พบผลลัพธ์ทั้งหมด 226 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: ศาลลดจำนวนเบี้ยปรับได้หากสูงเกินไป และค่าเสียหายพิเศษต้องมีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยคาดการณ์ได้
สัญญาซื้อขายข้อ10ระบุว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้วผู้ขาย(จำเลยที่1)ไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ(โจทก์)หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และวรรคสองระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ9เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรและถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวนหรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในกำหนด3เดือนนับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้นผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วยและข้อ11ระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อ(โจทก์)ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ10ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.2ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนและในวรรคสามระบุว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ9กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ10วรรคสองนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้การที่โจทก์ทำสัญญาซื้อเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและเครื่องอบความร้อนคลื่นสั้นจากจำเลยที่1ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการกำหนดส่งมอบของที่ซื้อขายกันภายในวันที่18สิงหาคม2530และวันที่29กันยายน2530ตามลำดับครั้นเมื่อครบกำหนดส่งมอบของตามสัญญาจำเลยที่1ผิดสัญญาโดยมิได้มอบส่งมอบของตามสัญญาดังกล่าวให้โจทก์เลยโจทก์จึงมีหนังสือแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับรายวันนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันที่จำเลยที่1ได้ปฏิบัติการชำระหนี้โดยถูกต้องตามสัญญาดังกล่าวภายหลังจากนั้นโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่1รีบส่งมอบของที่ซื้อขายกันตามสัญญาทั้งสองฉบับให้แก่โจทก์อีกพร้อมแจ้งการปรับไปด้วยมิฉะนั้นโจทก์อาจพิจารณาว่าจำเลยที่1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ11วรรคสามต่อไปแต่จำเลยที่1ยังคงเพิกเฉยโจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1ดังนี้ตามพฤติการณ์ของโจทก์เป็นการแสดงว่าเมื่อจำเลยที่1ผิดสัญญาโดยไม่ส่งมอบของที่ซื้อขายกันในกำหนดตามสัญญาโจทก์ก็ยังไม่ประสงค์จะเลิกสัญญาทันทีตามสัญญาข้อ10โดยโจทก์คงเพียงแต่มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่1ส่งมอบของตามสัญญาต่อเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยที่1ไม่สามารถส่งมอบของได้ตามสัญญาแล้วโจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่1เช่นนี้เป็นการที่โจทก์เลิกสัญญาตามสัญญาข้อ11โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าปรับรายวันตั้งแต่วันถัดจากวันที่จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ส่งมอบของจนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ตามสัญญาซื้อขายข้อ11ดังกล่าว จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของที่ซื้อขายกันในกำหนดตามสัญญาการที่โจทก์เรียกร้องเกี่ยวกับค่าขาดรายได้จากการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและเครื่องอบความร้อนคลื่นสั้นในการรักษาผู้ป่วยนั้นเมื่อโจทก์เป็นส่วนราชการมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการค้าหากำไรค่าเสียหายส่วนนี้เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้คาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นว่าจะเกิดค่าเสียหายส่วนนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการผิดสัญญาซื้อขายและการบอกเลิกสัญญา: ค่าปรับรายวัน vs. ชดใช้ราคาต่างกัน
โจทก์ทำสัญญาซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากจำเลยรวม6 รายการ ในราคา 965,000 บาท ซึ่งจำเลยจะต้องส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ภายในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2532 แต่จำเลยมีหนังสือแจ้งขอเลื่อนเวลาส่งมอบออกไปเป็นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2532 โดยยอมรับผิดตามสัญญาข้อ 10 โจทก์ยินยอมและได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบโดยสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับด้วย ครั้นครบกำหนด จำเลยขอเลื่อนการส่งมอบออกไปอีกไม่เกินสิ้นเดือนธันวาคม 2532 โจทก์ยินยอม และได้แจ้งจำเลยว่าหากผิดนัดอีก โจทก์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับและค่าเสียหาย จำเลยมีหนังสือขอส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ในวันที่ 29 ธันวาคม 2532 แต่ในวันดังกล่าวคณะกรรมการตรวจรับตรวจดูแล้วปรากฏว่าจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันไม่ถูกต้องตามคุณลักษณะเฉพาะที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์จึงมีหนังสือส่งคืนอุปกรณ์การเจาะน้ำมันแก่จำเลย จำเลยมีหนังสือขอส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันที่ถูกต้องให้โจทก์ภายในวันที่ 31 มกราคม 2533 โจทก์ไม่ยินยอมและเห็นว่าจำเลยไม่อาจส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้ถูกต้องตามสัญญาได้ จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2533 ดังนี้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ภายในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2532 และโจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแต่ยังให้โอกาสจำเลยเลื่อนเวลาส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันออกไปถึง 2 ครั้ง โดยโจทก์คาดหวังว่าจำเลยจะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้ได้ ทั้งจำเลยก็ยังมีเจตนาส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ตามสัญญาที่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาทันทีและยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับไว้ โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันได้ในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบตามที่ระบุในสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมัน ข้อ 10 วรรคแรก และในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวนั้น แม้จำเลยจะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์แต่ก็ไม่ถูกต้องตามสัญญา โจทก์ได้ส่งอุปกรณ์การเจาะน้ำมันคืนโดยถือว่าจำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์เลย โจทก์ย่อมบอกเลิกสัญญาได้ตามที่ระบุในสัญญาข้อ 10 วรรคสาม ได้
ส่วนกรณีผิดสัญญาตามสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมันข้อ 9นั้น หมายความว่า เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมัน และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีโดยไม่ให้โอกาสจำเลยในการที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์อีก ซึ่งอาจเป็นเพราะโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ก็ได้ ดังนี้การเลิกสัญญาในข้อ 9 และข้อ 10 ดังกล่าวจึงมีผลต่างกัน กล่าวคือ การเลิกสัญญาตามข้อ 9 จำเลยไม่ต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันและโจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง คือริบหลักประกัน และหากโจทก์ซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม จำเลยต้องใช้ราคาที่เพิ่มขึ้น ส่วนสัญญาข้อ 10 วรรคแรกนั้น โจทก์ให้โอกาสจำเลยที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้โดยที่ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและในระหว่างเวลาดังกล่าวจำเลยต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ส่งมอบ หากจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้ โจทก์ก็ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีกรณีจำเลยต้องรับผิดในราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นเพิ่มขึ้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา นอกจากจำเลยจะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยังต้องรับผิดชดใช้ราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นแพงเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วย
ส่วนกรณีผิดสัญญาตามสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมันข้อ 9นั้น หมายความว่า เป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมัน และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีโดยไม่ให้โอกาสจำเลยในการที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์อีก ซึ่งอาจเป็นเพราะโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ก็ได้ ดังนี้การเลิกสัญญาในข้อ 9 และข้อ 10 ดังกล่าวจึงมีผลต่างกัน กล่าวคือ การเลิกสัญญาตามข้อ 9 จำเลยไม่ต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันและโจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง คือริบหลักประกัน และหากโจทก์ซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม จำเลยต้องใช้ราคาที่เพิ่มขึ้น ส่วนสัญญาข้อ 10 วรรคแรกนั้น โจทก์ให้โอกาสจำเลยที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้โดยที่ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและในระหว่างเวลาดังกล่าวจำเลยต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ส่งมอบ หากจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้ โจทก์ก็ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีกรณีจำเลยต้องรับผิดในราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นเพิ่มขึ้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา นอกจากจำเลยจะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยังต้องรับผิดชดใช้ราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นแพงเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, ค่าปรับรายวัน, การบอกเลิกสัญญา, ความแตกต่างของข้อสัญญา, การชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ทำสัญญาซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากจำเลยรวม6รายการในราคา965,000บาทซึ่งจำเลยจะต้องส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ภายในวันที่5พฤศจิกายน2532แต่จำเลยมีหนังสือแจ้งขอเลื่อนเวลาส่งมอบออกไปเป็นวันที่30พฤศจิกายน2532โดยยอมรับผิดตามสัญญาข้อ10โจทก์ยินยอมและได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบโดยสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับด้วยครั้นครบกำหนดจำเลยขอเลื่อนการส่งมอบออกไปอีกไม่เกินสิ้นเดือนธันวาคม2532โจทก์ยินยอมและได้แจ้งจำเลยว่าหากผิดนัดอีกโจทก์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับและค่าเสียหายจำเลยมีหนังสือขอส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ในวันที่29ธันวาคม2532แต่ในวันดังกล่าวคณะกรรมการตรวจรับตรวจดูแล้วปรากฏว่าจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันไม่ถูกต้องตามคุณลักษณะเฉพาะที่กำหนดไว้ในสัญญาโจทก์จึงมีหนังสือส่งคืนอุปกรณ์การเจาะน้ำมันแก่จำเลยจำเลยมีหนังสือขอส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันที่ถูกต้องให้โจทก์ภายในวันที่31มกราคม2533โจทก์ไม่ยินยอมและเห็นว่าจำเลยไม่อาจส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้ถูกต้องตามสัญญาได้จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเมื่อวันที่18มกราคม2533ดังนี้เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ภายในวันที่5พฤศจิกายน2532และโจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแต่ยังให้โอกาสจำเลยเลื่อนเวลาส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันออกไปถึง2ครั้งโดยโจทก์คาดหวังว่าจำเลยจะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้ได้ทั้งจำเลยก็ยังมีเจตนาส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ตามสัญญาที่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาทันทีและยังคงสงวนสิทธิเรียกร้องค่าปรับไว้โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันได้ในอัตราร้อยละ0.2ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบตามที่ระบุในสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมันข้อ10วรรคแรกและในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวนั้นแม้จำเลยจะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์แต่ก็ไม่ถูกต้องตามสัญญาโจทก์ได้ส่งอุปกรณ์การเจาะน้ำมันคืนโดยถือว่าจำเลยไม่ได้ส่งมอบแก่โจทก์เลยโจทก์ย่อมบอกเลิกสัญญาได้ตามที่ระบุในสัญญาข้อ10วรรคสามได้ ส่วนกรณีผิดสัญญาตามสัญญาซื้อขายอุปกรณ์การเจาะน้ำมันข้อ9นั้นหมายความว่าเป็นกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันและโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทันทีโดยไม่ให้โอกาสจำเลยในการที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์อีกซึ่งอาจเป็นเพราะโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่สามารถส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันให้โจทก์ก็ได้ดังนี้การเลิกสัญญาในข้อ9และข้อ10ดังกล่าวจึงมีผลต่างกันกล่าวคือการเลิกสัญญาตามข้อ9จำเลยไม่ต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันและโจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ9วรรคสองคือริบหลักประกันและหากโจทก์ซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นในราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิมจำเลยต้องใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นส่วนสัญญาข้อ10วรรคแรกนั้นโจทก์ให้โอกาสจำเลยที่จะส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้โดยที่ยังไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและในระหว่างเวลาดังกล่าวจำเลยต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.2ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ส่งมอบหากจำเลยส่งมอบอุปกรณ์การเจาะน้ำมันได้โจทก์ก็ไม่อาจใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีกรณีจำเลยต้องรับผิดในราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นเพิ่มขึ้นถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญานอกจากจำเลยจะต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันจนถึงวันบอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยังต้องรับผิดชดใช้ราคาที่โจทก์จะต้องซื้ออุปกรณ์การเจาะน้ำมันจากบุคคลอื่นแพ่งเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดิน: เงื่อนไขบังคับก่อน, ผลกระทบต่อเจ้าของรวม, และค่าเสียหายจากผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อขายดินที่ระบุว่าผู้ขายจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สำนักงานที่ดินหลังจากผู้ขายได้ทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเรียบร้อยแล้วไม่เกิน18เดือนนั้นไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อนแต่เป็นข้อตกลงในการไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อว่าผู้ขายจะต้องแบ่งแยกที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้ซื้อภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวซึ่งไม่พ้นวิสัยไม่ตกเป็นโมฆะ โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทตรงตำแหน่งที่โจทก์ตกลงซื้อจากจำเลยมีผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยเมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแต่ผู้เดียวให้แบ่งแยกโฉนดที่ดินตรงตำแหน่งดังกล่าวโอนให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงจึงอาจมีผลกระทบถึงสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นซึ่งไม่ได้เข้ามาในคดีและไม่มีส่วนรู้เห็นตกลงในการแบ่งแยกโฉนดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364วรรคสองคำขอของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่อาจบังคับได้ศาลต้องยกคำขอแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่สามารถแบ่งแยกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดจำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาและแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเท่ากับจำนวนที่ระบุในสัญญาศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: เงื่อนไขบังคับก่อน, สิทธิเจ้าของรวม, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
สัญญาจะซื้อขายดินที่ระบุว่า ผู้ขายจะไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่สำนักงานที่ดินหลังจากผู้ขายได้ทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินเรียบร้อยแล้วไม่เกิน 18 เดือนนั้น ไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อน แต่เป็นข้อตกลงในการไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อว่า ผู้ขายจะต้องแบ่งแยกที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่ผู้ซื้อภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวซึ่งไม่พ้นวิสัย ไม่ตกเป็นโมฆะ
โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทตรงตำแหน่งที่โจทก์ตกลงซื้อจากจำเลยมีผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแต่ผู้เดียวให้แบ่งแยกโฉนดที่ดินตรงตำแหน่งดังกล่าวโอนให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง จึงอาจมีผลกระทบถึงสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นซึ่งไม่ได้เข้ามาในคดีและไม่มีส่วนรู้เห็นตกลงในการแบ่งแยกโฉนดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสอง คำขอของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่อาจบังคับได้ ศาลต้องยกคำขอ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่สามารถแบ่งแยกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนด จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญา และแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเท่ากับจำนวนที่ระบุในสัญญา ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้
