คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 366 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3416/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเคเบิ้ลทีวี: การตกลงสัญญาใหม่ต้องสมบูรณ์ การชำระค่าบริการต่อเนื่องไม่ผูกพันสัญญา
หลังจากสัญญายินยอมให้ดำเนินธุรกิจบริการเคเบิ้ลทีวีระหว่างโจทก์และจำเลยสิ้นสุดแล้ว โจทก์ได้ส่งสัญญาในลักษณะดังกล่าวส่งให้แก่จำเลยเพื่อทำการต่อสัญญาและติดตามให้จำเลยลงนามในร่างสัญญาหลายครั้ง แต่จำเลยไม่ลงนาม ซึ่งทางปฏิบัติของโจทก์เช่นนั้น แสดงว่าข้อความแห่งร่างสัญญาดังกล่าว โจทก์ถือเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อ ได้ความจากจำเลยว่า เหตุที่จำเลยไม่ยอมลงนามในร่างสัญญานั้น เพราะโจทก์ไม่ยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลงช่องสัญญาณให้ทันสมัยหรือมีความน่าสนใจตรงตามความต้องการของลูกค้าในเขตตำบลราไวย์ ทั้งไม่มีการส่งเสริมการขายใดๆ ประกอบกับมีผู้ประกอบการให้บริการเคเบิ้ลทีวีเกิดขึ้นในตำบลราไวย์อีกหลายราย จึงสอบถามโจทก์ว่าเหตุใดจึงมีคู่แข่งได้ทั้งที่โจทก์เคยบอกจำเลยว่าโจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตแต่เพียงผู้เดียว แต่โจทก์ไม่ได้ตอบคำถาม เห็นได้ว่าจำเลยประสงค์ที่จะตกลงกับโจทก์ใหม่ แต่เมื่อโจทก์และจำเลยยังตกลงกันไม่ได้อยู่ตราบใด ถือว่าโจทก์และจำเลยยังไม่มีสัญญาต่อกัน แม้ในระหว่างนั้นจำเลยจะยังคงชำระค่าธรรมเนียมและค่าเชื่อมส่งสัญญาณให้แก่โจทก์ ก็หาเป็นการผูกพันให้จำเลยลงนามในร่างสัญญาดังกล่าวไม่ ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับการก่อให้เกิดสัญญา และมีผลไปถึงอำนาจฟ้องในกรณีผิดสัญญา ซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง แม้ภายหลังสัญญายินยอมให้ดำเนินธุรกิจบริการเคเบิ้ลทีวีระหว่างโจทก์และจำเลยสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ได้ส่งสัญญาณภาพเคเบิ้ลทีวีไปยังจำเลยต่อไป ก็เป็นการดำเนินการของโจทก์ไปฝ่ายเดียวโดยที่จำเลยไม่ได้ตกลงด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5181/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบเสนอราคาไม่ผูกพันสัญญา หากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามข้อสาระสำคัญ และไม่มีมูลฟ้อง
จำเลยทำใบเสนอราคาคอนกรีตเทรองพื้นและคอนกรีตโครงสร้างต่อโจทก์มีการระบุถึงรายละเอียดของรายการสินค้าประเภทคอนกรีตเทรองพื้นและคอนกรีตโครงสร้างพร้อมราคาไว้ และจำเลยยังระบุเงื่อนไขเพื่อประกอบการพิจารณาของโจทก์ไว้รวม 9 ข้อ ในใบเสนอราคาดังกล่าว โดยข้อ 4 ระบุถึงการติดตั้งเครื่องผสมคอนกรีต ณ หน้างานก่อสร้าง กำหนดติดตั้งแล้วเสร็จ 30 วัน นับจากวันทำสัญญา และในข้อ 9 ระบุถึงการที่ผู้ซื้อมีเหตุจำเป็นต้องซื้อคอนกรีตจากผู้ขายรายอื่นเนื่องจากเหตุที่ผู้ขายไม่สามารถให้บริการได้ ผู้ขายยินยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อในอัตราค่าเสียหายตามความเป็นจริง ซึ่งในข้อ 4 และข้อ 9 นี้เท่านั้นที่ได้กล่าวถึงสัญญาและสัญญาซื้อขายไว้ แม้จะมิได้ระบุว่าสัญญาและสัญญาซื้อขายจะต้องทำเป็นหนังสือกันในภายหลังดังที่โจทก์ฎีกาก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาใบเสนอราคาดังกล่าวในข้อ 7 ที่ระบุให้ผู้ซื้อซึ่งหมายถึงโจทก์ต้องออกหนังสือค้ำประกันของธนาคารเท่ากับมูลค่า 2,000,000 บาท โดยผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมธนาคารที่เกิดขึ้นด้วย แต่โจทก์กลับมิได้นำสืบให้เห็นว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามใบเสนอราคาในข้อ 7 นี้ โดยขอออกหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามวงเงินประกันแต่อย่างใดและแสดงให้เห็นว่า โจทก์เองก็มิได้ตกลงโดยยินยอมที่จะผูกพันและปฏิบัติตามใบเสนอราคาดังกล่าวทั้งหมดทุกข้อ ที่โจทก์ให้จำเลยปฏิบัติตามใบเสนอราคาเฉพาะในข้อ 9 ซึ่งเป็นประโยชน์แก่โจทก์ แต่กลับไม่ยอมปฏิบัติตามใบเสนอราคาในข้อ 7 ซึ่งเป็นข้อสาระสำคัญที่จำเลยได้แสดงไว้โดยชัดแจ้งว่า โจทก์จะต้องตกลงด้วยในข้อนี้ การที่โจทก์ยังมิได้ขอออกหนังสือค้ำประกันของธนาคารตามใบเสนอราคาข้อ 7 นี้ จึงยังถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยได้ตกลงตามใบเสนอราคากันทั้งหมดทุกข้อแล้ว ใบเสนอราคาที่จำเลยทำถึงโจทก์เป็นเพียงการทำความเข้าใจกันกับโจทก์ไว้เฉพาะบางสิ่งบางอย่างในเบื้องต้นเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะได้ระบุไว้ก็หาเป็นการผูกพันจำเลยไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การที่โจทก์ซื้อคอนกรีตจากจำเลยเรื่อยมา ก็เป็นเพียงการซื้อขายสินค้าเฉพาะสิ่งตามรายการที่มีการส่งมอบให้แก่กันเป็นคราว ๆ ไปเท่านั้น มิได้เป็นคำสนองเข้ารับทำสัญญาตามใบเสนอราคาดังกล่าว
โจทก์ว่าจ้าง ส. เป็นผู้ดำเนินการรื้อถอนและปรับพื้นที่ในส่วนที่จำเลยก่อสร้างขึ้นเพื่อผลิตคอนกรีตส่งให้แก่โจทก์เพื่อส่งมอบพื้นที่ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นเงิน 70,000 บาท เมื่อตามใบเสนอราคาข้อ 4 ระบุถึงการติดตั้งเครื่องผสมคอนกรีต ณ หน้างานก่อสร้าง กำหนดติดตั้งแล้วเสร็จ 30 วัน นับจากวันทำสัญญา แสดงให้เห็นว่าจำเลยก่อสร้างหรือติดตั้งเครื่องผสมคอนกรีตขึ้นโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์ ต่อมาโจทก์ไม่ได้ยินยอมให้จำเลยอยู่บนพื้นที่ที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะอยู่และต้องรื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกไป แต่โจทก์กลับว่าจ้าง ส. รื้อถอนสิ่งก่อสร้างออกไป โดยจำเลยมิได้ตกลงว่าจะเป็นฝ่ายเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์ จำเลยจึงไม่มีความรับผิดตามสัญญาที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การก็ตาม แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลจะมีคำพิพากษาชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีโดยจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การมิได้ เว้นแต่ศาลเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ในการนี้ศาลจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ เมื่อคดีโจทก์ไม่มีมูลให้รับฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญา ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
โจทก์ฎีกาขอให้จำเลยคืนหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคาร 600,000 บาท ที่จำเลยยึดถือไว้คืนแก่โจทก์ ก็ไม่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่าเป็นหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยได้ยึดถือไว้เกี่ยวด้วยกับใบเสนอราคาหรือไม่อย่างไร จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์: ราคาไม่แน่นอน, ผู้มีอำนาจลงนามไม่ถูกต้อง ทำให้สัญญายังไม่ผูกพัน
ตามสัญญาแม้ใช้ถ้อยคำว่าเป็นสัญญาซื้อขาย แต่เงื่อนไขของสัญญาดังกล่าวข้อ 1 ระบุว่า จำนวนสินค้าที่ระบุไว้ในสัญญาเป็นการประมาณการเท่านั้น การปรับปรุงราคาสินค้าที่ต้องชำระจะคิดคำนวณตามจำนวนสินค้าที่แท้จริง และข้อ 3 มีใจความว่า วันกำหนดส่งสินค้า และ/หรือกำหนดเวลาส่งมอบสินค้าตามที่ระบุในสัญญาเป็นการกำหนดวันที่โดยประมาณ เช่นนี้ จำนวนสินค้า ราคาและกำหนดเวลาส่งสินค้าซึ่งจะมีผลไปถึงกำหนดวันที่ต้องชำระเงินจึงหาได้กำหนดไว้แน่นอนไม่โดยเฉพาะราคาสินค้านั้น