พบผลลัพธ์ทั้งหมด 226 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่ต้องมีคำสนองจากเจ้าหนี้ หากไม่มี สัญญาเดิมยังคงมีผล และการเรียกเงินมัดจำเมื่อเลิกสัญญา
การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้นต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ เพียงแต่บุคคลภายนอกยื่นหนังสือรับรองชำระหนี้แทนจำเลยต่อโจทก์ แต่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยมิได้สั่งการอย่างไร เงียบหายไป สัญญาแปลงหนี้ใหม่ยังไม่เกิดขึ้น แม้ต่อมาอีกเกือบ 4 ปีโจทก์จะได้ทวงหนี้ของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเอากับบุคคลภายนอกนั้น ก็ไม่ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับเอาบุคคลภายนอกนั้นเข้าเป็นลูกหนี้แทนจำเลย เพราะคำเสนอของบุคคลภายนอกต่อโจทก์สิ้นความผูกพันเพราะล่วงเลยเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 355หนังสือทวงหนี้ของโจทก์เป็นแต่คำเสนอใหม่เท่านั้น เมื่อหนี้ใหม่ไม่เกิด หนี้เดิมของจำเลยก็ไม่ระงับไปตามมาตรา 351
เงินมัดจำที่ยังมิได้ชำระให้ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วจะบังคับให้ส่งให้มิได้เพราะสิ้นความผูกพันตามสัญญาเสียแล้ว เงินมัดจำที่จะรับในกรณีเลิกสัญญาโดยความผิดของฝ่ายวางมัดจำนั้น ต้องได้ให้ไว้แล้ว
เมื่อจำเลยส่งมอบการงานให้โจทก์ไม่ทันตามกำหนดในสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเท่าจำนวนค่าปรับที่จำเลยสัญญาจะชดใช้ในการที่ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดได้ เพราะค่าปรับเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว(อ้างฎีกาที่ 1078/2496 และ 1364/2503)
เงินมัดจำที่ยังมิได้ชำระให้ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้วจะบังคับให้ส่งให้มิได้เพราะสิ้นความผูกพันตามสัญญาเสียแล้ว เงินมัดจำที่จะรับในกรณีเลิกสัญญาโดยความผิดของฝ่ายวางมัดจำนั้น ต้องได้ให้ไว้แล้ว
เมื่อจำเลยส่งมอบการงานให้โจทก์ไม่ทันตามกำหนดในสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเท่าจำนวนค่าปรับที่จำเลยสัญญาจะชดใช้ในการที่ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดได้ เพราะค่าปรับเป็นค่าเสียหายที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้าอยู่แล้ว(อ้างฎีกาที่ 1078/2496 และ 1364/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อกำหนดในสัญญาแบ่งแยกโฉนดไม่ใช่สาระสำคัญ การไม่ปฏิบัติตามไม่ถือผิดสัญญา
ข้อความในสัญญาอาจมีได้ 2 ประการ คือ ข้อกำหนดอันเป็นสารสำคัญในการแสดงเจตนาตกลงกันประการหนึ่ง กับข้อกำหนดอันเป็นแต่เพียงเพื่อเหตุวิธีการที่จะนำไปสู่ข้อตกลงที่เป็นสารสำคัญแห่งข้อตกลงนั้นอีกประการหนึ่ง การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดประการหลังนี้ หาทำให้คู่กรณีตกเป็นผู้ผิดสัญญาไม่ถ้าจะต้องรับผิดก็เพียงแต่ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่การนั้นเท่านั้น
