คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 380

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 226 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5194/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญา, การผิดสัญญา, การชำระหนี้, ศาลลดเบี้ยปรับ, ความเสียหายที่แท้จริง
สัญญาสำหรับผู้ที่ขออนุญาตไปศึกษาวิชาโดยทุนส่วนตัวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ข้อ 1 มีข้อความว่า "ข้าพเจ้าจะตั้งใจและพากเพียรศึกษาวิชาโดยเต็มสติปัญญา ในระหว่างศึกษาวิชาอยู่ข้าพเจ้าจะประพฤติตนให้เรียบร้อยไม่เกียจคร้านและจะไม่ทำการสมรสในต่างประเทศ ถ้าข้าพเจ้าปฏิบัติผิดสัญญาข้อนี้แล้ว ทางราชการก็ชอบที่จะเรียกกลับหรือสั่งปลดข้าพเจ้าได้... ทั้งข้าพเจ้าจะต้องคืนเงินรายเดือนและเงินค่าใช้จ่ายซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่ข้าพเจ้าในระหว่างศึกษาเพิ่มเติมให้แก่ทางราชการด้วยทั้งสิ้น" ส่วนข้อ 2 มีข้อความว่า "เมื่อเสร็จการศึกษาแล้ว ข้าพเจ้าจะกลับมารับราชการในกระทรวงกลาโหมต่อไป ถ้าข้าพเจ้ากลับมารับราชการได้ยังไม่ครบ 2 เท่า ของเวลาที่ไปศึกษา แต่ไม่น้อยกว่า 3 ปี เป็นอย่างน้อย หรือยังไม่ครบ 10 ปี เป็นอย่างมาก นับแต่กลับมารับราชการ... หากข้าพเจ้าประสงค์จะลาออกจากราชการก่อนกำหนดที่กล่าวแล้วข้าพเจ้ายอมใช้เงินเป็นจำนวน 3 เท่าของเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นที่ทางราชการได้จ่ายให้ในระหว่างเวลาที่ข้าพเจ้าศึกษาวิชาอยู่นั้นจนครบถ้วนทันทีเมื่อได้รับการทวงถาม" จากข้อสัญญาดังกล่าวในกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายตามสัญญาข้อ 1 นั้นจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติผิดสัญญา 3 ประการ คือ ไม่ตั้งใจและพากเพียรศึกษาวิชาประพฤติตนไม่เรียบร้อยและเกียจคร้าน และทำการสมรสในต่างประเทศ ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์อาจจะเรียกจำเลยที่ 1 กลับหรือสั่งปลดจำเลยที่ 1 ได้ โดยที่จำเลยที่ 1ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน 3 ประการ ดังที่กล่าวมา และโจทก์มิได้เรียกจำเลยที่ 1 กลับประเทศไทย หรือปลดจำเลยที่ 1 ออกจากราชการ กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงโจทก์ขอลาออกจากราชการนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดที่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้ขยายเวลาเพื่อการศึกษาวิชา แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะไม่สำเร็จการศึกษา แต่ตามสัญญาใช้คำว่า เสร็จการศึกษา ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยที่ 1จะสำเร็จการศึกษาหรือไม่ จำเลยที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องกลับมารับราชการตามที่ทำสัญญาไว้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการตามที่ได้สัญญาไว้และลาออกไปก่อนที่จะกลับมารับราชการตามที่ได้สัญญาไว้ย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาข้อ 2 ดังกล่าวข้างต้นแล้ว
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีการกำหนดเบี้ยปรับไว้ในกรณีที่มีการผิดสัญญาเฉพาะที่กำหนดไว้ในข้อ 2 เท่านั้น ส่วนข้อ 1 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 จะต้องคืนเงินรายเดือนและเงินค่าใช้จ่ายซึ่งทางราชการจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดข้อสัญญาที่กล่าวไว้ในข้อ 1 และโจทก์เรียกตัวจำเลยที่ 1 กลับจากต่างประเทศหรือมีคำสั่งปลดจำเลยที่ 1 ออกจากราชการเพราะเหตุที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติผิดสัญญาข้อ 1 เท่านั้นไม่มีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ แม้จะอยู่ในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตาม เพราะสัญญาดังกล่าวมีข้อความกำหนดไว้ชัดเจน ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ทำผิดสัญญาข้อ 2จำเลยที่ 1 จึงต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญา
การที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนที่ได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ไปศึกษาวิชาที่ต่างประเทศโดยหน่วยงานของโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดสัญญาข้อ 1 แห่งสัญญาดังกล่าวและทำเรื่องเสนอโจทก์ให้ออกคำสั่งอนุมัติให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการนั้น แม้จำเลยที่ 1 โดยบิดาจำเลยที่ 1 เป็นผู้ชำระแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับจำนวน 1 เท่า ของเงินรายเดือนและค่าใช้จ่ายที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปจากโจทก์โดยมิได้สงวนสิทธิที่จะเรียกให้ชำระเบี้ยปรับในส่วนที่เหลือเพราะพึงพอใจในเงินเบี้ยปรับนั้นแล้ว