คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 380

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 226 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าปรับและค่าเสียหายจากสัญญาจ้างที่สิ้นสุดลงจากการบอกเลิกสัญญาและการส่งมอบงานที่ใช้งานไม่ได้
ตามสัญญาจ้าง โจทก์มีสิทธิ์เรียกค่่าปรับรายวันในกรณีที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้า โดยโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะเคยส่งมอบสิ่งของตามสัญญาจ้างให้โจทก์ แต่ใช้งานไม่ได้โจทก์จึงไม่รับสิ่งของมีผลเท่ากับจำเลยที่่ 1 ไม่เคยส่งมอบสิ่งของให้โจทก์เลยโจทก์จึงเรียกค่าปรับรายวันไม่ได้ การว่าจ้างทำแบบพิมพ์เครื่องอัดเปลือกหม้อและฝ่าหม้อแบตเตอรี่อยู่่นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่่ 1 แต่ก่อนทำสัญญาจ้างฝ่ายจำเลยได้เสนอหนังสือรับรองที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว โจทก์จึงทราบก่อนทำสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมรับปฏิบัติตามสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมรับปฏิบัติตามสัญญาจ้างต่อโจทก์ จึงเป็นการให้สัตยาบันในการทำสัญญานั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งทำสัญญาดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทซื้อขายกล่องกระดาษ การผิดนัด การบอกเลิกสัญญา ค่าเสียหาย และการหักกลบลบหนี้
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ 3 ครั้ง และคำร้องที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องนั้น โจทก์ได้ขอเพิ่มเติมโดยเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้สั่งซื้อจากโจทก์หลังจากครั้งที่ 3 คือครั้งที่ 4 เข้ามาด้วย จึงเป็นเรื่องการเรียกราคาสิ่งของประเภทเดียวกัน อันเกิดจากนิติกรรมประเภทเดียวกันระหว่างโจทก์กับจำเลย คำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมกับคำฟ้องเดิมจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่จำเลยก่อนสั่งอนุญาตนั้น เมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้วศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การโดยจำเลยได้กล่าวแก้ข้อหาข้อหาของโจทก์ที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่โดยบริบูรณ์แล้วจำเลยไม่เสียเปรียบอย่างไร ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรให้มีการแก้ไขคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุน้ำส้มสายชูกลั่นชนิดขวดจากโจทก์รวม 4 ครั้ง รายละเอียดการสั่งซื้อ ชนิด ขนาด และจำนวนสินค้าปรากฎตามภาพถ่ายใบสั่งซื้อเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถึงหมายเลข5 ตามลำดับ โจทก์ได้จัดส่งสินค้าตามใบสั่งซื้อดังกล่าวให้จำเลยหลายคราว จำเลยได้รับสินค้าครบถ้วนแล้ว ปรากฎรายละเอียดวันส่งสินค้าและจำนวนเงินค่าสินค้าที่จัดส่งให้แต่ละคราวตามภาพถ่ายรายการใบแจ้งหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 รวม 10 ฉบับ ยังคงค้างชำระอยู่คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว สัญญาข้อ 2 มีว่า "ถ้าผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของที่ถูกต้องตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ซื้อได้เลยหรือส่งมอบได้แต่เพียงบางส่วนภายในกำหนดที่กล่าวไว้ในสัญญาข้อ 1 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างหรือทุกอย่างดังต่อไปนี้ได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรคือ 2.1 ปรับผู้ขายเป็นเงินร้อยละ 5 ของราคาที่ยังมิได้ส่งมอบให้ถูกต้อง" ตามสัญญาข้อนี้จึงมีการกำหนดเบี้ยปรับไว้ 2 ชนิด คือเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้ และเบี้ยปรับเพื่อการชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควร พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยรับเอากล่องกระดาษที่ส่งเกินกำหนดหลายต่อหลายครั้งตลอดมา โดยมิได้ทักท้วงอย่างใดเป็นการที่คู่กรณีไม่ถือเอากำหนดเวลาในการส่งมอบกล่องกระดาษเป็นสำคัญ ฉะนั้นแม้โจทก์มิได้ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็หาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าขณะรับมอบกล่องกระดาษจำเลยได้สงวนสิทธิไว้ว่าจะเรียกเบี้ยปรับแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 2 สำหรับกล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้ภายหลังจากครบกำหนดเวลาส่งมอบ จำเลยได้ค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับมอบไปจากโจทก์สำหรับการสั่งซื้อครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 และค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่สั่งซื้อในครั้งที่ 4 บางส่วนด้วย โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยก็ไม่ชำระ จำเลยจึงได้ชื่อว่าผิดนัดและผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 