พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8128/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐ: โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงาน ไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบอ้างว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ในการพิจารณาผลการประกวดราคา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพราะร่วมกันกลั่นแกล้งโจทก์โดยสั่งยกเลิกผลการประกวดราคาดังกล่าว เนื่องจากเรียกเงินเป็นผลประโยชน์ตอบแทนจากโจทก์เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในหน้าที่แล้วแต่โจทก์ไม่ยินยอมให้ อันเป็นการร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้น ข้อเท็จจริงตามที่ได้ความดังกล่าวจึงเท่ากับกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ต้องฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐโดยตรงแต่ผู้เดียวให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ให้รับผิดเป็นการเฉพาะตัวตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8128/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดเจ้าหน้าที่รัฐ: ต้องฟ้องหน่วยงาน ไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
โจทก์ฟ้องว่า ในการปฏิบัติหน้าที่พิจารณาผลการประกวดราคา จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพราะร่วมกันกลั่นแกล้งโจทก์สั่งยกเลิกผลการประกวดราคา เนื่องจากเรียกเงินเป็นผลประโยชน์ตอบแทนจากโจทก์เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในหน้าที่ แต่โจทก์ไม่ยินยอมให้ อันเป็นการร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เท่ากับกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยละเมิดทำให้โจทก์เสียหาย ดังนี้ โจทก์ต้องฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบล จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐโดยตรงแต่ผู้เดียวให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายในการกระทำโดยละเมิดของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ให้รับผิดเป็นการเฉพาะตัวตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของโรงเรียนต่อความเสียหายของนักเรียนจากการใช้ธนูในกิจกรรมเรียน ครูต้องดูแลความปลอดภัยนักเรียน
คำฟ้องคดีแพ่งคู่ความไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นมากล่าวอ้างในคำฟ้องเพียงแต่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงและอ้างเหตุผลที่จำเลยต้องรับผิดก็พอแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจยกบทกฎหมายขึ้นมาปรับแก่คดีตามข้อเท็จจริงที่พิพากษาได้ความเองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 134 คดีนี้โจทก์ฟ้องหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ให้รับผิดทางละเมิด จึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ดังนี้ ศาลมีอำนาจนำ พ.ร.บ. ดังกล่าวมาปรับแก่คดีนี้ได้
ธนูที่เกิดเหตุเป็นธนูที่ใช้ประกอบการแสดงละครวิชาภาษาไทย ซึ่งจำเลยที่ 4 ทำหน้าที่สอนวิชาดังกล่าวให้แก่นักเรียน ดังนั้น นอกจากจำเลยที่ 4 จะต้องทำหน้าที่ให้ความรู้อบรมสั่งสอนนักเรียนในวิชาภาษาไทยแล้ว ยังถือว่าจำเลยที่ 4 ได้รับมอบหมายให้ดูแลนักเรียนซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ให้ได้รับความปลอดภัย ให้ประพฤติตนอยู่ในระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน ไม่ไปก่อเรื่องเดือดร้อนเสียหายใดๆ แก่ผู้อื่น การที่จำเลยที่ 4 สั่งให้นักเรียนทำธนูเป็นอุปกรณ์การเรียน จำเลยที่ 4 น่าจะใช้ความระมัดระวัง คาดหมายหรือเล็งเห็นได้ว่าธนูดังกล่าวอาจเกิดอันตรายแก่กายได้ หากนักเรียนนำไปใช้ยิงเล่นใส่กัน และจำเลยที่ 4 ไม่ได้สั่งให้นักเรียนนำธนูไปทำลายทิ้งหรือเก็บไว้ในที่ปลอดภัยหรือห้ามมิให้นำธนูไปใช้เล่นกัน เพราะปรากฏว่ายังมีธนูในห้องเรียนอีกหลายคันเช่นวิสัยผู้มีอาชีพครูทั่วไปจะพึงปฏิบัติ แต่จำเลยที่ 4 ปฏิบัติไม่ชอบและขาดความรอบคอบจึงเป็นความประมาทเลินเล่อ มิได้เป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจคาดหวังว่าจะเกิดขึ้นได้ตามที่จำเลยที่ 2 ฎีกาแต่อย่างใด กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 4 มีส่วนกระทำละเมิดเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกาย การที่จำเลยที่ 4 ทำการสอนวิชาภาษาไทยให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียน ภ. เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 2 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการดังกล่าวของจำเลยที่ 4 ทำให้โจทก์นักเรียนคนหนึ่งที่เรียนวิชาภาษาไทยเสียหายแก่ร่างกาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 4 