พบผลลัพธ์ทั้งหมด 226 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4826/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายขวด, เบี้ยปรับ, ความเสียหายจากการส่งมอบขวดชำรุด, และการหักกลบลบหนี้
การที่โจทก์มีหนี้ที่จะต้องผลิตและส่งมอบขวดแก่จำเลย ทุกเดือนนั้นโจทก์ได้ชำระหนี้บางส่วน และผิดสัญญาไม่ชำระหนี้บางส่วน สำหรับส่วนที่โจทก์ชำระให้จำเลยรับไปแล้วนั้น จำเลยต้องชำระหนี้ตอบแทนคิดเป็นเงินตามจำนวนขวดที่รับไว้นั้นแก่โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ ส่งมอบขวดไม่ครบ จึงไม่ต้องชำระเงินแก่โจทก์หาได้ไม่ส่วนข้อกำหนดในสัญญาที่ว่าถ้าโจทก์ไม่สามารถส่งมอบขวดได้ตามสัญญาให้ โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเท่าราคาขวดทั้งหมด ที่ยังค้างส่งอยู่ในงวดนั้น ๆ เป็นเพียงการกำหนดเบี้ยปรับ สำหรับบังคับเอาแก่จำเลยในกรณีที่โจทก์ไม่ชำระหนี้เท่านั้น จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ยังไม่ชำระเบี้ยปรับ จำเลยจึงไม่ต้อง ชำระค่าขวดหาได้ไม่เช่นกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยยอมรับมอบ ขวดบางส่วนจากโจทก์แล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ค่าขวดดังกล่าว จึงเป็นการผิดสัญญา ชอบที่โจทก์จะฟ้องบังคับจำเลยชำระหนี้นั้นได้
เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ส่งมอบขวดบางส่วน โจทก์ก็ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้นแก่จำเลยและในเมื่อสัญญาได้กำหนดค่าเสียหาย ไว้ล่วงหน้าในลักษณะที่ เป็นเบี้ยปรับแล้ว เช่นนี้ จำเลยย่อมเรียกเอาเบี้ยปรับนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสองซึ่งหากเป็นจำนวนสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามมาตรา 373 วรรคแรก
ค่าน้ำมันพืชรั่วซึม เสียหายนั้น ปรากฏว่าอย่างช้าในวันสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2524 การรั่วซึม ของขวดที่ชำรุดบกพร่องจำนวนประมาณ 30,000 ใบได้ปรากฏแก่จำเลยจนหมดสิ้นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายส่วนนี้เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2526 จึงพ้นกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่วันที่ความชำรุดบกพร่องปรากฏขึ้น ฟ้องแย้งของจำเลยข้อนี้จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 601 แล้ว
ค่าใช้จ่ายและค่าจ้างคนงานในการตรวจสอบคุณภาพขวดของจำเลยเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สินค้าว่าชำรุดบกพร่องหรือไม่ หากชำรุดบกพร่องจำเลยก็จะไม่รับมอบและคืนแก่โจทก์ ย่อมเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าตามปกติทั่วไปและเป็นประโยชน์แก่จำเลยฝ่ายเดียว และไม่ว่า โจทก์จะส่งมอบขวดที่ชำรุดบกพร่องหรือไม่ จำเลยก็คงต้องจ้าง คนงานตรวจคุณภาพขวดอยู่นั่นเอง หาใช่เป็นค่าเสียหาย เพราะโจทก์ส่งมอบขวดที่ชำรุดบกพร่องเป็นกรณีพิเศษไม่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่จำเลย
จำเลยมิได้เพียงแต่นำน้ำมันพืชบรรจุขวดอย่างใหม่ออกจำหน่ายแก่ลูกค้าตามปกติ แต่ได้ดำเนินกิจการขยายตลาดด้วยการลงทุนโฆษณาเป็นพิเศษควบคู่ไปด้วยโดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบ การลงทุนโฆษณาสินค้านี้เป็นพฤติการณ์พิเศษอย่างหนึ่งในการดำเนินกิจการค้าของจำเลย เมื่อโจทก์ส่งมอบขวดไม่ครบ ทำให้จำเลยขยายตลาดไม่ได้ และต้องสูญเสียเงินค่าโฆษณาสินค้า ไปโดยไม่มีสินค้าจำหน่าย ความเสียหายของจำเลยในค่าโฆษณาสินค้า จึงไม่ใช่ความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่ โจทก์ไม่ชำระหนี้ แต่เป็นความเสียหายที่เกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งโจทก์มิได้คาดเห็นหรือควรได้คาดเห็นล่วงหน้า จำเลย จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง
การที่จำเลยคาดหวังว่าจะใช้ขวดบรรจุน้ำมันพืชแล้วนำไปขายได้กำไรขวดละ 3.80 บาท นั้น เป็นเรื่องของอนาคตที่ไม่แน่นอนว่าจำเลยจะขายมีกำไรตามที่คาดหมายหรือไม่ทั้งเป็นพฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่เคยแจ้งให้โจทก์ทราบมาก่อน และโจทก์ไม่อาจคาดเห็นหรือควรคาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้น ได้ล่วงหน้า จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดกำไรส่วน นี้จาก โจทก์เช่นกัน
เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ส่งมอบขวดบางส่วน โจทก์ก็ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้นแก่จำเลยและในเมื่อสัญญาได้กำหนดค่าเสียหาย ไว้ล่วงหน้าในลักษณะที่ เป็นเบี้ยปรับแล้ว เช่นนี้ จำเลยย่อมเรียกเอาเบี้ยปรับนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสองซึ่งหากเป็นจำนวนสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามมาตรา 373 วรรคแรก
ค่าน้ำมันพืชรั่วซึม เสียหายนั้น ปรากฏว่าอย่างช้าในวันสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2524 การรั่วซึม ของขวดที่ชำรุดบกพร่องจำนวนประมาณ 30,000 ใบได้ปรากฏแก่จำเลยจนหมดสิ้นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายส่วนนี้เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2526 จึงพ้นกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่วันที่ความชำรุดบกพร่องปรากฏขึ้น ฟ้องแย้งของจำเลยข้อนี้จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 601 แล้ว
ค่าใช้จ่ายและค่าจ้างคนงานในการตรวจสอบคุณภาพขวดของจำเลยเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สินค้าว่าชำรุดบกพร่องหรือไม่ หากชำรุดบกพร่องจำเลยก็จะไม่รับมอบและคืนแก่โจทก์ ย่อมเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าตามปกติทั่วไปและเป็นประโยชน์แก่จำเลยฝ่ายเดียว และไม่ว่า โจทก์จะส่งมอบขวดที่ชำรุดบกพร่องหรือไม่ จำเลยก็คงต้องจ้าง คนงานตรวจคุณภาพขวดอยู่นั่นเอง หาใช่เป็นค่าเสียหาย เพราะโจทก์ส่งมอบขวดที่ชำรุดบกพร่องเป็นกรณีพิเศษไม่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่จำเลย
จำเลยมิได้เพียงแต่นำน้ำมันพืชบรรจุขวดอย่างใหม่ออกจำหน่ายแก่ลูกค้าตามปกติ แต่ได้ดำเนินกิจการขยายตลาดด้วยการลงทุนโฆษณาเป็นพิเศษควบคู่ไปด้วยโดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบ การลงทุนโฆษณาสินค้านี้เป็นพฤติการณ์พิเศษอย่างหนึ่งในการดำเนินกิจการค้าของจำเลย เมื่อโจทก์ส่งมอบขวดไม่ครบ ทำให้จำเลยขยายตลาดไม่ได้ และต้องสูญเสียเงินค่าโฆษณาสินค้า ไปโดยไม่มีสินค้าจำหน่าย ความเสียหายของจำเลยในค่าโฆษณาสินค้า จึงไม่ใช่ความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่ โจทก์ไม่ชำระหนี้ แต่เป็นความเสียหายที่เกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งโจทก์มิได้คาดเห็นหรือควรได้คาดเห็นล่วงหน้า จำเลย จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง
