คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประดิษฐ์ สิงหทัศน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 133 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีร่วมกันจ้างวานและลงมือสังหารเหยื่อ โดยมีพยานหลักฐานเชื่อมโยงผู้ต้องหาหลายคนถึงการวางแผนและลงมือกระทำผิด
คำให้การและคำเบิกความของพยานโจทก์ที่ว่าจำเลยใช้ให้ บ. กับ ส. ฆ่าผู้ตายนั้น ในส่วนสาระสำคัญสอดคล้องกันทุกประการ จะมีแตกต่างกันบ้างก็เป็นเพียง พลความเท่านั้นไม่ทำให้พยานหลักฐานของโจทก์ขาดน้ำหนักในการรับฟัง และในที่สุด บ. กับ ส. มิได้เป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย คนร้ายที่ฆ่าผู้ตายเป็นกลุ่มบุคคลอื่น ซึ่งต่อมาถูกดำเนินคดีและศาลพิพากษาลงโทษแล้ว กลุ่มคนร้ายที่ฆ่าผู้ตาย ไม่มีความเกี่ยวพันกับ บ. และ ส.หากเรื่องไม่เป็นความจริงก็ไม่น่าเชื่อว่าพยานโจทก์จะแกล้งปรักปรำจำเลยในความผิด ข้อหาอุกฉกรรจ์พยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้โดยปราศจากสงสัย ว่าจำเลยใช้ให้ บ.และ ส. ฆ่าผู้ตาย แต่ บ.และ ส. มิได้กระทำการตามที่จำเลยใช้ จำเลยจึงมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 วรรคหนึ่งและวรรคสองตอนท้าย ประกอบมาตรา 289(4) คำซัดทอดระหว่างผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำให้การเช่นว่านี้เสียทีเดียวหากการซัดทอดมีเหตุผลรับฟังได้ ศาลมีอำนาจรับฟังมาประกอบการพิจารณาได้ ว. จำคนร้ายไม่ได้และไม่ทราบว่าคนร้ายเป็นใครขณะเกิดเหตุ ว. กำลังขับรถคนร้ายยิงผู้ตายแล้วขับรถจักรยานยนต์หลบหนีไปทันที ว. ทราบเหตุต่อเมื่อผู้ตายถูกยิงแล้ว และล้มตัวเข้ามาหาพร้อมกับบอกว่าถูกยิง เชื่อว่าขณะนั้นคนร้ายหลบหนีไปแล้ว คำเบิกความของ ว. จึงไม่มีผลทำลายน้ำหนักพยานหลักฐานอื่นของโจทก์หลังจากเจ้าพนักงานตำรวจจับ ส. และ น. ได้ บุคคลทั้งสองพาไปหาหมวกกันน็อกที่ทิ้งไว้ในป่าหญ้าข้างทาง ปรากฏว่าหมวกใบหนึ่งมีเส้นผมติดอยู่ จากการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญ ปรากฏว่าเป็นเส้นผมของ น. การตรวจพิสูจน์นี้เป็นการทำตามหลักวิชาและมีความแน่นอนสามารถเชื่อถือได้ ประกอบกับ อาวุธปืนที่ น. ใช้ยิงผู้ตายได้มีการดัดแปลงแก้ไขให้ผิดไปจากเดิมอันเป็นพิรุธ พยานหลักฐานของโจทก์ มีน้ำหนักมั่นคงโดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่น ฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำของจำเลยคือการติดต่อว่าจ้าง อ.กับ ก.ให้ฆ่าผู้ตาย ที่ ก.ขอให้ ส.เข้ามาช่วยเหลือแล้วส. ไปว่าจ้าง กต.และสจ. ให้มาร่วมก็เพียงเพื่อให้สามารถฆ่าผู้ตายให้สำเร็จตามที่ ก. รับจ้างมาจากจำเลยเมื่อ กต.กับสจ.ล้มเลิกส. และ ก. จึงไปติดต่อ น.กับ ช.ให้เข้ามาร่วมทำงานต่อไปจนสำเร็จการที่ส.ก.กต.และสจ. ได้ร่วมกันไปดักยิงผู้ตายหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จแล้วในที่สุด ส.ก.น.และช. สามารถฆ่าผู้ตายได้สำเร็จ จึงเป็นผลของการกระทำที่สืบเนื่องติดต่อมาจากการว่าจ้างของจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวอันเป็นความผิดฐานใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 84 วรรคสอง ประกอบมาตรา 289(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขู่คุกคามทำให้เกิดความกลัวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392
ขณะที่ผู้เสียหายอยู่ในบ้านกับเด็กหญิง จ. บุตรสาวจำเลยที่ 1 มาร้องเรียกผู้เสียหายที่หน้าบ้านว่า"เฮ้ยมึงไม่แน่จริงนี่หว่าเฮ้ยถ้ามึงแน่จริงมึงออกมาซิวะมึงทำไมไม่ออกมาวะออกมาโดนแน่" ขณะนั้นจำเลยที่ 2ยืนอยู่หน้าบ้านตนเองซึ่งอยู่เยื้องบ้านผู้เสียหายพูดว่า "ให้มันอยู่แต่ในบ้านอย่าให้มันออกมา ถ้ามันออกมาเอาแม่มันเลย" คำพูดของจำเลยทั้งสองดังกล่าวประกอบการกระทำ และสถานที่ เป็นการบังคับขู่เข็ญไม่ให้ผู้เสียหายออกไปจากบ้าน หากขืนออกไปจะถูกจำเลยทั้งสองทำร้าย หาใช่เป็นเพียง คำท้าให้ออกไปต่อสู้กันเท่านั้นไม่ เมื่อผู้เสียหายเกิดความกลัว หรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ การกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392,83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขู่เข็ญบังคับข่มขู่ทำให้เกิดความกลัว ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392
