คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 380

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 226 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4138/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับรายวันสิ้นสุดเมื่อบอกเลิกสัญญา
สัญญาซื้อขายข้อ 9 ระบุว่า "ข้อ 9 เบี้ยปรับสำหรับการส่งของล่าช้า หากผู้ขายมิได้ส่งมอบของให้แก่ผู้ซื้อได้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาส่งมอบตามที่ระบุไว้ในสัญญาไม่ว่าความล่าช้านั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุใดก็ตาม ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับจากผู้ขายเป็นเงินวันละเศษ 1 ส่วน 5 ของหนึ่งส่วนร้อย (0.2%) ต่อวัน หรือส่วนของวันของราคาตามสัญญาของหน่วยสำเร็จแต่ละหน่วยที่ส่งมอบไม่ครบถ้วน ทั้งนี้ จนกว่าผู้ขายได้ส่งมอบของให้ได้ครบถ้วนตามสัญญา" และข้อ 11 กำหนดว่า หากผู้ขายละเลยการปฏิบัติอย่างใด ๆ ตามข้อตกลงในสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและผู้ขายจะต้องรับผิดชอบสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะเหตุทำผิดสัญญา นอกจากนี้ ผู้ซื้อยังจะได้รับ ค่าชดเชยจากเอกสารค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาที่ ผู้ซื้อถืออยู่ด้วย ดังนี้ ตามสัญญาข้อ 9 เป็นการกำหนด เบี้ยปรับในกรณีที่ผู้ขายผิดสัญญาไม่ส่งมอบของแก่ผู้ซื้อ ให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามสัญญาและผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิ บอกเลิกสัญญากับยอมให้ผู้ขายนำสิ่งของที่ซื้อขายมาส่งมอบต่อไป ผู้ซื้อจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับรายวันจากผู้ขาย ตามสัญญาข้อ 9 ได้ นับแต่วันครบกำหนดส่งมอบส่งมอบจนถึง วันที่ส่งมอบของแก่ผู้ซื้อครบถ้วนตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้ขายไม่ส่งมอบของแก่โจทก์ผู้ซื้อเลยและโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาตามสัญญาซื้อขายข้อ 11 ไปแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับรายวันจากจำเลยที่ 1ตามสัญญาซื้อขายข้อ 9 ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4138/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับกับการบอกเลิกสัญญา: สิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับรายวันย่อมสิ้นสุดลงเมื่อมีการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา
สัญญาซื้อขายข้อ 9 ระบุว่า "ข้อ 9 เบี้ยปรับสำหรับการส่งของล่าช้า หากผู้ขายมิได้ส่งมอบของให้แก่ผู้ซื้อได้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาส่งมอบตามที่ระบุไว้ในสัญญา ไม่ว่าความล่าช้านั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุใดก็ตาม... ผู้ซื้อย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับจากผู้ขายเป็นเงินวันละเศษ 1 ส่วน 5 ของหนึ่งส่วนร้อย (0.2%) ต่อวัน หรือส่วนของวันของราคาตามสัญญาของหน่วยสำเร็จแต่ละหน่วยที่ส่งมอบไม่ครบถ้วน ทั้งนี้ จนกว่าผู้ขายได้ส่งมอบของให้ได้ครบถ้วนตามสัญญา..." และข้อ 11 กำหนดว่า หากผู้ขายละเลยการปฏิบัติอย่างใด ๆ ตามข้อตกลงในสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและผู้ขายจะต้องรับผิดชอบสำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะเหตุทำผิดสัญญา นอกจากนี้ ผู้ซื้อยังจะได้รับค่าชดเชยจากเอกสารค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาที่ผู้ซื้อถืออยู่ด้วย ดังนี้ ตามสัญญาข้อ 9 เป็นการกำหนดเบี้ยปรับในกรณีที่ผู้ขายผิดสัญญาไม่ส่งมอบของแก่ผู้ซื้อให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามสัญญาและผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญากับยอมให้ผู้ขายนำสิ่งของที่ซื้อขายมาส่งมอบต่อไป ผู้ซื้อจึงจะมีสิทธิเรียกร้องเอาเบี้ยปรับรายวันจากผู้ขายตามสัญญาข้อ 9 ได้ นับแต่วันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันที่ส่งมอบของแก่ผู้ซื้อครบถ้วนตามสัญญา
จำเลยที่ 1 ผู้ขายไม่ส่งมอบของแก่โจทก์ผู้ซื้อเลย และโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาตามสัญญาซื้อขายข้อ 11 ไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับรายวันจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขายข้อ 9 ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2876/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องจำเลยที่ 4 (ผู้รับเหมาช่วง) ที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องได้ตามกฎหมาย และการคำนวณค่าเสียหายที่ถูกต้อง