เป็นเรื่องที่หน่วยงานของโจทก์ตีความในสัญญาไม่ถูกต้องและถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากราชการเป็นการยอมรับเอาเบี้ยปรับจำนวน 1 เท่า ไว้แล้ว ดังจะเห็นได้จากสัญญาข้อ 2 ก็ได้กล่าวถึงการลาออกก่อนกำหนดเวลาที่จะกลับมาทำงานให้แก่โจทก์ครบถ้วนตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา แสดงว่าแม้โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ลาออกจำเลยที่ 1 ก็ยังมีภาระที่จะต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ การชำระหนี้ในกรณีนี้คือการกลับมาปฏิบัติงานให้แก่โจทก์ตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ชำระหนี้เลย จะถือว่าโจทก์ยอมรับการชำระหนี้โดยมิได้สงวนสิทธิในเรื่องเบี้ยปรับ ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคท้าย ไม่ได้ จำเลยที่ 1 ยังมีหน้าที่จะต้องชำระเบี้ยปรับให้แก่โจทก์
การกำหนดเบี้ยปรับคือข้อสัญญาที่คู่กรณีกำหนดความเสียหายไว้ล่วงหน้าเนื่องจากการที่ลูกหนี้มิได้ชำระหนี้หรือชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควรและตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง เบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญาในกรณีที่ผิดสัญญานั้นกฎหมายมิได้บังคับเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้น แต่ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายด้วย ซึ่งมิใช่แต่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเต็มตามจำนวนเบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2831/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต และการผิดสัญญาจากวัสดุที่ไม่ได้มาตรฐาน ศาลพิจารณาถึงความผิดของผู้รับจ้างและสิทธิของเจ้าของงาน
การให้งดทาสีใต้ท้องกระเบื้องหลังคาเป็นติดเหล็กดัดช่องแสงรอบอาคาร48ช่องเป็นการเปลี่ยนแปลงรายการละเอียดที่ผิดไปจากข้อกำหนดในสัญญาจ้างเพราะกรณีดังกล่าวมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงหรือตัดทอนกิจการจ้างเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาแต่เป็นการกระทำที่มิให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างดังนั้นจำเลยที่2ถึงที่5ซึ่งเป็นกรรมการตรวจการจ้างจึงไม่มีอำนาจที่จะตกลงได้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ.2521ข้อ49การที่โจทก์ติดเหล็กดัดช่องแสงไปก่อนที่จำเลยที่1จะอนุญาตจึงเป็นการกระทำที่เสี่ยงภัยของโจทก์เองนับเป็นความผิดของโจทก์ ส่วนการใช้เหล็กค้ำยันโครงหลังคาซึ่งไม่ได้รับรองมาตรฐานนั้นแม้โจทก์รับว่าเหล็กดังกล่าวไม่ได้รับรองมาตรฐานเพราะขณะทำการก่อสร้างเหล็กขาดตลาดแต่เหล็กที่โจทก์นำมาใช้ก็มีคุณสมบัติและลักษณะเช่นเดียวกันก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะให้ฟังว่าโจทก์ไม่ผิดสัญญาจ้าง จำเลยที่1มิได้ใช้สิทธิปรับโจทก์เพราะเหตุโจทก์ผิดสัญญาจ้างดังกล่าวมาก่อนวันบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อจำเลยที่1บอกเลิกสัญญาจ้างในเวลาต่อมาจึงไม่อาจใช้สิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันตามสัญญาได้คงได้แต่ใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาจ้างเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2831/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การผิดสัญญา, การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยสุจริต, และสิทธิในการปรับตามสัญญา
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2521ข้อ 49 ได้กำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้างไว้ว่า คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ตรวจและควบคุมงานให้เป็นไปตามแบบรูปรายละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา โดยจะสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร เพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญาการให้งดทาสีใต้ท้องกระเบื้องหลังคาเป็นติดเหล็กดัดช่องแสงรอบอาคาร 48 ช่องเป็นการเปลี่ยนแปลงรายการละเอียดที่ผิดไปจากข้อกำหนดในสัญญาจ้าง นอกจากนี้ตามสัญญาจ้าง ข้อ 17 ก็ไม่ให้อำนาจจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 กระทำเช่นนี้ได้เช่นกันเพราะกรณีดังกล่าวมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงหรือตัดทอนกิจการจ้าง เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญา แต่เป็นการกระทำที่มิให้เป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาจ้างดังนั้นจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ให้เข้าทำสัญญาจ้างกับโจทก์ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นกรรมการตรวจการจ้าง