าบทกำหนดโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม ซึ่งมีบทกำหนดโทษผู้ดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน-ท้องถิ่นตามมาตรา 22 รวมอยู่ด้วย มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แต่มาตรา 65 ที่แก้ไข มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนมาตรา 70 เดิม ซึ่งเป็นบทกำหนดโทษให้หนักขึ้นในการกระทำความผิดอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่มาตรา 70 ที่แก้ไข มีระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ อันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด อันมีทั้งเป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด ซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด ดังนั้น จึงต้องนำมาตรา 70ที่แก้ไขอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิม มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดอันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองโดยอาศัยมาตรา 70 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกด้วย แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ต่างหากจากบทกำหนดโทษหลัก โดยกำหนดไว้ว่าผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆและศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ฉะนั้น เมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือ มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุก คงมีแต่โทษปรับ และมาตรา 70 ที่แก้ไขมาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสองจึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยทั้งสอง คงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เพียงปรับซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างอาคารพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาตและการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ ศาลฎีกามีอำนาจปรับโทษให้ถูกต้อง
ปัญหาว่าอาคารที่ปลูกสร้างจะเป็นอาคารพาณิชย์หรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม และจำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าอาคารดังกล่าวเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมหรือไม่ แต่กลับอุทธรณ์ว่าจำเลยมิได้ปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อเท็จจริงที่ว่าอาคารที่ปลูกสร้างเป็นอาคารพาณิชยกรรมจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กฎหมายที่บังคับขณะที่กระทำผิดและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีทั้งส่วนที่เป็นคุณและไม่เป็นคุณคละกัน ศาลใช้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย แม้คู่ความไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับกฎหมายและวางโทษใหม่ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต, การใช้กฎหมายที่เป็นคุณต่อจำเลย, และการแก้ไขโทษตามกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 การที่พนักงานสอบสวนได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบในฐานะเป็นหุ้นส่วนกรรมการผู้จัดการจำเลยที่ 1 ว่าได้กระทำความผิด แสดงว่าได้แจ้งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำผิด เพราะการสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลนั้น จะต้องสอบสวนดำเนินคดีผ่านทางกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 134 แล้ว
จำเลยทำการดัดแปลงอาคารพิพาทหลังจากใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว เป็นการดัดแปลงอาคารพิพาทโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 22 มิใช่เป็นความผิดฐานดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณแบบแปลน ฯ ตามมาตรา 31
กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2528) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 2 ของกฎกระทรวงดังกล่าว ให้กำหนดแบบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบท้ายกฎกระทรวง ในกรณีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ใช้แบบคำสั่งแบบ ค.3ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยดัดแปลงอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวโดยใช้แบบคำสั่งตามเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งมีข้อความครบถ้วนทุกรายการตามคำสั่งแบบค.3 รวมทั้งส่วนราชการที่ออกคำสั่ง จึงชอบแล้ว เพียงแต่คำสั่งตามเอกสารหมาย จ.4 ไม่มีตราส่วนราชการอยู่ส่วนบนสุดของคำสั่งไม่ถึงกับทำให้คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ชอบ
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ออกใช้บังคับ ให้ยกเลิกความในมาตรา65 มาตรา 66 มาตรา 67 มาตรา 70 และมาตรา 71 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งมีระวางโทษแตกต่างจากเดิมทั้งหนักขึ้นและเบาลง อันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายซึ่งใช้ในภายหลังกระทำผิดอันมีทั้งเป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิดซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดไม่ว่าในทางใด ๆจึงต้องนำมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่อันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิมมาใช้บังคับ และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม และมาตรา 67 เดิมซึ่งเป็นคุณยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขใหม่และมาตรา 67 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง สำหรับจำเลยที่ 2 ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 โดยอาศัยมาตรา 70 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกด้วย แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ต่างหากจากบทกำหนดโทษหลัก โดยกำหนดไว้ว่าผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม มาตรา67 เดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุกมีแต่โทษปรับ และมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยที่ 2 ต้องลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก
จำเลยทำการดัดแปลงอาคารพิพาทหลังจากใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว เป็นการดัดแปลงอาคารพิพาทโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 22 มิใช่เป็นความผิดฐานดัดแปลงอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณแบบแปลน ฯ ตามมาตรา 31
กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2528) ออกตามความใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 2 ของกฎกระทรวงดังกล่าว ให้กำหนดแบบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบท้ายกฎกระทรวง ในกรณีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ใช้แบบคำสั่งแบบ ค.3ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยดัดแปลงอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าวโดยใช้แบบคำสั่งตามเอกสารหมาย จ.4 ซึ่งมีข้อความครบถ้วนทุกรายการตามคำสั่งแบบค.3 รวมทั้งส่วนราชการที่ออกคำสั่ง จึงชอบแล้ว เพียงแต่คำสั่งตามเอกสารหมาย จ.4 ไม่มีตราส่วนราชการอยู่ส่วนบนสุดของคำสั่งไม่ถึงกับทำให้คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่ชอบ
