พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้จัดให้มีการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ซึ่งได้กำหนดให้ใช้เสาในการก่อสร้างอาคารเพื่อให้มีเสาทั้งสองข้างของตัวอาคารสำหรับรับน้ำหนักของอาคารข้างละ 5 ต้น รวม 2 ข้าง มีเสาจำนวน 10 ต้น และให้เสาแต่ละต้นเป็นเสาของอาคารนั้นเอง ไม่เป็นเสาที่ใช้ร่วมกับอาคารข้างเคียง แต่จำเลยกับ ร.ไ้ดร่วมกันก่อสร้างโดยใช้เสาสำหรับรับน้ำหนักของอาคารทั้งสองข้างของตัวอาคารดังกล่าวเพียงข้างละ 4 ต้น รวม 2 ข้าง มีเสาเพียง 8 ต้น และตำแหน่งของเสาแต่ละต้นดังกล่าวก็ไม่ตรงกับตำแหน่งที่ระบุไว้ตามแผนผังบริเวณแบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ทั้งเสาทางด้านซ้ายมือของตัวอาคาร 4 ต้นก็ไม่ได้เป็นเสาของตัวอาคารนั้นเอง หากแต่เป็นเสาที่ใช้ร่วมกับอาคารข้างเคียงที่อยู่ติดกัน อันเป็นการผิดไปจากที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว โดยไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย และตามแผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตได้กำหนดให้มีที่ว่างโดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง 3 เมตร ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 แต่จำเลยกับ ร.ได้ร่วมกันก่อสร้างอาคารเต็มพื้นที่ดินทั้งหมดโดยไม่เว้นที่ว่าง โดยปราศจากสิ่งปกคลุมเป็นทางเดินหลังอาคารได้ถึงกันกว้าง 3 เมตร ตามข้อบัญญัติดังกล่าว ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต และไม่ได้รับการยกเว้นตามกฎหมาย เช่นนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำของจำเลยอันเป็นการก่อสร้างผิดจากแผนผัง บริเวณ แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต หรือผิดไปจากวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตอย่างไร เป็นการครบถ้วนตามพระราชบัญญัติความคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31 ซึ่งถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยชัดแจ้งแล้ว โจทก์ไม่จำต้องบรรยายว่าเป็นการผิดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2522 ในข้อใดอีก ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยทำการก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนและแผนผังบริเวณตามที่ได้รับอนุญาต ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31, 65
กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นใช้อำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 นั้น หากเจ้าของอาคารไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารตามคำสั่ง มาตรา 43 วรรคสาม ได้บัญญัติถึงมาตรการดำเนินการต่อไป โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควร และให้นำมาตรา 42 วรรคสอง ถึง วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 43 หามีบทบัญญัติลงโทษเจ้าของอาคารผู้ฝ่าฝืนไม่จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหานี้ได้
ความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีที่จะต้องลงโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสอง วันละ 500 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ มาตรา 69 ให้ระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น คือจะต้องลงโทษปรับจำเลยวันละ 1,000 บาท และถ้าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมก็เป็นกรณีต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติให้ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีนี้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และอาคารที่ก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกำหนดโทษปรับตามมาตรา 70 จึงต้องคำนวณจากฐาน 1,000 บาท ตามมาตรา 68 หาใช่คำนวณจากฐาน 500 บาท ตามมาตรา 64 วรรคสอง ไม่
จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดกรรมหนึ่ง ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แล้วจำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยทำการก่อสร้างต่อไป ย่อมเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และในส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้นอีกครั้งหนึ่งตามมาตรา 40 วรรคสอง และมาตรา 42 วรรคหนึ่ง หากจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งไม่รื้อถอนก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง รวมเป็นความผิด 3 กระทงต่างกรรมกัน
จำเลยทำการก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนและแผนผังบริเวณตามที่ได้รับอนุญาต ย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 31, 65
กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นใช้อำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 นั้น หากเจ้าของอาคารไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารตามคำสั่ง มาตรา 43 วรรคสาม ได้บัญญัติถึงมาตรการดำเนินการต่อไป โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควร และให้นำมาตรา 42 วรรคสอง ถึง วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 43 หามีบทบัญญัติลงโทษเจ้าของอาคารผู้ฝ่าฝืนไม่จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหานี้ได้
ความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอนอาคารตามมาตรา 42 วรรคสอง ในกรณีที่จะต้องลงโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสอง วันละ 500 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการ มาตรา 69 ให้ระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น คือจะต้องลงโทษปรับจำเลยวันละ 1,000 บาท และถ้าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมก็เป็นกรณีต้องตามมาตรา 70 ซึ่งบัญญัติให้ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ คดีนี้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และอาคารที่ก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกำหนดโทษปรับตามมาตรา 70 จึงต้องคำนวณจากฐาน 1,000 บาท ตามมาตรา 68 หาใช่คำนวณจากฐาน 500 บาท ตามมาตรา 64 วรรคสอง ไม่
จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลนที่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดกรรมหนึ่ง ต่อมาเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้าง แล้วจำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งโดยทำการก่อสร้างต่อไป ย่อมเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และในส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้นอีกครั้งหนึ่งตามมาตรา 40 วรรคสอง และมาตรา 42 วรรคหนึ่ง หากจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งไม่รื้อถอนก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง รวมเป็นความผิด 3 กระทงต่างกรรมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างผิดแบบและการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาคาร การลงโทษและความผิดหลายกระทง
การก่อสร้างอาคารที่ผิดไปจากแผนผังบริเวณ แบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนตามที่ได้รับอนุญาตเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 อยู่ในตัว เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนและแผนผังบริเวณตามที่จำเลยได้รับอนุญาตถือได้ว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 31 และมีโทษตามมาตรา 65 กรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นใช้อำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขอาคารให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 43 หากเจ้าของอาคารไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงตามคำสั่งมาตรา 43 วรรคสาม บัญญัติถึงมาตรการที่จะดำเนินการต่อไป โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนอาคารดังกล่าวในส่วนที่เห็นสมควร และให้นำมาตรา 42 วรรคสองวรรคสาม วรรคสี่ วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม การฝ่าฝืนคำสั่งตามมาตรา 43 หามีบทบัญญัติลงโทษเจ้าของอาคารผู้ฝ่าฝืนไม่ จำเลยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างและอาคารที่ก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกำหนดโทษปรับตามมาตรา 70จึงต้องคำนวณจากฐาน 1,000 บาท ตามมาตรา 69 หาใช่คำนวณจากฐาน 500 บาท ตามมาตรา 65 วรรคสอง ไม่ การที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดกรรมหนึ่ง เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างจำเลยฝ่าฝืนโดยยังคงทำการก่อสร้างต่อไปเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง และในส่วนที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 8 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารนั้นอีกครั้งหนึ่งตามมาตรา 40 วรรคสองและมาตรา 42 วรรคหนึ่ง และหากจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งต่างหาก การกระทำของจำเลยเป็นความผิด 3 กระทงต่างกรรมกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับรายวันในความผิด พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: การพิสูจน์วันเริ่มใช้และข้อจำกัดการอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมก่อนได้รับใบรับรองการก่อสร้าง ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมาตรา 32,65 แต่ฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองใช้อาคารที่ก่อสร้างวันใดระยะเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด คือระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน 2531ถึงวันที่ 8 กันยายน 2531 นั้น ไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารเสร็จเมื่อใด เปิดใช้อาคารเมื่อใด แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพ เมื่อไม่มีวันที่จำเลยทั้งสองใช้อาคารที่สร้างเสร็จแล้วเมื่อใด จึงไม่อาจคำนวณโทษปรับนับแต่วันที่จำเลยทั้งสองใช้อาคารที่สร้างเสร็จโดยไม่ได้รับใบรับรองจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) ศาลไม่อาจลงโทษปรับเป็นรายวันตามพ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาด้วยวาจา ความชัดเจนของฟ้อง และการลงโทษปรับรายวันในคดีก่อสร้างผิดแบบ
