คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 380

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 226 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: ความรับผิดของนายประกันเมื่อไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามนัด และอำนาจโจทก์ของพนักงานสอบสวน
จำเลยทำสัญญาประกันผู้ต้องหาจากพนักงานสอบสวน แล้วผิดสัญญาไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามนัด. จำเลยย่อมมีหน้าที่ใช้เงินตามสัญญา ไม่จำเป็นที่พนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งว่าจำเลยผิดสัญญา.
เงินที่จำเลยผู้ประกันสัญญาจะใช้เมื่อผิดสัญญาประกัน มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ. เมื่อจำเลยมิได้ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด.ก็เป็นการผิดสัญญา ย่อมต้องใช้เบี้ยปรับ. การนำตัวผู้ต้องหามาส่งภายหลังหรือคดีนั้นมีการสั่งไม่ฟ้อง.หรือผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์. หาทำให้จำเลยพ้นความรับผิดตามสัญญาประกันไม่. เป็นแต่เพียงเหตุในการใช้ดุลพินิจว่าควรปรับมากน้อยเพียงใด (อ้างฎีกาที่ 1072/2491 และ1039/2499).
พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รับคำร้องขอประกันผู้ต้องหาที่ถูกควบคุมอยู่. ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล. และเป็นผู้มีหน้าที่พิจารณาสั่งคำร้อง แล้วให้ผู้ร้องทำสัญญาประกัน.จึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้. ย่อมเป็นโจทก์ฟ้องผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันได้.(อ้างฎีกาที่701/2498).
นายตำรวจสองนายซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจเดียวกันคนหนึ่งลงชื่อเป็นผู้รับสัญญาประกันอีกคนหนึ่งลงชื่อเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาประกัน. เป็นการกระทำของบุคคลในตำแหน่งหน้าที่เดียว ไม่ใช่ทำแทนกัน. และหน้าที่ปฏิบัติดังกล่าวเป็นอำนาจของตำแหน่งหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้.จึงฟ้องคดีโดยระบุตำแหน่งหน้าที่ และระบุนามบุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่เป็นคู่ความได้.(อ้างฎีกาที่ 2106-2108/2492).
กรณีจำเลยผู้ประกันไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนด.พนักงานสอบสวนย่อมไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ในการสอบสวนผู้ต้องหาได้. จึงเป็นการเสียหายต่อราชการ. เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันและมีหน้าที่ชำระเบี้ยปรับแล้วไม่ชำระ.เป็นการผิดนัด. ย่อมต้องเสียดอกเบี้ยระหว่างผิดนัด อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี.
การที่จำเลยร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความร่วม อ้างว่ามีส่วนได้เสียร่วมกับจำเลย ซึ่งจำเลยจะใช้สิทธิไล่เบี้ยได้นั้น หากศาลเห็นว่าไม่มีความจำเป็น จะไม่เรียกเข้ามาก็ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด การเรียกร้องค่าเสียหายและการชดใช้ค่าใช้ทรัพย์
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 กำหนดไว้ว่า ถ้าจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัด โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเข้าครอบครองรถและเลิกสัญญาได้ เงินที่ส่งชำระมาแล้วยอมให้โจทก์ริบ ค่าเช่าที่ยังค้างอยู่จะชำระให้จนครบ ส่วนค่าเสียหายจำเลยยอมรับผิดชอบ รถที่คืนจำเลยยินยอมให้โจทก์จำหน่าย หากได้ราคาไม่ครบถ้วน จำเลยต้องชดใช้เงินที่ขาด ความตอนท้ายที่เกี่ยวกับการให้จำหน่ายรถนั้น เป็นวิธีการกำหนดและชดใช้ค่าเสียหายอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อจำหน่ายรถ จะทราบจำนวนค่าเสียหายที่แน่นอน แม้ยังไม่จำหน่ายรถ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายซึ่งจำเลยต้องรับผิดอยู่แล้ว โดยพิสูจน์ได้จากพยานหลักฐาน
กรณีจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 มิได้บัญญัติให้สิทธิโจทก์โดยแจ้งชัดนอกเหนือไปจากการกลับเข้าครองทรัพย์สินและริบเงินที่จำเลยส่งแล้ว ถ้าโจทก์ยังมีสิทธิเรียกเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจนเต็มจำนวนด้วย ก็ไม่มีเหตุที่กฎหมายจะบัญญัติไว้เพียงให้ริบเงินที่ส่งใช้แล้วก่อนเลิกสัญญา