โจทก์รู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทตรงตำแหน่งที่โจทก์ตกลงซื้อจากจำเลยมีผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแต่ผู้เดียวให้แบ่งแยกโฉนดที่ดินตรงตำแหน่งดังกล่าวโอนให้แก่โจทก์ตามข้อตกลง จึงอาจมีผลกระทบถึงสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่นซึ่งไม่ได้เข้ามาในคดีและไม่มีส่วนรู้เห็นตกลงในการแบ่งแยกโฉนดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสอง คำขอของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่อาจบังคับได้ ศาลต้องยกคำขอ แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายโดยไม่สามารถแบ่งแยกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนด จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญา และแม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์เสียหายเท่ากับจำนวนที่ระบุในสัญญา ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของจำเลยจากการริบเงินประกันตัวผู้ต้องหา: ประเด็นผิดสัญญาประกันและอำนาจการกระทำ
โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะที่เป็นคู่สัญญาแต่ฟ้องให้รับผิดในฐานะเป็นกรมซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยมีจำเลยที่2และที่3ปฏิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเป็นคุณแก่โจทก์แล้วศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันหรือไม่ต่อไปเสียเองหรือส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1)อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นสาระแก่คดีที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัย โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยทั้งสามไม่มีอำนาจริบเงินประกันตัวผู้ต้องหาของโจทก์แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาศาลฎีกาเห็นว่าคดีนี้ล่าช้ามามากแล้วเห็นสมควรที่จะได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวโดยไม่ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1)ประกอบมาตรา247 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทราบวันนัดส่งตัวผู้ต้องหาแล้วผิดนัดโจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดสัญญาประกันตัว: ศาลฎีกาวินิจฉัยเองได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นคู่สัญญาแต่ฟ้องให้รับผิดในฐานะเป็นกรมซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3ปฏิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันหรือไม่ต่อไปเสียเองหรือส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นสาระแก่คดีที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัย
โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสามไม่มีอำนาจริบเงินประกันตัวผู้ต้องหาของโจทก์ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษา ศาลฎีกาเห็นว่าคดีนี้ล่าช้ามามากแล้ว เห็นสมควรที่จะได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวโดยไม่ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา247
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทราบวันนัดส่งตัวผู้ต้องหาแล้วผิดนัด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกัน ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยทั้งสาม
โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสามไม่มีอำนาจริบเงินประกันตัวผู้ต้องหาของโจทก์ แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษา ศาลฎีกาเห็นว่าคดีนี้ล่าช้ามามากแล้ว เห็นสมควรที่จะได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวโดยไม่ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา247
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทราบวันนัดส่งตัวผู้ต้องหาแล้วผิดนัด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกัน ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8365/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องราคาทรัพย์สินเช่าซื้อ และค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 และมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 369 กล่าวคือให้นำมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ ดังนี้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยผู้เช่าซื้อชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้ เมื่อฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 การที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยที่ 1ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถยนต์ดังกล่าวออกให้เช่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30 ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญา ตามข้อ 7 ข้างต้น หรือเจ้าของบอกเลิกสัญญานี้และกลับเข้าครอบครองรถยนต์ตามข้อ 5 ของสัญญานี้ เงินทั้งปวงที่ผู้เช่าได้ชำระให้แก่เจ้าของก่อนหน้านั้นให้คงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ และผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าซ่อมรถยนต์พร้อมทั้งค่าอุปกรณ์และอะไหล่ทั้งปวงเพื่อซ่อมรถยนต์ให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่เจ้าของประมาณราคาขึ้นโดยทันที และจะชดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้ว ตลอดทั้งเงินจำนวนอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้ กับถ้าหากในขณะบอกเลิกการเช่านั้น ผู้เช่าได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อและรวมกับเงินชำระครั้งแรกรวมกันไม่ถึงครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา ผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อรวมทั้งเงินที่ชำระครั้งแรกแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา"ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้ โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องร้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 190/30 มิใช่อายุความหกเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8365/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกแล้ว: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย, ค่าขาดประโยชน์, และอายุความของหนี้
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว ย่อมมีผลทำให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ไม่มีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแก่กันตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 391 และมาตรา 392 บัญญัติว่า การชำระหนี้ของคู่สัญญาอันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้นให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรา369 กล่าวคือให้นำมาตรา 369 ว่าด้วยการชำระหนี้ในสัญญาต่างตอบแทนมาใช้บังคับ ดังนี้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยผู้เช่าซื้อชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ได้ เมื่อฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดประโยชน์หรือค่าใช้ทรัพย์ของโจทก์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ยังครอบครองทรัพย์ของโจทก์อยู่ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ และค่าเสียหายเช่นนี้ศาลอาจกำหนดตามที่เห็นสมควรได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142
การที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถยนต์ดังกล่าวออกให้เช่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาตามข้อ 7 ข้างต้น หรือเจ้าของบอกเลิกสัญญานี้และกลับเข้าครอบครองรถยนต์ตามข้อ 5 ของสัญญานี้ เงินทั้งปวงที่ผู้เช่าได้ชำระให้แก่เจ้าของก่อนหน้านั้นให้คงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ และผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าซ่อมรถยนต์พร้อมทั้งค่าอุปกรณ์และอะไหล่ทั้งปวงเพื่อซ่อมรถยนต์ให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่เจ้าของประมาณราคาขึ้นโดยทันที และจะชดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้ว ตลอดทั้งเงินจำนวนอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้ กับถ้าหากในขณะบอกเลิกการเช่านั้น ผู้เช่าได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อและรวมกับเงินชำระครั้งแรกรวมกันไม่ถึงครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา ผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อรวมทั้งเงินที่ชำระครั้งแรกแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา..." ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้ โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 190/30มิใช่อายุความหกเดือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 563
การที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ไปแล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อจนโจทก์บอกเลิกสัญญา แต่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการนำรถยนต์ดังกล่าวออกให้เช่า การฟ้องเรียกค่าเสียหายเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องได้ภายในอายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการฟ้องขอให้ชำระราคาทรัพย์สินที่เช่าซื้อจนครบตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาตามข้อ 7 ข้างต้น หรือเจ้าของบอกเลิกสัญญานี้และกลับเข้าครอบครองรถยนต์ตามข้อ 5 ของสัญญานี้ เงินทั้งปวงที่ผู้เช่าได้ชำระให้แก่เจ้าของก่อนหน้านั้นให้คงเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ และผู้เช่าจะต้องจ่ายค่าซ่อมรถยนต์พร้อมทั้งค่าอุปกรณ์และอะไหล่ทั้งปวงเพื่อซ่อมรถยนต์ให้กลับคืนสู่สภาพดีตามที่เจ้าของประมาณราคาขึ้นโดยทันที และจะชดใช้ค่าเสื่อมราคาและค่าเสียหายนอกเหนือจากค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ค้างชำระอยู่แล้ว ตลอดทั้งเงินจำนวนอื่นใดที่จะต้องจ่ายตามสัญญานี้ กับถ้าหากในขณะบอกเลิกการเช่านั้น ผู้เช่าได้ชำระเงินค่าเช่าซื้อและรวมกับเงินชำระครั้งแรกรวมกันไม่ถึงครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา ผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งเมื่อรวมกับจำนวนที่จ่ายเป็นค่าเช่าซื้อรวมทั้งเงินที่ชำระครั้งแรกแล้วจะเท่ากับครึ่งหนึ่งของราคาเช่าซื้อที่ระบุในบัญชีรายการท้ายสัญญา..." ข้อสัญญาดังกล่าวนี้ใช้บังคับได้ โดยมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ และในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 190/30มิใช่อายุความหกเดือนตาม ป.พ.พ.มาตรา 563
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาข้าราชการศึกษาต่อ – ศาลลดเบี้ยปรับได้เมื่อสูงเกินควร
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศ ข้อ 7 ก. ข้อ 8และข้อ 9 ความว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการหลังจากการศึกษาของจำเลยที่ 1 ยุติลง และเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถูกลงโทษทางวินัยให้ไล่ออกจากราชการ จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้ เงินทุน เงินเดือน และเงิน-อื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปในระหว่างศึกษาต่อคืนแก่โจทก์ทั้งหมด พร้อมทั้งเบี้ยปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ยังมิได้ชำระคืนในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีอีกด้วย ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกำหนดเบี้ยปรับเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 อีกส่วนหนึ่งด้วยเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับเป็นจำนวนเงินหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนให้แก่โจทก์ครบจำนวนแล้ว หากนำเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี รวมเข้าเป็นเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่ง ย่อมทำให้เบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับมีจำนวนสูงเกินไป ศาลชอบที่จะลดเบี้ยปรับให้เหลือเพียงจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งดังนั้น โจทก์ย่อมไม่สมควรได้รับดอกเบี้ยอีก