ทำสัญญากันว่า ผู้ขายตกลงขายที่ดินให้ผู้ซื้อโดยแบ่งแยกออกเสียก่อน 1 ไร่เพื่อผู้ขายจะขายให้คนอื่น ส่วนที่เหลือ 21 ไร่ขายให้ผู้ซื้อ โดยผู้ขายต้องไปขอแบ่งแยกโฉนดใน 30 วันนั้น ข้อกำหนดที่ผู้ขายต้องแบ่งแยกโฉนดออก 1 ไร่ หาใช่ข้อสารสำคัญที่ผู้ขายจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่ผู้ซื้อไม่ ฉะนั้นการที่ผู้ขายไม่ไปขอแบ่งแยกโฉนด แต่ได้ขอโอนที่ดินทั้ง 22 ไร่ ให้ผู้ซื้อโดยไม่คิดราคาเพิ่ม จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนผิดข้อสัญญาอันจะเรียกเอาค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับได้
ทำสัญญากันว่า ผู้ขายตกลงขายที่ดินให้ผู้ซื้อโดยแบ่งแยกออกเสียก่อน 1 ไร่เพื่อผู้ขายจะขายให้คนอื่น ส่วนที่เหลือ 21 ไร่ขายให้ผู้ซื้อ โดยผู้ขายต้องไปขอแบ่งแยกโฉนดใน 30 วันนั้น ข้อกำหนดที่ผู้ขายต้องแบ่งแยกโฉนดออก 1 ไร่ หาใช่ข้อสารสำคัญที่ผู้ขายจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่ผู้ซื้อไม่ ฉะนั้นการที่ผู้ขายไม่ไปขอแบ่งแยกโฉนด แต่ได้ขอโอนที่ดินทั้ง 22 ไร่ ให้ผู้ซื้อโดยไม่คิดราคาเพิ่ม จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนผิดข้อสัญญาอันจะเรียกเอาค่าเสียหายหรือเบี้ยปรับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญา: ศาลลดหย่อนเบี้ยปรับที่สูงเกินควรได้ตามกฎหมาย
โจทก์จำเลยทำสัญญากันว่าหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาแล้ว ให้จำเลยเสียเบี้ยปรับจำนวนหนึ่ง เช่นนี้ เป็นการทำสัญญาตามประมวลแพ่งฯ มาตรา 381 (ไม่ใช่380)
เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับที่คู่ความทำสัญญากันไว้ดังกล่าวแล้วสูงเกินสมควรไป ศาลมีอำนาจที่จะกะให้ตามที่ศาลเห็นสมควรตาม มาตรา 383
เบี้ยปรับตามสัญญาเป็นทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง ชอบที่ผู้ผิดนัดจะต้องชำระดอกเบี้ยจากจำนวนเงินเบี้ยปรับด้วย.
เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับที่คู่ความทำสัญญากันไว้ดังกล่าวแล้วสูงเกินสมควรไป ศาลมีอำนาจที่จะกะให้ตามที่ศาลเห็นสมควรตาม มาตรา 383
เบี้ยปรับตามสัญญาเป็นทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง ชอบที่ผู้ผิดนัดจะต้องชำระดอกเบี้ยจากจำนวนเงินเบี้ยปรับด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับตามสัญญา: ศาลมีอำนาจปรับลดหากสูงเกินควร
โจทก์จำเลยทำสัญญากันว่า หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาแล้ว ให้จำเลยเสียเบี้ยปรับจำนวนหนึ่ง เช่นนี้ เป็นการทำสัญญาตามประมวลแพ่งฯ มาตรา 381 (ไม่ใช่ 380)
เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับที่คู่ความทำสัญญากันไว้ดังกล่าวแล้วสูงเกินสมควรไป ศาลมีอำนาจที่จะกะให้ตามที่ศาลเห็นสมควรตาม มาตรา 383
เบี้ยปรับตามสัญญาเป็นทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง ชอบที่ผู้ผิดนัดจะต้องชำระดอกเบี้ยจากจำนวนเงินเบี้ยปรับด้วย
เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับที่คู่ความทำสัญญากันไว้ดังกล่าวแล้วสูงเกินสมควรไป ศาลมีอำนาจที่จะกะให้ตามที่ศาลเห็นสมควรตาม มาตรา 383
เบี้ยปรับตามสัญญาเป็นทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง ชอบที่ผู้ผิดนัดจะต้องชำระดอกเบี้ยจากจำนวนเงินเบี้ยปรับด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสินบริคณฑ์โมฆียะเมื่อสามีไม่ยินยอมและบอกล้างได้ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่มี