จึงไม่มีอำนาจที่จะตกลงให้โจทก์งดเว้นทาสีใต้ท้องกระเบื้องหลังคาเป็นติดเหล็กดัดช่องแสงรอบอาคาร 48 ช่องได้ แต่การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ได้รายงานจำเลยที่ 2ขออนุญาตตามลำดับชั้นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการก็ได้รายงานกรมสามัญศึกษาจำเลยที่ 1 เพื่อขออนุญาตจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ไม่อนุญาตเช่นนี้ จะเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไปโดยสุจริต มิได้มีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การที่โจทก์ติดเหล็กดัดช่องแสงไปก่อนที่จำเลยที่ 1 จะอนุญาต จึงเป็นการกระทำที่เสี่ยงภัยของโจทก์เอง นับเป็นความผิดของโจทก์ เมื่อตามแบบรูปรายการละเอียดท้ายสัญญาจ้าง กำหนดให้ทาสีใต้ท้องกระเบื้องหลังคา แต่โจทก์ยังไม่ได้ทา โจทก์จึงปฏิบัติผิดสัญญาในข้อนี้
ส่วนการใช้เหล็กค้ำยันโครงหลังคาขนาด 50 x 50 x 4มิลลิเมตร ซึ่งไม่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่116 - 2517 นั้น แม้โจทก์รับว่าเหล็กดังกล่าวไม่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่ 116 - 2517 เพราะขณะทำการก่อสร้าง เหล็กขนาด 50 x 50 x 4 มิลลิเมตร ที่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวขาดตลาด แต่เหล็กที่โจทก์นำมาใช้ก็มีคุณสมบัติและลักษณะเช่นเดียวกันก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะให้ฟังว่าโจทก์ไม่ผิดสัญญาจ้างในข้อนี้ ส่วนการที่จำเลยที่ 3ถึงที่ 5 เคยมีหนังสือยืนยันและหนังสือรับรองว่า โครงเหล็กหลังคาถูกต้องตามแบบและเรียบร้อย และไม่ได้ทักท้วงตั้งแต่ตอนแรกว่าเหล็กค้ำยันโครงหลังคาขนาด50 x 50 x 4 มิลลิเมตร ไม่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)เลขที่ 116 - 2517 เพราะตามแบบรูปรายการละเอียดท้ายสัญญาจ้างเหล็กโครงสร้างหลังคามีเหล็กหลายขนาด และโจทก์ได้นำหลักฐานสำเนาใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐานกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ถูกต้องตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของเหล็กโครงสร้างรูปพรรณเลขที่ 116 - 2517 ตามเอกสารหมาย ปจ.9 มาแสดงต่อจำเลยที่ 3 แล้วจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 อาจสับสนและเข้าใจคลาดเคลื่อนไปว่ารวมทั้งเหล็กค้ำยันโครงหลังคาด้วยจึงได้ทำหนังสือยืนยันและหนังสือรับรองให้โจทก์ แต่ต่อมาเมื่อตรวจสอบโดยละเอียดแล้วพบว่าเอกสารหมาย ปจ.9 ที่โจทก์นำมาแสดงนั้นไม่มีรายการของเหล็กค้ำยันโครงหลังคาขนาด 50 x 50 x 4มิลลิเมตร รวมอยู่ด้วย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 จึงได้โต้แย้งข้อนี้ภายหลัง กรณีเช่นนี้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไปโดยสุจริต ไม่มีเจตนากลั่นแกล้งให้โจทก์เสียหาย เมื่อตามแบบรูปรายการละเอียดท้ายสัญญาจ้างหมาย จ.4 กำหนดให้เหล็กที่ค้ำยันโครงหลังคาต้องเป็นเหล็กขนาด 50 x 50 x 4 มิลลิเมตร ที่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่ 116 - 2517 แต่โจทก์ใช้เหล็กขนาด 50 x 50 x 4 มิลลิเมตร ที่ไม่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวทำเหล็กค้ำยันโครงหลังคา แม้เหล็กดังกล่าวจะมีคุณสมบัติและลักษณะเช่นเดียวกัน โจทก์ก็ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างข้อนี้
โจทก์ปฏิบัติผิดสัญญาจ้าง จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการไปโดยสุจริต มิได้มีเจตนาจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว
สัญญาจ้างข้อ 19 ระบุว่า "ถ้าผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา แต่ผู้ว่าจ้างยังมิได้บอกเลิกสัญญา ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ คือ
(1) ปรับผู้รับจ้างเป็นรายวัน วันละ 765 บาท นับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดวันแล้วเสร็จตามสัญญาจนถึงวันที่งานแล้วเสร็จบริบูรณ์
2. ...
3. ...
ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้รับจ้างไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 20 นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วย" เห็นว่าตามข้อสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีสิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันเฉพาะกรณีที่โจทก์ส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา และจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังมิได้บอกเลิกสัญญา จนถึงวันที่งานแล้วเสร็จบริบูรณ์ แต่ในระหว่างที่มีการปรับ ถ้าจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกค่าปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาได้ สำหรับคดีนี้จำเลยที่ 1 มิได้ใช้สิทธิปรับโจทก์เพราะเหตุโจทก์ผิดสัญญาจ้างดังกล่าวมาก่อนวันบอกเลิกสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาจ้างในเวลาต่อมาจึงไม่อาจใช้สิทธิปรับโจทก์เป็นรายวันตามสัญญาจ้างข้อ 19 (1) ได้ คงได้แต่ใช้สิทธิเรียกค่าเสียหายตามสัญญาจ้างเท่านั้น
โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5ไม่รับมอบงานงวดที่ 2 และงวดที่ 3 และจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาในเวลาต่อมา เช่นนี้ โจทก์ก็ไม่อาจคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันส่งมอบงานงวดที่ 2 และงวดที่ 3ได้ คงคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายผิดนัดและสัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเครื่องสูบน้ำสปริงเกอร์พร้อมท่อและอุปกรณ์ประกอบด้วยเครื่องยนต์กำลัง จำนวน 13 ชุด จากจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ให้แก่โจทก์ ต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว เมื่อตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 วรรคแรก ระบุว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ วรรคสองระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวน หรือเฉพาะจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีภายใน 12 เดือนนับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย ส่วนสัญญาซื้อขายข้อ 9 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีผู้ซื้อไม่ใช่สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนส่วนวรรคสองระบุว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสองนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ไม่สามารถส่งมอบเครื่องสูบน้ำและสปริงเกอร์ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่สัญญากำหนดไว้ให้แก่โจทก์ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้ให้โอกาสจำเลยที่ 1 ส่งมอบเครื่องสูบน้ำและสปริงเกอร์ที่มีคุณสมบัติตามสัญญาแล้ว โจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 1 ทั้งยังใช้สิทธิเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคาร สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันด้วยเหตุที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 วรรคสอง หรือข้อ 9 วรรคสอง แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถใช้ของได้ทันกำหนดเวลาจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับให้โจทก์เป็นรายวัน ก็เป็นเพียงการบรรยายความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หาใช่ว่าโจทก์ต้องการเพียงให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เฉพาะเรื่องค่าปรับเป็นรายวันแต่เพียงอย่างเดียวไม่ ส่วนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ตามสัญญาค้ำประกันซึ่งมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรมอาชีวศึกษาโจทก์ เป็นเงินไม่เกิน96,525 บาท กล่าวคือ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าว ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินให้แทนทันที แสดงว่า จำนวนเงินตามหนังสือค้ำประกันเป็นหลักประกันที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระให้โจทก์ทันทีเมื่อโจทก์เรียกร้อง โดยโจทก์ไม่จำต้องพิสูจน์ความเสียหายแต่อย่างใด ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน96,525 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองหรือตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายและการบังคับค้ำประกัน กรณีผู้ขายผิดสัญญา
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเครื่องสูบน้ำสปริงเกอร์พร้อมท่อและอุปกรณ์ประกอบด้วยเครื่องยนต์กำลัง จำนวน 13 ชุด จากจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2เป็นผู้ออกสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ให้แก่โจทก์ ต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว เมื่อตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 วรรคแรกระบุว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ วรรคสองระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวน หรือเฉพาะจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย ส่วนสัญญาซื้อขายข้อ 9 วรรคแรก ระบุว่า ในกรณีผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน ส่วนวรรคสองระบุว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสองนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ไม่สามารถส่งมอบเครื่องสูบน้ำและสปริงเกอร์ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่สัญญากำหนดไว้ให้แก่โจทก์ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้ให้โอกาสจำเลยที่ 