พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศกรณีสินค้าสูญหายจากการทุจริตของลูกจ้าง
พฤติการณ์แห่งคดีมีน้ำหนักน่าเชื่อว่า สินค้าสูญหายไปเพราะจำเลยทั้งสองปล่อยให้ลูกจ้าง ตัวแทนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทุจริตลักขโมยสินค้าไป ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองจะมีข้อตกลงยกเว้นและจำกัดความรับผิดในความสูญหายของสินค้าจากการขนส่งทางอากาศ ก็ไม่อาจนำข้อตกลงยกเว้นและจำกัดความรับผิดในการขนส่งทางอากาศดังกล่าวมาใช้บังคับได้ มิฉะนั้นจะเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 373 ที่ว่า "ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนนั้น ท่านว่าเป็นโมฆะ" สำหรับจำนวนค่าสินไหมทดแทนนั้น เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยไป ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4673/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้ากรณีสินค้าสูญหายจากการส่งมอบผิดพลาด การจำกัดความรับผิดไม่อาจใช้ได้หากเป็นการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
คดีนี้จำเลยทั้งสองไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำการตามข้ออ้างของโจทก์แต่อย่างใด เพียงแต่ให้การว่าจำเลยทั้งสองจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับขนทางอากาศไม่เกิน 500 ดอลลาร์สหรัฐ กรณีจึงถือว่าจำเลยทั้งสองยอมรับข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของโจทก์ว่าผู้รับตราส่งไม่ได้รับสินค้าพิพาทเนื่องจากลูกจ้างของจำเลยทั้งสองที่ปลายทางนำสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้อื่นที่มิใช่ผู้รับตราส่ง และไม่ตรงตามสถานที่ส่งมอบที่ระบุไว้ในใบรับขนทางอากาศ ที่จำเลยทั้งสองนำสืบต่อสู้ว่าผู้ส่งระบุที่อยู่ของผู้รับตราส่งผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสินค้าไปส่งผิดสถานที่ ก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การนอกประเด็น แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง เมื่อคดีรับฟังได้ดังกล่าวถือได้ว่าผู้รับตราส่งไม่ได้รับสินค้าพิพาท อันเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยทั้งสองและลูกจ้างซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 373 บัญญัติว่า "ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนนั้น ท่านว่าเป็นโมฆะ" ดังนั้น แม้จำเลยจะมีเงื่อนไขจำกัดความผิดในความสูญหายของสินค้าไว้ที่ด้านหลังใบรับขนทางอากาศก็ไม่อาจนำเงื่อนไขความรับผิดในการขนส่งทางอากาศดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การกระทำละเมิดต่อผู้ส่งสินค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7164/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศ กรณีสินค้าสูญหายระหว่างอยู่ในคลังสินค้า และการจำกัดความรับผิด
ข้อเท็จจริงได้ความตามสำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (Air Waybill) ซึ่งเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศในคดีนี้ว่า สัญญาดังกล่าวฝ่ายผู้ขายได้จัดส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่ง โดยมีจำเลยทั้งสามเป็นผู้รับผิดชอบในการขนส่งสินค้าของผู้ขายเพื่อให้ถึงมือผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับขนส่งสินค้าทางอากาศจึงต้องร่วมกันรับผิดชอบกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดูแลมิให้สินค้าที่ขนส่งสูญหายในระหว่างการขนส่งจนกว่าจะถึงมือผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่ง ตราบใดที่ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งยังไม่ได้รับสินค้านั้นไว้ สินค้านั้นก็ยังไม่พ้นความดูแลหรือความรับผิดชอบของผู้ขนส่ง แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า เหตุแห่งการสูญหายของสินค้าพิพาทเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในคลังสินค้าของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กรณีก็ถือว่าเหตุแห่งการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งหรือระหว่างที่สินค้านั้นยังอยู่ในความรับผิดชอบดูแลของผู้ขนส่งเนื่องจากในระหว่างนั้นผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งยังมิได้รับสินค้าที่ผู้รับขนส่งสินค้าขนส่งมา จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ร่วมรับขนส่งยังมิได้รับสินค้าที่ผู้รับขนส่งสินค้าขนส่งมา จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ร่วมรับขนส่งสินค้าดังกล่าวจึงต้องร่วมรับผิดต่อความเสียหายอันเนื่องมาจากการสูญหายของสินค้าที่รับขนส่งต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้านั้นซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่ง
นอกจากนี้ในสำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ ไม่ปรากฏว่าผู้ส่งหรือตัวแทนของผู้ส่งสินค้าได้ลงลายมือชื่อแสดงความตกลงในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเรื่องเงื่อนไขความรับผิด ที่ระบุไว้ที่ด้านหลังใบตราส่งเพียงจำนวน 20 ดอลลาร์สหัรัฐต่อสินค้าสูญหาย 1 กิโลกรัม คงมีเพียงตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ชื่อผู้ส่งสินค้าไว้เท่านั้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่าในช่อง "Other Charges" ของสำเนาใบตราส่งดังกล่าวมีตัวอักษรและตัวเลขไว้ว่า Secu/c 102, 22 อันมีความหมายว่า ผู้ส่งได้จ่ายเงินเพิ่มเป็นค่าประกันในการดูแลรักษาสินค้าไว้แล้ว กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงในเรื่องเงื่อนไขการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งด้วยโดยชัดแจ้ง ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
นอกจากนี้ในสำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ ไม่ปรากฏว่าผู้ส่งหรือตัวแทนของผู้ส่งสินค้าได้ลงลายมือชื่อแสดงความตกลงในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเรื่องเงื่อนไขความรับผิด ที่ระบุไว้ที่ด้านหลังใบตราส่งเพียงจำนวน 20 ดอลลาร์สหัรัฐต่อสินค้าสูญหาย 1 กิโลกรัม คงมีเพียงตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ชื่อผู้ส่งสินค้าไว้เท่านั้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่าในช่อง "Other Charges" ของสำเนาใบตราส่งดังกล่าวมีตัวอักษรและตัวเลขไว้ว่า Secu/c 102, 22 อันมีความหมายว่า ผู้ส่งได้จ่ายเงินเพิ่มเป็นค่าประกันในการดูแลรักษาสินค้าไว้แล้ว กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงในเรื่องเงื่อนไขการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งด้วยโดยชัดแจ้ง ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5482/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขนสินค้าทางทะเล: การพิจารณาประเภทมูลคดี (สัญญาขนส่ง vs. การติดตามทรัพย์คืน) มีผลต่ออายุความ
การอ้างมูลแห่งการฟ้องร้องที่ต่างกันระหว่างมูลตามสัญญารับขนของทางทะเลกับมูลเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนนั้นย่อมมีผลต่อรูปคดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องหน้าที่นำสืบที่ต่างกัน โดยในมูลที่ฟ้องว่า ผู้ขนส่งปฏิบัติผิดสัญญารับขนนั้น โจทก์ซึ่งรับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่งมีหน้าที่นำสืบเพียงว่า สินค้าได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่ง และเป็นเรื่องที่ผู้ขนส่งจะต้องสืบแก้ว่า ความสูญหายนั้นเข้าข้อยกเว้นความรับผิดตามมาตรา 52 (1) ถึง (13) แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ แต่ในการฟ้องคดีเพื่อติดตามเอาทรัพย์คืนเพราะทรัพย์ยังอยู่ที่ผู้ขนส่ง ไม่ได้สูญหายไปแล้วนั้น โจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่า ทรัพย์ยังคงอยู่ที่ผู้ขนส่งโดยผู้ขนส่งได้ยึดถือทรัพย์ไว้โดยมิชอบ
คดีนี้ลักษณะของการกล่าวอ้างยืนยันตามคำบรรยายฟ้องก็เพื่อที่จะนำสืบพิสูจน์เพียงว่า สินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งเท่านั้น ไม่ได้กล่าวอ้างยืนยันเพื่อที่จะนำสืบพิสูจน์ว่าทรัพย์ยังอยู่ที่ผู้ขนส่งโดยผู้ขนส่งยึดถือไว้โดยไม่ชอบ จึงเป็นเรื่องการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งรับผิดในความสูญหายของสินค้าในระหว่างการขนส่งเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ทำสัญญารับขนแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้เรื่องอายุความว่า นับแต่เวลาอันควรส่งมอบสินค้าจนถึงวันฟ้องคดีล่วงเลยอายุความที่จะต้องฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในความสูญหายของสินค้าไปแล้ว และข้อเท็จจริงปรากฏว่าเรือเข้าเทียบท่าปลายทางตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2543 ซึ่งควรจะมีการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งในวันดังกล่าวหรือในระยะเวลาไม่ห่างจากเวลาเรือเทียบท่ามากนัก แต่ปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 อันเป็นเวลาหลังจากเวลาอันควรส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่ง 3 ปีเศษ และเป็นเวลาหลังจากที่บริษัท ซ. เรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเพราะสินค้าได้สูญหายไประหว่างเรือขนส่งสินค้าถ่ายลำที่ประเทศสิงคโปร์ถึง 3 ปีเศษแล้วเช่นกัน ดังนั้น เมื่อมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ บัญญัติว่าสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเล ถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งมอบของ หรือถ้าไม่มีการส่งมอบนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดส่งมอบตามมาตรา 41 (1) หรือนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดเวลาอันสมควรตามมาตรา 41 (2) ให้เป็นอันขาดอายุความ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ที่ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลดังกล่าวจึงขาดอายุความ 1 ปี ตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว
คดีนี้ลักษณะของการกล่าวอ้างยืนยันตามคำบรรยายฟ้องก็เพื่อที่จะนำสืบพิสูจน์เพียงว่า สินค้าสูญหายไปในระหว่างขนส่งเท่านั้น ไม่ได้กล่าวอ้างยืนยันเพื่อที่จะนำสืบพิสูจน์ว่าทรัพย์ยังอยู่ที่ผู้ขนส่งโดยผู้ขนส่งยึดถือไว้โดยไม่ชอบ จึงเป็นเรื่องการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งรับผิดในความสูญหายของสินค้าในระหว่างการขนส่งเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ทำสัญญารับขนแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้เรื่องอายุความว่า นับแต่เวลาอันควรส่งมอบสินค้าจนถึงวันฟ้องคดีล่วงเลยอายุความที่จะต้องฟ้องให้ผู้ขนส่งรับผิดในความสูญหายของสินค้าไปแล้ว และข้อเท็จจริงปรากฏว่าเรือเข้าเทียบท่าปลายทางตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2543 ซึ่งควรจะมีการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งในวันดังกล่าวหรือในระยะเวลาไม่ห่างจากเวลาเรือเทียบท่ามากนัก แต่ปรากฏว่าโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 อันเป็นเวลาหลังจากเวลาอันควรส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่ง 3 ปีเศษ และเป็นเวลาหลังจากที่บริษัท ซ. เรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายเพราะสินค้าได้สูญหายไประหว่างเรือขนส่งสินค้าถ่ายลำที่ประเทศสิงคโปร์ถึง 3 ปีเศษแล้วเช่นกัน ดังนั้น เมื่อมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลฯ บัญญัติว่าสิทธิเรียกร้องเอาค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตามสัญญารับขนของทางทะเล ถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลหรือเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งมอบของ หรือถ้าไม่มีการส่งมอบนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดส่งมอบตามมาตรา 41 (1) หรือนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดเวลาอันสมควรตามมาตรา 41 (2) ให้เป็นอันขาดอายุความ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ที่ฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลดังกล่าวจึงขาดอายุความ 1 ปี ตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศ: การตกลงของผู้ส่งและผลผูกพันตามใบรับขน