ที่พิพาทเป็นมรดกได้มาระหว่างจำเลยกับสามีเป็นสามีภรรยากันจึงเป็นสินบริคณฑ์เมื่อจำเลยเอาที่พิพาทไปขายให้โจทก์โดยสามีไม่รู้เห็น สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นโมฆียะเมื่อสามีบอกล้างแล้วตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรกคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่จำเลย
แม้ว่าโจทก์ได้บอกขายที่พิพาทแก่บุคคลภายนอกแต่สัญญานั้นมีข้อความว่าเมื่อมีเหตุที่โจทก์จะขายให้ไม่ได้ไม่ว่าด้วยประการใดโจทก์ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าปรับหรือค่าเสียหาย ดังนี้โจทก์จึงไม่มีค่าเสียหายพิเศษอย่างใดที่จะเรียกร้องเอาแก่จำเลย แต่เงิน (มัดจำ)ที่จำเลยรับว่าได้รับจากโจทก์ไปเท่าใดนั้นต้องคืนให้โจทก์
แม้ว่าโจทก์ได้บอกขายที่พิพาทแก่บุคคลภายนอกแต่สัญญานั้นมีข้อความว่าเมื่อมีเหตุที่โจทก์จะขายให้ไม่ได้ไม่ว่าด้วยประการใดโจทก์ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าปรับหรือค่าเสียหาย ดังนี้โจทก์จึงไม่มีค่าเสียหายพิเศษอย่างใดที่จะเรียกร้องเอาแก่จำเลย แต่เงิน (มัดจำ)ที่จำเลยรับว่าได้รับจากโจทก์ไปเท่าใดนั้นต้องคืนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินสินบริคณฑ์โมฆียะเมื่อทำโดยไม่ได้รับอนุญาตจากคู่สมรส การบอกล้างสิทธิและผลกระทบต่อค่าเสียหาย
ที่พิพาทเป็นมรดกได้มาระหว่างจำเลยกับสามีเป็นสามีภรรยากันจึงเป็นสินบริคณฑ์เมื่อจำเลยเอาที่พิพาทไปขายให้โจทก์โดยสามีไม่รู้เห็น สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นโมฆียะ เมื่อสามีบอกล้างตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่จำเลย
แม้ว่าโจทก์ได้บอกขายที่พิพาทแก่บุคคลภายนอก แต่สัญญานั้นมีข้อความว่าเมื่อมีเหตุที่โจทก์จะขายให้ไม่ได้ไม่ว่าด้วยประการใด โจทก์ไม่ต้องรับผิดใช่ค่าปรับหรือค่าเสียหาย ดังนี้โจทก์จึงไม่มีค่าเสียหายพิเศษอย่างใดที่จะเรียกร้องเอาแก่จำเลยแต่เงิน (มัดจำ) ที่จำเลยรับว่าได้รับจากโจทก์ไปเท่าใดนั้นต้องคืนให้โจทก์
แม้ว่าโจทก์ได้บอกขายที่พิพาทแก่บุคคลภายนอก แต่สัญญานั้นมีข้อความว่าเมื่อมีเหตุที่โจทก์จะขายให้ไม่ได้ไม่ว่าด้วยประการใด โจทก์ไม่ต้องรับผิดใช่ค่าปรับหรือค่าเสียหาย ดังนี้โจทก์จึงไม่มีค่าเสียหายพิเศษอย่างใดที่จะเรียกร้องเอาแก่จำเลยแต่เงิน (มัดจำ) ที่จำเลยรับว่าได้รับจากโจทก์ไปเท่าใดนั้นต้องคืนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับสัญญาซื้อขายที่ดิน แม้สัญญาไม่ได้ระบุขอบเขตที่ดินชัดเจน และการตีความข้อตกลงเรื่องค่าปรับ
ในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไม่มีระบุให้รู้ว่าตรงไหนจะซื้อขายกัน เมื่อโจทก์นำสืบว่าที่ตรงไหนจะซื้อขายกันจึงเป็นการสืบอธิบายเอกสารไม่ต้องห้ามมิใช่นำสืบเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเอกสาร
อนึ่งในสัญญานั้นแม้จะมีข้อความว่า ถ้าผู้ขายไม่ยอมขาย ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับ 1,500 บาท ข้อความเช่นนี้หมายความว่า เมื่อผู้ขายผิดนัด นอกจากผู้ซื้อมีสิทธิบังคับให้ผู้ขายขายที่ให้แล้วผู้ซื้อยังมีสิทธิปรับผู้ขายอีกตามจำนวนเงินที่กะกันไว้