การที่จำเลยคาดหวังว่าจะใช้ขวดบรรจุน้ำมันพืชแล้วนำไปขายได้กำไรขวดละ 3.80 บาท นั้น เป็นเรื่องของอนาคตที่ไม่แน่นอนว่าจำเลยจะขายมีกำไรตามที่คาดหมายหรือไม่ทั้งเป็นพฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่เคยแจ้งให้โจทก์ทราบมาก่อน และโจทก์ไม่อาจคาดเห็นหรือควรคาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้น ได้ล่วงหน้า จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดกำไรส่วน นี้จาก โจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4826/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายขวดกับน้ำมันพืช: เบี้ยปรับ, การลดจำนวน, และความรับผิด
การที่โจทก์มีหนี้ที่จะต้องผลิตและส่งมอบขวดแก่จำเลย ทุกเดือนนั้นโจทก์ได้ชำระหนี้บางส่วน และผิดสัญญาไม่ชำระหนี้บางส่วน สำหรับส่วนที่โจทก์ชำระให้จำเลยรับไปแล้วนั้น จำเลยต้องชำระหนี้ตอบแทนคิดเป็นเงินตามจำนวนขวดที่รับไว้นั้นแก่โจทก์ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ ส่งมอบขวดไม่ครบ จึงไม่ต้องชำระเงินแก่โจทก์หาได้ไม่ส่วนข้อกำหนดในสัญญาที่ว่าถ้าโจทก์ไม่สามารถส่งมอบขวดได้ตามสัญญาให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเท่าราคาขวดทั้งหมด ที่ยังค้างส่งอยู่ในงวดนั้น ๆ เป็นเพียงการกำหนดเบี้ยปรับ สำหรับบังคับเอาแก่จำเลยในกรณีที่โจทก์ไม่ชำระหนี้เท่านั้น จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ยังไม่ชำระเบี้ยปรับ จำเลยจึงไม่ต้อง ชำระค่าขวดหาได้ไม่เช่นกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยยอมรับมอบ ขวดบางส่วนจากโจทก์แล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ค่าขวดดังกล่าว จึงเป็นการผิดสัญญา ชอบที่โจทก์จะฟ้องบังคับจำเลยชำระหนี้นั้นได้ เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ส่งมอบขวดบางส่วน โจทก์ก็ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้นั้นแก่จำเลยและในเมื่อสัญญาได้กำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในลักษณะที่ เป็นเบี้ยปรับแล้ว เช่นนี้ จำเลยย่อมเรียกเอาเบี้ยปรับนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 วรรคสองซึ่งหากเป็นจำนวนสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามมาตรา 373 วรรคแรก ค่าน้ำมันพืชรั่วซึม เสียหายนั้น ปรากฏว่าอย่างช้าในวันสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2524 การรั่วซึม ของขวดที่ชำรุดบกพร่องจำนวนประมาณ 30,000 ใบได้ปรากฏแก่จำเลยจนหมดสิ้นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายส่วนนี้เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2526 จึงพ้นกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่วันที่ความชำรุดบกพร่องปรากฏขึ้น ฟ้องแย้งของจำเลยข้อนี้จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 601 แล้ว ค่าใช้จ่ายและค่าจ้างคนงานในการตรวจสอบคุณภาพขวดของจำเลยเป็นค่าใช้จ่ายในการตรวจพิสูจน์สินค้าว่าชำรุดบกพร่องหรือไม่ หากชำรุดบกพร่องจำเลยก็จะไม่รับมอบและคืนแก่โจทก์ ย่อมเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าตามปกติทั่วไปและเป็นประโยชน์แก่จำเลยฝ่ายเดียว และไม่ว่า โจทก์จะส่งมอบขวดที่ชำรุดบกพร่องหรือไม่ จำเลยก็คงต้องจ้าง คนงานตรวจคุณภาพขวดอยู่นั่นเอง หาใช่เป็นค่าเสียหาย เพราะโจทก์ส่งมอบขวดที่ชำรุดบกพร่องเป็นกรณีพิเศษไม่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ให้แก่จำเลย จำเลยมิได้เพียงแต่นำน้ำมันพืชบรรจุขวดอย่างใหม่ออกจำหน่ายแก่ลูกค้าตามปกติ แต่ได้ดำเนินกิจการขยายตลาดด้วยการลงทุนโฆษณาเป็นพิเศษควบคู่ไปด้วยโดยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบ การลงทุนโฆษณาสินค้านี้เป็นพฤติการณ์พิเศษอย่างหนึ่งในการดำเนินกิจการค้าของจำเลย เมื่อโจทก์ส่งมอบขวดไม่ครบ ทำให้จำเลยขยายตลาดไม่ได้ และต้องสูญเสียเงินค่าโฆษณาสินค้า ไปโดยไม่มีสินค้าจำหน่าย ความเสียหายของจำเลยในค่าโฆษณาสินค้า จึงไม่ใช่ความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่ โจทก์ไม่ชำระหนี้ แต่เป็นความเสียหายที่เกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งโจทก์มิได้คาดเห็นหรือควรได้คาดเห็นล่วงหน้า จำเลย จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาจากโจทก์ได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง การที่จำเลยคาดหวังว่าจะใช้ขวดบรรจุน้ำมันพืชแล้วนำไปขายได้กำไรขวดละ 3.80 บาท นั้น เป็นเรื่องของอนาคตที่ไม่แน่นอนว่าจำเลยจะขายมีกำไรตามที่คาดหมายหรือไม่ทั้งเป็นพฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่เคยแจ้งให้โจทก์ทราบมาก่อน และโจทก์ไม่อาจคาดเห็นหรือควรคาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้น ได้ล่วงหน้า จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดกำไรส่วน นี้จาก โจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1108/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินในเขตป่าสงวน การผิดสัญญา และเบี้ยปรับ
ค่าเสียหายที่กำหนดไว้ในสัญญาถือ ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่ง โจทก์มีสิทธิเรียกเอาได้ แต่ ศาลมี อำนาจที่จะพิจารณาว่าเป็นจำนวนพอสมควรหรือไม่เพียงใด และการเรียกค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับกับการไม่คืนเงินมัดจำเป็นคนละกรณีกัน การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เพิ่มขึ้นเพราะจำเลยไม่คืนเงินมัดจำให้โจทก์ย่อมไม่เป็นการสมควร เพราะโจทก์ต้อง ได้ รับเงินมัดจำคืนตาม ฟ้องซึ่ง ศาลวินิจฉัยให้คืนอยู่แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาประนีประนอมยอมความสูงเกินไป ศาลแรงงานมีอำนาจลดจำนวนได้
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งมีข้อความว่า จำเลยตกลงกลับเข้าทำงานให้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 3 เท่าของเวลาที่ลาไปศึกษา หากจำเลยผิดสัญญาทำงานไม่ครบตามกำหนดเวลาเนื่องจากความผิดของจำเลย จำเลยจะชดใช้เงินจำนวน 285,750.19 บาท และ 53,559.89 เหรียญสหรัฐอเมริกาพร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่ผิดสัญญาให้แก่โจทก์ ข้อตกลงที่จะชดใช้เงินดังกล่าวย่อมเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดสัญญาและศาลแรงงานกลางเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินไปก็ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาประนีประนอมยอมความสูงเกินไป ศาลแรงงานมีอำนาจลดจำนวนได้ตามกฎหมาย
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งมีข้อความว่า จำเลยตกลงกลับเข้าทำงานให้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 3 เท่าของเวลาที่ลาไปศึกษา หากจำเลยผิดสัญญาทำงานไม่ครบตามกำหนดเวลาเนื่องจากความผิดของจำเลย จำเลยจะชดใช้เงินจำนวน 285,750.19 บาท และ 53,559.89 เหรียญสหรัฐอเมริกาพร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่ผิดสัญญาให้แก่โจทก์ ข้อตกลงที่จะชดใช้เงินดังกล่าวย่อมเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดสัญญาและศาลแรงงานกลางเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินไปก็ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาประนีประนอมยอมความสูงเกินไป ศาลแรงงานมีอำนาจลดได้ตามสมควร