แม้จำเลยจะผิดนัด หากโจทก์เรียกร้องเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเพียงค่าเสียหาย ซึ่งตามปกติคือดอกเบี้ย เว้นแต่จะพิสูจน์ความเสียหายอย่างอื่นได้อีกด้วย ไม่ใช่โจทก์เรียกร้องได้ทั้งเงินค่าเช่าซื้อเต็มจำนวน แล้วยังเอารถกลับคืนทั้งคันเป็นสองต่อ
เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 มิได้บัญญัติไว้ ย่อมแสดงว่ากฎหมายประสงค์ปล่อยให้ความรับผิดของจำเลยอยู่ภายใต้บทบัญญัติในเรื่องหนี้โดยทั่วไป กล่าวคือ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน เพราะจำเลยไม่ชำระหนี้ จนเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญา
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คำมั่นจะขายที่โจทก์ให้ไว้ย่อมสิ้นไปโจทก์จะเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเต็มจำนวนดุจเป็นค่าตอบแทนการโอนกรรมสิทธิ์ในรถเสมือนราคาไม่ได้ คงมีสิทธิเรียกได้เพียงค่าที่จำเลยที่จำเลยได้ใช้รถของโจทก์มาตลอดระยะเวลาที่จำเลยยังครอบครองรถของโจทก์อยู่เท่านั้น
หากรณีที่คืนมาเสียหาย ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดนอกเหนือจาการใช้รถโดยชอบ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อเหตุนั้นได้
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ที่ว่า ให้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินที่ยังค้างส่งเต็มจำนวนทั้งให้จำเลยรับผิดในความเสียหายเนื่องจากเลิกสัญญาด้วยนั้น เป็นขอสัญญาที่ระบุความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่ข้อสัญญาที่กำหนดค่าเช่าตามปกติ หรือค่าใช้ทรัพย์โดยแท้ แต่รวมราคาขายรถไว้ส่วนหนึ่งด้วย แต่มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้าหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
แม้สำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องขาดข้อความที่ว่า ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในการที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ผัดผ่อนเวลาชำระหนี้ ไม่ตรงกันกับต้นฉบับซึ่งมีข้อความดังกล่าว เมื่อโจทก์อ้างส่งต้นฉบับเป็นพยาน จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริง ศาลย่อมรับฟังต้นฉบับสัญญาค้ำประกันได้ ไม่เป็นการนอกประเด็นในคำฟ้อง เพราะคำฟ้องก็มีข้ออ้างให้จำเลยต้องรับผิดในฐานผู้ค้ำประกันอยู่แล้ว
(ปัญหาตามวรรคสองถึงวรรคหก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 20/2511 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด: สิทธิโจทก์ในการเรียกค่าเสียหาย และการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินสมควร
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 กำหนดไว้ว่า ถ้าจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัด โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเข้าครอบครองรถและเลิกสัญญาได้ เงินที่ส่งชำระมาแล้วยอมให้โจทก์ริบ ค่าเช่าที่ยังค้างอยู่จะชำระให้จนครบ ส่วนค่าเสียหายจำเลยยอมรับผิดชอบ รถที่คืนจำเลยยินยอมให้โจทก์จำหน่ายหากได้ราคาไม่ครบถ้วน จำเลยต้องชดใช้เงินที่ขาด ความตอนท้ายที่เกี่ยวกับการให้จำหน่ายรถนั้น เป็นวิธีการกำหนดและชดใช้ค่าเสียหายอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อจำหน่ายรถ จะทราบจำนวนค่าเสียหายที่แน่นอน แม้ยังไม่จำหน่ายรถ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายซึ่งจำเลยต้องรับผิดอยู่แล้ว โดยพิสูจน์ได้จากพยานหลักฐาน
กรณีจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 มิได้บัญญัติให้สิทธิโจทก์โดยแจ้งชัดนอกเหนือไปจากการกลับเข้าครองทรัพย์สินและริบเงินที่จำเลยส่งแล้ว ถ้าโจทก์ยังมีสิทธิเรียกเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจนเต็มจำนวนด้วย ก็ไม่มีเหตุที่กฎหมายจะบัญญัติไว้เพียงให้ริบเงินที่ส่งใช้แล้วก่อนเลิกสัญญา