ขณะที่ผู้เสียหายอยู่ในบ้านกับเด็กหญิงจิราพรบุตรสาว จำเลยที่ 1มาร้องเรียกผู้เสียหายที่หน้าบ้านว่า "เฮ้ยมึงไม่แน่จริงนี่หว่า เฮ้ยถ้ามึงแน่จริงมึงออกมาซิวะ มึงทำไมไม่ออกมาวะ ออกมาโดนแน่" ขณะนั้นจำเลยที่ 2 ยืนอยู่หน้าบ้านตนเองซึ่งอยู่เยื้องบ้านผู้เสียหาย พูดว่า "ให้มันอยู่แต่ในบ้าน อย่าให้มันออกมา ถ้ามันออกมาเอาแม่มันเลย" คำพูดของจำเลยทั้งสอง ดังกล่าวประกอบการกระทำและสถานที่ เป็นการบังคับขู่เข็ญไม่ให้ผู้เสียหายออกไปจากบ้าน หากขืนออกไปจะถูกจำเลยทั้งสองทำร้าย หาใช่เป็นเพียงคำท้าให้ออกไปต่อสู้กันเท่านั้นไม่ เมื่อผู้เสียหายเกิดความกลัว หรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 392

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขู่เข็ญทำให้ผู้อื่นตกใจกลัว ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392
ขณะที่จำเลยทั้งสองพูดว่า "ถ้ามึงแน่จริงมึงออกมาทำไมไม่ออกมา ออกมาโดน แน่" นั้น จำเลยทั้งสองอยู่ที่หน้าบ้าน ของผู้เสียหาย แสดงว่าเป็นการบังคับขู่เข็ญไม่ให้ผู้เสียหาย ออกไปจากบ้าน หากขืนออกไปจะถูกจำเลยทั้งสองทำร้าย หาใช่เป็นเพียงคำท้าให้ออกไปต่อสู้กันไม่ คำพูดเช่นนี้ใช้กับ ผู้ใดโดยปกติแล้วผู้นั้นย่อมตกใจกลัว เมื่อข้อเท็จจริง ฟังได้ว่าผู้เสียหายเกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขู่คุกคามทำให้ตกใจกลัว ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392
ขณะที่ผู้เสียหายอยู่ในบ้านกับบุตรสาว จำเลยที่ 1มาร้องเรียกผู้เสียหายที่หน้าบ้านว่า "เฮ้ยมึงไม่แน่จริงนี่หว่าเฮ้ยถ้ามึงแน่จริงมึงออกมาซิวะ*มึงทำไมไม่ออกมาวะออกมาโดนแน่"ขณะนั้นจำเลยที่ 2 ยืนอยู่หน้าบ้านตนเองซึ่งอยู่เยื้องบ้านผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 พูดว่า "ให้มันอยู่แต่ในบ้าน อย่าให้มันออกมา ถ้ามันออกมา เอาแม่มันเลย" คำพูดของจำเลยทั้งสองดังกล่าวประกอบการกระทำและสถานที่เห็นได้ว่า เป็นการบังคับขู่เข็ญไม่ให้ผู้เสียหายออกไปจากบ้าน หากขืนออกไปจะถูกจำเลยทั้งสองทำร้าย หาใช่เป็นเพียงคำท้าให้ออกไปต่อสู้กันเท่านั้นไม่ เมื่อผู้เสียหายเกิดความกลัว หรือความตกใจโดยการขู่เข็ญ การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 392

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนา การรู้เห็น การปฏิบัติตามสัญญา และการถือว่าข้อสัญญาเป็นสาระสำคัญ
แม้จำเลยจะได้แสดงสวนหย่อมไว้ในใบโฆษณาและอาคารจำลอง แต่ก่อนเปิดขายอาคารทุกหลังในโครงการนี้ได้ตอกเสาเข็ม ไว้แล้วโดยแต่ละต้นเหลือส่วนบนโผล่ พ้นดินประมาณ 2 เมตร ซึ่งในระหว่างที่โจทก์ผ่อนชำระเงินดาวน์และไปตรวจดูการ ก่อสร้างห้องชุดที่จะซื้อ โจทก์ได้เห็นการก่อสร้างอาคารซี ตรงจุดที่จำเลยแสดงไว้ในโฆษณาว่าจะทำเป็นสวนหย่อม แต่โจทก์ ก็ไม่เคยโต้แย้งการก่อสร้างอาคาร ซี แต่อย่างใด เท่ากับโจทก์รู้เห็นการก่อสร้างอาคาร ซีมาโดยตลอด การที่โจทก์ก็ยังคงเข้าทำสัญญาและติดต่อปฏิบัติตามสัญญาตลอดมา แสดงว่า โจทก์หาได้ถือว่าการจะมีหรือไม่มีสวนหย่อมหน้าอาคารชุดหลัง ที่โจทก์จะซื้อห้องชุดเป็นข้อสาระสำคัญไม่ จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารชุด: การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ส่วนกลาง (สวนหย่อม) ไม่ถือเป็นผิดสัญญา หากผู้ซื้อทราบและยินยอมโดยปริยาย