204 วรรคแรกและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว สัญญาจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องขายหรือส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิ์เรียกเบี้ยปรับจากโจทก์สำหรับการที่โจทก์ไม่ส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือ ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษเกินกำหนด จึงทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาแก่พนักงานของจำเลยเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อการที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยเกินกำหนด มิได้เป็นการผิดนัดผิดสัญญาจำเลยจึงไม่อาจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ได้ ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ส่งไส้ในกล่องไม่ครบตามสัญญา 4,800 ชุด อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องจัดหาที่อื่นมาแทนข้อนี้โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยอย่างไร จึงถือว่าโจทก์รับแล้ว โจทก์จึงต้องรับผิดใช้เงิน ราคากล่องกระดาษที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องนั้นเป็นราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้แล้ว แม้โจทก์จะได้ส่งมอบกล่องกระดาษบางส่วนเกินกำหนดในสัญญา จำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องชำระราคากล่องกระดาษเหล่านั้น สัญญาข้อ 3 ก็ระบุว่า "ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสิ่งของตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ขายโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน...วันนับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการเจ้าหน้าที่ของฝ่ายผู้ซื้อได้ตรวจรับของไว้ถูกต้องแล้วเป็นต้นไป" มิได้มีความหมายว่าจำเลยจะต้องชำระเงินค่ากล่องกระดาษต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบครบถ้วนตามสัญญาดังที่จำเลยกล่าวอ้างแต่อย่างไร จำเลยจึงต้องชำระราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไปแล้วแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายกล่องกระดาษ: การชำระราคา, การผิดนัด, และเบี้ยปรับ
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ 3 ครั้ง และคำร้องที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องนั้น โจทก์ได้ขอเพิ่มเติมโดยเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้สั่งซื้อจากโจทก์หลังจากครั้งที่ 3คือครั้งที่ 4 เข้ามาด้วย จึงเป็นเรื่องการเรียกราคาสิ่งของประเภทเดียวกัน อันเกิดจากนิติกรรมประเภทเดียวกันระหว่างโจทก์กับจำเลย คำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมกับคำฟ้องเดิมจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้การที่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่จำเลยก่อนสั่งอนุญาตนั้นเมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ โดยจำเลยได้กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่โดยบริบูรณ์แล้วจำเลยไม่เสียเปรียบอย่างไร ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรให้มีการแก้ไขคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว
โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุน้ำส้มสายชูกลั่นชนิดขวดจากโจทก์รวม 4 ครั้งรายละเอียดการสั่งซื้อ ชนิด ขนาด และจำนวนสินค้า ปรากฏตามภาพถ่ายใบสั่งซื้อเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถึงหมายเลข 5 ตามลำดับ โจทก์ได้จัดส่งสินค้าตามใบสั่งซื้อดังกล่าวให้จำเลยหลายคราว จำเลยได้รับสินค้าครบถ้วนแล้ว ปรากฏรายละเอียดวันส่งสินค้า ใบส่งสินค้า และจำนวนเงินค่าสินค้าที่จัดส่งให้แต่ละคราวตามภาพถ่ายรายการใบแจ้งหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 รวม 10 ฉบับ ยังคงค้างชำระอยู่ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาข้อ 2 มีว่า "ถ้าผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของที่ถูกต้องตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ซื้อได้เลยหรือส่งมอบได้แต่เพียงบางส่วนภายในกำหนดที่กล่าวไว้ในสัญญาข้อ 1 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างหรือทุกอย่างดังต่อไปนี้ได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรคือ 2.1 ปรับผู้ขายเป็นเงินร้อยละ5 ของราคาที่ยังมิได้ส่งมอบให้ถูกต้อง" ตามสัญญาข้อนี้จึงมีการกำหนดเบี้ยปรับไว้2 ชนิด คือเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้ และเบี้ยปรับเพื่อการชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควร
พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยรับเอากล่องกระดาษที่ส่งเกินกำหนดหลายต่อหลายครั้งตลอดมา โดยมิได้ทักท้วงอย่างใดเป็นการที่คู่กรณีไม่ถือเอากำหนดเวลาในการส่งมอบกล่องกระดาษเป็นสำคัญ ฉะนั้นแม้โจทก์มิได้ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็หาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะรับมอบกล่องกระดาษจำเลยได้สงวนสิทธิไว้ว่าจะเรียกเบี้ยปรับแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 2 สำหรับกล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้ภายหลังจากครบกำหนดเวลาส่งมอบ
จำเลยได้ค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับมอบไปจากโจทก์สำหรับการสั่งซื้อครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 และค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่สั่งซื้อในครั้งที่ 4 บางส่วนด้วย โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยก็ไม่ชำระ จำเลยจึงได้ชื่อว่าผิดนัดและผิดสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคแรกและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว สัญญาจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องขายหรือส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากโจทก์สำหรับการที่โจทก์ไม่ส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือ
ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษเกินกำหนด จึงทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาแก่พนักงานของจำเลยเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อการที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยเกินกำหนด มิได้เป็นการผิดนัดผิดสัญญา จำเลยจึงไม่อาจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ได้
ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ส่งไส้ในกล่องไม่ครบตามสัญญา 4,800 ชุด อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องจัดหาที่อื่นมาแทน ข้อนี้โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยอย่างไร จึงถือว่าโจทก์รับแล้ว โจทก์จึงต้องรับผิดใช้เงิน
ราคากล่องกระดาษที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องนั้นเป็นราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้แล้ว แม้โจทก์จะได้ส่งมอบกล่องกระดาษบางส่วนเกินกำหนดในสัญญา จำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องชำระราคากล่องกระดาษเหล่านั้น สัญญาข้อ 3 ก็ระบุว่า "ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสิ่งของตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ขายโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน ... วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการเจ้าหน้าที่ของฝ่ายผู้ซื้อได้ตรวจรับของไว้ถูกต้องแล้วเป็นต้นไป" มิได้มีความหมายว่าจำเลยจะต้องชำระเงินค่ากล่องกระดาษต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบครบถ้วนตามสัญญาดังที่จำเลยกล่าวอ้างแต่อย่างไร จำเลยจึงต้องชำระราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไปแล้วแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4958/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินประกันสัญญาเช่าเป็นเบี้ยปรับ ศาลลดจำนวนได้ตามสมควร
สัญญาเช่าอาคารแม้จะเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลย แต่การจะบังคับตามสัญญาก็ต้องพิจารณาว่าจะใช้บทกฎหมายใด บังคับ กรณีที่จำเลยวางเงินประกันสัญญาเช่า 300,000 บาท ถ้าจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์ริบเงินประกันสัญญาได้ทันที และปรากฏว่าจำเลยไม่ได้ชำระค่าเช่าตามเวลาที่กำหนดไว้ จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงเป็นกรณีที่จำเลยยอมให้โจทก์ริบ เงินประกันเมื่อชำระหนี้ไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงตามกำหนดเวลา และโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกเอาเงินดังกล่าวอันจะพึงริบได้นั้น แม้ในสัญญาเช่าจะไม่เรียกว่าเป็นเบี้ยปรับ แต่ข้อที่กำหนดไว้ ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ดังนี้เงินประกันสัญญาเช่า ดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381 ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4958/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินประกันสัญญาเช่ามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดจำนวนลงได้