แม้จำเลยจะผิดนัด หากโจทก์เรียกร้องเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเพียงค่าเสียหาย ซึ่งตามปกติคือดอกเบี้ย เว้นแต่จะพิสูจน์ความเสียหายอย่างอื่นได้อีกด้วย ไม่ใช่โจทก์เรียกร้องได้ทั้งเงินค่าเช่าซื้อเต็มจำนวน แล้วยังเอารถกลับคืนทั้งคันเป็นสองต่อ
เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 มิได้บัญญัติไว้ ย่อมแสดงว่ากฎหมายประสงค์ปล่อยให้ความรับผิดของจำเลยอยู่ภายใต้บทบัญญัติในเรื่องหนี้โดยทั่วไป กล่าวคือ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน เพราะจำเลยไม่ชำระหนี้ จนเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญา
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คำมั่นจะขายที่โจทก์ให้ไว้ย่อมสิ้นไป โจทก์จะเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเต็มจำนวนดุจเป็นค่าตอบแทนการโอนกรรมสิทธิ์ในรถเสมือนราคาไม่ได้ คงมีสิทธิเรียกได้เพียงค่าที่จำเลยได้ใช้รถของโจทก์มาตลอดระยะเวลาที่จำเลยยังครอบครองรถของโจทก์อยู่เท่านั้น
หากรถที่คืนมาเสียหาย ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดนอกเหนือจากการใช้รถโดยชอบ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อเหตุนั้นได้
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ที่ว่า ให้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินที่ยังค้างส่งเต็มจำนวนทั้งให้จำเลยรับผิดในความเสียหายเนื่องจากเลิกสัญญาด้วยนั้น เป็นข้อสัญญาที่ระบุความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่ข้อสัญญาที่กำหนดค่าเช่าตามปกติ หรือค่าใช้ทรัพย์โดยแท้แต่รวมราคาขายรถไว้ส่วนหนึ่งด้วย ข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ใช่ข้อตกลงเป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์ไว้ล่วงหน้า แต่มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้าหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้
แม้สำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องขาดข้อความที่ว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในการที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ผัดผ่อนเวลาชำระหนี้ ไม่ตรงกันกับต้นฉบับซึ่งมีข้อความดังกล่าว เมื่อโจทก์อ้างส่งต้นฉบับเป็นพยาน จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริง ศาลย่อมรับฟังต้นฉบับสัญญาค้ำประกันได้ ไม่เป็นการนอกประเด็นในคำฟ้องเพราะคำฟ้องก็มีข้ออ้างให้จำเลยต้องรับผิดในฐานผู้ค้ำประกันอยู่แล้ว (ปัญหาตามวรรคสองถึงวรรคหก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2511 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1195/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด: สิทธิของเจ้าหนี้ในการริบรถ, เรียกค่าเสียหาย, และเบี้ยปรับที่อาจลดได้
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 กำหนดไว้ว่า ถ้าจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัด โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเข้าครอบครองรถและเลิกสัญญาได้.เงินที่ส่งชำระมาแล้วยอมให้โจทก์ริบ ค่าเช่าที่ยังค้างอยู่จะชำระให้จนครบ. ส่วนค่าเสียหายจำเลยยอมรับผิดชอบ.รถที่คืนจำเลยยินยอมให้โจทก์จำหน่ายหากได้ราคาไม่ครบถ้วน. จำเลยต้องชดใช้เงินที่ขาด. ความตอนท้ายที่เกี่ยวกับการให้จำหน่ายรถนั้น เป็นวิธีการกำหนดและชดใช้ค่าเสียหายอย่างหนึ่ง. ซึ่งเมื่อจำหน่ายรถ จะทราบจำนวนค่าเสียหายที่แน่นอน. แม้ยังไม่จำหน่ายรถ. โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายซึ่งจำเลยต้องรับผิดอยู่แล้ว โดยพิสูจน์ได้จากพยานหลักฐาน.
กรณีจำเลยผู้เช่าซื้อผิดนัด. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 574 มิได้บัญญัติให้สิทธิโจทก์โดยแจ้งชัดนอกเหนือไปจากการกลับเข้าครองทรัพย์สินและริบเงินที่จำเลยส่งแล้ว. ถ้าโจทก์ยังมีสิทธิเรียกเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจนเต็มจำนวนด้วย. ก็ไม่มีเหตุที่กฎหมายจะบัญญัติไว้เพียงให้ริบเงินที่ส่งใช้แล้วก่อนเลิกสัญญา.