เมื่อพิจารณาใบรับขนทางอากาศด้านหน้า ช่องที่ 9 มีผู้ลงลายมือชื่อใต้ข้อความตัวพิมพ์ที่มีข้อความชัดเจนว่า ผู้ส่งตกลงตามเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในใบรับขนทางอากาศด้านหลังและช่องที่ 3 มีข้อความว่า สินค้าจำนวน 1 กล่อง น้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม ช่องให้สำแดงมูลค่าสินค้าเพื่อการศุลกากร (TOTAL VALUE FOR CUSTOMS) ซึ่งจะต้องใช้ในการคำนวณภาษีศุลกากร มีข้อความว่า "โปรดดูใบกำกับสินค้า" ส่วนช่องสำแดงมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง (TOTAL DECLARED VALUE FOR CARRIAGE) ระบุตัวเลข 100 โดยไม่แสดงหน่วยเงินแต่อย่างใด พฤติการณ์ที่ผู้ส่งระบุเพียงตัวเลข 100 น่าเชื่อว่า ผู้ส่งทราบดีว่าจำเลยที่ 2 อนุญาตให้ผู้ส่งสำแดงมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งสำหรับสินค้าในหีบห่อไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐและจะจำกัดความรับผิดไว้ในกรณีนี้ไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการขนส่ง 1 ครั้ง หรือ 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่าการที่ผู้ส่งกรอกข้อความเช่นนั้น จึงน่าจะเป็นการกรอกรายละเอียดเพื่อให้ผู้ขนส่งคิดค่าระวางขนส่งตามน้ำหนักของสินค้า เพราะหากแจ้งราคามูลค่าสินค้าที่แท้จริงจะต้องเสียค่าธรรมเสียมการขนส่งเพิ่ม และถึงแม้จะเป็นกรณีส่งสินค้าที่มีราคาสูง ผู้ขนส่งก็อนุญาตให้สำแดงราคาไม่เกิน 500 ดอลลาร์สหรัฐ และจำกัดความรับผิดไม่เกินมูลค่าที่สำแดง ผู้ส่งน่าจะทราบเงื่อนไขดังกล่าวจึงได้เอาประกันเพื่อความเสี่ยงภัยสูญหาย เสียหายของสินค้าไว้กับโจทก์เต็มมูลค่าของสินค้า จึงเชื่อว่าบริษัท ซ. ผู้ส่งสินค้ารู้และตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของจำเลยทั้งสองตามที่ระบุไว้ในด้านหลังของใบรับขนทางอากาศ ดังนั้น ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันผู้ส่งสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3209/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในสัญญารับขนทางทะเล: ตัวแทนไม่มีอำนาจฟ้องแทนคู่สัญญาที่แท้จริง
โจทก์ไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในสัญญารับขนของทางทะเล โจทก์เป็นตัวแทนของสายการเดินเรือต่างประเทศหลายบริษัทรวมทั้งสายการเดินเรือของบริษัท ป. ผู้ขนส่ง โจทก์ทำหน้าที่รับจองตู้สินค้าและออกใบตราส่ง และตามใบตราส่งก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของตู้สินค้า และโจทก์ไม่มีสายการเดินเรือเป็นของตน ต่อมาโจทก์มอบสำเนาใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 ตามใบตราส่งก็ระบุไว้ชัดว่าโจทก์ออกใบตราส่งแทนบริษัท ป. ผู้ขนส่ง ต่อมาได้มีการชำระค่าระวางขนส่ง ค่าภาระหน้าท่า และค่าธรรมเนียมการออกใบขนส่งให้แก่โจทก์ โจทก์ได้มอบใบเสร็จรับเงินให้ ปรากฏว่าหลักฐานการรับเงินค่าระวางขนส่งและค่าภาระหน้าท่า โจทก์ได้ออกใบเสร็จรับเงินแทนบริษัท ป. ส่วนหลักฐานการรับเงินค่าธรรมเนียมการออกใบตราส่ง โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินในนามของตนเอง บริษัท ป. จึงเป็นผู้รับชำระค่าระวางการขนส่งสินค้าครั้งนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบริษัท ป. เป็นคู่สัญญากับผู้ส่งสินค้าในสัญญารับขนของทางทะเลครั้งนี้ มิใช่โจทก์ โจทก์เป็นเพียงตัวแทนของสายการเดินเรือของบริษัท ป. เมื่อบริษัท ป. ไม่ได้มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ ทั้งกรณีนี้โจทก์ไม่อาจรับช่วงสิทธิได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งแบบ CY/CY และความรับผิดของผู้ขนส่งเมื่อไม่มีหลักฐานการสูญหายระหว่างขนส่ง
วิธีการขนส่งแบบ CY Loading คือผู้ส่งสินค้าจะเป็นผู้บรรจุสินค้าของตนเข้าไปในตู้สินค้า และปิดผนึกตู้สินค้านั้นด้วยผนึกที่ผู้ขนส่งให้มา ดังนั้น ในการขนถ่ายสินค้าทั้งสองครั้ง โจทก์ผู้ส่งมีหน้าที่ในการขนถ่ายสินค้าเข้าตู้สินค้าและผนึกที่ตู้สินค้า เมื่อผนึกที่ตู้สินค้าเมื่อถึงปลายทางที่สถานที่ของผู้รับตราส่งยังเป็นผนึกเดิม แสดงว่าระหว่างการขนส่งสินค้าในตู้สินค้าไม่ได้ถูกขนถ่ายออกจากตู้สินค้าเลย จึงฟังไม่ได้ว่าสินค้าสูญหายไปในระหว่างการขนส่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด ทั้งนี้ ไม่ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะเป็นผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นหรือไม่ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลคดีขนส่งระหว่างประเทศ: ศาลไทยมีอำนาจพิจารณา แม้มีข้อตกลงระบุฟ้องที่ฮ่องกง
