คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ม. 4 (5)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ vs. พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ ก. ว่า จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันทำไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยนำไม้ซึ่งแปรรูปแล้วใส่กระบะพ่วงรถไถนาเดินตามออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม้การกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าวเป็นความผิดฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, 73 วรรคหนึ่ง เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 4 (5) ให้ความหมายว่าการนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ เป็นการทำไม้ ตามนิยามคำว่า "ทำไม้" ด้วยก็ตาม แต่ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 38 ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามด้วยนั้น มิได้บัญญัติให้การนำไม้ออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามฟ้อง เป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าวดังเช่นที่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสามตามฟ้อง จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันตัดหรือโค่นต้นไม้หรือพฤกษชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 38, 54 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดตามมาตราดังกล่าว เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตและในเขตป่าสงวน ถือเป็นความผิดฐานทำไม้ แม้ไม้จะตกเป็นของแผ่นดิน
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (5) ประกอบมาตรา11 วรรคหนึ่ง การชักลากไม้ถือเป็นการทำไม้ ดังนั้น การชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือระเบียบในการชักลากไม้ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย จึงเป็นการทำไม้โดยไม่รับอนุญาตตามมาตรา 11 ซึ่งผู้กระทำต้องรับโทษตามมาตรา 73
จำเลยชักลากไม้โดยยังไม่ได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจวัดคำนวณค่าภาคหลวงตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขและระยะเวลาในการชักลาก และนำไม้เคลื่อนที่ภายหลังสัมปทานสิ้นสุดลงพ.ศ.2532 ซึ่งออกตามความในมาตรา 68 เบญจ วรรคท้าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตรวม 2 กระทง
พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ มาตรา 68 เบญจ วรรคสาม ที่บัญญัติว่าผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาตามที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนดดังกล่าวให้หมดสิทธิในไม้นั้น และให้ไม้นั้นตกเป็นของแผ่นดินเป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ผู้รับสัมปทานหมดสิทธิในไม้โดยให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดิน มิใช่หมายความว่าเมื่อไม้ตกเป็นของแผ่นดินแล้วการกระทำไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตราอื่นอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นการทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยจึงมีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชักลากไม้โดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกรมป่าไม้ และความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวน
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(5) ประกอบมาตรา 11 วรรคหนึ่ง การชักลากไม้ถือเป็นการทำไม้ ดังนั้นการชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือระเบียบในการชักลากไม้ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย จึงเป็นการทำไม้โดยไม่รับอนุญาตตามมาตรา 11 ซึ่งผู้กระทำ ต้องรับโทษตามมาตรา 73 จำเลยชักลากไม้โดยยังไม่ได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจวัดคำนวณค่าภาคหลวงตามระเบียบกรมป่าไม้ว่าด้วยการกำหนด หลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขและระยะเวลาในการชักลาก และนำ ไม้เคลื่อนที่ภายหลังสัมปทานสิ้นสุดลง พ.ศ. 2532 ซึ่งออกตามความในมาตรา 68 เบญจ วรรคท้าย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตรวม 2 กระทง พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 68 เบญจ วรรคสาม ที่บัญญัติว่าผู้รับสัมปทานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไข และระยะเวลาตามที่อธิบดีกรมป่าไม้กำหนดดังกล่าวให้หมดสิทธิในไม้นั้น และให้ไม้นั้นตกเป็นของแผ่นดินเป็นเพียงบทบัญญัติที่กำหนดให้ผู้รับสัมปทานหมดสิทธิในไม้โดยให้ไม้ตกเป็นของแผ่นดิน มิใช่หมายความว่าเมื่อไม้ตกเป็นของแผ่นดินแล้วการกระทำไม่เป็นความผิดตามบทบัญญัติมาตราอื่นอีก และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยเป็นการทำไม้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำเลยจึงมีความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7850/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการทำไม้ตามฟ้อง: การชักลากไม้เกินคำฟ้อง