จำเลยทั้งสามไม่ได้ให้การยกเรื่องฟ้องของโจทก์ขาดอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก การที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 4 เข้าทำสัญญาจ้างและรับเงิน แต่จำเลยที่ 1 ได้ออกใบรับเงินให้โจทก์โดยจำเลยที่ 3ที่ 4 ลงชื่อในใบรับเงิน และจำเลยที่ 1 ยื่นรายการภาษีเงินได้ประจำปีระบุรายได้ว่าจากการรับเหมาก่อสร้างเป็นเงินที่ขาดทุนสุทธิตรงกับงบดุลของจำเลยที่ 1 และตามงบกำไรขาดทุนของจำเลยที่ 1ก็ระบุรายได้ไว้ในรายการแรกว่าได้จากการรับเหมาก่อสร้างจำนวนเงินตรงกับใบเสร็จรับเงินของจำเลยที่ 1 ที่รับเงินงวดที่ 1 ซึ่งออกให้แก่โจทก์ ตามพฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว เป็นการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการได้ยอมเข้ารับเอาผลงานที่จำเลยที่ 4ได้กระทำไปเกินขอบอำนาจของตัวแทนถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันแล้ว จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 เมื่อมีการกระทำผิดสัญญาจำเลยที่ 1 ตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นตัวแทนไม่ต้องร่วมรับผิด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 4 ไม่ได้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 4 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 โจทก์ว่าจ้าง จ. ทำงานส่วนที่เหลือต่อจากจำเลยที่ 1ซึ่งทิ้งงาน โจทก์จึงต้องจ่ายเงินค่าจ้างงานทั้งหมดเป็นเงินเท่ากับเงินที่จ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 ไปแล้ว 1 งวด จำนวน 149,800 บาทบวกด้วยเงินที่ต้องจ่ายให้แก่ จ. เป็นค่าจ้างในการทำงานส่วนที่เหลืออีก 782,965 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 932,765 บาทเพราะฉะนั้นโจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มขึ้นเป็นเงินเท่ากับเงินจำนวนดังกล่าวลบด้วยค่าจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 หากทำงานแล้วเสร็จตามสัญญาจ้างจำนวน 749,000 บาท ซึ่งคิดเป็นเงิน 183,765บาท จำนวนเงินดังกล่าวคือค่าเสียหายจริงที่โจทก์ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น หลักประกันเป็นเงินสดที่ผู้รับจ้างมอบไว้แก่ผู้ว่าจ้างตามสัญญาจ้างเป็นเงินประกันความเสียหาย ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย เมื่อโจทก์รับไปแล้วต้องนำไปหักออกจากค่าเสียหายในจำนวนทั้งหมดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2489/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขและผลของการผิดนัดชำระหนี้: สิทธิของผู้ขายในการขายทอดตลาดและเรียกเงินขาด
สัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทมีเงื่อนไขระบุว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อ จนกว่าจะชำระราคาครบถ้วนตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายย่อมใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 และในสัญญาซื้อขายระบุว่าหากผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาตามงวด ผู้ขายมีสิทธิเข้าครอบครองรถยนต์พิพาทและย่อมมีสิทธิขายทอดตลาดได้ด้วยและเมื่อขายแล้วได้เงินไม่พอ ผู้ซื้อยอมชดใช้เงินจำนวนที่ขาดอยู่ เมื่อผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระราคาและผู้ขายดำเนินการเอารถยนต์พิพาทออกขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 470 และ 471แล้ว ยังขาดเงินอีก 55,260 บาท ผู้ซื้อและผู้ค้ำประกันต้องรับผิด เพราะถือว่าเป็นเงินราคารถยนต์พิพาทที่ขาดอยู่ และเงินจำนวนดังกล่าวนี้ไม่มีข้อใดในสัญญากำหนดให้ถือเป็นค่าเสียหายจึงมิใช่เบี้ยปรับ สัญญาซื้อขายข้อ 6 วรรคสองระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินงวดต่าง ๆ ตามกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญา หรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ใด ๆ ในสัญญานี้ ผู้ซื้อยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ขายอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เงินจำนวน 55,260 บาท ซึ่งเป็นเงินราคารถยนต์พิพาทที่ขาดอยู่ก็คือเงินงวดต่าง ๆ ที่เกิดจากการที่ผู้ซื้อผิดนัดไม่ชำระให้โจทก์ตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญาผู้ขายจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากผู้ซื้อได้ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 233/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องร้องค่าเสียหายตามสัญญา การบังคับตามสัญญาเฉพาะข้อ และการไม่ขอบังคับตามสัญญาข้ออื่น
ตามคำฟ้องและคำขอของโจทก์ประสงค์ขอค่าปรับรายวันตามสัญญาข้อ 9 เพียงกรณีเดียวเท่านั้น ซึ่งค่าปรับนี้ได้ยุติลงแต่ศาลชั้นต้นแล้วว่าโจทก์จะบังคับตามสัญญาข้อ 9 ไม่ได้ และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ ส่วนค่าเสียหายอย่างอื่นโจทก์มิได้ฟ้องและขอมาด้วยแต่อย่างใด ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาไม่ให้จำเลยต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายอย่างอื่นแก่โจทก์มานั้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3896/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญาจะซื้อขาย: สิทธิของเจ้าหนี้ในการเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมจากเบี้ยปรับ