อนึ่งในสัญญานั้นแม้จะมีข้อความว่า ถ้าผู้ขายไม่ยอมขาย ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับ 1,500 บาท ข้อความเช่นนี้หมายความว่า เมื่อผู้ขายผิดนัด นอกจากผู้ซื้อมีสิทธิบังคับให้ผู้ขายขายที่ให้แล้วผู้ซื้อยังมีสิทธิปรับผู้ขายอีกตามจำนวนเงินที่กะกันไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับสัญญาซื้อขายที่ดิน แม้ไม่มีระบุสถานที่ชัดเจน การนำสืบเพื่อชี้แจงสถานที่ซื้อขายไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเอกสาร
ในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินไม่มีระบุให้รู้ว่าตรงไหนจะซื้อขายกันเมื่อโจทก์นำสืบว่าที่ตรงไหนจะซื้อขายกันจึงเป็นการสืบอธิบายเอกสารไม่ต้องห้ามมิใช่นำสืบเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเอกสาร
อนึ่งในสัญญานั้นแม้จะมีข้อความว่า ถ้าผู้ขายไม่ยอมขาย ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับ 1,500 บาท ข้อความเช่นนี้หมายความว่าเมื่อผู้ขายผิดนัด นอกจากผู้ซื้อมีสิทธิบังคับให้ผู้ขายขายที่ให้แล้วผู้ซื้อยังมีสิทธิปรับผู้ขายอีกตามจำนวนเงินที่กะกันไว้
อนึ่งในสัญญานั้นแม้จะมีข้อความว่า ถ้าผู้ขายไม่ยอมขาย ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับ 1,500 บาท ข้อความเช่นนี้หมายความว่าเมื่อผู้ขายผิดนัด นอกจากผู้ซื้อมีสิทธิบังคับให้ผู้ขายขายที่ให้แล้วผู้ซื้อยังมีสิทธิปรับผู้ขายอีกตามจำนวนเงินที่กะกันไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับในสัญญาซื้อขายถือเป็นค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า การผ่อนผันเวลาชำระหนี้ไม่ทำให้สิทธิเรียกค่าปรับหมดไป
ข้อตกลงที่เรียกกันว่า "ค่าปรับ" เมื่อผิดสัญญานั้น ก็คือค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้านั่นเอง
ข้อความในสัญญามีความว่า "ฯลฯ หากปรากฎว่าผู้ขายไม่ส่งมอบไม้ให้กับผู้ซื้อให้ครบภายในเวลาดังกล่าวข้างต้น ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที ฯลฯ" นั้นหมายความว่าเป็นความตกลงให้ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเท่านั้น หาใช่เป็นบทบังคับว่าผู้ซื้อจะต้องใช้สิทธิ ทันที่จึงจะได้ค่าปรับไม่ การที่ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแต่ยังไม่ใช้สิทธินั้น ผ่อนผันให้ผู้ขายได้แก้ตัวโดยเห็นใจผู้ขายต่อมาโดยความขอร้องของผู้ขายนั้นหาทำให้ผู้ซื้อหมดสิทธิเรียกค่าปรับในที่สุดอย่างใดไม่
การที่บริษัทอันเป็นนิติบุคคลจะทำนิติกรรมใดนั้นอาจกระทำได้โดยผู้แทนของบริษัท คือกรรมการลงชื่อตามจำนวน และประทับตราตามข้อบังคับของบริษัทนิติบุคคล แต่บริษัทนิติบุคคลก็ย่อมมีตัวแทน หรือเชิดให้ผู้อื่นเป็นตัวแทนไปกระทำนิติกรรมอันผูกพันบริษัทได้เหมือนกัน
ฉะนั้นแม้ข้อบังคับของบริษัทจะมีว่ากรรมการต้องลงนาม 2 คน จึงจะทำการแทนบริษัทได้ แต่เมื่อกรรมการผู้จัดการ เพียงคนเดียวไปลงลายมือชื่อลงในสัญญาและประทับตราของบริษัทกำกับไว้ อันจะเถียงไม่ได้ว่าได้ทำในฐานะตัว แทนของบริษัท และบริษัทก็ได้รับเอาผลของนิติกรรมนั้นตลอดมาด้วยดังนี้ บริษัทจะปฏิเสธความรับผิด เมื่อถึง คราวจะต้องรับผิดหาได้ไม่
ป.ม.แพ่งฯมาตรา 381 วรรค 3 ที่มีข้อความว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้ บอกสงวนสิทธิไว้เช่นนั้น " นี้หมายความว่า ลุกหนี้ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้โดยสิ้นเชิงแล้ว ถ้าลูกหนี้ยังชำระหนี้ให้ เจ้าหนี้ไม่ครบจำนวน กรณีก็ยังไม่เข้ามาตรา 381 วรรค 3.
ข้อความในสัญญามีความว่า "ฯลฯ หากปรากฎว่าผู้ขายไม่ส่งมอบไม้ให้กับผู้ซื้อให้ครบภายในเวลาดังกล่าวข้างต้น ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันที ฯลฯ" นั้นหมายความว่าเป็นความตกลงให้ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเท่านั้น หาใช่เป็นบทบังคับว่าผู้ซื้อจะต้องใช้สิทธิ ทันที่จึงจะได้ค่าปรับไม่ การที่ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแต่ยังไม่ใช้สิทธินั้น ผ่อนผันให้ผู้ขายได้แก้ตัวโดยเห็นใจผู้ขายต่อมาโดยความขอร้องของผู้ขายนั้นหาทำให้ผู้ซื้อหมดสิทธิเรียกค่าปรับในที่สุดอย่างใดไม่
การที่บริษัทอันเป็นนิติบุคคลจะทำนิติกรรมใดนั้นอาจกระทำได้โดยผู้แทนของบริษัท คือกรรมการลงชื่อตามจำนวน และประทับตราตามข้อบังคับของบริษัทนิติบุคคล แต่บริษัทนิติบุคคลก็ย่อมมีตัวแทน หรือเชิดให้ผู้อื่นเป็นตัวแทนไปกระทำนิติกรรมอันผูกพันบริษัทได้เหมือนกัน
ฉะนั้นแม้ข้อบังคับของบริษัทจะมีว่ากรรมการต้องลงนาม 2 คน จึงจะทำการแทนบริษัทได้ แต่เมื่อกรรมการผู้จัดการ เพียงคนเดียวไปลงลายมือชื่อลงในสัญญาและประทับตราของบริษัทกำกับไว้ อันจะเถียงไม่ได้ว่าได้ทำในฐานะตัว แทนของบริษัท และบริษัทก็ได้รับเอาผลของนิติกรรมนั้นตลอดมาด้วยดังนี้ บริษัทจะปฏิเสธความรับผิด เมื่อถึง คราวจะต้องรับผิดหาได้ไม่
ป.ม.แพ่งฯมาตรา 381 วรรค 3 ที่มีข้อความว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้ บอกสงวนสิทธิไว้เช่นนั้น " นี้หมายความว่า ลุกหนี้ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้โดยสิ้นเชิงแล้ว ถ้าลูกหนี้ยังชำระหนี้ให้ เจ้าหนี้ไม่ครบจำนวน กรณีก็ยังไม่เข้ามาตรา 381 วรรค 3.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับในสัญญาซื้อขายคือค่าสินไหมทดแทนที่ตกลงกันไว้ การผัดผ่อนการใช้สิทธิไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องค่าปรับหมดไป
ข้อตกลงที่เรียกกันว่า"ค่าปรับ"เมื่อผิดสัญญานั้น ก็คือค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดกันไว้ล่วงหน้านั่นเอง
ข้อความในสัญญามีความว่า "ฯลฯหากปรากฏว่าผู้ขายไม่ส่งมอบไม้ให้กับผู้ซื้อให้ครบภายในเวลาดังกล่าวข้างต้นผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีฯลฯ" นั้นหมายความว่าเป็นความตกลงให้ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเท่านั้น หาใช่เป็นบทบังคับว่าผู้ซื้อจะต้องใช้สิทธิ ทันทีจึงจะได้ค่าปรับไม่ การที่ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแต่ยังไม่ใช้สิทธินั้น ผ่อนผันให้ผู้ขายได้แก้ตัวโดยเห็นใจผู้ขายต่อมาโดยความขอร้องของผู้ขายนั้น หาทำให้ผู้ซื้อหมดสิทธิเรียกค่าปรับในที่สุดอย่างใดไม่