ข้อตกลงตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ ระหว่างโจทก์ จำเลยที่กำหนดว่า หากจำเลยผิดสัญญาโดย ทำงานไม่ครบตาม ระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา จำเลยจะต้อง ชดใช้เงินตาม จำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาให้โจทก์ ข้อตกลงดังนี้เป็นเรื่องเบี้ยปรับ หากมีจำนวนสูงเกินไป ศาลมีอำนาจใช้ ดุลยพินิจ กำหนดลดลงตาม สมควรได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีอำนาจลดจำนวนลงได้หากสูงเกินไป
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งมีข้อความว่า จำเลยตกลงกลับเข้าทำงานให้แก่โจทก์มีกำหนดเวลา 3 เท่าของเวลาที่ลาไปศึกษา หากจำเลยผิดสัญญาทำงานไม่ครบตามกำหนดเวลาเนื่องจากความผิดของจำเลย จำเลยจะชดใช้เงินจำนวน 285,750.19 บาทและ 52,559.89 เหรียญสหรัฐอเมริกา พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่ผิดสัญญาให้แก่โจทก์ ข้อตกลงที่จะชดใช้เงินดังกล่าวย่อมเป็นเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดสัญญาและศาลแรงงานกลางเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินไปก็ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและการไม่ถือเป็นการชำระค่าเสียหายซ้ำซ้อน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่างานเพิ่มและค่าปรับให้แก่โจทก์จำนวน 17,328,145.10 บาท พร้อมดอกเบี้ยโดยให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินดังกล่าวเป็นจำนวน3,718,526.33 บาท พร้อมดอกเบี้ย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันร่วมรับผิดต่อโจทก์เพิ่มขึ้นอีก3,533,741.03 บาท นั้น มิได้เป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2ชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์อีกต่างหากจากเงินค่าปรับและค่าเสียหายจำนวน 17,328,145.10 บาท จึงไม่เป็นการพิพากษาให้ค่าเสียหายซ้ำซ้อนแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันในคดีค่าเสียหาย: ไม่ถือเป็นการซ้ำซ้อนหากเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่างานเพิ่มและค่าปรับให้แก่โจทก์จำนวน 17,328,145.10 บาท พร้อมดอกเบี้ยโดยให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินดังกล่าวเป็นจำนวน3,718,526.33 บาท พร้อมดอกเบี้ย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันร่วมรับผิดต่อโจทก์เพิ่มขึ้นอีก3,533,741.03 บาท นั้น มิได้เป็นการพิพากษาให้จำเลยที่ 2ชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์อีกต่างหากจากเงินค่าปรับและค่าเสียหายจำนวน 17,328,145.10 บาท จึงไม่เป็นการพิพากษาให้ค่าเสียหายซ้ำซ้อนแก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเรียกค่าปรับเป็นรายวันเมื่อเลิกสัญญาสัญญาซื้อขาย: สิทธิมีได้เฉพาะกรณีที่ยังไม่เลิกสัญญา
การที่จำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของให้แก่โจทก์และโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญากับริบเงินประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 8 แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับเป็นรายวันจากจำเลย ตามข้อ 9ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ยังคงให้สัญญามีผลผูกพันได้อีก.