พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15496/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่: การเดินทางไปเบิกความถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่
จ่าสิบตำรวจ ว. เป็นข้าราชการตำรวจ ในสังกัดของจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ การที่จ่าสิบตำรวจ ว. เดินทางไปเบิกความเป็นพยานต่อศาลในการไต่สวนการตายตามหมายเรียกพยานบุคคลของศาล ย่อมเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่และเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เนื่องจากเห็นสมควรกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติงานในหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระทำเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหาย หรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น เมื่ออุบัติเหตุจราจรที่เกิดขึ้นในระหว่างที่จ่าสิบตำรวจ ว. เดินทางไปเป็นพยานศาลเป็นการกระทำโดยประมาทธรรมดา จ่าสิบตำรวจ ว. จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการเฉพาะตัว โจทก์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21742/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่โดยชอบ ศาลยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยตรง ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐ
ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขฉบับที่ 30 ได้แต่งตั้งจำเลยเป็นกรรมการในคณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินการและโครงการที่ได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบโดยบุคคลในคณะรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีที่พ้นตำแหน่งโดยผลของการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นไปโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบ และคณะกรรมการตรวจสอบดังกล่าวได้แต่งตั้งจำเลยเป็นประธานอนุกรรมการตรวจสอบการให้กู้เงินแก่สหภาพพม่าจำนวน 4,000 ล้านบาทของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย จำเลยจึงเป็น "เจ้าหน้าที่" ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 4
เมื่อพิจารณาข่าวสารทางสำนักข่าวไทยและทางหนังสือพิมพ์แล้ว เนื้อหาของข่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการตรวจสอบที่กระทำไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบและคณะอนุกรรมการตรวจสอบแก่ประชาชนทั่วไป การให้ข่าวเกี่ยวกับการปฏิบัติงานย่อมเป็นอำนาจทั่วไปของคณะกรรมการตรวจสอบและคณะอนุกรรมการตรวจสอบ จำเลยจึงมีอำนาจกระทำได้ เมื่อจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่และการให้ข่าวของจำเลยเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ การที่โจทก์อ้างว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิด แต่จะฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง และแม้ว่าคณะกรรมการตรวจสอบที่มีจำเลยเป็นกรรมการคนหนึ่งนั้นจะไม่เป็นหน่วยงานของรัฐหรือสังกัดหน่วยงานของรัฐ แต่ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคสอง ให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดชอบ
เมื่อพิจารณาข่าวสารทางสำนักข่าวไทยและทางหนังสือพิมพ์แล้ว เนื้อหาของข่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับผลการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการตรวจสอบที่กระทำไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบและคณะอนุกรรมการตรวจสอบแก่ประชาชนทั่วไป การให้ข่าวเกี่ยวกับการปฏิบัติงานย่อมเป็นอำนาจทั่วไปของคณะกรรมการตรวจสอบและคณะอนุกรรมการตรวจสอบ จำเลยจึงมีอำนาจกระทำได้ เมื่อจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่และการให้ข่าวของจำเลยเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ การที่โจทก์อ้างว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิด แต่จะฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง และแม้ว่าคณะกรรมการตรวจสอบที่มีจำเลยเป็นกรรมการคนหนึ่งนั้นจะไม่เป็นหน่วยงานของรัฐหรือสังกัดหน่วยงานของรัฐ แต่ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคสอง ให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16150/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดของเจ้าหน้าที่: ผู้เสียหายต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐ ไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
จำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 จำเลยที่ 1 จึงเป็นหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โจทก์บรรยายฟ้องต่อไปว่าเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ทำงานประจำอยู่ที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดระนอง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดระนอง จำเลยที่ 3 เป็นผู้ช่วยหัวหน้าแผนกฝ่ายก่อสร้างและบำรุงรักษา จำเลยที่ 4 เป็นผู้ช่วยหัวหน้าแผนกบริหารพัสดุ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เมื่อปรากฏว่าทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 สูญหายและตรวจพบว่าที่ร้านของโจทก์มีทรัพย์สินลักษณะเดียวกับของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 นำเจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจยึดทรัพย์สินดังกล่าวโดยมีหมายค้นของศาล ทั้งมิได้กระทำเพื่อประโยชน์อันเป็นการเฉพาะตัว ย่อมเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แล้ว แม้โจทก์อ้างว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 มีเจตนารมณ์ให้ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐโดยตรง จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ เพื่อมิให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่และยังเป็นการบั่นทอนขวัญและกำลังใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ อันเป็นบทยกเว้นหลักกฎหมายเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรณีไม่อาจนำหลักความรับผิดของผู้กระทำละเมิดและเรื่องความรับผิดของนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 และมาตรา 425 มาใช้บังคับกับคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10648/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่: ฟ้องมหาวิทยาลัย ไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
จำเลยไปให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งมหาวิทยาลัย ส. ในเรื่องที่โจทก์ถูกกล่าวหา จึงเป็นกรณีที่จำเลยในฐานะข้าราชการของมหาวิทยาลัย ส. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพยานผู้กล่าวหา ไม่ใช่การกระทำในฐานะส่วนตัว หากโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยโจทก์ต้องฟ้องมหาวิทยาลัย ส. ที่จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ในสังกัด จะฟ้องจำเลยโดยตรงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7829/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อละเมิดของเจ้าหน้าที่: การใช้รถยนต์ของหน่วยงานโดยได้รับอนุญาต
องค์การบริหารส่วนตำบล บ. จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุ วันเกิดเหตุ ส. ปลัดของจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปส่ง ส. ที่บ้าน จากนั้น ระหว่างทางกลับจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาททำให้รถยนต์เสียหลักชนเสาไฟฟ้าของโจทก์หักเสียหาย โดยขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้ ส. เป็นผู้มีหน้าที่ควบคุม บำรุงรักษา และรับผิดชอบรถยนต์ของจำเลยที่ 2 แสดงว่าจำเลยที่ 2 อนุญาตให้ ส. ใช้รถยนต์คันเกิดเหตุได้ตลอดเวลา ฉะนั้นวันเกิดเหตุที่ ส. ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวไปส่งตน แม้จะนอกเวลาราชการและเป็นไปเพื่อความประสงค์ของ ส. เอง แต่ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 โดย ส. ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ให้ทำเช่นนั้นได้ การขับรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล บ. และตามคำสั่งของ ส. จึงถือว่ากระทำไปในระหว่างปฏิบัติงานตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แล้ว หาได้เป็นการกระทำนอกอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในผลแห่งละเมิดต่อโจทก์
สิทธิของโจทก์ในการฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐให้รับผิดทางละเมิดนั้นต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
สิทธิของโจทก์ในการฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐให้รับผิดทางละเมิดนั้นต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ - ความรับผิดของผู้กระทำละเมิด - การประเมินค่าเสียหาย - ดอกเบี้ย
กรมพิธีการทูตจำเลยที่ 2 ปล่อยปละละเลย ย่อหย่อน ไม่ควบคุมการใช้รถให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ จนจำเลยที่ 1 เคยนำรถไปจอดค้างคืนที่บ้านของตนเอง รวมทั้งสามารถนำรถออกไปใช้ในกิจธุระส่วนตัวโดยพลการทั้งที่ขัดต่อระเบียบกฎเกณฑ์การใช้รถราชการ เข้าลักษณะที่จำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ใช้รถอันเป็นหน้าที่ของพนักงานขับรถได้แม้เป็นเวลานอกราชการการ การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปเฉี่ยวชนจนทำให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บโดยประมาท จึงถือได้ว่าเป็นผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
โจทก์ไม่สามารถเดินได้ตามปกติโดยหลังเกิดเหตุภายหลังการรักษาทำให้ขาข้างขวาสั้นกว่าขาข้างซ้าย ถือว่าเป็นความเสียหายอย่างอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงินซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับชดใช้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446
โจทก์ไม่สามารถเดินได้ตามปกติโดยหลังเกิดเหตุภายหลังการรักษาทำให้ขาข้างขวาสั้นกว่าขาข้างซ้าย ถือว่าเป็นความเสียหายอย่างอื่นที่ไม่ใช่ตัวเงินซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับชดใช้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดรังวัดที่ดินเกินแนวเขต, ค่าเสียหาย, การชำระหนี้, ศาลแก้คำพิพากษา