แม้จำเลยจะได้แสดงสวนหย่อมไว้ในใบโฆษณาและอาคารจำลองก็ตาม แต่เมื่อปรากฎว่าอาคารทุกหลังในโครงการที่จำเลยเสนอขายนี้ได้ตอกเสาเข็มไว้แล้วก่อนเปิดขาย มีเสาเข็มหลังละประมาณ 200 ต้น แต่ละต้นเหลือส่วนบนโผล่พ้นดินประมาณ 2 เมตร และโจทก์รู้เห็นว่าจะมีการก่อสร้างอาคารตรงที่ระบุว่าเป็นสวนหย่อม ทั้งโจทก์รับมอบห้องชุดจากจำเลยหลังทำสัญญาจะซื้อจะขาย 2 ปีเศษอาคารชุดที่พิพาทก่อสร้างไปได้ 3 ชั้นแล้ว การที่โจทก์รู้เห็นการก่อสร้างอาคารชุดที่พิพาทมาโดยตลอด แต่โจทก์ก็ยังคงเข้าทำสัญญาและติดต่อปฏิบัติตามสัญญาตลอดมาแสดงว่าโจทก์หาได้ถือว่า การจะมีสวนหย่อมหน้าอาคารชุดหลังที่โจทก์จะซื้อห้องชุดหรือไม่ ย่อมไม่เป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายห้องชุด: การแสดงเจตนาและข้อตกลงที่แท้จริงมีผลเหนือกว่าโฆษณาชวนเชื่อ
แม้จำเลยจะได้แสดงสวนหย่อมไว้ในใบโฆษณาและอาคารจำลองก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าอาคารทุกหลังในโครงการที่จำเลยเสนอขายนี้ได้ตอกเสาเข็มไว้แล้วก่อนเปิดขาย มีเสาเข็มหลังละประมาณ 200 ต้น แต่ละต้นเหลือส่วนบนโผล่ พ้นดินประมาณ 2 เมตร และโจทก์รู้เห็นว่าจะมีการก่อสร้างอาคาร ตรงที่ระบุว่าเป็นสวนหย่อม ทั้งโจทก์รับมอบห้องชุดจากจำเลย หลังทำสัญญาจะซื้อจะขาย 2 ปีเศษอาคารชุดที่พิพาทก่อสร้าง ไปได้ 3 ชั้นแล้ว การที่โจทก์รู้เห็นการก่อสร้างอาคารชุด ที่พิพาทมาโดยตลอด แต่โจทก์ก็ยังคงเข้าทำสัญญาและติดต่อ ปฏิบัติตามสัญญาตลอดมาแสดงว่าโจทก์หาได้ถือว่า การจะมี สวนหย่อมหน้าอาคารชุดหลังที่โจทก์จะซื้อห้องชุดหรือไม่ ย่อมไม่เป็นสาระสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้ผิดสัญญา โจทก์ย่อม ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มาตรา 24กำหนดว่า สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี ดังนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานของผู้ร้องโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้ผู้ร้องจึงตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150ผู้ร้องจะอ้างการที่เป็นโมฆะขึ้นอ้างต่อผู้ใดไม่ได้ เมื่อการอายัดทรัพย์เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่งโจทก์จึงไม่อาจอายัดสิทธิ เรียกร้องดังกล่าวได้ ผู้ร้องจึงไม่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัด ของศาลชั้นต้น ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบมาตรา 246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1135/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี แม้มีการโอนสิทธิ
ปัญหาว่าสิทธิเรียกร้องใดไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีแม้คู่ความจะไม่ได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246, 247
จำเลยเป็นพนักงานของผู้ร้อง และหากจำเลยลาออกจากการเป็นพนักงานของผู้ร้อง จำเลยย่อมมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงินสุทธิจำนวนหนึ่ง แต่ก่อนจำเลยลาออกจากการเป็นพนักงานของผู้ร้อง จำเลยได้โอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แก่ผู้ร้อง เมื่อตามพ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มาตรา 24 บัญญัติว่า สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี การที่จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้ผู้ร้องจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150ผู้ร้องจะอ้างการที่เป็นโมฆะขึ้นอ้างต่อผู้ใดไม่ได้ แต่การอายัดทรัพย์เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง โจทก์ย่อมไม่อาจอายัดสิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้เช่นกัน ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินจำนวนดังกล่าว เป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องจึงไม่จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของศาลชั้นต้น
of 14