แม้จำเลยจะผิดนัด หากโจทก์เรียกร้องเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ. โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเพียงค่าเสียหาย ซึ่งตามปกติคือดอกเบี้ย เว้นแต่จะพิสูจน์ความเสียหายอย่างอื่นได้อีกด้วย. ไม่ใช่โจทก์เรียกร้องได้ทั้งเงินค่าเช่าซื้อเต็มจำนวน แล้วยังเอารถกลับคืนทั้งคันเป็นสองต่อ.
เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 มิได้บัญญัติไว้. ย่อมแสดงว่ากฎหมายประสงค์ปล่อยให้ความรับผิดของจำเลยอยู่ภายใต้บทบัญญัติในเรื่องหนี้โดยทั่วไป. กล่าวคือ โจทก์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน. เพราะจำเลยไม่ชำระหนี้. จนเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญา.
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คำมั่นจะขายที่โจทก์ให้ไว้ย่อมสิ้นไป. โจทก์จะเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระเต็มจำนวนดุจเป็นค่าตอบแทนการโอนกรรมสิทธิ์ในรถเสมือนราคาไม่ได้. คงมีสิทธิเรียกได้เพียงค่าที่จำเลยได้ใช้รถของโจทก์มาตลอดระยะเวลาที่จำเลยยังครอบครองรถของโจทก์อยู่เท่านั้น.
หากรถที่คืนมาเสียหาย ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดนอกเหนือจากการใช้รถโดยชอบ โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อเหตุนั้นได้.
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ที่ว่า ให้โจทก์มีสิทธิได้รับเงินที่ยังค้างส่งเต็มจำนวนทั้งให้จำเลยรับผิดในความเสียหายเนื่องจากเลิกสัญญาด้วยนั้น. เป็นข้อสัญญาที่ระบุความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า. ไม่ใช่ข้อสัญญาที่กำหนดค่าเช่าตามปกติ หรือค่าใช้ทรัพย์โดยแท้.แต่รวมราคาขายรถไว้ส่วนหนึ่งด้วย. ข้อตกลงเช่นนี้จึงไม่ใช่ข้อตกลงเป็นข้อกำหนดค่าตอบแทนการใช้ทรัพย์ไว้ล่วงหน้า.แต่มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับถ้าหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน. ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้.
แม้สำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องขาดข้อความที่ว่าผู้ค้ำประกันยอมรับผิดในการที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ผัดผ่อนเวลาชำระหนี้. ไม่ตรงกันกับต้นฉบับซึ่งมีข้อความดังกล่าว. เมื่อโจทก์อ้างส่งต้นฉบับเป็นพยาน. จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องแท้จริง. ศาลย่อมรับฟังต้นฉบับสัญญาค้ำประกันได้. ไม่เป็นการนอกประเด็นในคำฟ้อง.เพราะคำฟ้องก็มีข้ออ้างให้จำเลยต้องรับผิดในฐานผู้ค้ำประกันอยู่แล้ว. (ปัญหาตามวรรคสองถึงวรรคหก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2511 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2511).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาที่ไม่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา, การคืนเงินค่าจ้างล่วงหน้า, ความรับผิดของห้างหุ้นส่วน
โจทก์ตกลงจ้างจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้มีการรับอนุญาตจากเทศบาล ถ้าหากจำเลยทำการก่อสร้างโดยไม่ขออนุญาตเสียก่อน ข้อสัญญานี้ก็หาคุ้มครองให้จำเลยพ้นความผิดในฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่รับอนุญาตอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ไม่ เหตุนี้ การที่จำเลยมิได้เริ่มลงมือก่อสร้างตามกำหนด เพราะมิได้รับอนุญาตจากเทศบาล โจทก์จะอ้างว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะไม่ชำระหนี้ตามเวลากำหนดหาได้ไม่ เพราะตามข้อกำหนดมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่จำเลยต้องจัดให้ได้รับอนุญาตเพื่อทำการก่อสร้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยไม่ก่อสร้างตามสัญญา เมื่อจำเลยไม่ทำการก่อสร้าง เพราะไม่มีใบอนุญาต จำเลยจะเอาเงินค่าจ้างล่วงหน้าไว้ไม่ได้ ต้องคืนให้โจทก์ผู้ว่าจ้าง แต่จำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยในเงินจำนวนนี้ตั้งแต่วันฟ้อง มิใช่ตั้งแต่วันที่รับเงินนั้นไปจากโจทก์ เพราะมิใช่กรณีที่จำเลยทำผิดสัญญา อันโจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้
เมื่อการก่อสร้างมิได้กระทำลง เพราะต่างก็ตกลงกันจะทำโดยไม่ขอรับอนุญาตจากเทศบาล จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีมูลหนี้อย่างใดที่จะอ้างให้โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยอ้างว่าได้รับนั้น
จำเลยทำสัญญารับจ้างโดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลย แต่ได้ขีดฆ่าชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการผู้หนึ่งออกจากแบบพิมพ์สัญญา ข้อความในสัญญายังมีความชัดอยู่ว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง หาได้ขีดฆ่าข้อความตอนนี้ออกด้วยไม่ พฤติการณ์ที่ปรากฏจึงเป็นการที่ห้างหุ้นส่วนจำเลยแสดงออกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยต้องรับผิดในการที่หุ้นส่วนผู้จัดการได้รับเงินของโจทก์ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาต: จำเลยคืนเงินล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ย, โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ตกลงจ้างจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้มีการรับอนุญาตจากเทศบาลถ้าหากจำเลยทำการก่อสร้างโดยไม่ขออนุญาตเสียก่อนข้อสัญญานี้ก็หาคุ้มครองให้จำเลยพ้นความผิดในฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่รับอนุญาตอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารไม่เหตุนี้การที่จำเลยมิได้เริ่มลงมือก่อสร้างตามกำหนด เพราะมิไดัรับอนุญาตจากเทศบาล โจทก์จะอ้างว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะไม่ชำระหนี้ตามเวลากำหนดหาได้ไม่เพราะตามข้อกำหนดมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่จำเลยต้องจัดให้ได้รับอนุญาตเพื่อทำการก่อสร้างโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยไม่ก่อสร้างตามสัญญา เมื่อจำเลยไม่ทำการก่อสร้างเพราะไม่มีใบอนุญาต จำเลยจะเอาเงินค่าจ้างล่วงหน้าไว้ไม่ได้ต้องคืนให้โจทก์ผู้ว่าจ้างแต่จำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยในเงินจำนวนนี้ตั้งแต่วันฟ้องมิใช่ตั้งแต่วันที่รับเงินนั้นไปจากโจทก์ เพราะมิใช่กรณีที่จำเลยทำผิดสัญญา อันโจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้
เมื่อการก่อสร้างมิได้กระทำลง เพราะต่างก็ตกลงกันจะทำโดยไม่ขอรับอนุญาตจากเทศบาลจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้จำเลยจึงไม่มีมูลหนี้อย่างใดที่จะอ้างให้โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่จำเลยอ้างว่าได้รับนั้น
จำเลยทำสัญญารับจ้างโดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลย แต่ได้ขีดฆ่าชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการผู้หนึ่งออกจากแบบพิมพ์สัญญา ข้อความในสัญญายังมีความชัดอยู่ว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง หาได้ขีดฆ่าข้อความตอนนี้ออกด้วยไม่พฤติการณ์ที่ปรากฏจึงเป็นการที่ห้างหุ้นส่วนจำเลยแสดงออกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นเป็นตัวแทนของจำเลยจำเลยต้องรับผิดในการที่หุ้นส่วนผู้จัดการได้รับเงินของโจทก์ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่อเติมอาคารโดยไม่ขออนุญาต: สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญา, การผิดนัด, และความรับผิดของหุ้นส่วน
โจทก์ตกลงจ้างจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้มีการรับอนุญาตจากเทศบาล ถ้าหากจำเลยทำการก่อสร้างโดยไม่ขออนุญาตเสียก่อน ข้อสัญญานี้ก็หาคุ้มครองให้จำเลยพ้นความผิดในฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่รับอนุญาตอันเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารน ไม่ เหตุนี้ การที่จำเลยมิได้เริ่มลงมือก่อสร้างตามกำหนด เพราะมิได้รับอนุญาตจากเทศบาล โจทก์จะอ้างว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะไม่ชำระหนี้ตามเวลากำหนดหาได้ไม่ เพราะตามข้อกำหนดมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่จำเลยต้องจัดให้ได้รับอนุญาตเพื่อทำการก่อสร้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยไม่ก่อสร้างตามสัญญา เมื่อจำเลยไม่ทำการก่อสร้าง เพราะไม่มีใบอนุญาต จำเลยจะเอาเงินค่าจ้างล่วงหน้าไว้ไม่ได้ ต้องคืนให้โจทก์ผู้ว่าจ้าง แต่จำเลยจะต้องเสียดอกเบี้ยในเงินจำนวนนี้ตั้งแต่วันฟ้อง มิใช่ตั้งแต่วันที่รับเงินนั้นไปจากโจทก์ เพราะมิใช่กรณีที่จำเลยทำผิดสัญญา อันโจทก์จะบอกเลิกสัญญาได้
