พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10629/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับตราส่งในการส่งมอบตู้สินค้า กรณีตัวแทนผู้ส่งมอบทำหน้าที่เกินขอบเขต
จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนในประเทศไทยของบริษัท ย. ผู้ขนส่งทอดแรก จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้รับตราส่งที่ลานวางตู้สินค้าขาเข้าท่าเรือกรุงเทพเมื่อจำเลยที่ 1 ได้เวนคืนใบตราส่ง ดังนั้น การที่ใบตราส่งอีกฉบับหนึ่งระบุชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งและเป็นผู้รับแจ้งการมาถึงของสินค้าก็เพื่อที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิที่จะเรียกให้โจทก์ส่งมอบสินค้าให้ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จำเลยที่ 2 จะได้ส่งมอบต่อให้แก่จำเลยที่ 1 เจ้าของสินค้า เมื่อสินค้ามาถึงท่าเรือกรุงเทพ จำเลยที่ 2 ติดต่อขอรับใบปล่อยสินค้าจากโจทก์ก็เพราะอยู่ในฐานะเป็นผู้รับตราส่งตามใบตราส่ง ซึ่งต้องรับสินค้าจากโจทก์ จากนั้นก็ทำหน้าที่ตัวแทนผู้ส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยที่ 1 แทนบริษัท ย. ตามใบตราส่ง โดยสถานที่ส่งมอบสินค้าตามใบตราส่งทั้งสองฉบับก็คือที่ซีวาย อันหมายถึงลานวางตู้สินค้าขาเข้าท่าเรือกรุงเทพ ดังนั้น เมื่อสินค้าถึงสถานที่ส่งมอบตามใบตราส่งทั้งสองฉบับแล้ว แต่จำเลยที่ 2 ยังได้สอบถามจำเลยที่ 1 ว่าจะขนถ่ายสินค้าที่ใดอีกซึ่งเมื่อจำเลยที่ 1 จะให้ลากตู้สินค้าไปที่ที่ทำการของจำเลยที่ 1 แทนการส่งมอบและรับมอบกันที่ลานวางตู้สินค้าขาเข้าท่าเรือกรุงเทพ จำเลยที่ 2 ก็ยินยอมและได้ขอยืมตู้สินค้าจากโจทก์โดยไม่ได้แสดงให้เห็นชัดในขณะนั้นว่าเป็นการยืมตู้สินค้าแทนจำเลยที่ 1 หรือเป็นการกระทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนบริษัท ย. ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องนำตู้สินค้าเปล่ากลับมาคืนแก่โจทก์ตามเวลาที่กำหนด การรับมอบใบปล่อยสินค้าก็ดี การยืมตู้สินค้าและการทดรองจ่ายค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามพฤติการณ์แห่งคดี มิใช่เป็นการกระทำการในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดมีหน้าที่นำตู้สินค้าเปล่ากลับมาคืนแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4012/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกหนี้และการใช้สิทธิโดยสุจริต แม้จำนวนหนี้ที่ฟ้องต่างจากที่สืบได้ ศาลต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวนหนึ่ง แต่โจทก์นำสืบว่าจำเลยชำระหนี้บางส่วนแล้ว คงเหลือหนี้ไม่ถึงจำนวนตามคำฟ้องนั้น ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเอาเงินจากจำเลยเกินกว่าสิทธิที่โจทก์พึงมีตามกฎหมายดังที่จำเลยฎีกา เนื่องจากจำเลยชอบที่จะต่อสู้คดีได้และหากจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลก็ไม่ได้พิจารณาเฉพาะคำฟ้องของโจทก์เท่านั้น แต่ต้องพิจารณาจากคำให้การจำเลยและพยานหลักฐานที่ทั้งสองฝ่ายนำสืบ ดังนี้ พฤติการณ์ของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6375/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขายท่อเพื่อหักเงินมัดจำ: จำเลยไม่ยินยอม โจทก์ไม่มีสิทธิขาย
การที่โจทก์ตกลงซื้อลมและแก๊สจากจำเลยโดยโจทก์วางเงินมัดจำ(ประกัน)ค่ายืมท่อบรรจุลมและแก๊สไว้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยมารับท่อและคืนเงินมัดจำ มิฉะนั้นจะนำท่อออกขายทอดตลาด อันเป็นการแสดงเจตนาของโจทก์แม้จำเลยได้ทราบแล้วก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้ตกลงด้วย โจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะนำท่อออกขายตามที่ได้แจ้ง ทั้งนี้เพราะสัญญาซื้อขายและสัญญายืมท่อระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่ได้กำหนดให้โจทก์มีสิทธิที่จะขายท่อของจำเลยเพื่อนำเงินมาหักออกจากเงินมัดจำค่ายืมท่อ แม้จำเลยจะมีหน้าที่ต้องคืนเงินมัดจำค่ายืมท่อให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องคืนท่อให้แก่จำเลยเช่นกัน เมื่อโจทก์นำท่อของจำเลยไปขายโดยไม่มีสิทธิที่จะทำได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำท่อแก่โจทก์ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 369
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5078/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้-ค้ำประกัน: การคิดดอกเบี้ย, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, และการดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการ
จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ในฐานะส่วนตัวของโจทก์เอง ส่วนปัญหาที่ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของสมาชิกกลุ่มสวัสดิการซึ่งสมาชิกของกลุ่มต่างเป็นเจ้าของร่วมกันนั้นแม้จะรับฟังว่าเป็นความจริงก็เป็นกรณีที่สมาชิกของกลุ่มดังกล่าวจะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่งเมื่อเกิดกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว
ปัญหาที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 นั้น จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่มีประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาในชั้นนี้เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะเป็นตัวแทนของกลุ่มสวัสดิการ แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ค้ำประกันไม่เกี่ยวกับการดำเนินการของกลุ่มแต่อย่างใด ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
สำหรับจำเลยที่ 1 นั้นปรากฏตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1จ.2 และ จ.3 ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จำนวนแน่นอนเฉพาะสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 เท่านั้น คืออัตราชั่งละ 1 บาทต่อเดือน หรือร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3ระบุเพียงว่ายอมให้ดอกเบี้ยทุกเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จไม่ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นดอกเบี้ยอัตราเท่าใด ต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี สำหรับเงินกู้ตามเอกสารหมายจ.2 และ จ.3 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 7 เท่านั้น
ส่วนจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่ 1เฉพาะตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 เท่านั้น ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.3 จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.3 ด้วย จึงไม่ถูกต้อง ทั้งปรากฏด้วยว่าสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5มีข้อความเพียงว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ชำระแทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน
ปัญหาที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 นั้น จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่มีประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาในชั้นนี้เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะเป็นตัวแทนของกลุ่มสวัสดิการ แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 ค้ำประกันไม่เกี่ยวกับการดำเนินการของกลุ่มแต่อย่างใด ศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้
สำหรับจำเลยที่ 1 นั้นปรากฏตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1จ.2 และ จ.3 ว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จำนวนแน่นอนเฉพาะสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 เท่านั้น คืออัตราชั่งละ 1 บาทต่อเดือน หรือร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3ระบุเพียงว่ายอมให้ดอกเบี้ยทุกเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จไม่ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นดอกเบี้ยอัตราเท่าใด ต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยได้เพียงอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี สำหรับเงินกู้ตามเอกสารหมายจ.2 และ จ.3 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 7 เท่านั้น
ส่วนจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่ 1เฉพาะตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.1 และ จ.2 เท่านั้น ส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมาย จ.3 จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใด การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารหมาย จ.3 ด้วย จึงไม่ถูกต้อง ทั้งปรากฏด้วยว่าสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5มีข้อความเพียงว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ชำระแทนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5078/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องสัญญากู้-ค้ำประกัน, การตีความดอกเบี้ย, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, เงินกู้จากกลุ่มสวัสดิการ
จำเลยที่1ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ในฐานะส่วนตัวของโจทก์เองส่วนปัญหาที่ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของสมาชิกกลุ่มสวัสดิการซึ่งสมาชิกของกลุ่มต่างเป็นเจ้าของร่วมกันนั้นแม้จะรับฟังว่าเป็นความจริงก็เป็นกรณีที่สมาชิกของกลุ่มดังกล่าวจะว่ากล่าวเอาแก่โจทก์เป็นอีกส่วนหนึ่งเมื่อเกิดกรณีพิพาทกันเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ปัญหาที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าการดำเนินการของกลุ่มสวัสดิการเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์พ.