สัญญาเช่าอาคารแม้จะเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยแต่การจะบังคับตามสัญญาก็ต้องพิจารณาว่าจะใช้บทกฎหมายใดบังคับ กรณีที่จำเลยวางเงินประกันสัญญาเช่า 300,000 บาท ถ้าจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์ริบเงินประกันสัญญาได้ทันที และปรากฏว่าจำเลยไม่ได้ชำระค่าเช่าตามเวลาที่กำหนดไว้ จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงเป็นกรณีที่จำเลยยอมให้โจทก์ริบเงินประกันเมื่อชำระหนี้ไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงตามกำหนดเวลาและโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกเอาเงินดังกล่าวอันจะพึงริบได้นั้น แม้ในสัญญาเช่าจะไม่เรียกว่าเป็นเบี้ยปรับ แต่ข้อที่กำหนดไว้ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ดังนี้เงินประกันสัญญาเช่าดังกล่าวจึงเป็นเบี้ยปรับตามป.พ.พ.มาตรา 381 ซึ่งศาลมีอำนาจที่จะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิเรียกร้องหนี้และเบี้ยปรับควบคู่กันได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับสามีฝ่ายหนึ่งและโจทก์กับภริยาอีกฝ่ายหนึ่งได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่กันและได้บรรยายถึงรายละเอียดของที่ดินแปลงที่จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอน ให้แก่โจทก์ไว้ด้วย แล้วบรรยายต่อไปว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจำเลยไม่ไปจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์และได้บรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเมื่อจำเลยผิดสัญญาไว้ด้วยและตอนท้ายก็มีคำขอบังคับ คำฟ้องที่โจทก์บรรยายมาจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีแล้ว ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายให้ชัดว่าคู่สัญญาจะไปจดทะเบียนโอนกันภายในกี่วันและไม่ได้บรรยายถึงสาระสำคัญของสัญญาให้ครบถ้วนนั้นข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา แม้โจทก์จะมิได้สำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความมาท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม สัญญาประนีประนอมยอมความให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกให้จำเลยชำระค่าเสียหายเป็นเบี้ยปรับด้วย อันเป็นเบี้ยปรับซึ่งผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 381ซึ่งนอกจากจะเรียกให้โอนที่ดินเป็นการชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากลูกหนี้ได้อีกด้วย มิใช่เบี้ยปรับตามมาตรา 380 ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือเรียกเอาเบี้ยปรับแทนการชำระหนี้ได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4780/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความและสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหาย (เบี้ยปรับ) นอกเหนือจากการชำระหนี้ด้วยการโอนที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับสามีฝ่ายหนึ่งและโจทก์กับภริยาอีกฝ่ายหนึ่งได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่กันและได้บรรยายถึงรายละเอียดของที่ดินแปลงที่จำเลยจะต้องจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ไว้ด้วย แล้วบรรยายต่อไปว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วจำเลยไม่ไปจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์และได้บรรยายถึงสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเมื่อจำเลยผิดสัญญาไว้ด้วย และตอนท้ายก็มีคำขอบังคับ คำฟ้องที่โจทก์บรรยายมาจึงแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีแล้ว ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายให้ชัดว่าคู่สัญญาจะไปจดทะเบียนโอนกันภายในกี่วันและไม่ได้บรรยายถึงสาระสำคัญของสัญญาให้ครบถ้วนนั้น ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา แม้โจทก์จะมิได้สำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความมาท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม
สัญญาประนีประนอมยอมความให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกให้จำเลยชำระค่าเสียหายเป็นเบี้ยปรับด้วย อันเป็นเบี้ยปรับซึ่งผู้เป็นลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 ซึ่งนอกจากจะเรียกให้โอนที่ดินเป็นการชำระหนี้แล้ว เจ้าหนี้ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากลูกหนี้ได้อีกด้วย มิใช่เบี้ยปรับตามมาตรา 380 ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือเรียกเอาเบี้ยปรับแทนการชำระหนี้ได้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิเรียกได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3889/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาและการเรียกร้องเบี้ยปรับรายวัน ผู้ซื้อต้องเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตามสัญญาข้อ 8 กำหนดว่า ในกรณีที่ผู้ขายผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ส่วนตามสัญญาข้อ 9กำหนดว่าในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับจากผู้ขายเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบได้ นับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนกว่าผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันกับเรียกให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของที่ซื้อให้โจทก์ โดยโจทก์มิได้ใช้สิทธิปรับเป็นรายวันก่อนบอกเลิกสัญญา แม้โจทก์จะสงวนสิทธิการเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 9 ไว้ท้ายหนังสือบอกเลิกสัญญา ก็หามีผลเป็นการใช้สิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันแล้วไม่ จึงเป็นกรณีบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับเป็นรายวันจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3889/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญา vs. สิทธิปรับรายวัน: การใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมตัดสิทธิอีกอย่างหนึ่ง