ปัญหาเรื่องโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยทั้งห้าชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ จึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่ตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ต่อโจทก์ทั้งสองเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นหน่วยงานของรัฐโดยตรง แต่จะฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5
สำนวนแรกโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เรื่องละเมิดที่จำเลยที่ 5 ชี้และปักหลักหมุดกำหนดแนวเขตทางรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกให้การว่าการชี้แนวเขตทางของจำเลยไม่เป็นละเมิดขอให้ยกฟ้อง คดีจึงมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองหรือไม่ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองแล้วพิพากษาว่าที่ดินยังเป็นของโจทก์ทั้งสอง มิได้ถูกเวนคืน แต่หากฝ่ายจำเลยก่อสร้างถนนบนที่ดินพิพาทแล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ทั้งสองที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 2 ก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินบนที่ดินพิพาทเสร็จแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงนำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นการยื่นคำฟ้องต่อเนื่องกันกับสำนวนแรก เพื่อเรียกร้องเอาค่าเสียหายที่ศาลฎีกามิได้พิพากษาให้ การฟ้องสำนวนหลังจึงมิได้อาศัยมูลละเมิดอันเกิดจากการก่อสร้างทางในที่ดินพิพาทมาเป็นข้ออ้างเพื่อเป็นหลักแห่งข้อหา ฉะนั้นปัญหาตามคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ในสำนวนหลังจึงเป็นประเด็นแห่งคดีเหมือนกันกับสำนวนแรกจึงต้องห้ามมิให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาในปัญหาดังกล่าวซ้ำอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยกเรื่องมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองขึ้นต่อสู้อีกไม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองจึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่ตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ต่อโจทก์ทั้งสองเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์จึงต้องฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 อันเป็นหน่วยงานของรัฐโดยตรง แต่จะฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5
สำนวนแรกโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวก เรื่องละเมิดที่จำเลยที่ 5 ชี้และปักหลักหมุดกำหนดแนวเขตทางรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกให้การว่าการชี้แนวเขตทางของจำเลยไม่เป็นละเมิดขอให้ยกฟ้อง คดีจึงมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองหรือไม่ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองแล้วพิพากษาว่าที่ดินยังเป็นของโจทก์ทั้งสอง มิได้ถูกเวนคืน แต่หากฝ่ายจำเลยก่อสร้างถนนบนที่ดินพิพาทแล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ทั้งสองที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความ ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 2 ก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินบนที่ดินพิพาทเสร็จแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงนำคดีมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกชดใช้ค่าเสียหาย จึงเป็นการยื่นคำฟ้องต่อเนื่องกันกับสำนวนแรก เพื่อเรียกร้องเอาค่าเสียหายที่ศาลฎีกามิได้พิพากษาให้ การฟ้องสำนวนหลังจึงมิได้อาศัยมูลละเมิดอันเกิดจากการก่อสร้างทางในที่ดินพิพาทมาเป็นข้ออ้างเพื่อเป็นหลักแห่งข้อหา ฉะนั้นปัญหาตามคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ในสำนวนหลังจึงเป็นประเด็นแห่งคดีเหมือนกันกับสำนวนแรกจึงต้องห้ามมิให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาในปัญหาดังกล่าวซ้ำอีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยกเรื่องมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองขึ้นต่อสู้อีกไม่ได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ว่า มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำและฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6092/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แพทย์ประมาทเลินเล่อวินิจฉัยโรคไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ป่วยแพ้ยาและเสียหาย โรงพยาบาลต้องรับผิด
จำเลยที่ 3 มิได้ตรวจดูอาการของโจทก์ตั้งแต่แรกเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพนมสารคามด้วยตนเอง แต่วินิจฉัยโรคและสั่งการรักษาอาการของโจทก์ตามที่ได้รับรายงานทางโทรศัพท์จากพยาบาลแทนโดยไม่ได้ตรวจสอบประวัติการรักษาของโจทก์ด้วยตนเอง แม้จำเลยที่ 3 จะสอบถามอาการและประวัติการรักษาของโจทก์จากพยาบาลก่อนที่พยาบาลจะฉีดยาให้แก่โจทก์เพื่อทำการรักษาก็ตาม ก็หาใช่วิสัยของบุคคลผู้มีอาชีพเป็นแพทย์จะพึงกระทำไม่ ทั้งห้องเวรกับห้องฉุกเฉินที่โจทก์อยู่ห่างกันเพียง 20 เมตร ตามพฤติการณ์ก็ไม่ปรากฏว่ามีเหตุสุดวิสัยอันทำให้จำเลยที่ 3 ไม่สามารถมาตรวจวินิจฉัยอาการของโจทก์ได้ด้วยตนเองแต่อย่างใด ถือว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อ เมื่อพยาบาลฉีดยาบริคานิลให้แก่โจทก์ตามที่จำเลยที่ 3 สั่งการ ทำให้โจทก์เกิดอาการแพ้ยา อันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
ความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 3 ทำการรักษา แม้เป็นการแสดงออกให้จำเลยที่ 3 กระทำต่อร่างกายของโจทก์ก็ตาม แต่หากการรักษานั้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพแพทย์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 อันเป็นหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่
ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย ค่าสมรรถภาพในการมองเห็นและค่าสูญเสียความสวยงามของโจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ประกอบอาชีพหรือไม่ แพทย์ซึ่งเป็นพยานจำเลยก็เบิกความว่า อาการแพ้ยาของโจทก์อาจถึงขั้นเสียชีวิต กระจกตาดำข้างซ้ายของโจทก์เป็นแผลเปื่อยอักเสบบางลงอาจเป็นสาเหตุให้กระจกตาทะลุ ทำให้มองเห็นไม่ชัด ต้องเปลี่ยนกระจกตาดำจึงจะกลับมามองเห็นได้ ประกอบกับขณะเกิดเหตุโจทก์ตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน ต้องใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน ย่อมเป็นความทุกข์ทรมานที่โจทก์รู้สึกได้ตลอดเวลาที่อยู่ระหว่างการรักษา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดให้โจทก์ได้รับค่าความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินคือ ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย 400,000 บาท ค่าเสียหายสมรรถภาพในการมองเห็น 800,000 บาท และค่าสูญเสียความสวยงามของโจทก์ 800,000 บาท รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 2,000,000 บาท นั้น เหมาะสมแล้ว
ความยินยอมของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 3 ทำการรักษา แม้เป็นการแสดงออกให้จำเลยที่ 3 กระทำต่อร่างกายของโจทก์ก็ตาม แต่หากการรักษานั้นไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานแห่งวิชาชีพแพทย์ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายของโจทก์ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 3 อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 อันเป็นหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่
ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย ค่าสมรรถภาพในการมองเห็นและค่าสูญเสียความสวยงามของโจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 โดยไม่คำนึงว่าโจทก์ประกอบอาชีพหรือไม่ แพทย์ซึ่งเป็นพยานจำเลยก็เบิกความว่า อาการแพ้ยาของโจทก์อาจถึงขั้นเสียชีวิต กระจกตาดำข้างซ้ายของโจทก์เป็นแผลเปื่อยอักเสบบางลงอาจเป็นสาเหตุให้กระจกตาทะลุ ทำให้มองเห็นไม่ชัด ต้องเปลี่ยนกระจกตาดำจึงจะกลับมามองเห็นได้ ประกอบกับขณะเกิดเหตุโจทก์ตั้งครรภ์ได้ 6 เดือน ต้องใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน ย่อมเป็นความทุกข์ทรมานที่โจทก์รู้สึกได้ตลอดเวลาที่อยู่ระหว่างการรักษา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดให้โจทก์ได้รับค่าความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินคือ ค่าทนทุกข์ทรมานระหว่างเจ็บป่วย 400,000 บาท ค่าเสียหายสมรรถภาพในการมองเห็น 800,000 บาท และค่าสูญเสียความสวยงามของโจทก์ 800,000 บาท รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 2,000,000 บาท นั้น เหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3473/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง แม้เกิดละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่
ขณะเกิดเหตุคดีนี้ พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มีผลใช้บังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ในการฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐให้รับผิดทางละเมิดต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ฉะนั้น เมื่อคดีปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นรัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคฯ เป็นหน่วยงานของรัฐ ส่วนจำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 และที่ 9 เป็นเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ อันเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4ถึงที่ 6 และที่ 9 ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ดังกล่าว ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2145/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเรียกหน่วยงานรัฐเข้ามาในคดีละเมิด และประเด็นความประมาทของผู้ขับขี่
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) บัญญัติให้ศาลมีอำนาจเรียกบุคคลภายนอกให้เข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้ เมื่อความปรากฎแก่ศาลว่า จำเลยร่วมซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นเห็นเป็นการสมควรและเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมย่อมมีคำสั่งเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีตามที่โจทก์ร้องขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) ได้ ไม่จำเป็นต้องให้โจทก์ฟ้องจำเลยร่วมเป็นคดีใหม่