ศ.2505นั้นจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้และไม่มีประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาในชั้นนี้เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีในฐานะเป็นตัวแทนของกลุ่มสวัสดิการแต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้ตามสัญญากู้ที่จำเลยที่1กู้ยืมไปจากโจทก์โดยมีจำเลยที่2ค้ำประกันไม่เกี่ยวกับการดำเนินการของกลุ่มแต่อย่างใดศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้ สำหรับจำเลยที่1นั้นปรากฏตามสัญญากู้เอกสารหมายจ.17.2และจ.3ว่าจำเลยที่1กู้ยืมเงินไปจากโจทก์ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยไว้จำนวนแน่นอนเฉพาะสัญญากู้เอกสารหมายจ.1เท่านั้นคืออัตราชั่งละ1บาทต่อเดือนหรือร้อยละ15ต่อปีส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมายจ.2และจ.3ระบุเพียงว่ายอมให้ดอกเบี้ยทุกเดือนจนกว่าจะชำระต้นเงินเสร็จไม่ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นดอกเบี้ยอัตราเท่าใดต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่ผู้กู้ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิเรียกเอาดอกเบี้ยได้เพียงอัตราร้อยละ7.5ต่อปีสำหรับเงินกู้ตามเอกสารหมายจ.2และจ.3ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา7เท่านั้น ส่วนจำเลยที่2ได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ของจำเลยที่1เฉพาะตามสัญญากู้เอกสารหมายจ.1และจ.2เท่านั้นส่วนสัญญากู้ตามเอกสารหมายจ.3จำเลยที่2ไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันแต่อย่างใดการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่2รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารหมายจ.3ด้วยจึงไม่ถูกต้องทั้งปรากฏด้วยว่าสัญญาค้ำประกันตามเอกสารหมายจ.4และจ.5มีข้อความเพียงว่าถ้าจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้จำเลยที่2จะเป็นผู้ชำระแทนจำเลยที่2ไม่ได้ยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่2ร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วยจึงไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สิน: เจ้าของกรรมสิทธิ์/ผู้ครอบครอง ย่อมมีสิทธิเรียกคืนจากผู้ไม่มีสิทธิ
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทรายการที่1ถึงที่4จึงมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยได้ ทรัพย์พิพาทรายการที่5ไม่ใช่ทรัพย์ของโจทก์แต่เป็นทรัพย์ของผู้อื่นที่โจทก์ขอยืมมาแล้วให้ ท.ยืมไปอีกต่อหนึ่งดังนี้ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงสิทธิครอบครองในทรัพย์พิพาทรายการนี้เมื่อทรัพย์พิพาทรายการนี้ไปตกอยู่กับจำเลยโดยจำเลยไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของโจทก์ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในทรัพย์รายการนี้ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5946/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละข้อต่อสู้และการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่
แม้จำเลยจะให้การว่าฟ้องเคลือบคลุม แต่ปัญหาดังกล่าวในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านการชี้สองสถานนั้นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบแต่ประการใด ถือได้ว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้ในปัญหาดังกล่าวแล้ว จึงไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามคำฟ้องระบุว่าจำเลยยืมถังแก๊สจากโจทก์ จำเลยก็ให้การว่าได้ยืมถังแก๊สจากโจทก์จริง เพียงแต่อ้างว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญา จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองนำ ป.พ.พ.มาตรา 640 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูปมาปรับใช้ในการวินิจฉัยคดีนี้ จึงไม่เป็นการคลาดเคลื่อนหรือนอกคำฟ้อง ส่วนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ให้การว่า โจทก์ชอบที่จะไปฟ้องเรียกถังแก๊สคืนจากผู้ครอบครองฐานลาภมิควรได้นั้น ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของข้อต่อสู้ที่ว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญา เมื่อศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาและโจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยได้ จึงเป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยแล้ว แม้ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ชอบที่จะไปฟ้องเรียกถังแก๊สคืนจากผู้ครอบครองฐานลาภมิควรได้ ได้หรือไม่ ก็หาเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาไม่
ตามคำฟ้องระบุว่าจำเลยยืมถังแก๊สจากโจทก์ จำเลยก็ให้การว่าได้ยืมถังแก๊สจากโจทก์จริง เพียงแต่อ้างว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญา จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองนำ ป.พ.พ.มาตรา 640 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูปมาปรับใช้ในการวินิจฉัยคดีนี้ จึงไม่เป็นการคลาดเคลื่อนหรือนอกคำฟ้อง ส่วนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ให้การว่า โจทก์ชอบที่จะไปฟ้องเรียกถังแก๊สคืนจากผู้ครอบครองฐานลาภมิควรได้นั้น ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของข้อต่อสู้ที่ว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญา เมื่อศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาและโจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยได้ จึงเป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยแล้ว แม้ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ชอบที่จะไปฟ้องเรียกถังแก๊สคืนจากผู้ครอบครองฐานลาภมิควรได้ ได้หรือไม่ ก็หาเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5946/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละข้อต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุม และการวินิจฉัยนอกคำฟ้องกรณีการยืมใช้คงรูป