แม้ข้อตกลงในใบตราส่งจะระบุให้นำข้อพิพาทที่เกิดขึ้นฟ้องต่อศาลเมืองฮ่องกง แต่ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 และมาตรา 7 (5) ให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่สินค้าได้เสียหายหรือสูญหายในระหว่างการขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างประเทศไทยกับประเทศสเปนอันเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ และให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครในฐานะตัวแทนผู้ทำสัญญารับขนดังกล่าวแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศให้ร่วมรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 มูลคดีจึงเกิดจากสัญญารับขนของทางทะเลที่ทำในราชอาณาจักรไทย กฎหมายที่ใช้บังคับคือกฎหมายไทย พยานหลักฐานต่าง ๆ ก็อยู่ในเขตอำนาจศาลไทยเป็นส่วนใหญ่ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งเป็นศาลที่มีเขตอำนาจย่อมพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นได้ด้วย หาจำต้องนำคดีไปฟ้องยังศาลเมืองฮ่องกงแต่เพียงแห่งเดียวเท่านั้นไม่
กรณีพิพาทเป็นการขนส่งทางทะเลอันเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ และปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งคือบริษัท อ. เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญารับขนของทางทะเลดังกล่าวจึงต้องเป็น พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
กรณีพิพาทเป็นการขนส่งทางทะเลอันเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ และปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งคือบริษัท อ. เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญารับขนของทางทะเลดังกล่าวจึงต้องเป็น พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: ความรับผิดของผู้ขนส่ง, อายุความฟ้องร้อง, และการจำกัดความรับผิดตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่สินค้าได้เสียหายและสูญหายไปในระหว่างการขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างประเทศไทยไปยังประเทศสเปนอันเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ และให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครในฐานะตัวแทนผู้ทำสัญญารับขนดังกล่าวแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศร่วมรับผิด โดยผลของ ป.พ.พ. มาตรา 824 จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศตามมาตรา 5 และมาตรา 7 (5) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ แม้ใบตราส่งจะระบุว่าต้องใช้กฎหมายของเมืองฮ่องกง แต่กรณีพิพาทเป็นการขนส่งทางทะเลจากที่แห่งหนึ่งในราชอาณาจักรไปยังที่อีกแห่งหนึ่งนอกราชอาณาจักร และปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ส่งของเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญารับขนของทางทะเลจึงต้องเป็น พ.ร.บ.การรับขนของทางทะลฯ ตามมาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9023/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนตามกฎหมายรับขนของทางทะเล และอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ
ใบตราส่งเป็นแบบพิมพ์ของจำเลยที่ 2 ระบุว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่ง ทั้งตู้สินค้าที่ใช้ในการขนส่งเป็นของจำเลยที่ 2 จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้า ส่วนจำเลยที่ 1 ปรากฏตามใบตราส่งด้านล่างระบุว่า จำเลยที่ 2 เพื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของสายการเดินเรือ แสดงว่า จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น มิได้เป็นผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่น
บริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งตั้งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของสายการเดินเรือได้ออก ใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งของ และด้านหลังของใบตราส่งมีตราประทับของจำเลยที่ 1 ไว้ด้วย จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนจำเลยที่ 2 ตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลต่อผู้ส่งของ
ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ไม่มีบทบัญญัติใดยกเว้นความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศไว้
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 7 (5) บัญญัติไว้ว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือการให้บริการระหว่างประเทศ การขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัยและนิติกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง และในคดีนี้เป็นเรื่องการขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัยและนิติกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา
โจทก์ผู้รับประกันสินค้าชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยได้รับ โจทก์จึงรับช่วงสิทธิมาเป็นจำนวนตามความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยได้รับอย่างแท้จริง
ตามใบตราส่งด้านหน้าและใบแนบมีข้อความระบุไว้ว่า บรรจุใน 1,000 กล่อง จึงเท่ากับ 1,000 หน่วยการขนส่งตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 59 (1) เมื่อปรากฏว่าความเสียหายของสินค้ามี 38 เปอร์เซ็นต์ ความเสียหายอย่างน้อยที่สุดเมื่อคิดตามหน่วยการขนส่ง คือ 380 กล่อง หรือ 380 หน่วยการขนส่ง ตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง จึงจำกัดความรับผิดไว้ไม่เกิน 3,800,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่า เมื่อความเสียหายที่แท้จริงต่ำกว่าจำนวนที่จำกัดความรับผิดไว้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องรับผิดตามความเสียหายที่แท้จริงตามมาตรา 58 วรรคสอง
บริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งตั้งอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น จำเลยที่ 1 ในฐานะตัวแทนของสายการเดินเรือได้ออก ใบตราส่งให้แก่ผู้ส่งของ และด้านหลังของใบตราส่งมีตราประทับของจำเลยที่ 1 ไว้ด้วย จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนทำสัญญาแทนจำเลยที่ 2 ตัวการซึ่งอยู่และมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญารับขนของทางทะเลต่อผู้ส่งของ
ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ไม่มีบทบัญญัติใดยกเว้นความรับผิดของตัวแทนที่ทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศไว้
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 7 (5) บัญญัติไว้ว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือการให้บริการระหว่างประเทศ การขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัยและนิติกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง และในคดีนี้เป็นเรื่องการขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัยและนิติกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่อง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษา
โจทก์ผู้รับประกันสินค้าชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยได้รับ โจทก์จึงรับช่วงสิทธิมาเป็นจำนวนตามความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยได้รับอย่างแท้จริง
ตามใบตราส่งด้านหน้าและใบแนบมีข้อความระบุไว้ว่า บรรจุใน 1,000 กล่อง จึงเท่ากับ 1,000 หน่วยการขนส่งตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 59 (1) เมื่อปรากฏว่าความเสียหายของสินค้ามี 38 เปอร์เซ็นต์ ความเสียหายอย่างน้อยที่สุดเมื่อคิดตามหน่วยการขนส่ง คือ 380 กล่อง หรือ 380 หน่วยการขนส่ง ตามมาตรา 58 วรรคหนึ่ง จึงจำกัดความรับผิดไว้ไม่เกิน 3,800,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่า เมื่อความเสียหายที่แท้จริงต่ำกว่าจำนวนที่จำกัดความรับผิดไว้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องรับผิดตามความเสียหายที่แท้จริงตามมาตรา 58 วรรคสอง