พบผลลัพธ์ทั้งหมด 226 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาข้าราชการศึกษาต่อ – ศาลลดเบี้ยปรับได้เมื่อสูงเกินควร
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศ ข้อ 7 ก. ข้อ 8และข้อ 9 ความว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการหลังจากการศึกษาของจำเลยที่ 1 ยุติลง และเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถูกลงโทษทางวินัยให้ไล่ออกจากราชการ จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้ เงินทุน เงินเดือน และเงิน-อื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปในระหว่างศึกษาต่อคืนแก่โจทก์ทั้งหมด พร้อมทั้งเบี้ยปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ยังมิได้ชำระคืนในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีอีกด้วย ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกำหนดเบี้ยปรับเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 อีกส่วนหนึ่งด้วยเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับเป็นจำนวนเงินหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนให้แก่โจทก์ครบจำนวนแล้ว หากนำเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี รวมเข้าเป็นเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่ง ย่อมทำให้เบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับมีจำนวนสูงเกินไป ศาลชอบที่จะลดเบี้ยปรับให้เหลือเพียงจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งดังนั้น โจทก์ย่อมไม่สมควรได้รับดอกเบี้ยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย: สิทธิเรียกร้องค่าปรับและหน้าที่ชำระราคาที่ดินเมื่อศาลบังคับตามสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมาย จ.2 ข้อ 3 มีข้อความว่าถ้าผู้จะขายผิดสัญญา ผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องบังคับให้เป็นไปตามสัญญาและยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อจำนวน 30,000 บาท เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ผิดสัญญา แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิได้รับเบี้ยปรับตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา
แม้คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสองมิได้ขอชำระราคาที่ดินให้จำเลยทั้งสอง แต่การซื้อขายที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทน ต่างฝ่ายก็มีหน้าที่ชำระหนี้ต่อกัน เมื่อศาลอุทธรณ์บังคับให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ชำระค่าที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือแก่จำเลยทั้งสองนั้นชอบแล้วไม่เป็นการเกินคำขอ
แม้คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสองมิได้ขอชำระราคาที่ดินให้จำเลยทั้งสอง แต่การซื้อขายที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทน ต่างฝ่ายก็มีหน้าที่ชำระหนี้ต่อกัน เมื่อศาลอุทธรณ์บังคับให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ชำระค่าที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือแก่จำเลยทั้งสองนั้นชอบแล้วไม่เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับและหน้าที่ชำระราคาที่ดินเมื่อมีการบังคับสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อจะขายเอกสารหมายจ.2ข้อ3มีข้อความว่าถ้าผู้จะขายผิดสัญญาผู้จะขายยอมให้ผู้จะซื้อฟ้องบังคับให้เป็นไปตามสัญญาและยอมใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้จะซื้อจำนวน30,000บาทเมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ผิดสัญญาแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทและกำหนดให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิได้รับเบี้ยปรับตามที่ได้กำหนดไว้ในสัญญา แม้คำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสองมิได้ขอชำระราคาที่ดินให้จำเลยทั้งสองแต่การซื้อขายที่ดินเป็นสัญญาต่างตอบแทนต่างฝ่ายก็มีหน้าที่ชำระหนี้ต่อกันเมื่อศาลอุทธรณ์บังคับให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งสองที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ชำระค่าที่ดินพิพาทส่วนที่เหลือแก่จำเลยทั้งสองนั้นชอบแล้วไม่เป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการปรับและบอกเลิกสัญญาซื้อขายเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าไม่ถูกต้องตามสัญญา
จำเลยมิได้ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาซื้อขายภายในกำหนดเวลาโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้จำเลยส่งมอบโดยระบุว่าขอสงวนสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าปรับตามสัญญาจากจำเลยด้วยแสดงว่าโจทก์ไม่มีความประสงค์จะเลิกสัญญากับจำเลยจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบสิ่งของให้ถูกต้องตามสัญญาเมื่อจำเลยส่งมอบแล้วแต่สิ่งของนั้นไม่ถูกต้องตรงตามสัญญาก็ต้องถือว่าจำเลยมิได้ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาซื้อขายภายในกำหนดเวลาโจทก์ได้ให้โอกาสจำเลยเพื่อให้ปฎิบัติตามสัญญาแต่ในขณะเดียวกันระยะเวลาที่ล่วงเลยมานั้นก็ยังคงถือว่าจำเลยปฎิบัติผิดสัญญาและต้องชำระค่าปรับจากการส่งมอบสิ่งของล่าช้ากว่ากำหนดจนกระทั่งโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฎิบัติตามสัญญาต่อไปได้จึงมีหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญาซึ่งตามสัญญาข้อ9วรรคสามมีข้อความว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจจะปฎิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันตามสัญญาข้อ7กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ8วรรคสองนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาก็ได้ถือว่าโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ9มิใช่ตามสัญญาข้อ8โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าปรับตามข้อสัญญาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1414/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการปรับและบอกเลิกสัญญาซื้อขายเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าไม่ถูกต้องตามสัญญา