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ร่างกายได้ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการรักษาตาจำนวน 50,000 บาท และค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานจำนวน 100,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามกฎหมาย แม้จะมีบุคคลอื่นนำเงินมามอบให้แก่โจทก์แล้วบางส่วนก็ไม่อาจทำให้ความรับผิดชอบตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 ต้องลดน้อยลงไปด้วย จึงไม่อาจนำเงินที่ทางโรงเรียน ภ. และจำเลยที่ 5 ช่วยเหลือโจทก์จำนวน 35,000 บาท มาหักออกจากค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ตามที่จำเลยที่ 2 ฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 กำหนดค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวน 30,000 บาท และค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานจำนวน 50,000 บาท รวมเป็นเงิน 80,000 บาท โดยพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด รวมทั้งที่โจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยเล่นยิงธนูใส่กันกับจำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 5 ก็มีส่วนรับผิดเช่นเดียวกันตามที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วและศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายทั้งสองจำนวนรวมเป็นเงิน 80,000 บาท จึงไม่เป็นจำนวนที่สูงเกินความเป็นจริง
ธนูที่เกิดเหตุเป็นธนูที่ใช้ประกอบการแสดงละครวิชาภาษาไทย ซึ่งจำเลยที่ 4 ทำหน้าที่สอนวิชาดังกล่าวให้แก่นักเรียน ดังนั้น นอกจากจำเลยที่ 4 จะต้องทำหน้าที่ให้ความรู้อบรมสั่งสอนนักเรียนในวิชาภาษาไทยแล้ว ยังถือว่าจำเลยที่ 4 ได้รับมอบหมายให้ดูแลนักเรียนซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ให้ได้รับความปลอดภัย ให้ประพฤติตนอยู่ในระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน ไม่ไปก่อเรื่องเดือดร้อนเสียหายใดๆ แก่ผู้อื่น การที่จำเลยที่ 4 สั่งให้นักเรียนทำธนูเป็นอุปกรณ์การเรียน จำเลยที่ 4 น่าจะใช้ความระมัดระวัง คาดหมายหรือเล็งเห็นได้ว่าธนูดังกล่าวอาจเกิดอันตรายแก่กายได้ หากนักเรียนนำไปใช้ยิงเล่นใส่กัน และจำเลยที่ 4 ไม่ได้สั่งให้นักเรียนนำธนูไปทำลายทิ้งหรือเก็บไว้ในที่ปลอดภัยหรือห้ามมิให้นำธนูไปใช้เล่นกัน เพราะปรากฏว่ายังมีธนูในห้องเรียนอีกหลายคันเช่นวิสัยผู้มีอาชีพครูทั่วไปจะพึงปฏิบัติ แต่จำเลยที่ 4 ปฏิบัติไม่ชอบและขาดความรอบคอบจึงเป็นความประมาทเลินเล่อ มิได้เป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจคาดหวังว่าจะเกิดขึ้นได้ตามที่จำเลยที่ 2 ฎีกาแต่อย่างใด กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 4 มีส่วนกระทำละเมิดเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกาย การที่จำเลยที่ 4 ทำการสอนวิชาภาษาไทยให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียน ภ. เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 2 เมื่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการดังกล่าวของจำเลยที่ 4 ทำให้โจทก์นักเรียนคนหนึ่งที่เรียนวิชาภาษาไทยเสียหายแก่ร่างกาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 4 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ร่างกายได้ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายในการรักษาตาจำนวน 50,000 บาท และค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานจำนวน 100,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามกฎหมาย แม้จะมีบุคคลอื่นนำเงินมามอบให้แก่โจทก์แล้วบางส่วนก็ไม่อาจทำให้ความรับผิดชอบตามกฎหมายของจำเลยที่ 2 ต้องลดน้อยลงไปด้วย จึงไม่อาจนำเงินที่ทางโรงเรียน ภ. และจำเลยที่ 5 ช่วยเหลือโจทก์จำนวน 35,000 บาท มาหักออกจากค่าเสียหายที่ศาลกำหนดให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดค่าเสียหายแก่โจทก์ได้ตามที่จำเลยที่ 2 ฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 กำหนดค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวน 30,000 บาท และค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานจำนวน 50,000 บาท รวมเป็นเงิน 80,000 บาท โดยพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด รวมทั้งที่โจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยเล่นยิงธนูใส่กันกับจำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 5 ก็มีส่วนรับผิดเช่นเดียวกันตามที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วและศาลอุทธรณ์ภาค 4 เห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายทั้งสองจำนวนรวมเป็นเงิน 80,000 บาท จึงไม่เป็นจำนวนที่สูงเกินความเป็นจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุในโรงเรียน และการประเมินค่าเสียหายที่เหมาะสม