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ออกใช้บังคับ ให้ยกเลิกความในมาตรา65 มาตรา 66 มาตรา 67 มาตรา 70 และมาตรา 71 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่งมีระวางโทษแตกต่างจากเดิมทั้งหนักขึ้นและเบาลง อันเป็นกรณีที่กฎหมายซึ่งใช้ในขณะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายซึ่งใช้ในภายหลังกระทำผิดอันมีทั้งเป็นคุณและเป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิดซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดไม่ว่าในทางใด ๆจึงต้องนำมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่อันเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองยิ่งกว่ามาตรา 70 เดิมมาใช้บังคับ และยังคงต้องใช้มาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม และมาตรา 67 เดิมซึ่งเป็นคุณยิ่งกว่ามาตรา 65 ที่แก้ไขใหม่และมาตรา 67 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับแก่จำเลยทั้งสอง สำหรับจำเลยที่ 2 ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 โดยอาศัยมาตรา 70 เดิม ซึ่งมีระวางโทษจำคุกด้วย แต่มาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ไม่ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ต่างหากจากบทกำหนดโทษหลัก โดยกำหนดไว้ว่าผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อนำกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยคือมาตรา 65 วรรคหนึ่งเดิม มาตรา67 เดิม ซึ่งไม่มีระวางโทษจำคุกมีแต่โทษปรับ และมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 จึงไม่มีโทษจำคุกที่จะลงแก่จำเลยที่ 2 ต้องลงโทษปรับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นโทษที่เบากว่าโทษจำคุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5442/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกรรมตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการลงโทษนิติบุคคลร่วมกับกรรมการ
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารเป็นความผิดตามมาตรา 42 มิใช่เป็นความผิดอยู่ในบทมาตราเดียวกัน สำหรับมาตรา 65 นั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดโทษของความผิดตามมาตรา 21,42 และมาตราอื่น ๆ รวมอยู่ด้วยทั้งโจทก์ก็ได้บรรยายมาในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึง ที่ 5ได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรม โดยระบุวันเวลาที่กระทำผิดแต่ละฐานต่างกันและลักษณะการกระทำผิดย่อมแยกออกต่างหากจากกันได้ ดังนั้นจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน โจทก์ได้ระบุในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5เป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารและเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้องข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5ฎีกาว่า ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการนั้นขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 รับฟังไม่ได้ และโจทก์ได้มีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 69 มาด้วย ซึ่งตามมาตรา 69ได้บัญญัติไว้ว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ"เมื่อความผิดตามมาตรา 65 วรรคสอง มีอัตราโทษปรับวันละ500 บาท ศาลชั้นต้นจึงปรับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5วันละ 1,000 บาท ต่อคน ตามมาตรา 65 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 69 ได้ หาเป็นการเกินคำขอไม่ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลจำเลยนอกนั้นเป็นกรรมการร่วมกันกระทำความผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3ถึงที่ 5 ได้ร่วมกันกระทำความผิดในคดีนี้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 72 แต่กรณีที่ลงโทษปรับผู้กระทำผิดหลายคน พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31 ประกอบด้วยมาตรา 17 มาใช้บังคับซึ่งตามมาตรา 31 ให้ศาลลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคล จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จะกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้กักขังจำเลยที่ 1 หากไม่ชำระค่าปรับจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5442/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและการลงโทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดตามมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารเป็นความผิดตามมาตรา 42 มิใช่เป็นความผิดอยู่ในบทมาตราเดียวกัน สำหรับมาตรา 65 นั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดโทษของความผิดตามมาตรา 21, 42 และมาตราอื่น ๆ รวมอยู่ด้วย ทั้งโจทก์ก็ได้บรรยายมาในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรม โดยระบุวันเวลาที่กระทำผิดแต่ละฐานต่างกันและลักษณะการกระทำผิดย่อมแยกออกต่างหากจากกันได้ ดังนั้นจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
โจทก์ได้ระบุในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารและเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคาร เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3ถึงที่ 5 เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ฎีกาว่า ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการนั้นขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 รับฟังไม่ได้ และโจทก์ได้มีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 69 มาด้วย ซึ่งตามมาตรา 69 ได้บัญญัติไว้ว่า"ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ" เมื่อความผิดตามมาตรา 65 วรรคสอง มีอัตราโทษปรับวันละ 500 บาท ศาลชั้นต้นจึงปรับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 วันละ 1,000 บาท ต่อคน ตามมาตรา 65 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 69 ได้ หาเป็นการเกินคำขอไม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลจำเลยนอกนั้นเป็นกรรมการร่วมกันกระทำความผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ร่วมกันกระทำความผิดในคดีนี้ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 72แต่กรณีที่ลงโทษปรับผู้กระทำผิดหลายคน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.อ.มาตรา 31 ประกอบด้วยมาตรา 17 มาใช้บังคับ ซึ่งตามมาตรา 31 ให้ศาลลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคล
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จะกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้กักขังจำเลยที่ 1 หากไม่ชำระค่าปรับ จึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ได้ระบุในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารและเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคาร เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3ถึงที่ 5 เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ฎีกาว่า ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการนั้นขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 รับฟังไม่ได้ และโจทก์ได้มีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 69 มาด้วย ซึ่งตามมาตรา 69 ได้บัญญัติไว้ว่า"ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ" เมื่อความผิดตามมาตรา 65 วรรคสอง มีอัตราโทษปรับวันละ 500 บาท ศาลชั้นต้นจึงปรับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 วันละ 1,000 บาท ต่อคน ตามมาตรา 65 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 69 ได้ หาเป็นการเกินคำขอไม่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลจำเลยนอกนั้นเป็นกรรมการร่วมกันกระทำความผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ร่วมกันกระทำความผิดในคดีนี้ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 72แต่กรณีที่ลงโทษปรับผู้กระทำผิดหลายคน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.อ.มาตรา 31 ประกอบด้วยมาตรา 17 มาใช้บังคับ ซึ่งตามมาตรา 31 ให้ศาลลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคล
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จะกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้กักขังจำเลยที่ 1 หากไม่ชำระค่าปรับ จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขอาคารผิดแบบ และการลงโทษปรับรายวันตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร การใช้กฎหมายที่เปลี่ยนแปลง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคแรกบัญญัติว่า "ในกรณีที่ฝ่าฝืนมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 24 หรือมีการก่อสร้างดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนมาตรา 31 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารผู้ดำเนินการหรือผู้ควบคุมงานแล้วแต่กรณีระงับการกระทำนั้นได้..." บทบัญญัติมาตรานี้มีความมุ่งหมายใช้บังคับแก่กรณีการที่ดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายยังคงมีอยู่ เพื่อมิให้มีการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อไป จึงให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ระงับหรือยุติการกระทำที่ฝ่าฝืนนั้นเสีย สำหรับการกระทำหรือการก่อสร้างที่ทำไปแล้วจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้น จะต้องพิจารณาว่าการกระทำนั้นสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 วรรคแรก และมาตรา 43 วรรรคแรกได้หรือไม่ หากเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนและดำเนินการตามมาตรา42 ต่อไป ถ้าหากเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารนั้นให้ถูกต้องและดำเนินการตามมาตรา 43 ต่อไป
เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 วรรคแรก ให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่ก่อสร้างให้ถูกต้อง กรณีนี้หามีบทบัญญัติว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้แต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิด และกรณีนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งถอนฎีกาไปแล้วด้วย แต่ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันด้วยนั้น เนื่องจากความผิดฐานก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแบบแปลนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้กำหนดไว้ในใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522 มาตรา 31 นั้น จะลงโทษปรับรายวันตามมาตรา 65 วรรคสองได้ ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวแล้วและผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้จึงจะลงโทษปรับรายวันได้ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะปฏิบัติตามแล้วแต่กรณี แต่ตามฟ้องไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งดังกล่าวแต่อย่างใด ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันจึงเป็นการลงโทษนอกเหนือจากฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมาย-วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
เนื่องจากในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ออกใช้บังคับโดยมาตรา 22 และมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ยกเลิกความในมาตรา 65 วรรคแรกและมาตรา 70 กรณีจึงเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด จึงต้องใช้โทษตามมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ประกอบมาตรา 65 วรรคแรก เดิม
เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 วรรคแรก ให้จำเลยที่ 1 แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่ก่อสร้างให้ถูกต้อง กรณีนี้หามีบทบัญญัติว่าการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้แต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิด และกรณีนี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งถอนฎีกาไปแล้วด้วย แต่ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันด้วยนั้น เนื่องจากความผิดฐานก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแบบแปลนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้กำหนดไว้ในใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522 มาตรา 31 นั้น จะลงโทษปรับรายวันตามมาตรา 65 วรรคสองได้ ก็ต่อเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวแล้วและผู้ได้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีเช่นนี้จึงจะลงโทษปรับรายวันได้ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะปฏิบัติตามแล้วแต่กรณี แต่ตามฟ้องไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งดังกล่าวแต่อย่างใด ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันจึงเป็นการลงโทษนอกเหนือจากฟ้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมาย-วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
เนื่องจากในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ออกใช้บังคับโดยมาตรา 22 และมาตรา 25 ของพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ยกเลิกความในมาตรา 65 วรรคแรกและมาตรา 70 กรณีจึงเป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างจากกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด จึงต้องใช้โทษตามมาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่ประกอบมาตรา 65 วรรคแรก เดิม