คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประดิษฐ์ สิงหทัศน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 133 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินถูกซ่อนไว้ภายใต้สัญญากู้เงิน การนำสืบอยู่ในขอบเขตข้อต่อสู้
จำเลยให้การว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องทำขึ้นเพื่อเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์กับผู้มีชื่อ ซึ่งโจทก์ได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการซื้อขายแทนโจทก์ เป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งแล้วในเหตุแห่งการปฏิเสธ และเป็นคำให้การที่อ่านเข้าใจได้ว่า นิติกรรมอันแท้จริงที่ถูกอำพรางไว้ คือนิติกรรมที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยซื้อขายที่ดินแทนโจทก์ แต่โจทก์จำเลยได้ทำนิติกรรมด้วยการแสดงเจตนาลวงไว้ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์
ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นพิพาทว่า สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า โจทก์เป็นผู้เจรจาขอซื้อที่ดินจนเป็นที่ตกลงในราคา 220,000 บาท โจทก์เป็นผู้วางมัดจำ10,000 บาท และทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้ แล้วโจทก์มอบหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินแทน ลงชื่อสามีจำเลยเป็นผู้ซื้อ ซึ่งโจทก์ออกเงินค่าที่ดินอีก200,000 บาท จึงเป็นเรื่องเดียวกับข้อต่อสู้ของจำเลยและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ และแม้จำเลยจะนำสืบด้วยว่า โจทก์เข้าหุ้นกับจำเลย ก็พอฟังได้ว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ซื้อที่ดินแล้วใช้ที่ดินมาเข้าหุ้น ทางนำสืบของจำเลยอยู่ในขอบเขตของข้อต่อสู้ในคำให้การและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ ย่อมไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8747/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะนิติบุคคลของมิซซังโรมันคาธอลิคตาม พ.ร.บ. ร.ศ. 128 และอำนาจในการทำสัญญา
โจทก์เป็นมิซซังโรมันคาธอลิค ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128 อนุญาตให้มิซซังโรมันคาธอลิคคณะหนึ่ง ๆ มีฐานะเป็นหมู่คณะแยกต่างหาก เพื่อให้มีอำนาจถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยกฎหมายใช้ศัพท์ว่า บริษัท ในความหมายที่ว่า หมู่คณะแยกต่างหากจากกัน ดังที่ต่อมาเรียกว่า นิติบุคคล หาได้มีความหมายว่าบริษัทจำกัดไม่ ประกอบกับ ป.พ.พ. มาตรา 65 บัญญัติว่า นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือประมวลกฎหมายอื่น ด้วยเหตุนี้โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น มีอำนาจทำสัญญาเช่า และฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8107/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี: การยื่นคำร้องเกินกำหนดและเหตุล่าช้าที่ไม่แจ้งต่อศาล
คำร้องของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่สั่งโดยผิดระเบียบ อ้างว่าคู่ความและศาลตกลงกันให้ยกเลิกวันนัดวันที่ 29 กรกฎาคม2540 แล้ว ข้อความตกเติมในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลที่ให้นัดวันที่ 29 กรกฎาคม 2540 ได้กระทำขึ้นภายหลังจากที่คู่ความและศาลได้ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา ต่อมาโจทก์และจำเลยมาศาลในวันนัดวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 จึงทราบเรื่องศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี คำร้องของโจทก์ดังกล่าวต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ซึ่งโจทก์ต้องยกขึ้นกล่าวไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสอง โจทก์ทราบว่าถูกศาลสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดระเบียบเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 แต่โจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2540 ช้ากว่ากำหนดตามกฎหมาย โจทก์จึงหมดสิทธิยื่น และศาลไม่มีอำนาจรับวินิจฉัยให้โจทก์