คำฟ้องคดีแพ่งของโจทก์ไม่จำเป็นต้องยกบทกฎหมายขึ้นมาอ้างในคำฟ้อง เพียงแต่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงและอ้างเหตุผลที่จำเลยต้องรับผิดก็พอ ศาลย่อมมีอำนาจยกบทกฎหมายขึ้นมาปรับแก่คดีตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความเองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 134 เมื่อโจทก์ฟ้องหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ให้รับผิดทางละเมิด จึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2536 ศาลมีอำนาจนำพระราชบัญญัติดังกล่าวมาปรับแก่คดีได้
ธนูที่เกิดเหตุใช้ประกอบการแสดงละครวิชาภาษาไทย ซึ่งจำเลยที่ 4 ทำหน้าที่สอนวิชาดังกล่าวให้แก่นักเรียน นอกจากจำเลยที่ 4 จะต้องทำหน้าที่ให้ความรู้อบรมสั่งสอนนักเรียนในวิชาภาษาไทยแล้ว ยังถือว่าจำเลยที่ 4 ได้รับมอบหมายให้ดูแลนักเรียนซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ให้ได้รับความปลอดภัย ให้ประพฤติตนอยู่ในระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน ไม่ไปก่อเรื่องเดือดร้อนเสียหายใดๆ แก่ผู้อื่น การที่จำเลยที่ 4 สั่งให้นักเรียนทำธนูเป็นอุปกรณ์การเรียน จำเลยที่ 4 น่าจะใช้ความระมัดระวังคาดหมายหรือเล็งเห็นได้ว่าอาจเกิดอันตรายแก่กายได้ หากนักเรียนนำไปใช้ยิงเล่นใส่กัน และจำเลยที่ 4 ไม่ได้สั่งให้นักเรียนนำธนูไปทำลายทิ้งหรือเก็บไว้ในที่ปลอดภัยหรือห้ามมิให้นำธนูไปใช้เล่นกัน เพราะยังมีธนูในห้องเรียนอีกหลายคันเช่นวิสัยผู้มีอาชีพครูทั่วไปจะถือปฏิบัติ แต่จำเลยที่ 4 ปฏิบัติไม่ชอบและขาดความรอบคอบจึงเป็นความประมาทเลินเล่อ ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 มีส่วนกระทำละเมิดเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกาย
จำเลยที่ 4 ทำการสอนวิชาภาษาไทยให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษาจำเลยที่ 2 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 2 เมื่อทำให้โจทก์นักเรียนคนหนึ่งที่เรียนวิชาภาษาไทยเสียหายแก่ร่างกาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 4 ได้กระทำตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
ธนูที่เกิดเหตุใช้ประกอบการแสดงละครวิชาภาษาไทย ซึ่งจำเลยที่ 4 ทำหน้าที่สอนวิชาดังกล่าวให้แก่นักเรียน นอกจากจำเลยที่ 4 จะต้องทำหน้าที่ให้ความรู้อบรมสั่งสอนนักเรียนในวิชาภาษาไทยแล้ว ยังถือว่าจำเลยที่ 4 ได้รับมอบหมายให้ดูแลนักเรียนซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ให้ได้รับความปลอดภัย ให้ประพฤติตนอยู่ในระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน ไม่ไปก่อเรื่องเดือดร้อนเสียหายใดๆ แก่ผู้อื่น การที่จำเลยที่ 4 สั่งให้นักเรียนทำธนูเป็นอุปกรณ์การเรียน จำเลยที่ 4 น่าจะใช้ความระมัดระวังคาดหมายหรือเล็งเห็นได้ว่าอาจเกิดอันตรายแก่กายได้ หากนักเรียนนำไปใช้ยิงเล่นใส่กัน และจำเลยที่ 4 ไม่ได้สั่งให้นักเรียนนำธนูไปทำลายทิ้งหรือเก็บไว้ในที่ปลอดภัยหรือห้ามมิให้นำธนูไปใช้เล่นกัน เพราะยังมีธนูในห้องเรียนอีกหลายคันเช่นวิสัยผู้มีอาชีพครูทั่วไปจะถือปฏิบัติ แต่จำเลยที่ 4 ปฏิบัติไม่ชอบและขาดความรอบคอบจึงเป็นความประมาทเลินเล่อ ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 มีส่วนกระทำละเมิดเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายแก่ร่างกาย
จำเลยที่ 4 ทำการสอนวิชาภาษาไทยให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษาจำเลยที่ 2 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 2 เมื่อทำให้โจทก์นักเรียนคนหนึ่งที่เรียนวิชาภาษาไทยเสียหายแก่ร่างกาย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่ 4 ได้กระทำตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2934/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่: ฟ้องทายาทเจ้าหน้าที่ไม่ได้ หากฟ้องหน่วยงานของรัฐแล้ว
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 บัญญัติให้ผู้เสียหายฟ้องหน่วยงานของรัฐได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ เมื่อฟ้องเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐไม่ได้ ย่อมฟ้องเรียกค่าเสียหายในผลแห่งละเมิดจากทายาทของเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ: โจทก์ต้องฟ้องหน่วยงานรัฐ ไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรง
จำเลยที่ 3 ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ไปแจ้งความดำเนินคดีแก่ผู้บุกรุกที่ดินวัดตามที่มีผู้แจ้งให้ทราบในฐานะผู้แทนของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี มิได้ทำในฐานะส่วนตัวส่วนจำเลยที่ 2 ไปแจ้งความให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจ การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการในฐานะผู้แทนของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีการที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ชักนำผู้อื่นให้ให้การต่อพนักงานสอบสวนในทางเดียวกันเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีอาญาและมีความเห็นสั่งฟ้องโจทก์ต่อพนักงานอัยการนั้นก็เป็นกรณีสืบเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการดังกล่าวของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โจทก์ชอบที่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดต่อโจทก์ แต่จะฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดในมูลละเมิดที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหานี้ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยโดยตรงในคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย แต่หากศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกปัญหานี้ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยโดยตรงในคำร้องขอให้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย แต่หากศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8271-8272/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ, การฟ้องจำเลยที่ 2, ค่าปลงศพ, ค่าขาดไร้อุปการะ, ข้อกฎหมายที่ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการสังกัดกรมทางหลวง จำเลยที่ 2 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของทางราชการกลับจากตรวจงานและได้เกิดเหตุชนกับรถยนต์ที่มี ม. เป็นผู้ขับขี่เป็นเหตุให้ ม. กับผู้โดยสารในรถ 2 คน ถึงแก่ความตาย แม้พนักงานสอบสวนมีคำสั่งฟ้อง ม. ด้วยก็ตาม แต่ความเห็นของพนักงานสอบสวนตามรายงานการสอบสวนไม่ใช่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 46 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามความเห็นของพนักงานสอบสวน การวินิจฉัยพยานหลักฐานในคดีนี้ย่อมเป็นไปตามที่คู่ความนำสืบ
กรณีมีผู้ทำละเมิดหลายคน ผู้ทำละเมิดทุกคนก็ต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการละเมิดนั้นต่อโจทก์เต็มจำนวน
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำบุญงานศพ การทำหนังสือประวัติผู้ตายและค่าของชำร่วยแจกในงานศพ เป็นไปตามธรรมเนียมประเพณีจึงเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นและเหมาะสมในการจัดการศพของผู้ตายที่โจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองได้ แม้โจทก์ที่ 1 จะยังเป็นผู้เยาว์และ พ. ผู้แทนโดยชอบธรรมจะเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายก็ไม่ทำให้ความรับผิดในส่วนนี้ของจำเลยทั้งสองลดน้อยลง
แม้เหตุละเมิดคดีนี้เกิดขึ้นก่อนที่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ใช้บังคับ แต่เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้ในวันที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ในการฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐให้รับผิดทางละเมิดจึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ฉะนั้น เมื่อคดีปรากฏว่าการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ดังกล่าว ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
กรณีมีผู้ทำละเมิดหลายคน ผู้ทำละเมิดทุกคนก็ต้องร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการละเมิดนั้นต่อโจทก์เต็มจำนวน
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำบุญงานศพ การทำหนังสือประวัติผู้ตายและค่าของชำร่วยแจกในงานศพ เป็นไปตามธรรมเนียมประเพณีจึงเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นและเหมาะสมในการจัดการศพของผู้ตายที่โจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองได้ แม้โจทก์ที่ 1 จะยังเป็นผู้เยาว์และ พ. ผู้แทนโดยชอบธรรมจะเป็นภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายก็ไม่ทำให้ความรับผิดในส่วนนี้ของจำเลยทั้งสองลดน้อยลง
แม้เหตุละเมิดคดีนี้เกิดขึ้นก่อนที่ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ใช้บังคับ แต่เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้ในวันที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ใช้บังคับแล้ว สิทธิของโจทก์ในการฟ้องเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐให้รับผิดทางละเมิดจึงต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้ ฉะนั้น เมื่อคดีปรากฏว่าการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ดังกล่าว ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องไล่เบี้ยของหน่วยงานรัฐต่อเจ้าหน้าที่ และอายุความฟ้องคดีเรียกค่าสินไหมทดแทน
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 เป็นเรื่องที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำไปในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นกรมตำรวจฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เนื่องจากจำเลยทั้งสองกระทำตามหน้าที่ของผู้แทนของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น และโจทก์ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง และมีอายุความ 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดของเจ้าหน้าที่: ขยายอายุความเมื่อศาลยกฟ้องเพราะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้
คดีก่อนโจทก์ได้ฟ้องสิบเอก ช. ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของกองทัพบกจำเลยและศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากโจทก์จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 จึงเป็นกรณีที่ศาลยกฟ้องเพราะเหตุที่เจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด อายุความฟ้องร้องจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดีก่อนจึงขยายออกไปถึงหกเดือนนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด ตามมาตรา 7 วรรคสอง คือวันที่ 7 ตุลาคม 2544 การที่โจทก์ได้ฟ้องกองพลาธิการ กองพลทหารม้าที่ 2 เป็นจำเลยในคดีก่อนด้วย แต่ศาลยกฟ้องเพราะผู้ถูกฟ้องดังกล่าวไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล มิใช่เหตุที่จะไม่ขยายอายุความฟ้องร้องจำเลยซึ่งมิได้ถูกเรียกเข้ามาในคดี โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2544 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4823/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการจดทะเบียนขายฝากผิดพลาด เจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานที่ดิน มีหน้าที่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ที่ดินของประชาชนในเขตพื้นที่ เมื่อปรากฏหลักฐานชัดแจ้งในสารบัญจดทะเบียนทั้งในโฉนดที่ดินฉบับหลวงและฉบับเจ้าของว่าที่ดินที่โจทก์ผู้รับซื้อฝากและ น. ผู้ขายฝากมายื่นคำร้องขอจดทะเบียนขายฝากต่อจำเลยที่ 1 เป็นที่ดินที่ น. ผู้ขายฝากได้มาโดยการเช่าซื้อจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม อันตกอยู่ในบังคับห้ามโอนตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ โดยวิสัยของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินของกรมที่ดินจำเลยที่ 2 ย่อมทราบและตระหนักดีว่าจะรับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการขายฝากให้แก่โจทก์และ น. ไม่ได้ เพราะเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่จำเลยที่ 1 กลับดำเนินการรับจดทะเบียนการขายฝากให้การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการของกรมที่ดิน จำเลยที่ 2 โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
โจทก์ลงชื่อรับรองข้อความด้านหลังสัญญาขายฝากที่ดินว่าในการทำสัญญาโจทก์ได้ติดต่อกับเจ้าของที่ดินโดยตรง หากเกิดการผิดพลาดและผิดตัวเจ้าของที่ดินโจทก์ขอรับผิดเองไม่เกี่ยวแก่พนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ข้อความระบุไว้ชัดเฉพาะกรณีเกิดการผิดตัวเจ้าของที่ดินผู้เป็นคู่สัญญาเท่านั้น หามีผลคุ้มครองถึงการปฏิบัติหน้าที่ผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนในกรณีอื่นนอกจากนี้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาขายฝากที่โจทก์ทำกับ น. เป็นโมฆะต้องถูกเพิกถอนเป็นความเสียหายเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 2 และพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ในฐานะหน่วยงานของรัฐรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์จึงชอบด้วย พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 5 แล้ว
โจทก์ลงชื่อรับรองข้อความด้านหลังสัญญาขายฝากที่ดินว่าในการทำสัญญาโจทก์ได้ติดต่อกับเจ้าของที่ดินโดยตรง หากเกิดการผิดพลาดและผิดตัวเจ้าของที่ดินโจทก์ขอรับผิดเองไม่เกี่ยวแก่พนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ข้อความระบุไว้ชัดเฉพาะกรณีเกิดการผิดตัวเจ้าของที่ดินผู้เป็นคู่สัญญาเท่านั้น หามีผลคุ้มครองถึงการปฏิบัติหน้าที่ผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนในกรณีอื่นนอกจากนี้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาขายฝากที่โจทก์ทำกับ น. เป็นโมฆะต้องถูกเพิกถอนเป็นความเสียหายเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 2 และพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ในฐานะหน่วยงานของรัฐรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์จึงชอบด้วย พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 5 แล้ว