ตามสัญญาข้อ 8 กำหนดว่า ในกรณีที่ผู้ขายผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ส่วนตามสัญญาข้อ 9 กำหนดว่าในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับจากผู้ขายเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบได้ นับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนกว่าผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกัน กับเรียกให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของที่ซื้อให้โจทก์ โดยโจทก์มิได้ใช้สิทธิปรับเป็นรายวันก่อนบอกเลิกสัญญา แม้โจทก์จะสงวนสิทธิการเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 9 ไว้ท้ายหนังสือบอกเลิกสัญญา ก็หามีผลเป็นการใช้สิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันแล้วไม่ จึงเป็นกรณีบอกเลิกสัญญาตามข้อ 8 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับเป็นรายวันจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินและเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้หากเกินความเสียหายที่แท้จริง
ข้อสัญญาที่ว่า จำเลยจะดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินพิพาทก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์นั้นได้แยกออกมาเป็นข้อที่ 5ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยเฉพาะ และเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ โจทก์ย่อมไม่สามารถเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทได้จนกว่าจำเลยจะดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดิน ทั้งในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ครั้งแรกโจทก์ได้นำแคชเชียร์เช็คไปชำระราคาที่เหลือครบถ้วน แต่ก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ เนื่องจากผู้เช่านายังไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาท จนถึงขนาดโจทก์จำเลยต้องทำบันทึกกันใหม่เลื่อนเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ไปเพื่อให้จำเลยดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ได้เลื่อนมา แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าสัญญาข้อนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ย่อมเป็นสาระสำคัญของสัญญาและเป็นหน้าที่ของจำเลย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน จึงต้องรับผิดโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ข้อ 10 กำหนดว่า หากจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์ปรับจำเลยเป็นเงิน 4 เท่า ของเงินมัดจำ คือปรับเป็นเงินจำนวน400,000 บาท ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 เมื่อเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่ดินพิพาทโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันในราคา 1,000,000 บาทเมื่อถึงกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยก็ยอมจดทะเบียนโอนให้โดยดีแม้ผู้เช่านาจะไม่ยอมรื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่ก็ยอมขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกจากที่ดินโดยมีกำหนดเวลาไว้พอสมควร ความเสียหายที่โจทก์ได้รับจึงมีไม่มาก เหตุที่โจทก์กำหนดค่าปรับสูงเพราะกลัวว่าจำเลยจะไม่บอกผู้เช่านาให้ออกจากที่ดินและกลัวว่าที่ดินจะมีราคาสูงขึ้นและโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้นำที่ดินพิพาทไปขายต่อให้บุคคลอื่น จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์จะนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่ ก. และไม่ทราบว่าโจทก์อาจถูก ก.เรียกเบี้ยปรับฐานผิดสัญญา ทั้งโจทก์ก็จะได้รับโอนที่ดินตามที่เรียกร้องมาอยู่แล้วหาใช่จะได้รับแต่เพียงเบี้ยปรับแต่เพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อเบี้ยปรับเป็นเงิน400,000 บาท สูงเกินส่วน แม้โจทก์จะชำระเบี้ยปรับจำนวน 500,000 บาทให้แก่ ก.ฐานไม่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ตามสัญญา ก็เป็นเรื่องที่โจทก์สละข้อต่อสู้ในเรื่องเบี้ยปรับสูงเกินส่วนกับ ก.โดยไม่คำนึงว่า ก.จะได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใด โจทก์จะให้จำเลยรับผิดในเบี้ยปรับที่ชำระให้แก่ ก.จนเต็มจำนวนหาได้ไม่ ชอบที่ศาลจะกำหนดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์เป็นจำนวนพอสมควรเพียง 100,000 บาทได้
of 23