การที่บริษัทอันเป็นนิติบุคคลจะทำนิติกรรมใดนั้นอาจกระทำได้โดยผู้แทนของบริษัท คือกรรมการลงชื่อตามจำนวนและประทับตราตามข้อบังคับของบริษัทนิติบุคคล แต่บริษัทนิติบุคคลก็ย่อมมีตัวแทนหรือเชิดให้ผู้อื่นเป็นตัวแทนไปกระทำนิติกรรมอันผูกพันบริษัทได้เหมือนกัน
ฉะนั้นแม้ข้อบังคับของบริษัทจะมีว่ากรรมการต้องลงนาม 2 คน จึงจะทำการแทนบริษัทได้ แต่เมื่อกรรมการผู้จัดการเพียงคนเดียวไปลงลายมือชื่อลงในสัญญาและประทับตราของบริษัทกำกับไว้ อันจะเถียงไม่ได้ว่าได้ทำในฐานะตัวแทนของบริษัท และบริษัทก็ได้รับเอาผลของนิติกรรมนั้นตลอดมาด้วย ดังนี้บริษัทจะปฏิเสธความรับผิด เมื่อถึงคราวจะต้องรับผิดหาได้ไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 381 วรรค 3 ที่มีข้อความว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิไว้เช่นนั้น" นี้หมายความว่าลูกหนี้ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้โดยสิ้นเชิงแล้ว ถ้าลูกหนี้ยังชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ไม่ครบจำนวน กรณีก็ยังไม่เข้ามาตรา 381 วรรค 3
ข้อความในสัญญามีความว่า "ฯลฯหากปรากฏว่าผู้ขายไม่ส่งมอบไม้ให้กับผู้ซื้อให้ครบภายในเวลาดังกล่าวข้างต้นผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีฯลฯ" นั้นหมายความว่าเป็นความตกลงให้ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเท่านั้น หาใช่เป็นบทบังคับว่าผู้ซื้อจะต้องใช้สิทธิ ทันทีจึงจะได้ค่าปรับไม่ การที่ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแต่ยังไม่ใช้สิทธินั้น ผ่อนผันให้ผู้ขายได้แก้ตัวโดยเห็นใจผู้ขายต่อมาโดยความขอร้องของผู้ขายนั้น หาทำให้ผู้ซื้อหมดสิทธิเรียกค่าปรับในที่สุดอย่างใดไม่
การที่บริษัทอันเป็นนิติบุคคลจะทำนิติกรรมใดนั้นอาจกระทำได้โดยผู้แทนของบริษัท คือกรรมการลงชื่อตามจำนวนและประทับตราตามข้อบังคับของบริษัทนิติบุคคล แต่บริษัทนิติบุคคลก็ย่อมมีตัวแทนหรือเชิดให้ผู้อื่นเป็นตัวแทนไปกระทำนิติกรรมอันผูกพันบริษัทได้เหมือนกัน
ฉะนั้นแม้ข้อบังคับของบริษัทจะมีว่ากรรมการต้องลงนาม 2 คน จึงจะทำการแทนบริษัทได้ แต่เมื่อกรรมการผู้จัดการเพียงคนเดียวไปลงลายมือชื่อลงในสัญญาและประทับตราของบริษัทกำกับไว้ อันจะเถียงไม่ได้ว่าได้ทำในฐานะตัวแทนของบริษัท และบริษัทก็ได้รับเอาผลของนิติกรรมนั้นตลอดมาด้วย ดังนี้บริษัทจะปฏิเสธความรับผิด เมื่อถึงคราวจะต้องรับผิดหาได้ไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 381 วรรค 3 ที่มีข้อความว่า "ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิไว้เช่นนั้น" นี้หมายความว่าลูกหนี้ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้โดยสิ้นเชิงแล้ว ถ้าลูกหนี้ยังชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ไม่ครบจำนวน กรณีก็ยังไม่เข้ามาตรา 381 วรรค 3