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยมีข้อตกลงว่าถ้าจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์ฟ้องศาลบังคับให้เป็นไปตามสัญญา กับยอมใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งด้วย ค่าเสียหายเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา และเป็นเบี้ยปรับซึ่งลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญาโอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3 ไป นอกจากโจทก์จะเรียกให้โอนที่ดินเป็นการชำระหนี้ได้แล้ว โจทก์ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากจำเลยได้ด้วย ทั้งหากโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในมูลชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร โจทก์จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายกับมีสิทธิพิสูจน์ค่าเสียหายยิ่งกว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3896/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับในสัญญาซื้อขายและการบังคับตามสัญญาเมื่อผิดนัด
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยมีข้อตกลงว่าถ้าจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์ฟ้องศาลบังคับให้เป็นไปตามสัญญา กับยอมใช้ค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่งอีกส่วนหนึ่งด้วย ค่าเสียหายเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้ในสัญญา และเป็นเบี้ยปรับซึ่งลูกหนี้สัญญาจะให้เมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญาโอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3 ไปนอกจากโจทก์จะเรียกให้โอนที่ดินเป็นการชำระหนี้ได้แล้ว โจทก์ยังมีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับตามสัญญาจากจำเลยได้ด้วย ทั้งหากโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในมูลชำระหนี้ไม่ถูกต้องสมควร 1โจทก์จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหาย กับมีสิทธิพิสูจน์ค่าเสียหายยิ่งกว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3813/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนและการสละสิทธิเรียกร้องค่าปรับ การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์
โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ครบทุกงวด โดยบางงวดชำระก่อนกำหนด บางงวดชำระช้า กว่ากำหนด ใบเสร็จรับเงินชำระค่าเช่าซื้อ ทุกฉบับมีช่องค่าปรับ แต่ไม่ระบุจำนวนเงินค่าปรับเพื่อให้โจทก์ทราบ และชำระค่าปรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบเสร็จรับเงินค่าเช่าซื้อ งวด สุดท้าย มีรอยตราประทับไว้ว่า "โปรดทำการโอนภายใน 15 วัน" พร้อม ทั้ง มีเส้นขีดล้อมรอบช่อง "ค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย" แต่ไม่ระบุ จำนวนเงิน ในช่องค่าปรับ แสดงว่าจำเลยยอมรับชำระหนี้แล้ว โดย มิได้ สงวนสิทธิ จะเรียกเอาเบี้ยปรับในเวลารับชำระหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 381 วรรคสาม จำเลยจึง ไม่มีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญา, ค่าปรับ, ความรับผิดของหุ้นส่วน, อายุความฟ้องคดี
จำเลยส่งของให้โจทก์ไม่ถูกต้องตามสัญญา โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามข้อสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยได้อีก สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันบอกเลิกสัญญา ผู้ขายต้องยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญา ประกาศประกวดราคาใหม่ และประกาศผลการประกวดราคาภายในกำหนด 3 เดือนแล้ว แม้สัญญาซื้อขายจะกระทำกันเมื่อเกินกำหนด 3 เดือน ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดซื้อภายในกำหนด 3 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกราคาเพิ่มขึ้นจากจำเลยได้ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของให้โจทก์ถูกต้องและเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีอายุความ 10 ปี การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 สอดเข้าไปจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 โดยกระทำตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2341/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย, ค่าปรับ, อายุความ, ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด
จำเลยส่งของให้โจทก์ไม่ถูกต้องตามสัญญา โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามข้อสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยได้อีก
สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยข้อหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของภายในกำหนด3 เดือน นับแต่วันบอกเลิกสัญญา ผู้ขายต้องยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ผู้ซื้อได้บอกเลิกสัญญา ประกาศประกวดราคาใหม่ และประกาศผลการประกวดราคาภายในกำหนด 3 เดือนแล้ว แม้สัญญาซื้อขายจะกระทำกันเมื่อเกินกำหนด 3 เดือนก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดซื้อภายในกำหนด 3 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกราคาเพิ่มขึ้นจากจำเลยได้
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของให้โจทก์ถูกต้องและเรียกเบี้ยปรับตามสัญญา เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มีอายุความ 10 ปี
การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1สอดเข้าไปจัดการงานของห้างจำเลยที่ 1 โดยกระทำตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ทำให้บุคคลภายนอกเข้าใจว่าจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของห้างจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน
of 23