แม้ตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 4 (5) แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้พ.ศ.2484 และ มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 ให้นิยามความหมายของคำว่า "ทำไม้" นอกจากจะหมายความว่า "ตัด" "ฟัน""ทอน" แล้วยังรวมถึง "ชักลาก" ด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำไม้โดยตัดฟันออกจากต้นแล้วทอนเป็นท่อน ๆ โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ดังนี้ ข้อที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยชักลากไม้ออกจากป่า เป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือคำฟ้องจึงรับฟังลงโทษจำเลยฐานทำไม้โดยการชักลากไม้ออกจากป่าไม่ได้ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7850/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานนอกคำฟ้องในความผิดฐานทำไม้ การบรรยายฟ้องต้องครอบคลุมการกระทำทั้งหมด
แม้ตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 4(5) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ให้นิยามความหมายของคำว่า "ทำไม้" นอกจากจะ หมายความว่า "ตัด""ฟัน" "ทอน" แล้วยังรวมถึง "ชักลาก" ด้วยก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้อง ว่า จำเลยทำไม้โดยตัดฟันออกจากต้นแล้วทอนเป็นท่อน ๆ โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนี้ข้อที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยชักลากไม้ออกจากป่า เป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือคำฟ้องจึงรับฟังลงโทษจำเลยฐานทำไม้โดยการชักลากไม้ออกจากป่าไม่ได้ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำไม้กับความผิดฐานพยายามทำไม้ และการจ่ายสินบนรางวัลตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(5) บัญญัติว่า"ทำไม้" หมายความว่า ตัด ฟัน กานโค่นลิดเลื่อนผ่าถาก ทอน ขุดชักลากไม้ในป่าหรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ " ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำไม้โดยการตัด ฟัน พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มิได้ให้ความหมายพิเศษของคำว่า ตัด ฟัน และการกระทำอื่น ๆ อันเป็นการทำไม้ไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำเหล่านั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525ได้ให้ความหมายของคำว่า "ตัด" ว่า ทำให้ขาดด้วยของมีคม ทอนคำว่า "ฟัน" หมายถึง เอาของมีคมเช่นดาบฟันลงไป เช่น ฟันคลื่นคือเอาหัวเรือตัดคลื่นไป "กาน" หมายถึงตัดเพื่อให้แตกใหม่ "โค่น"หมายถึง ล้มหรือทำให้ล้มอย่างต้นไม้ล้ม ทลายลง "ลิด" หมายถึงเด็ดหรือตัดเพื่อแต่ง "เลื่อย" หมายถึง ตัดด้วยเลื่อย ความหมายของคำว่า "ทำไม้" ไม่ว่าด้วยวิธี ตัด ฟัน กานโค่นลิด เลื่อย ผ่าถาก ทอน ขุด ชักลาก หรือนำไม้ออกจากป่า ล้วนแต่ทำให้เห็นว่าต้องเป็นการทำให้ต้นไม้ขาดจากลำต้นหรือจากพื้นดินที่ต้นไม้นั้นปลูกอยู่ทั้งสิ้น ซึ่งวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ที่ห้ามมิให้ทำไม้โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และถือเป็นความเป็นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 และ 73 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้นก็เพื่อมิให้มีการทำลายป่าและเพื่อรักษาทรัพยากรและความสมดุล ทางธรรมชาติไว้ เมื่อปรากฏว่าต้นยางที่จำเลยตัดมีขนาดเส้นรอบวงของลำต้นตรงที่ถูกตัดถึง 1.80 เมตร และสูง 16 เมตร มีร่องรอยการตัดด้วยเลื่อยเพียง 2 รอย สึกเพียง 1 นิ้ว และยาว 5 นิ้วเท่านั้น ต้นยางดังกล่าวมิได้โค่นล้มหรือตายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิดฐานทำไม้แต่กระทำไปไม่ตลอดเป็นความผิดฐานพยายามทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ มิใช่ความผิดสำเร็จ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบ จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของค่าปรับตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ปรากฏว่า พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายสินบนกับรางวัลและปรากฏตามพระราชบัญญัติ ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489มาตรา 7 