จำเลยมิได้ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาซื้อขายภายในกำหนดเวลา โจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้จำเลยส่งมอบ โดยระบุว่าขอสงวนสิทธิเรียกร้องเอาเงินค่าปรับตามสัญญาจากจำเลยด้วยแสดงว่าโจทก์ไม่มีความประสงค์จะเลิกสัญญากับจำเลยเลยจำเลยมีหน้าที่จะต้องส่งมอบสิ่งของให้ถูกต้องตามสัญญาเมื่อจำเลยส่งมอบแล้วแต่สิ่งของนั้นไม่ถูกต้องตรงตามสัญญาก็ต้องถือว่าจำเลยมิได้ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาซื้อขายภายในกำหนดเวลา โจทก์ได้ให้โอกาสจำเลยเพื่อให้ปฏิบัติตามสัญญา แต่ในขณะเดียวกันระยะเวลาที่ล่วงเลยมานั้นก็ยังคงถือว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาและต้องชำระค่าปรับจากการส่งมอบสิ่งของล่าช้ากว่ากำหนด จนกระทั่งโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ จึงมีหนังสือแจ้งยกเลิกสัญญา ซึ่งตามสัญญาข้อ 9 วรรคสาม มีข้อความว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขาย ไม่อาจจะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิ บอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้อง ให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาก็ได้ ถือว่าโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9 มิใช่ตามสัญญาข้อ 8 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าปรับตามข้อสัญญาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1375/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, วัตถุประสงค์สัญญาเช่า, การสละสิทธิเรียกค่าเสียหาย, การกำหนดวันส่งมอบและเบี้ยปรับ
คดีมีประเด็นว่าการให้เช่าเหล็กเข็มพืดอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์หรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าแม้โจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ดังกล่าวแต่เมื่อจำเลยให้การและนำสืบรับว่าได้มีการทำสัญญาเช่าเหล็กเข็มพืดกันจริงแล้วจำเลยจะโต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะอยู่นอกวัตถุประสงค์ของโจทก์หาได้ไม่จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแล้ว จำเลยให้การเพียงว่าโจทก์สละสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญามิได้ให้การถึงเหตุแห่งการนั้นว่าเพราะโจทก์ยอมรับเหล็กเข็มพืดจากจำเลยโดยมิได้บอกสงวนสิทธิในการเรียกเบี้ยปรับไว้เป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองแม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับหรือไม่และโจทก์สละสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาแล้วหรือไม่ก็ถือไม่ได้ว่าปัญหาดังกล่าวเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหานี้จึงชอบแล้วและฎีกาของจำเลยข้อนี้ก็เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรก แม้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายจะมิได้คำนวณตามจำนวนวันที่จำเลยส่งมอบเหล็กเข็มพืดคืนโจทก์แต่ก็ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยส่งมอบคืนเมื่อวันที่15ธันวาคม2531มิใช่วันที่12กันยายน2531ซึ่งจำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นวันที่12กันยายน2531หากเป็นความจริงย่อมมีผลต่อการกำหนดค่าเสียหายถือได้ว่าจำเลยอุทธรณ์การกำหนดค่าเสียหายอยู่ในตัวที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยเรื่องวันส่งมอบตามอุทธรณ์จึงไม่ชอบเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งและศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ไม่จำต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามมาตรา243(1)ประกอบมาตรา247 เมื่อสัญญาเช่าได้กำหนดเบี้ยปรับไว้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา380วรรคสองโดยหาจำต้องนำสืบว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างใดหรือไม่เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและการรับชำระเงินมัดจำคืน ถือเป็นการตกลงเลิกสัญญาโดยชอบ
จำเลยให้การว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยและขอเงินมัดจำคืนจำเลยก็ตกลงและได้คืนเงินมัดจำให้แล้วแต่ฎีกาว่าจำเลยเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาไปถึงโจทก์และโจทก์สนองรับแล้วเป็นการอ้างเหตุการเลิกสัญญาไม่ตรงกับคำให้การถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฉะนั้นฎีกาของจำเลยที่ว่าสัญญาเลิกกันโดยโจทก์มิได้สงวนสิทธิเรียกค่าเสียหายโจทก์จะมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยโดยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ได้จึงไม่เป็นสาระที่ต้องวินิจฉัย โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเพราะจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเบี้ยปรับได้หาทำให้สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับตามสัญญาระงับไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเล็กน้อย และการเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดบัตรเครดิต
การที่จะวินิจฉัยว่าการแก้ไขคำฟ้องอย่างไรเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้น จำเป็นต้องดูคำบรรยายฟ้องของโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาในการใช้บัตรไดเนอร์สคลับที่โจทก์ออกให้ไปใช้ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2532 โดยจำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์จำนวน 20,620 บาท โจทก์ทวงถามแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์จำนวน 20,620 บาท พร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532 คำนวณถึงวันฟ้องจำนวน 4,646.37 บาท รวมเป็นเงิน25,266.37 บาท แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน4,646.37 บาท พร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ในต้นเงินจำนวน 20,620 บาท เห็นได้ชัดว่าการพิมพ์ฟ้องของโจทก์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากเจตนา ต้องถือว่าเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมได้แม้ภายหลังวันชี้สองสถาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180
อุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ แม้ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยโดยยกเหตุคนละเหตุว่า ข้ออุทธรณ์ของจำเลยนั้นจำเลยไม่เคยให้การต่อสู้คดีไว้ และจำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยไม่ชอบก็ตามก็ถือได้ว่าไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
ตามวิธีการของการใช้บัตรไดเนอร์สคลับ เมื่อจำเลยนำบัตรของโจทก์ไปใช้ โจทก์จะชำระหนี้แทนจำเลย จำเลยมีหน้าที่จะชำระเงินคืนโจทก์ภายในกำหนด ในกรณีนี้จำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมผิดนัด แต่หากจำเลยไม่ชำระเงินคืนให้โจทก์ภายในกำหนด โจทก์จะเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน โดยไม่ปรากฏว่าเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอีก จึงเห็นได้ว่าค่าธรรมเนียมผิดนัดไม่ใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 แต่มีลักษณะคล้ายเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดดังกล่าวได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาในการใช้บัตรไดเนอร์สคลับที่โจทก์ออกให้ไปใช้ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2532 โดยจำเลยค้างชำระหนี้แก่โจทก์จำนวน 20,620 บาท โจทก์ทวงถามแล้วไม่ชำระ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์จำนวน 20,620 บาท พร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2532 คำนวณถึงวันฟ้องจำนวน 4,646.37 บาท รวมเป็นเงิน25,266.37 บาท แต่โจทก์กลับบรรยายฟ้องขอบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวน4,646.37 บาท พร้อมค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ในต้นเงินจำนวน 20,620 บาท เห็นได้ชัดว่าการพิมพ์ฟ้องของโจทก์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากเจตนา ต้องถือว่าเป็นการผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมได้แม้ภายหลังวันชี้สองสถาน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180
อุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ แม้ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยโดยยกเหตุคนละเหตุว่า ข้ออุทธรณ์ของจำเลยนั้นจำเลยไม่เคยให้การต่อสู้คดีไว้ และจำเลยฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยไม่ชอบก็ตามก็ถือได้ว่าไม่ใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249
ตามวิธีการของการใช้บัตรไดเนอร์สคลับ เมื่อจำเลยนำบัตรของโจทก์ไปใช้ โจทก์จะชำระหนี้แทนจำเลย จำเลยมีหน้าที่จะชำระเงินคืนโจทก์ภายในกำหนด ในกรณีนี้จำเลยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมผิดนัด แต่หากจำเลยไม่ชำระเงินคืนให้โจทก์ภายในกำหนด โจทก์จะเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน โดยไม่ปรากฏว่าเรียกค่าเสียหายอย่างอื่นอีก จึงเห็นได้ว่าค่าธรรมเนียมผิดนัดไม่ใช่ดอกเบี้ยตามความหมายของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 แต่มีลักษณะคล้ายเบี้ยปรับ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้โจทก์จึงฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมผิดนัดดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6294/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยปลดหนี้สัญญา: การที่คนต่างด้าวป่วยเป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถส่งตัวออกนอกราชอาณาจักรได้ตามสัญญา ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
จำเลยไม่ส่งตัว ห. คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะห. ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัยจำเลยไม่มีเจตนาปฏิบัติผิดเงื่อนไขสัญญาที่ต้องจัดการให้ ห.เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรภายในกำหนด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าปรับตามสัญญา ผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมืองที่จะอนุญาตให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องร้องดำเนินคดีในฐานะคู่สัญญากับจำเลยตามกฎหมาย เมื่อผู้บังคับการกองตรวจคนเข้าเมืองมีคำสั่งเห็นชอบผ่อนผันระงับการปรับจำเลย ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงและชอบด้วยกฎหมายทั้งในฐานะคู่สัญญากับจำเลยโดยตรงแล้วหนี้ค่าปรับจึงระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าปรับและค่าเสียหายจากสัญญาจ้างที่สิ้นสุดลงจากการบอกเลิกสัญญาและการส่งมอบงานที่ใช้งานไม่ได้
ตามสัญญาจ้าง โจทก์มีสิทธิ์เรียกค่่าปรับรายวันในกรณีที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้า โดยโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะเคยส่งมอบสิ่งของตามสัญญาจ้างให้โจทก์ แต่ใช้งานไม่ได้โจทก์จึงไม่รับสิ่งของมีผลเท่ากับจำเลยที่่ 1 ไม่เคยส่งมอบสิ่งของให้โจทก์เลยโจทก์จึงเรียกค่าปรับรายวันไม่ได้ การว่าจ้างทำแบบพิมพ์เครื่องอัดเปลือกหม้อและฝ่าหม้อแบตเตอรี่อยู่่นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่่ 1 แต่ก่อนทำสัญญาจ้างฝ่ายจำเลยได้เสนอหนังสือรับรองที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว โจทก์จึงทราบก่อนทำสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมรับปฏิบัติตามสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมรับปฏิบัติตามสัญญาจ้างต่อโจทก์ จึงเป็นการให้สัตยาบันในการทำสัญญานั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งทำสัญญาดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวอีก