คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 207 (เดิม)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6718/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการคุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้มีประกันจากการบังคับคดี
หนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 1958/2539 ของศาลแพ่งที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ ศาลแพ่งมีคำพิพากษาวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2539 และเป็นคดีที่ลูกหนี้ (จำเลย) อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เนื่องจากลูกหนี้ขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) คดีย่อมถึงที่สุดเมื่อระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก (เดิม) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้สิ้นสุดลง ทั้งนี้ เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง
พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้แก่ลูกหนี้โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2539 ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การส่งคำบังคับมีผลใช้ได้เมื่อกำหนดเวลา 15 วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง คำบังคับที่ส่งให้แก่ลูกหนี้จึงมีผลในวันที่ 9 พฤษภาคม 2539 ลูกหนี้อาจยื่นคำขอ ให้พิจารณาคดีใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล
กำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก ตอนท้าย (เดิม) จะนำมาใช้บังคับก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้ลูกหนี้ไม่อาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในกำหนด 15 วันซึ่งตามคำฟ้องและอุทธรณ์ของเจ้าหนี้ไม่ได้กล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่อาจรับฟังได้เมื่อข้อเท็จจริงคดีนี้ถือได้ว่าลูกหนี้ทราบคำบังคับหลังจากล่วงพ้นกำหนดไปแล้ว 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 23 พฤษภาคม 2539 คดีจึงถึงที่สุดนับแต่วันถัดจากวันดังกล่าว
หนี้ของเจ้าหนี้เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด มีกำหนดอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 เจ้าหนี้นำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 และยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551 พ้นกำหนดอายุความสิบปีแล้ว อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งในคดีหมายเลขแดงที่ 1958/2539 เจ้าหนี้เดิมได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองของลูกหนี้ ห้องชุดเลขที่ 722/74 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2540 และต่อมาเจ้าหนี้ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องและหลักประกันดังกล่าวมาจากเจ้าหนี้เดิม เช่นนี้ สิทธิของเจ้าหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันที่จะได้รับชำระหนี้ก่อนในจำนวนเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองที่มีการดำเนินการบังคับคดีแล้วย่อมได้รับการคุ้มครอง โดยเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภายในวงเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ยจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ส่วนหากว่าขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้วได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ในกรณีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้นกำหนดอายุความตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้อีกสำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปีนับจากคดีถึงที่สุด แม้จำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลฎีกาพิพากษากลับให้บังคับคดีได้
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 สำหรับคดีนี้เป็นคดีที่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เนื่องจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) คดีย่อมถึงที่สุดเมื่อระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้สิ้นสุดลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบมาตรา 147 วรรคสอง ข้อเท็จจริงได้ความว่า ศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยทั้งสอง โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2540 และวันที่ 16 พฤศจิกายน 2540 ตามลำดับจำเลยทั้งสองไม่ได้ขอให้พิจารณาคดีใหม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 15 ธันวาคม 2540 และสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดตั้งแต่วันถัดจากวันที่ 16 ธันวาคม 2540 โจทก์แถลงขอให้บังคับยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2550 จึงยังไม่พ้น 10 ปี นับแต่คดีนี้ถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดีหลังขาดนัด - การนับระยะเวลาคดีถึงที่สุดเมื่อจำเลยขาดนัดและอาจขอพิจารณาคดีใหม่
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด สำหรับคดีที่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้เนื่องจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณา และศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) คดีจึงย่อมถึงที่สุดเมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทั้งนี้ เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3831/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาบังคับคดีหลังคดีถึงที่สุด กรณีจำเลยขาดนัดและอาจขอพิจารณาคดีใหม่
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีถึงที่สุด สำหรับคดีนี้เป็นคดีที่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ เนื่องจากจำเลยทั้งสองขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำพิพากษาให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) คดีย่อมถึงที่สุด เมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้สำหรับการยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ ทั้งนี้เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง ข้อเท็จจริงได้ความว่าศาลชั้นต้นส่งคำบังคับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดคำบังคับเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2550 และส่งให้จำเลยที่ 2 โดยวิธีปิดคำบังคับเช่นเดียวกันเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2550 จำเลยทั้งสองมิได้ขอให้พิจารณาคดีใหม่ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงถึงที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2550 และสำหรับจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดในวันที่ 2 มีนาคม 2550 ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มายื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในวันที่ 23 เมษายน 2550 จึงยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่คดีนี้ถึงที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์เมื่อจำเลยย้ายที่อยู่และไม่แจ้งย้ายทะเบียนบ้าน ถือว่าเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยจงใจขาดนัด
การที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วมีการส่งหมายเรียก สำเนาคำฟ้องแก่จำเลยตามหลักฐานทะเบียนบ้าน ซึ่งถือว่าเป็นภูมิลำเนาตามกฎหมายโดยผลการส่งหมายได้ความจากมารดาจำเลยว่า บ้านจำเลยมีแต่บ้านเลขที่ทางทะเบียน ไม่มีตัวบ้านจึงไม่สามารถส่งหมายแก่จำเลยตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในทะเบียนบ้านได้ ศาลจึงอนุญาตตามคำขอของโจทก์ให้ส่งโดยวิธีอื่นแทน โดยประกาศให้จำเลยยื่นคำให้การแก้คดีและแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ กรณีดังกล่าวถือว่าได้มีการส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยเองก็ยอมรับในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ว่าจำเลยย้ายที่อยู่โดยไม่แจ้งย้ายภูมิลำเนาในทะเบียนบ้าน จึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยยึดถือเอาถิ่นที่อยู่ใดเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามกฎหมาย เมื่อมีการประกาศหนังสือพิมพ์ให้จำเลยทราบวันยื่นคำให้การแก้คดีและวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยไม่ยื่นคำให้การแก้คดีภายในกำหนดและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ จึงถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ไม่อาจขอให้มีการพิจารณาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8888/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การ: การส่งหมายเรียกโดยชอบด้วยกฎหมายและการขอพิจารณาใหม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่งและวรรคสาม (เดิม) การที่จำเลยอ้างว่าไม่ทราบว่าถูกฟ้องเป็นคดีนี้เป็นเหตุหนึ่งที่จำเลยจะร้องขอให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207 (เดิม) เท่านั้น หาใช่เหตุที่จำเลยจะขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งไปโดยชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวไม่