คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประดิษฐ์ สิงหทัศน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 133 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการต้องเป็นการปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ การปลอมเอกสารไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จำเลยมีหน้าที่รายงานและให้ความเห็นในการขอลาออกของผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ แต่จำเลยไม่มีหน้าที่ในการทำหนังสือขอลาออก จำเลยปลอมหนังสือขอลาออกของผู้เสียหายและใช้เอกสารปลอมดังกล่าว จึงไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
โจทก์ฟ้องจำเลยว่าเป็นผู้ปลอมหนังสือขอลาออกและใช้หนังสือขอลาออกปลอมเท่านั้น ในส่วนที่จำเลยรับรองการลาออกเท็จนั้นโจทก์มิได้ฟ้อง แม้ทางพิจารณาจะได้ความเช่นนั้น ก็เป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้องศาลจึงมิอาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการต้องเป็นการปฏิบัติ/ละเว้นหน้าที่โดยมิชอบ การปลอมเอกสารไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่
ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จำเลยมีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รายงานและให้ความเห็นในการขอลาออกจากผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในท้องที่ ไม่มีหน้าที่ในการทำหนังสือขอลาออกของ ซ. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองในท้องที่ของจำเลยและใช้เอกสารปลอม จึงไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การข้ามขั้นตอนหลังขาดนัดพิจารณาคดี ศาลไม่อาจรับคำร้องได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแล้วสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนเสร็จ จำเลยจึงมาศาลและยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ขณะอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งก็คืออยู่ระหว่างพิจารณาคดีฝ่ายเดียวจึงล่วงเลยขั้นตอนที่จำเลยจะยื่นคำร้องเช่นนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 แล้ว สิ่งที่จำเลยพึงกระทำในตอนนั้น คือการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคสอง แล้วจึงจะเชื่อมโยงไปบังคับเรื่องขออนุญาตยื่นคำให้การ ตามมาตรา 199 ต่อไป จริงอยู่การที่จำเลยไม่ทราบว่าศาลสืบพยานโจทก์ในการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวเสร็จไปแล้ว จำเลยจึงยื่นคำร้องผิดขั้นตอน เป็นเรื่องน่าเห็นใจ แต่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นได้สั่งคำร้องนั้นชัดเจนว่า ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิจารณาคดีฝ่ายเดียวไปจนเสร็จสิ้นแล้วพร้อมทั้งมีคำพิพากษา คำสั่งศาลเช่นนี้ย่อมช่วยให้จำเลยทราบขั้นตอนของกระบวนพิจารณาที่ผ่านไปแล้ว และจำเลยสามารถที่จะยื่นคำร้องขอเสียใหม่ให้ตรงตามเรื่อง แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์ฎีกายืนยันให้รับคำร้องที่ข้ามขั้นตอนนั้นไว้พิจารณา เมื่อคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยขั้นตอน ศาลจึงไม่อาจรับไว้พิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องข้ามขั้นตอนในคดีแพ่ง: ผลกระทบต่อการพิจารณาคดีและการอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแล้วสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนเสร็จ จำเลยจึงมาศาลและยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ขณะอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งก็คืออยู่ระหว่างพิจารณาคดีฝ่ายเดียวจึงล่วงเลยขั้นตอนที่จำเลยจะยื่นคำร้องเช่นนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 199แล้ว สิ่งที่จำเลยพึงกระทำในตอนนั้น คือการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตามป.วิ.พ.มาตรา 205 วรรคสอง แล้วจึงจะเชื่อมโยงไปบังคับเรื่องขออนุญาตยื่นคำให้การ ตามมาตรา 199 ต่อไป จริงอยู่การที่จำเลยไม่ทราบว่าศาลสืบพยานโจทก์ในการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวเสร็จไปแล้ว จำเลยจึงยื่นคำร้องผิดขั้นตอน เป็นเรื่องน่าเห็นใจ แต่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นได้สั่งคำร้องนั้นชัดเจนว่า ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิจารณาคดีฝ่ายเดียวไปจนเสร็จสิ้นแล้วพร้อมทั้งมีคำพิพากษา คำสั่งศาลเช่นนี้ย่อมช่วยให้จำเลยทราบขั้นตอนของกระบวนพิจารณาที่ผ่านไปแล้ว และจำเลยสามารถที่จะยื่นคำร้องขอเสียใหม่ให้ตรงตามเรื่อง แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์ฎีกายืนยันให้รับคำร้องที่ข้ามขั้นตอนนั้นไว้พิจารณาเมื่อคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยขั้นตอน ศาลจึงไม่อาจรับไว้พิจารณาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9336/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 ต่อการสิ้นสุดของคำสั่งศาลและสิทธิในการฎีกา
ป.วิ.พ. มาตรา 307 วรรคสอง ได้บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค. 2542 เป็นต้นไป ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2542 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่บทบัญญัติวรรคสองแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 307 มีผลบังคับใช้ ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังกล่าวจึงถึงที่สุดแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 1 มา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9278/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากทรัพย์โดยปริยายจากการให้บริการรับฝากรถ ณ วัด
จำเลยอาศัยที่วัดเป็นสถานที่เพื่อให้คนมาฝากรถ จึงเป็นเรื่องชัดแจ้งว่าจำเลยทำธุรกิจรับฝากทรัพย์ ประกอบกับฝ่ายจำเลยรับค่าบริการจากฝ่ายโจทก์ที่นำรถมาฝาก แล้วฝ่ายจำเลยมอบบัตรให้มีข้อความว่า "ธ.ไฟบริการ รับฝากรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ ขอบคุณที่ใช้บริการ (กรุณาอย่าทำบัตรหาย)" โดยมีหมายเลขกำกับ อันแสดงว่าฝ่ายโจทก์จะรับรถคืนได้ต่อเมื่อคืนบัตรให้แก่ฝ่ายจำเลยดังนี้ มีผลเท่ากับว่า ฝ่ายโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์สินไว้ในอารักขาของฝ่ายจำเลยแล้วการที่ไม่ได้มอบลูกกุญแจให้ไว้ด้วย หาใช่สาระสำคัญไม่ การปฏิบัติระหว่างฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย เป็นการฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 657
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9278/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาฝากทรัพย์: การส่งมอบทรัพย์สินเพื่อการดูแลรักษา แม้ไม่ได้ส่งมอบกุญแจก็ถือเป็นการฝากทรัพย์ได้
จำเลยอาศัยที่วัดเป็นสถานที่เพื่อให้คนมาฝากรถ จึงเป็นเรื่องชัดแจ้งว่าจำเลยทำธุรกิจรับฝากทรัพย์ ประกอบกับฝ่ายจำเลยรับค่าบริการจากฝ่ายโจทก์ที่นำรถมาฝาก แล้วฝ่ายจำเลยมอบบัตรให้มีข้อความว่า "ธ. ไฟบริการ รับฝากรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ ขอบคุณที่ใช้บริการ (กรุณาอย่าทำบัตรหาย)" โดยมีหมายเลขกำกับ อันแสดงว่าฝ่ายโจทก์จะรับรถคืนได้ต่อเมื่อคืนบัตรให้แก่ฝ่ายจำเลยดังนี้ มีผลเท่ากับว่า ฝ่ายโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์สินไว้ในอารักขาของฝ่ายจำเลยแล้วการที่ไม่ได้มอบลูกกุญแจให้ไว้ด้วย หาใช่สาระสำคัญไม่ การปฏิบัติระหว่างฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลย เป็นการฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9278/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝากทรัพย์: การรับฝากรถและผลของการส่งมอบบัตรรับฝากรถ
จำเลยอาศัยที่วัดเป็นสถานที่เพื่อให้คนมาฝากรถ จึงเป็นเรื่องชัดแจ้งว่าจำเลยทำธุรกิจรับฝากทรัพย์ โดยจำเลยรับค่าบริการจากฝ่ายโจทก์ แล้วมอบบัตรให้มีข้อความว่า "รับฝากรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ ขอบคุณที่ใช้บริการ(กรุณาอย่าทำบัตรหาย)" โดยมีหมายเลขกำกับ อันแสดงว่าฝ่ายโจทก์จะรับรถคืนได้ต่อเมื่อคืนบัตรให้แก่ฝ่ายจำเลย ดังนี้มีผลเท่ากับฝ่ายโจทก์ได้ส่งมอบทรัพย์สินไว้ในอารักขาของฝ่ายจำเลยแล้ว การที่ไม่ได้มอบลูกกุญแจให้ไว้ด้วย หาใช่สาระสำคัญไม่ การปฏิบัติระหว่างฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยเป็นการฝากทรัพย์ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8929/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการลงนามมอบอำนาจ และการรับผิดชอบหนี้จำนองจากการกระทำของผู้อื่น
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจที่ยังไม่ได้กรอกข้อความนับว่าเป็นความประมาทเลินเล่อ โจทก์ไม่อาจยกความบกพร่องของหนังสือมอบอำนาจมายันให้เป็นที่เสียหายแก่ธนาคารจำเลยที่ 3 ซึ่งรับจำนองไว้โดยสุจริตได้ แต่การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันปลอมเอกสารว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ธ. บุตรโจทก์ขายที่ดินพร้อมบ้านให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 โอนขายต่อให้จำเลยที่ 1 จากนั้นจำเลยที่ 1 ทำจำนองไว้แก่จำเลยที่ 3 นั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็ยังคงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ในหนี้จำนอง และจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่เช่นเดิม ศาลชอบที่จะพิพากษาให้ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทกลับมาเป็นของโจทก์ได้โดยไม่จำต้องให้เพิกถอนนิติกรรมทุกฉบับที่เกิดขึ้น เพราะเป็นการเกินจำเป็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินถูกซ่อนไว้ภายใต้สัญญากู้เงิน การนำสืบอยู่ในขอบเขตข้อต่อสู้
จำเลยให้การว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องทำขึ้นเพื่อเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์กับผู้มีชื่อ ซึ่งโจทก์ได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการซื้อขายแทนโจทก์ เป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งแล้วในเหตุแห่งการปฏิเสธ และเป็นคำให้การที่อ่านเข้าใจได้ว่า นิติกรรมอันแท้จริงที่ถูกอำพรางไว้ คือนิติกรรมที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยซื้อขายที่ดินแทนโจทก์ แต่โจทก์จำเลยได้ทำนิติกรรมด้วยการแสดงเจตนาลวงไว้ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์
ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นพิพาทว่า สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า โจทก์เป็นผู้เจรจาขอซื้อที่ดินจนเป็นที่ตกลงในราคา 220,000 บาท โจทก์เป็นผู้วางมัดจำ10,000 บาท และทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้ แล้วโจทก์มอบหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินแทน ลงชื่อสามีจำเลยเป็นผู้ซื้อ ซึ่งโจทก์ออกเงินค่าที่ดินอีก200,000 บาท จึงเป็นเรื่องเดียวกับข้อต่อสู้ของจำเลยและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ และแม้จำเลยจะนำสืบด้วยว่า โจทก์เข้าหุ้นกับจำเลย ก็พอฟังได้ว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ซื้อที่ดินแล้วใช้ที่ดินมาเข้าหุ้น ทางนำสืบของจำเลยอยู่ในขอบเขตของข้อต่อสู้ในคำให้การและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ ย่อมไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง
of 14