1 ส่งมอบเครื่องสูบน้ำและสปริงเกอร์ที่มีคุณสมบัติตามสัญญาแล้วโจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 1 ทั้งยังใช้สิทธิเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคาร สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันด้วยเหตุที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 วรรคสอง หรือข้อ 9 วรรคสองแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถใช้ของได้ทันกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับให้โจทก์เป็นรายวัน ก็เป็นเพียงการบรรยายความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หาใช่ว่าโจทก์ต้องการเพียงให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เฉพาะเรื่องค่าปรับเป็นรายวันแต่เพียงอย่างเดียวไม่ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ตามสัญญาค้ำประกันซึ่งมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรมอาชีวศึกษาโจทก์ เป็นเงินไม่เกิน96,525 บาท กล่าวคือ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าว ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินให้แทนทันที แสดงว่าจำนวนเงินตามหนังสือค้ำประกันเป็นหลักประกันที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระให้โจทก์ทันทีเมื่อโจทก์เรียกร้อง โดยโจทก์ไม่จำต้องพิสูจน์ความเสียหายแต่อย่างใด ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน 96,525 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองหรือตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช่าซื้อ, เบี้ยปรับสัญญา, การคิดค่าเสื่อมราคา และการบังคับชำระหนี้ตามสัญญา
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อข้อ12ซึ่งกำหนดว่า"ถ้าหากผู้เช่าซื้อบอกเลิกการเช่าซื้อตามข้อ8ของสัญญาหรือถ้าหากเจ้าของบอกเลิกการเช่าซื้อหรือกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินใหม่ดังเดิมตามสัญญาผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายค่าซ่อมทรัพย์สินให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่ประมาณราคาขึ้นเพื่อชดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้วตลอดทั้งจำนวนเงินอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้และต้องจ่ายเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องจ่ายถ้าหากว่าการเช่าซื้อดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลาแห่งสัญญา"ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับและในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา190/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2535/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: ข้อกำหนดเบี้ยปรับและอายุความในการฟ้องเรียกหนี้ค่าเช่าซื้อ
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 ซึ่งกำหนดว่า "ถ้าหากผู้เช่าซื้อบอกเลิกการเช่าซื้อตามข้อ 8 ของสัญญา หรือถ้าหากเจ้าของบอกเลิกการเช่าซื้อหรือกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินใหม่ดังเดิมตามสัญญา ผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายค่าซ่อมทรัพย์สินให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่ประมาณราคาขึ้นเพื่อชดใช้ค่าเสื่อมราคา และค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้ว ตลอดทั้งจำนวนเงินอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้ และต้องจ่ายเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินทั้งหมดที่ต้องจ่าย ถ้าหากว่าการเช่าซื้อดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลาแห่งสัญญา" ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 190/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญาค้ำประกันทุนรัฐบาลต่างประเทศ – ความเสียหายระหว่างปฏิบัติราชการ
เงินทุนของรัฐบาลมาเลเซียซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับโดยตรงจากประเทศมาเลเซีย เป็นเงินทุนของการให้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล และถูกควบคุมดำเนินการโดยทางราชการตามระเบียบ มิใช่เป็นเรื่องจำเลยที่ 1 ได้รับทุนเป็นส่วนตัวและทุนดังกล่าวเป็นทุนที่รัฐบาลต่างประเทศมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อส่งข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม ทั้งนี้ไม่ว่าทุนนั้นจะจ่ายผ่านกระทรวงหรือจ่ายให้ผู้รับทุนโดยตรง
กรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเกี่ยวกับการใช้ทุน ความเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างจำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการอยู่และอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนรัฐบาลมาเลเซียเพื่อการศึกษา: ความรับผิดสัญญาและการค้ำประกัน