ทั้งโจทก์และจำเลยมีการเจรจาโดยต่างเสนอข้อต่อรองเพื่อกำหนดราคาสินค้า เมื่อไม่ตกลงกันทำให้ราคาสินค้าไม่อาจกำหนดจำนวนที่แน่นอนได้ราคาสินค้าจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของสัญญาซื้อขายที่ยังไม่อาจตกลงกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง นอกจากนี้เงื่อนไขของสัญญา ข้อ 13 ระบุว่า การลงนามทั้งหลายจะมีผลสมบูรณ์เมื่อกรรมการผู้จัดการของจำเลยลงนามแล้วเท่านั้น แต่กรรมการผู้จัดการของจำเลยหาได้ลงนามใน Sales contract (สัญญาซื้อขาย) ไม่ทั้งไม่ปรากฏว่า ส. ลงนามในเอกสารดังกล่าวโดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากกรรมการผู้จัดการของจำเลยแล้ว ดังนั้นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยยังไม่เกิดขึ้น ทำให้ Sales contract (สัญญาซื้อขาย) หาได้มีผลเป็นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์และจำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9350/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายลิฟต์มีผลเมื่อผู้รับเหมาหลักลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลย สัญญาจึงสมบูรณ์
ข้อความในหนังสือยืนยันการซื้อขายที่ว่าเมื่อได้มีการทำสัญญาหลักแล้วโจทก์จะแจ้งให้ผู้รับเหมาหลักลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลยนั้นเป็นข้อความแห่งสัญญาอันโจทก์ผู้เป็นคู่สัญญาแม้เพียงฝ่ายเดียวได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระหลักได้ลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลยสัญญาซื้อขายลิฟต์และอุปกรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังมิได้มีการตกลงกันได้หมดทุกข้อต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยยังมิได้มีสัญญาซื้อขายดังกล่าวต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9350/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์ หากเงื่อนไขสำคัญยังไม่ตกลงกัน
ข้อความในหนังสือยืนยันการซื้อขายที่ว่า เมื่อได้มีการทำสัญญาหลักแล้ว โจทก์จะแจ้งให้ผู้รับเหมาหลักลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลยนั้น เป็นข้อความแห่งสัญญาอันโจทก์ผู้เป็นคู่สัญญาแม้เพียงฝ่ายเดียวได้แสดงไว้ว่าเป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันหมดทุกข้อ เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้รับเหมาหลักได้ลงนามในสัญญารับเหมาช่วงกับจำเลย สัญญาซื้อขายลิฟต์และอุปกรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังมิได้มีการตกลงกันได้หมดทุกข้อ ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยยังมิได้มีสัญญาซื้อขายดังกล่าวต่อกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 366 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะเมื่อไม่ตกลงราคาใหม่หลังถูกเวนคืน สิทธิกลับสู่ฐานะเดิม
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทตามเอกสารหมายจ.4แต่ตามเอกสารหมายจ.7มีข้อความว่าจำเลยขอรังวัดที่ดินพิพาทในส่วนที่ถูกเขตชลประทานแสดงว่าที่พิพาทที่จำเลยจะขายให้โจทก์จะต้องถูกทางราชการเวนคืนบางส่วนโจทก์จำเลยจึงตกลงทำสัญญาเพิ่มเติมสัญญาจะซื้อขายว่าคู่สัญญาขอเลื่อนการโอนกรรมสิทธิ์ไปเพื่อขยายเวลาไปเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงไว้ให้เหลือเป็นราคาที่พิพาทที่เหลือไว้จะโอนกรรมสิทธิ์ได้จริงโดยไม่ถูกเวนคืนแสดงว่าโจทก์ทราบแล้วว่าที่พิพาทที่จะซื้อขายต้องถูกเวนคืนให้กรมชลประทานแต่โจทก์ไม่ได้ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่จะอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาจึงได้ทำบันทึกข้อตกลงกันใหม่โดยไม่ถือเอาจำนวนเนื้อที่พิพาทและราคาตามเอกสารหมายจ.4แต่จะต้องเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงไว้และเลื่อนกำหนดเวลาการโอนไปถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมายจ.4โดยปริยายและมุ่งประสงค์ที่จะซื้อขายที่พิพาทกันต่อไปตามจำนวนเนื้อที่ที่เหลือจากการถูกเวนคืนโดยให้เลื่อนการโอนไปเพื่อเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงกันไว้อันเป็นสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา366วรรคหนึ่งสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทฉบับใหม่ยังไม่เกิดขึ้นเมื่อครบกำหนดการโอนแล้วปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายได้ไปที่สำนักงานที่ดินแต่ก็ตกลงเรื่องราคากันไม่ได้จึงไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกันประกอบกับสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมายจ.4ยกเลิกโดยปริยายและสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ยังไม่เกิดขึ้นโจทก์จำเลยจึงไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญาและต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391จำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์และโจทก์จะกลับมาอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเพื่อเรียกร้องให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาจะซื้อจะขายโดยปริยาย – สัญญาใหม่ไม่สมบูรณ์ – คืนเงินมัดจำ
โจทก์และจำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทตามเอกสารหมาย จ.4 แต่ตามเอกสารหมาย จ.7 มีข้อความว่า จำเลยขอรังวัดที่พิพาทในส่วนที่ถูกเขตชลประทาน แสดงว่าที่พิพาทที่จำเลยจะขายให้โจทก์จะต้องถูกทางราชการเวนคืนบางส่วน โจทก์จำเลยจึงตกลงทำสัญญาเพิ่มเติมสัญญาจะซื้อขายว่า คู่สัญญาขอเลื่อนการโอนกรรมสิทธิ์ไปเพื่อขยายเวลาไปเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงไว้ให้เหลือเป็นราคาที่พิพาทที่เหลือไว้จะโอนกรรมสิทธิ์ได้จริงโดยไม่ถูกเวนคืน แสดงว่าโจทก์ทราบแล้วว่าที่พิพาทที่จะซื้อขายต้องถูกเวนคืนให้กรมชลประทาน แต่โจทก์ไม่ได้ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่จะอ้างว่าจำเลยผิดสัญญา จึงได้ทำบันทึกข้อตกลงกันใหม่โดยไม่ถือเอาจำนวนเนื้อที่พิพาทและราคาตามเอกสารหมาย จ.4 แต่จะต้องเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงไว้และเลื่อนกำหนดเวลาการโอนไป ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมาย จ.4 โดยปริยาย และมุ่งประสงค์ที่จะซื้อขายที่พิพาทกันต่อไปตามจำนวนเนื้อที่ที่เหลือจากการถูกเวนคืน โดยให้เลื่อนการโอนไปเพื่อเจรจาเปลี่ยนราคาลดลงจากที่ตกลงกันไว้ อันเป็นสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ตกลงกันได้หมดทุกข้ออยู่ตราบใด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคหนึ่ง สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทฉบับใหม่ยังไม่เกิดขึ้น เมื่อครบกำหนดการโอนแล้ว ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายได้ไปที่สำนักงานที่ดิน แต่ก็ตกลงเรื่องราคากันไม่ได้ จึงไม่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกันประกอบกับสัญญาจะซื้อจะขายตามเอกสารหมาย จ.4 ยกเลิกโดยปริยาย และสัญญาจะซื้อจะขายฉบับใหม่ยังไม่เกิดขึ้น โจทก์จำเลยจึงไม่มีฝ่ายใดผิดสัญญา และต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยอนุโลม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ และโจทก์จะกลับมาอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาเพื่อเรียกร้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอีกไม่ได้