แม้จำเลยจะให้การว่าฟ้องเคลือบคลุม แต่ปัญหาดังกล่าวในการชี้สองสถานศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ซึ่งจำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านการชี้สองสถานนั้นว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบแต่ประการใด ถือได้ว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้ในปัญหาดังกล่าวแล้ว จึงไม่ใช่ข้อกฎหมายที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ตามคำฟ้องระบุว่าจำเลยยืมถังแก๊สจากโจทก์ จำเลยก็ให้การว่าได้ยืมถังแก๊สจากโจทก์จริง เพียงแต่อ้างว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญา จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 640ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูปมาปรับใช้ในการวินิจฉัยคดีนี้ จึงไม่เป็นการคลาดเคลื่อนหรือนอกคำฟ้องส่วนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ให้การว่า โจทก์ชอบที่จะไปฟ้องเรียกถังแก๊สคืนจากผู้ครอบครองฐานลาภมิควรได้นั้น ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของข้อต่อสู้ที่ว่าจำเลยไม่ได้ผิดสัญญาเมื่อศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยผิดสัญญาและโจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยได้ จึงเป็นการวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลยแล้ว แม้ศาลล่างทั้งสองมิได้วินิจฉัยว่าโจทก์ชอบที่จะไปฟ้องเรียกถังแก๊สคืนจากผู้ครอบครองฐานลาภมิควรได้ได้หรือไม่ ก็หาเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการยืมรถและปล่อยให้ผู้เยาว์ขับขี่ โดยขาดการดูแลที่เหมาะสม
จำเลยที่ 1 ยืมรถยนต์ของโจทก์ไปใช้เมื่อเวลาประมาณ 10 นาฬิกาโดยจะส่งคืนในวันรุ่งขึ้นและรับว่าจะไม่ให้คนอื่นยืมต่อ จนเวลาประมาณ 23 นาฬิกา จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ไปรับจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอายุ 19 ปี เป็นบุตรผู้เยาว์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ไปเที่ยวโดยมีเพื่อนหญิงชายอีกหลายคนไปด้วย พากันไปรับประทานอาหารและดื่มสุราจนถึงเวลา 2 นาฬิกา ของวันใหม่ จึงพากันไปนอนที่โรงแรมจนเวลา 4 นาฬิกาเศษ จำเลยที่ 2 ได้ขับรถยนต์ของโจทก์ออกจากโรงแรมพาเพื่อนหญิงกลับบ้านในระหว่างทางรถยนต์ที่จำเลยที่ 2 ขับได้พลิกคว่ำเสียหาย โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ในฐานละเมิดที่จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ของโจทก์โดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์พลิกคว่ำเสียหาย และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะบิดามารดามิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ แม้โจทก์จะได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ตามสัญญายืมมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญายืมแล้วก็ตาม ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ฐานละเมิดด้วย จำเลยที่ 2 มีความประพฤติชอบมาโรงเรียนสาย ขาดเรียนจนไม่มีสิทธิสอบ แต่งกายไม่เรียบร้อย มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับนักเรียนหญิงทางโรงเรียนเคยเรียกมารดามากำชับให้ช่วยดูแลแสดงว่าจำเลยที่ 2 มีความประพฤติไม่เรียบร้อย ขาดการอบรมดูแลที่ดี บิดามารดาไม่ดูแลเอาใจใส่ ไม่ห้ามปรามในการเที่ยวเตร่จนดึกดื่น คืนเกิดเหตุก็ยังปล่อยให้ไปเที่ยวดื่มสุราในยามดึกและพาผู้หญิงไปนอนค้างที่โรงแรม จนเกิดเหตุขับรถยนต์ของโจทก์ไปพลิกคว่ำเสียหาย แม้เหตุละเมิดเกิดจากการขับรถยนต์โดยประมาท มิได้เกิดจากความประพฤติด้านอื่นของจำเลยที่ 2 อันบิดามารดาจะต้องระมัดระวังดูแลก็ตาม เมื่อบิดามารดาไม่เอาใจใส่ดูแลความประพฤติด้านอื่นของจำเลยที่ 2 ก็แสดงว่าไม่เอาใจใส่ดูแลว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับขี่นั้นจะไปขับรถยนต์โดยประมาทอันเป็นความประพฤติอย่างหนึ่งหรือไม่ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งเป็นบิดามารดามิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้นจึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องยืมหรือซื้อขายทรัพย์สิน การพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามสัญญาซื้อขายมีน้ำหนักกว่า
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยยืมเครื่องรับ-ส่งวิทยุไปแล้วไม่คืนขอให้บังคับจำเลยคืนทรัพย์ที่ยืมหรือใช้ค่าเสียหาย เป็นการฟ้องอ้างมูลเรื่องยืมเป็นหลักแห่งคำขอบังคับจำเลย เมื่อทางนำสืบฟังได้ว่า โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายเครื่องรับ-ส่งวิทยุพิพาทเสร็จเด็ดขาดแล้ว ถือว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ตามฟ้อง จึงบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ไม่ได้