ฟ้องด้วยวาจา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกไว้โดย ละเอียดไม่และก่อนบันทึกศาลอาจสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิดแต่ จะบันทึกไว้เฉพาะ ข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาเท่านั้น ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องได้ความว่า ระหว่างวันที่ 30 เมษายน2528 เวลากลางคืนถึง วันที่ 30 เมษายน 2529 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันจำเลยซึ่งได้ รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ได้ ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้ รับอนุญาต แม้ไม่ปรากฏว่ามีคำสั่งจากเจ้าพนักงานให้จำเลยทราบว่าก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนหรือให้จัดการแก้ไข จำเลยก็ยังคงฝ่าฝืนตลอด เวลา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตาม ฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาตาม ฟ้องแล้วหาทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งฉบับ แรกให้จำเลยรื้อถอนการก่อสร้างที่ผิดจากแบบแปลนภายใน 30 วัน จำเลยทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2529 ครบกำหนด 30 วัน วันที่ 26 เมษายน 2529แต่ จำเลยมิได้ดำเนินการ ถือ ว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องด้วยวาจา และการลงโทษปรับรายวันในความผิดควบคุมอาคาร
ฟ้องด้วยวาจา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่ และก่อนบันทึกศาลอาจสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิด แต่จะบันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจาเท่านั้น
ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องได้ความว่า ระหว่างวันที่ 30 เมษายน 2528 เวลากลางคืนถึงวันที่ 30 เมษายน 2529 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ได้ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แม้ไม่ปรากฏว่ามีคำสั่งจากเจ้าพนักงานให้จำเลยทราบว่าก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนหรือให้จัดการแก้ไข จำเลยก็ยังคงฝ่าฝืนตลอดเวลา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาตามฟ้องแล้ว หาทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งฉบับแรกให้จำเลยรื้อถอนการก่อสร้างที่ผิดจากแบบแปลนภายใน 30 วัน จำเลยทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2529 ครบกำหนด 30 วัน วันที่ 26 เมษายน 2529 แต่จำเลยมิได้ดำเนินการ ถือว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งแล้ว
ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องได้ความว่า ระหว่างวันที่ 30 เมษายน 2528 เวลากลางคืนถึงวันที่ 30 เมษายน 2529 เวลากลางวัน ต่อเนื่องกันจำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ได้ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แม้ไม่ปรากฏว่ามีคำสั่งจากเจ้าพนักงานให้จำเลยทราบว่าก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนหรือให้จัดการแก้ไข จำเลยก็ยังคงฝ่าฝืนตลอดเวลา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาตามฟ้องแล้ว หาทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งฉบับแรกให้จำเลยรื้อถอนการก่อสร้างที่ผิดจากแบบแปลนภายใน 30 วัน จำเลยทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2529 ครบกำหนด 30 วัน วันที่ 26 เมษายน 2529 แต่จำเลยมิได้ดำเนินการ ถือว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาที่ลงโทษปรับรายวัน และการเริ่มนับโทษปรับตามคำสั่งแก้ไข
ฟ้องด้วยวาจา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องไว้เป็นหลักฐานหาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่ และก่อนบันทึกศาลอาจสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิด แต่บันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของฟ้องด้วยวาจา ศาลบันทึกข้อความแห่งฟ้องได้ความว่า ระหว่างวันที่ 30 เมษายน2528 เวลากลางคืนถึงวันที่ 30 เมษายน 2529 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร ได้ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แม้ไม่ปรากฏว่ามีคำสั่งจากเจ้าพนักงานให้จำเลยทราบว่าก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนหรือให้จัดการแก้ไข จำเลยก็ยังคงฝ่าฝืนตลอดเวลา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาตามฟ้องแล้วหาทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใดไม่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งฉบับแรกให้จำเลยรื้อถอนการก่อสร้างที่ผิดจากแบบแปลนภายใน 30 วัน จำเลยทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2529 ครบกำหนด 30 วัน ในวันที่ 26 เมษายน 2529แต่จำเลยมิได้ดำเนินการ ถือว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดควบคุมอาคาร: การปรับรายวันและการเริ่มนับระยะเวลาปรับเมื่อฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอน
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 19 ให้ศาลบันทึกข้อความแห่งคำฟ้องด้วยวาจาไว้เป็นหลักฐาน หาจำต้องบันทึกไว้โดยละเอียดไม่ และก่อนบันทึกศาลอาจสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่จำเลยกระทำความผิด แต่บันทึกไว้เฉพาะข้อความสำคัญ ส่วนบันทึกการฟ้องด้วยวาจาของโจทก์ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วยวาจา ศาลบันทึกข้อความแห่งคำฟ้องได้ความว่า ระหว่างวันที่ 30เมษายน 2528 เวลากลางคืน ถึงวันที่ 3 เมษายน 2529 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยซึ่งได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารได้ปลูกสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต แม้ไม่ปรากฏว่ามีคำสั่งจากเจ้าพนักงานให้จำเลยทราบว่าก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนหรือให้จัดการแก้ไข จำเลยก็ยังคงฝ่าฝืนตลอดเวลา เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาตามฟ้องแล้ว หาทำให้ฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งฉบับแรกให้จำเลยรื้อถอนการก่อสร้างที่ผิดจากแบบแปลนภายใน 30 วัน จำเลยทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2529 ครบกำหนด 30 วัน วันที่ 26 เมษายน 2529แต่จำเลยมิได้ดำเนินการ ถือว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2050/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและการปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: ศาลพิพากษาลงโทษได้ตามคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ต่อเติม มีกำหนด 150 วัน (นับตั้งแต่ วันที่ 29 สิงหาคม 2530จนถึง วันฟ้อง) และมีคำขอท้ายฟ้องว่า ขอศาลได้ สั่งปรับจำเลยตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวด้วย เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะได้ บรรยายแล้วว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งมีกำหนดถึง วันฟ้องกี่วัน และมีคำขอท้ายฟ้องให้สั่งปรับจำเลยตลอด เวลาที่ฝ่าฝืนมาด้วยจำเลยให้การรับสารภาพ จึงอ้างว่าไม่สามารถเข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ได้ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 6570 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าให้ปรับได้ตลอด ระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร และโจทก์ก็ขอมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย การที่ศาลพิพากษาในปัญหานี้จึงไม่เกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3277/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรมจากการก่อสร้างผิดกฎหมายและการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน
ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคสอง และมาตรา 65 ด้วยนั้น เมื่อตามมาตรา 65 ดังกล่าวระบุว่า "ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา42 วรรคสอง...ต้องระวางโทษ..." ดังนี้ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 42 วรรคสอง ย่อมหมายถึงจำเลยได้กระทำความผิดฐานนี้ด้วย จำเลยจึงต้องรับโทษตามมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวอีกกรรมหนึ่ง การที่จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ถือเป็นการกระทำความผิดไปกรรมหนึ่งแล้วเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ระงับการก่อสร้าง จำเลยยังคงสร้างต่อไปอีก จึงเป็นการกระทำผิดกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6569-6571/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต, การฝ่าฝืนคำสั่งรื้อถอน, และขอบเขตการอุทธรณ์ของโจทก์
การปลูกสร้างอาคารตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 77 ต้องเป็นกรณีปลูกสร้างอาคารในท้องที่ที่มีอาคารเป็นจำนวนมากปลูกสร้างอยู่ในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่น ดินก่อนวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ และมีสภาพหรืออาจทำให้เกิดสภาพที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ปลอดภัยในการอยู่อาศัยการป้องกันอัคคีภัยการสาธารณสุข การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง และการอำนวยความสะดวแก่การจราจร และจะต้องมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปรับปรุงอาคารในท้องที่นั้นด้วยข้อเท็จจริงเหล่านี้จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้าง หรือนำสืบในศาลชั้นต้นและไม่ปรากฏในสำนวนจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นเจ้าของอาคารซึ่งตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ถือว่าเป็นผู้ดำเนินการจึงต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ปรับวันละ 1,000 บาท และเมื่ออาคารที่ปลูกสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมจึงเป็นอาคารตามมาตรา 70 อีกมาตราหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจปรับจำเลยเพิ่มอีกสิบเท่าเป็นปรับวันละ 10,000 บาท
ชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคสอง, 65 วรรคสอง และ 70 ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสามวันละ 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนซึ่งเท่ากับว่าโจทก์ไม่ติดใจขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 69 อีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษปรับจำเลยวันละ 10,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าอุทธรณ์ของโจทก์ เป็นการไม่ชอบ
จำเลยปลูกสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นเจ้าของอาคารซึ่งตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ถือว่าเป็นผู้ดำเนินการจึงต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ปรับวันละ 1,000 บาท และเมื่ออาคารที่ปลูกสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมจึงเป็นอาคารตามมาตรา 70 อีกมาตราหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจปรับจำเลยเพิ่มอีกสิบเท่าเป็นปรับวันละ 10,000 บาท
ชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42 วรรคสอง, 65 วรรคสอง และ 70 ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสามวันละ 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนซึ่งเท่ากับว่าโจทก์ไม่ติดใจขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 69 อีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษปรับจำเลยวันละ 10,000 บาท จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าอุทธรณ์ของโจทก์ เป็นการไม่ชอบ