เงินทุนของรัฐบาลมาเลเซียซึ่งจำเลยที่1ได้รับโอนตรงจากประเทศมาเลเซียเป็นเงินทุนของการให้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลและถูกควบคุมดำเนินการโดยทางราชการตามระเบียบมิใช่เป็นเรื่องจำเลยที่1ได้รับทุนเป็นส่วนตัวและทุนดังกล่าวเป็นทุนที่รัฐบาลต่างประเทศมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อส่งข้าราชการไปศึกษาฝึกอบรมทั้งนี้ไม่ว่าทุนนั้นจะจ่ายผ่านกระทรวงหรือจ่ายให้ผู้รับทุนโดยตรง กรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาเกี่ยวกับการใช้ทุนความเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างจำเลยที่1ปฏิบัติราชการอยู่และอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่3จะต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขาย การปรับรายวัน และค่าเสียหายจากความล่าช้า
สัญญาซื้อขายข้อ 10 ระบุว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขาย (จำเลยที่ 1) ไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ (โจทก์)หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และวรรคสองระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 9 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวนหรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญา โดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วยและ ข้อ 11 ระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อ (โจทก์) ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 10 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญา จนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน และในวรรคสามระบุว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 9 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 10วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ การที่โจทก์ทำสัญญาซื้อเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและเครื่องอบความร้อนคลื่นสั้นจากจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ กำหนดส่งมอบของที่ซื้อขายกันภายในวันที่ 18 สิงหาคม 2530 และวันที่ 29 กันยายน 2530 ตามลำดับ ครั้นเมื่อครบกำหนดส่งมอบของตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาโดยมิได้มอบส่งมอบของตามสัญญาดังกล่าวให้โจทก์เลย โจทก์จึงมีหนังสือแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับรายวันนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันที่จำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติการชำระหนี้โดยถูกต้องตามสัญญาดังกล่าว ภายหลังจากนั้นโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 รีบส่งมอบของที่ซื้อขายกันตามสัญญาทั้งสองฉบับให้แก่โจทก์อีก พร้อมแจ้งการปรับไปด้วย มิฉะนั้นโจทก์อาจพิจารณาว่าจำเลยที่ 1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ 11 วรรคสามต่อไปแต่จำเลยที่ 1 ยังคงเพิกเฉย โจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1ดังนี้ ตามพฤติการณ์ของโจทก์เป็นการแสดงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาโดยไม่ส่งมอบของที่ซื้อขายกันในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็ยังไม่ประสงค์จะเลิกสัญญาทันทีตามสัญญาข้อ 10 โดยโจทก์คงเพียงแต่มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 1ส่งมอบของตามสัญญา ต่อเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบของได้ตามสัญญาแล้วโจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 1 เช่นนี้เป็นการที่โจทก์เลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 11 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าปรับรายวันตั้งแต่วันถัดจากวันที่จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ส่งมอบของจนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ ตามสัญญาซื้อขายข้อ 11 ดังกล่าว
จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของที่ซื้อขายกันในกำหนดตามสัญญาการที่โจทก์เรียกร้องเกี่ยวกับค่าขาดรายได้จากการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและเครื่องอบความร้อนคลื่นสั้นในการรักษาผู้ป่วยนั้น เมื่อโจทก์เป็นส่วนราชการมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการค้าหากำไร ค่าเสียหายส่วนนี้เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้คาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นว่าจะเกิดค่าเสียหายส่วนนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายส่วนนี้
of 23