และ 8 ว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาลซึ่งคดีนี้ไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายของกลางได้ ทั้งให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางที่ศาลสั่งริบ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ในราชกิจจานุเบกษาซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขอแก้ไขเพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้แล้วประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามาจึงยังไม่ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีป่าไม้: การพิสูจน์แหล่งที่มาของไม้เป็นสาระสำคัญ หากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม้มาจากป่า ศาลย่อมยกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำไม้ยางพาราซึ่งเป็นไม้ที่ทำโดยไม่ต้องรับอนุญาตบรรทุกรถยนต์ออกไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วนำเคลื่อนที่ไปโดยไม่มีใบเบิกทางกำกับ โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลก็ย่อมจะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา185
คำว่า 'ไม้ที่ทำ' ตามมาตรา 38(2) อยู่ในความหมายของ คำว่า 'ทำไม้' ตามมาตรา 4(5) คือ การตัดฟัน การ โค่น ลิดเลื่อยผ่าถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่าหรือ นำออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งมิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย เห็นได้ว่า การทำไม้นั้นนอกจากไม้สักหรือไม้ยางแล้วหมายถึงเฉพาะไม้ที่อยู่ในป่าเท่านั้น การนำไม้ที่ทำเคลื่อนที่ตามมาตรา 38(2)ซึ่งเมื่อนำออกมาถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและเมื่อจะนำเคลื่อนที่ต่อไปจะต้องมีใบเบิกทางของเจ้าพนักงานไปด้วยตามมาตรา 39 ต้องเป็นไม้ที่ทำจากไม้ในป่านั่นเอง ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ทำจากป่าหรือไม่ จึงเป็นสารสำคัญแห่งคดีเมื่อโจทก์แถลงว่าไม่ทราบว่าไม้(ยางพารา)ของกลางเป็นไม้ที่ได้มาจากป่าหรือไม่ ศาลจึงลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์แหล่งที่มาของไม้แปรรูปเป็นสาระสำคัญในการฟ้องผิดตามพ.ร.บ.ป่าไม้ หากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม้มาจากในป่า คดีความไม่สามารถดำเนินต่อไปได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยนำไม้ยางพาราซึ่งเป็นไม้ที่ทำ โดยไม่ต้องรับอนุญาตบรรทุกรถยนต์ออกไปถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วนำเคลื่อนที่ไปโดยไม่มีใบเบิกทางกำกับ โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง เมื่อศาลเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ศาลก็ย่อมจะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
คำว่า "ไม้ที่ทำ" ตามมาตรา 38 (2) อยู่ในความหมายของคำว่า "ทำไม้" ตามมาตรา 4(5) คือ การตัด ฟัน กาน โค่น ลิด เลื่อย ผ่าน ถาก ทอน ขุด ชักลากไม้ในป่าหรือนำออกจากป่าด้วยประการใด ๆ และหมายความรวมถึงการกระทำดังกล่าวกับไม้สักหรือไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในที่ดินซึ่งมิใช่ป่า หรือการนำไม้สักหรือไม้ยางออกจากที่ดินที่ไม้นั้น ๆ ขึ้นอยู่ด้วย เห็นได้ว่า การทำไม้นั้นนอกจากไม้สักหรือไม้ยางแล้วหมายถึงเฉพาะไม้ที่อยู่ในป่าเท่านั้น การนำไม้ที่ทำเคลื่อนที่ตามมาตรา 38 (2) ซึ่งเมื่อนำออกมาถึงด่านป่าไม้ด่านแรกแล้วจะต้องเสียค่าธรรมเนียมและเมื่อจะนำเคลื่อนที่ต่อไปจะต้องมีใบเบิกทางของเจ้าพนักงานไปด้วยตามมาตรา 39 ต้องเป็นไม้ที่ทำจากไม้ในป่านั่นเอง ข้อเท็จจริงที่ว่าไม้ของกลางเป็นไม้ที่ทำจากป่าหรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญแห่งคดี เมื่อโจทก์แถลงว่าไม่ทราบว่าไม้ (ยางพารา) ของกลางเป็นไม้ที่ได้มาจากป่าหรือไม่ ศาลจึงลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทรายได้จากการเผาถ่านเพื่อเสียภาษี: ทำป่าไม้หรืออุตสาหกรรม
การเผาถ่านขาย ไม่ใช่การทำไม้ตามความในพระราชกฤษฎีกากำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้ฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 3 ข้อ (14).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1391/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้จากสวนเอกชน ไม่เป็นความผิดฐานนำไม้เคลื่อนที่ หากไม่ได้มาจากป่า
ตัดฟันไม้ยางในสวนของเอกชน แล้วนำเคลื่อนที่มาไว้ที่บ้านเรือนของตนนั้น แม้จะไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนก็ยังไม่เป็นผิดฐานนำไม้เคลื่อนที่โดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะไม่ใช่ไม้ในป่าหรือนำออกจากป่า
of 2