เมื่อการก่อสร้างมิได้กระทำลง เพราะต่างก็ตกลงกันจะทำโดยไม่ขอรับอนุญาตจากเทศบาล จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีมูลหนี้อย่างใดที่จะอ้างให้โจทก์ต้องรับในความเสียหายที่จำเลยอ้างว่าได้รับนั้น
จำเลยทำสัญญารับจ้างโดยใช้แบบพิมพ์ของจำเลย แต่ได้ขีดฆ่าชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการผู้หนึ่งออกจากแบบพิมพ์สัญญา ข้อความในสัญญายังมีความชัดอยู่ว่าห้างหุ้นส่วนจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง หาได้ขีดฆ่าข้อความตอนนี้ออกด้วยไม่ พฤติการณ์ที่ปรากฏจึงเป็นการที่ห้างหุ้นส่วนจำเลยแสดงออกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นเป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยต้องรับผิดในการที่หุ้นส่วนผู้จัดการได้รับเงินของโจทก์ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลขายสิทธิการเช่า: การผิดสัญญาของผู้ประมูล และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย
เมื่อการประมูลโอนขายสิทธิการเช่าที่โจทก์ประมูลได้เป็นไปโดยถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ทราบถึงเงื่อนไขการเช่าโจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกล้างได้ เมื่อจำเลยพร้อมที่จะทำสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาให้โจทก์ได้ แต่โจทก์หาได้ไปติดต่อทำสัญญาและวางเงินค่าประมูลที่ยังค้างอีกตามที่ตกลงไว้ไม่ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เมื่อราคาค่าประมูลที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของ จ. เรียกร้องเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่าห้องทั้ง 11 ห้อง แต่เมื่อไม่มีทางจะโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ได้เพราะได้พ้นกำหนดสัญญาเดิมของ จ. ผู้เช่าจากจำเลยที่ 3 เสียแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิจะได้รับค่าตอบแทนเพราะราคาค่าประมูลนั้นเป็นค่าตอบแทนสิทธิที่โจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่า เพราะข้อตกลงในรายงานการประชุมเจ้าหนี้ระบุไว้แต่เพียงว่าถ้าไม่ชำระอีก 75 เปอร์เซนต์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิริบเงิน 25 เปอร์เซนต์ที่ชำระไว้แล้วเท่านั้น ไม่มีเงื่อนไขให้อำนาจที่จะเรียกร้องเอาชำระราคาจนเต็มได้
จำนวนเงิน 25 เปอร์เซนต์ที่โจทก์วางแก่จำเลยในวันประมูลขายนั้น ในรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ เพียงแต่กล่าวว่า "การชำระเงิน ผู้ซื้อจะชำระในวันนี้ 25 เปอร์เซนต์ ส่วนอีก 75 เปอร์เซนต์จะชำระภายในวันที่ 3 เดือนนี้หากผิดนัด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิริบเงิน 25 เปอร์เซนต์ได้" ข้อความดังกล่าวนี้แสดงว่าเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อ ไม่ใช่มัดจำ จำเลยริบไม่ได้ จะว่าเป็นเบี้ยปรับที่ชำระแล้วก็ไม่ได้ เพราะในขณะที่โจทก์ชำระเงินนั้น ยังไม่มีการผิดนัด จึงเป็นการชำระเบี้ยปรับในขณะที่ยังไม่ผิดสัญญาไม่ได้อยู่เอง
เมื่อปรากฏว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา หากจำเลยได้รับความเสียหาย ก็ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องมาแต่ต้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะริบเงินที่โจทก์วางไว้เป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาที่ชำระให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1215/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลขายทอดตลาดสิทธิการเช่า: การผิดสัญญาของผู้ซื้อและสิทธิในการริบเงินชำระส่วนหนึ่ง
เมื่อการประมูลโอนขายสิทธิการเช่าที่โจทก์ประมูลได้เป็นไปโดยถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ทราบถึงเงื่อนไขการเช่า โจทก์ก็ไม่มีสิทธิบอกล้างได้ เมื่อจำเลยพร้อมที่จะทำสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาให้โจทก์ได้ แต่โจทก์หาได้ไปติดต่อทำสัญญาและวางเงินค่าประมูลที่ยังค้างอีกตามที่ตกลงไว้ไม่ โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
เมื่อราคาค่าประมูลที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของ จ. เรียกร้องเป็นค่าตอบแทนที่โจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่าห้องทั้ง 11 ห้อง แต่เมื่อไม่มีทางจะโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ได้ เพราะได้พ้นกำหนดสัญญาเดิมของ จ. ผู้เช่าจากจำเลยที่ 3 เสียแล้วจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิจะได้รับค่าตอบแทน เพราะราคาค่าประมูลนั้นเป็นค่าตอบแทนสิทธิที่โจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่า เพราะข้อตกลงในรายงานการประชุมเจ้าหนี้ระบุไว้เพียงว่าถ้าไม่ชำระอีก 75% ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิริบเงิน 25% ที่ชำระไว้แล้วเท่านั้น ไม่มีเงื่อนไขให้อำนาจที่จะเรียกร้องเอาชำระราคาจนเต็มได้
จำนวนเงิน 25% ที่โจทก์วางแก่จำเลยในวันประมูลขายนั้น ในรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ระบุว่าเป็นเงินมัดจำ เพียงแต่กล่าวว่า "การชำระเงิน ผู้ซื้อจะชำระในวันนี้ 25% ส่วนอีก 75% จะชำระภายในวันที่ 3 เดือนนี้ หากผิดนัด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิริบเงิน 25%" ข้อความดังกล่าวนี้แสดงว่าเป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาค่าซื้อ ไม่ใช่มัดจำ จำเลยริบไม่ได้ จะว่าเป็นเบี้ยปรับที่ชำระแล้วก็ไม่ได้ เพราะในขณะที่โจทก์ชำระเงินนั้น ยังไม่มีการผิดนัด จึงเป็นการชำระเบี้ยปรับในขณะที่ยังไม่ผิดสัญญาไม่ได้อยู่เอง
เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา หากจำเลยได้รับความเสียหาย ก็ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ใช้สิทธิเรียกร้องมาแต่ต้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะริบเงินที่โจทก์วางไว้เป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาที่ชำระให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ใหม่ต้องมีคำสนอง การทวงหนี้หลังแปลงหนี้แล้วถือเป็นคำเสนอใหม่ และสิทธิเรียกร้องค่าปรับจากสัญญา
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ เพียงแต่บุคคลภายนอกยื่นหนังสือรับรองชำระหนี้แทนจำเลยต่อโจทก์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยมิได้สั่งการอย่างไร เงียบหายไป สัญญาแปลงหนี้ใหม่ยังไม่เกิดขึ้น แม้ต่อมาอีกเกือบ 4 ปีโจทก์จะได้ทวงหนี้ของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเอากับบุคคลภายนอกนั้น ก็ไม่ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับเอาบุคคลภายนอกนั้นเข้าเป็นลูกหนี้แทนจำเลย เพราะคำเสนอของบุคคลภายนอกต่อโจทก์สิ้นความผูกพันเพราะล่วงเลยเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 355 หนังสือทวงหนี้ของโจทก์เป็นแต่คำเสนอใหม่เท่านั้น เมื่อหนี้ใหม่ไม่เกิด หนี้เดิมของจำเลยก็ไม่ระงับไปตามมาตรา 351
เงินมัดจำที่ยังมิได้ชำระให้ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว จะบังคับให้ส่งให้มิได้ เพราะสิ้นความผูกพันตามสัญญาเสียแล้ว เงินมัดจำที่จะริบในกรณีเลิกสัญญาโดยความผิดของฝ่ายวางมัดจำนั้น ต้องได้ให้ไว้แล้ว
เมื่อจำเลยส่งมอบการงานให้โจทก์ไม่ทันตามกำหนดในสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเท่าจำนวนค่าปรับที่จำเลยสัญญาจะชดใช้ในการที่ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดได้ เพราะค่าปรับเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว(อ้างฎีกาที่ 1078/2496 และ 1364/2503)
of 23