พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9500/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: ศาลฎีกาวินิจฉัยพยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักกว่า และแก้ไขค่าขึ้นศาล
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่ จำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย และฟ้องแย้งห้ามมิให้โจทก์และบริวารเข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ศาลชั้นต้นกำหนดจำนวนทุนทรัพย์เป็นเงิน 240,000 บาท จึงเป็นคดีมโนสาเร่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 189 ประกอบ พ.ร.ฎ.กำหนดจำนวนเงินในคดีมโนสาเร่ พ.ศ.2546 มาตรา 3 (1) ซึ่งเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามมาตรา 190 จัตวา วรรคหนึ่ง (เดิม) และตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) ที่ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นจากโจทก์ และจำเลยในส่วนของฟ้องแย้งเกินกว่า 200 บาท จึงไม่ถูกต้อง และต้องคืนเงินส่วนที่เกิน 200 บาท ให้แก่โจทก์และจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3664/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีมโนสาเร่: คดีผิดสัญญาหมั้นทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 แสนบาท เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท
ป.วิ.พ. มาตรา 189 บัญญัติว่า คดีมโนสาเร่ คือ (ง) คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท และมาตรา 190 จัตวา วรรคหนึ่ง (เดิม) บัญญัติว่า ในคดีมโนสาเร่ ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเท่ากับจำนวนค่าขึ้นศาลที่เรียกเก็บในคดีที่มาคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งตาราง 1 (2) (ก) ต่อท้าย ป.วิ.พ. (เดิม) กำหนดว่า "คดีทั่วไปรวมทั้งคดีไม่มีข้อพิพาทให้เรียกเรื่องละสองร้อยบาท" ตามฟ้องโจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสามผิดสัญญาหมั้น ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันคืนสินสอดและชดใช้ค่าเสียหาย รวมเป็นเงินจำนวน 150,000 บาท ดังนี้ เป็นคำฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่เกินสามแสนบาท ย่อมเป็นคดีมโนสาเร่และเสียค่าขึ้นศาลเพียงสองร้อยบาท ตามบทกฎหมายและตารางต่อท้ายบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เมื่อโจทก์ชำระค่าขึ้นศาล 200 บาท จึงถูกต้องตามบทกฎหมายและตารางต่อท้ายบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะเป็นศาลเยาวชนและครอบครัว แต่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้ก็ต้องนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5514/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อากรแสตมป์คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: ยกเว้นตาม พ.ร.ฎ. และค่าขึ้นศาลกรณีอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
แม้ว่าบทบัญญัติตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ หมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรมีข้อกำหนดว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการให้ปิดอากรแสตมป์ในอัตราอากรแสตมป์ 1 บาทต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แต่ได้มีพ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 มาตรา 6 (33) ให้ยกเว้นอากรแสตมป์ในตราสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 374) พ.ศ. 2543 มาตรา 3 ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ยกเว้นอากรแสตมป์ ตามหมวด 6 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรแก่...(33) อนุญาโตตุลาการเฉพาะตราสารคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ" กรณีจึงทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามบทกฎหมายดังกล่าว
ผู้ร้องอุทธรณ์ข้อกฎหมายต่อศาลฎีกาตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เช่นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ. ตาราง 1 (2) (ก)
ผู้ร้องอุทธรณ์ข้อกฎหมายต่อศาลฎีกาตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี เช่นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายป.วิ.พ. ตาราง 1 (2) (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3821/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบุริมสิทธิของผู้ให้เช่า: การบังคับชำระหนี้จากสิทธิการเช่า vs. สังหาริมทรัพย์ในที่เช่า
หนี้ที่ผู้ร้องขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ที่จำเลยค้างชำระค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และหนี้อย่างอื่นของผู้เช่าอันเกิดจากความเกี่ยวพันในเรื่องเช่าอาคารพาณิชย์ ผู้ร้องมีบุริมสิทธิพิเศษเหนือสังหาริมทรัพย์ตามป.พ.พ. มาตรา 259 (1) แต่คดีนี้ผู้ร้องขอรับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดสิทธิการเช่า ไม่ได้ขอบังคับเอาจากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดสังหาริมทรัพย์ที่ผู้เช่านำเข้ามาไว้ในที่ดินหรือโรงเรือนตาม ป.พ.พ. มาตรา 261 วรรคหนึ่ง, วรรคสอง ทั้งมิใช่เงินอันผู้โอนหรือผู้ให้เช่าช่วงจะพึงได้รับจากผู้รับโอนหรือผู้เช่าช่วงตาม ป.พ.พ. มาตรา 262 ผู้ร้องจึงไม่มีบุริมสิทธิพิเศษเหนือเงินจากการขายทอดตลาด
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนตามป.วิ.พ. มาตรา 287 เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2)(ก)
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนตามป.วิ.พ. มาตรา 287 เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2)(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8215/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันภาษีอากร: ผู้ค้ำประกันสละสิทธิให้เรียกผู้ขอผ่อนชำระก่อน ทำให้เป็นลูกหนี้ร่วม
สัญญาค้ำประกันการผ่อนชำระภาษีอากรระบุว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระภาษีอากร เมื่อโจทก์ได้แจ้งจำนวนเงินภาษีอากรที่ต้องชำระของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 แล้ว จำเลยที่ 2 จะนำเงินมาชำระให้แก่โจทก์ภายในเวลา 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง โดยจำเลยที่ 2 จะชำระเงินให้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขอผ่อนชำระภาษีอากรโดยมิต้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระก่อน ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระก่อนและสละสิทธิที่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 688 และ 689 อันมีผลทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 หรือที่ 2 คนใดคนหนึ่งชำระหนี้สิ้นเชิง โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์จนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นเชิง จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 691
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 24 แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องทั้ง ๆ ที่โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในศาลภาษีอากรกลางอันเป็นการไม่ถูกต้อง และต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์
โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วม จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์จำนวน 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 24 แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องทั้ง ๆ ที่โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในศาลภาษีอากรกลางอันเป็นการไม่ถูกต้อง และต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ส่วนที่เกินมาให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7553/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนจำนองที่ดิน: จำนองโดยรู้ถึงความเสียเปรียบของลูกหนี้, การรับจำนองโดยไม่สุจริต, สิทธิเรียกร้องให้ปลดเปลื้องทุกข์
โจทก์ฎีกาขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินทั้งสองแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 นอกเหนือจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินทั้งสองแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์โดยปลอดภาระจำนองแล้ว คำขอดังกล่าวของโจทก์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เพราะมิได้เรียกร้องทรัพย์สินจากจำเลยที่ 2 จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์มานั้นไม่ถูกต้อง จึงให้คืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เสียเกินมาแก่โจทก์