ข้อที่โจทก์กล่าวอ้างเหตุล่าช้าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคท้าย ในฎีกาว่า ต้องเสียเวลาหลายวันในการขอดูสำนวน จนกระทั่งวันที่ 4 ธันวาคม 2540 โจทก์จึงได้ดูสำนวน นั้น โจทก์ไม่ได้อ้างเหตุล่าช้าดังกล่าวนี้ไว้ในคำร้องที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ จึงไม่เป็นประเด็นในชั้นฎีกา ทั้งโจทก์สามารถที่จะเรียงคำร้องได้เมื่อโจทก์ทราบว่าถูกจำหน่ายคดีผิดระเบียบโดยโจทก์ไม่จำต้องขอดูสำนวนหรือหากโจทก์มีความจำเป็นจะต้องดูสำนวน โจทก์ ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ได้ แต่โจทก์ก็หาได้กระทำไม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8107/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี: การยื่นคำร้องขัดแย้งที่ล่าช้าเกินกำหนดตามกฎหมาย
คำร้องของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่สั่งโดยผิดระเบียบ อ้างว่าคู่ความและศาลตกลงกันให้ยกเลิกวันนัดวันที่ 29กรกฎาคม 2540 แล้ว ข้อความตกเติมในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลที่ให้นัดวันที่ 29 กรกฎาคม 2540 ได้กระทำขึ้นภายหลังหลังจากที่คู่ความและศาลได้ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา ต่อมาโจทก์และจำเลยมาศาลในวันนัดวันที่ 24 พฤศจิกายน2540 จึงทราบเรื่องศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี คำร้องของโจทก์ดังกล่าวต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 27 ซึ่งโจทก์ต้องยกขึ้นกล่าวไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคสอง โจทก์ทราบว่าถูกศาลสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดระเบียบเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 แต่โจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 12ธันวาคม 2540 ช้ากว่ากำหนดตามกฎหมาย โจทก์จึงหมดสิทธิยื่น และศาลไม่มีอำนาจรับวินิจฉัยให้โจทก์
ข้อที่โจทก์กล่าวอ้างเหตุล่าช้าตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคท้ายในฎีกาว่า ต้องเสียเวลาหลายวันในการขอดูสำนวน จนกระทั่งวันที่ 4 ธันวาคม 2540โจทก์จึงได้ดูสำนวน นั้น โจทก์ไม่ได้อ้างเหตุล่าช้าดังกล่าวนี้ไว้ในคำร้องที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ จึงไม่เป็นประเด็นในชั้นฎีกา ทั้งโจทก์สามารถที่จะเรียงคำร้องได้เมื่อโจทก์ทราบว่าถูกจำหน่ายคดีผิดระเบียบโดยโจทก์ไม่จำต้องขอดูสำนวนหรือหากโจทก์มีความจำเป็นจะต้องดูสำนวน โจทก์ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ได้ แต่โจทก์ก็หาได้กระทำไม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8083/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าโดยไม่มีไตร่ตรองไว้ก่อน: พฤติการณ์วิวาทก่อนการกระทำความผิด
จำเลยทั้งสามเป็นคนร้ายร่วมกันฆ่าผู้ตาย แต่โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยทั้งสามไตร่ตรองไว้ก่อน และไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามตั้งใจมาแต่ต้นว่าจะมาฆ่าผู้ตาย การที่จำเลยทั้งสามสมคบกันมาหาเรื่องวิวาทกับผู้ตาย เพราะเคยมีเรื่องบาดหมางกันมาก่อน ที่จำเลยที่ 1 เตรียมอาวุธปืนมาด้วยเพื่อใช้ในการวิวาท ก็เพราะฝ่ายจำเลยทราบดีว่าผู้ตายซึ่งเป็นยามรักษาความปลอดภัยมีอาวุธปืนประจำตัว และเมื่อจำเลยทั้งสามมาพบผู้ตาย ฝ่ายจำเลยก็หาได้ยิงหรือทำร้ายผู้ตายในทันทีทันใดไม่ แต่ได้หาเรื่องก่อการวิวาทขึ้นก่อน พฤติการณ์เช่นนี้ยังไม่พอฟังว่า การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันฆ่าผู้ตายเป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้จำเลยทั้งสามมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาก็วินิจฉัยได้เองเพราะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ตามป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
อาวุธปืนขนาด 9 มม. ที่จำเลยใช้ยิงผู้ตายเป็นของผู้ตายเองดังนั้น กระสุนปืน หัวกระสุนปืน ปลอกกระสุนปืน ขนาด 9 มม. จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่พึงริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8083/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยไม่มีเจตนาไตร่ตรอง: ศาลลดโทษจากประหารชีวิตเป็นจำคุกตลอดชีวิต และพิจารณาการริบทรัพย์
จำเลยทั้งสามเป็นคนร้ายร่วมกันฆ่าผู้ตาย แต่โจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่าจำเลยทั้งสามไตร่ตรองไว้ก่อน และไม่ปรากฎว่าจำเลยทั้งสามตั้งใจมาแต่ต้นว่าจะมาฆ่าผู้ตาย การที่จำเลยทั้งสามสมคบกันมาหาเรื่องวิวาทกับผู้ตาย เพราะเคยมีเรื่องบาดหมางกันมาก่อน ที่จำเลยที่ 1 เตรียมอาวุธปืนมาด้วยเพื่อใช้ในการวิวาท ก็เพราะฝ่ายจำเลยทราบดีว่าผู้ตายซึ่งเป็นยามรักษาความปลอดภัยมีอาวุธปืนประจำตัว และเมื่อจำเลยทั้งสามมาพบผู้ตายฝ่ายจำเลยก็หาได้ยิงหรือทำร้ายผู้ตายในทันทีทันใดไม่ แต่ได้หาเรื่องก่อการวิวาทขึ้นก่อน พฤติการณ์เช่นนี้ยังไม่พอฟังว่า การที่จำเลยทั้งสามร่วมกันฆ่าผู้ตายเป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แม้จำเลยทั้งสามมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาโดยตรง ศาลฎีกาก็วินิจฉัยได้เองเพราะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 อาวุธปืนขนาด 9 มม. ที่จำเลยใช้ยิงผู้ตายเป็นของผู้ตายเองดังนั้น กระสุนปืนหัวกระสุนปืน ปลอกกระสุนปืน ขนาด 9 มม.จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่พึงริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8077/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ผู้เยาว์หนีออกจากบ้าน ก็ยังไม่อาจล้มล้างอำนาจปกครองของมารดาได้
นางสาว ส. ผู้เสียหายอายุ 15 ปีเศษ เป็นบุตรและอยู่ในความปกครองของ ล. มารดา แม้ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายได้หนีออกจากบ้านเพราะทะเลาะกับ ล. ผู้เป็นมารดาก็ตาม ก็ไม่ทำให้อำนาจปกครองของ ล. ที่มีอยู่หมดไปการที่จำเลยได้กอดจูบและกระทำชำเราผู้เสียหายขณะที่จำเลยพาผู้เสียหายไปพักที่โรงแรมและที่บ้านญาติจำเลย อันเป็นการกระทำที่ไม่สมควรทางเพศต่อผู้เสียหาย เป็นการล่วงล้ำและกระทบกระเทือนต่ออำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย จึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปเสียจากมารดาผู้เสียหายเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 319 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8077/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: อำนาจปกครองยังคงมีอยู่แม้ผู้เยาว์หนีออกจากบ้าน
นางสาว ส.ผู้เสียหายอายุ 15 ปีเศษ เป็นบุตรและอยู่ในความปกครองของ ล. มารดา แม้ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายได้หนีออกจากบ้านเพราะทะเลาะกับ ล.ผู้เป็นมารดาก็ตาม ก็ไม่ทำให้อำนาจปกครองของ ล.ที่มีอยู่หมดไป การที่จำเลยได้กอดจูบและกระทำชำเราผู้เสียหายขณะที่จำเลยพาผู้เสียหายไปพักที่โรงแรมและที่บ้านญาติจำเลย อันเป็นการกระทำที่ไม่สมควรทางเพศต่อผู้เสียหาย เป็นการล่วงล้ำและกระทบกระเทือนต่ออำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย จึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปเสียจากมารดาผู้เสียหายเพื่อการอนาจารตาม ป.อ.มาตรา 319 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7871/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทเลินเล่อขับรถชนแล้วหลบหนี ศาลฎีกายืนโทษจำคุกฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นบาดเจ็บ
จำเลยปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง คือขับรถในทาง เกิดเหตุแล้วหลบหนี ซึ่งวรรคสองแห่งมาตราดังกล่าวให้สันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว เมื่อพยานจำเลยไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือและมีเหตุผลควรเชื่อตามพยานโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยได้กระทำโดยประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7823/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เริ่มนับจากวันที่สามารถบังคับคดีได้จริง
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 1 จะเปิดทางภาระจำยอมภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2533 ดังนี้ โจทก์ทั้งสี่จะขอบังคับคดีในส่วนนี้ได้หลังวันที่ 31 สิงหาคม 2533 ไปแล้ว กำหนดเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 ย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์ทั้งสี่อาจขอดำเนินการบังคับคดีได้ คือวันที่ 1 กันยายน 2533 เป็นต้นไป โจทก์ทั้งสี่ยื่นคำขอดำเนินการบังคับคดีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิขอได้
of 14