คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 142 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกในที่ดินเมื่อฟ้องขอเป็นเจ้าของทั้งหมด ศาลพิพากษาให้แบ่งมรดกตามส่วน
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทเป็นของตนเองทั้งหมดข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ม.เจ้ามรดก และม.มีทายาทซึ่งเป็นบุตรเพียง 5 คน คือโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2นายยศและนายโยน โจทก์จึงมีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทหนึ่งในห้าส่วน ศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทตามส่วนของตนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)มิใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2434/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกเมื่อฟ้องขอที่ดินเป็นของตนเองทั้งหมด ศาลพิพากษาให้แบ่งมรดกตามส่วน
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทเป็นของตนเองทั้งหมดข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของม.เจ้ามรดกและม.มีทายาทซึ่งเป็นบุตรเพียง5คนคือโจทก์จำเลยที่1ที่2นายยศและนายโยน โจทก์จึงมีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทหนึ่งในห้าส่วนศาลย่อมพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทตามส่วนของตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(2)มิใช่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9681/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งมรดกไม่เป็นโมฆียะ แม้ดำเนินการล่าช้า แต่สิทธิในส่วนแบ่งที่ดินยังคงมีอยู่
โจทก์จำเลยเป็นบุตรของ ศ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก 5 คน เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ศ. และขณะที่ ศ.ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมีหลักฐานเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อ ศ.ถึงแก่ความตายแล้วโจทก์และจำเลยได้ยื่นคำร้องขอรับมรดกที่ดินพิพาทร่วมกัน 2 คน โดยพี่น้องคนอื่น ๆอีก 5 คน ได้ทำบันทึกไม่ประสงค์จะขอรับมรดก และโจทก์ได้ทำบันทึกให้ถ้อยคำต่อนายอำเภอว่าเมื่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้เป็นของโจทก์จำเลยแล้ว โจทก์ยินยอมขอรังวัดแบ่งแยกออกเป็นส่วนของโจทก์เพียง1 ไร่ ส่วนที่เหลือให้ตกเป็นของจำเลย โดยจำเลยจะให้เงินโจทก์ 40,000 บาทเป็นการตอบแทน หากจำเลยไม่มีเงินชำระก็ไม่ติดใจเอาส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงไว้ดังนี้ เมื่อตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความเพียงว่า หลังจากโจทก์ตกลงกับจำเลยแล้ว จำเลยก็ดำเนินการตามที่ตกลง แต่ล่าช้าเกินไป และโจทก์หมดความจำเป็นที่จะใช้เงินไปลงทุนทำการค้าแล้วจึงบอกเลิกข้อตกลงดังกล่าวเสีย หาได้ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อื่นใดพอที่จะชี้ให้เห็นว่าบันทึกข้อตกลงนั้นโจทก์ได้แสดงเจตนาเพราะถูกจำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงอันถึงขนาดไม่ เมื่อตามข้อตกลงไม่ปรากฏว่าต้องให้จำเลยดำเนินการให้แล้วเสร็จเมื่อใด ทั้งปรากฏว่าเมื่อโจทก์จำเลยยื่นเรื่องราวขอรับโอนมรดกไม่มีพินัยกรรมแล้ว โจทก์ได้มอบอำนาจให้จำเลยทำการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและขอจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวม จึงเห็นได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้ว เพียงแต่ดำเนินการล่าช้าเท่านั้น หาได้ใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ไม่ ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆียะ โจทก์ไม่มีสิทธิบอกล้างได้ แต่โฉนดที่ดินที่จำเลยแบ่งแยกให้โจทก์มีเนื้อที่เพียง 3 งาน 30 ตารางวา ไม่ตรงตามที่ตกลงกัน เพราะความผิดพลาดของเจ้าพนักงานที่ดิน โจทก์จึงยังมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งอีก 70 ตารางวาแม้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์กึ่งหนึ่ง แต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่งอีกเพียง 70 ตารางวา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (2) ส่วนเงินจำนวน40,000 บาท นั้น ไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ได้ เพราะเป็นการเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9681/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงแบ่งมรดกไม่เป็นโมฆียะ แม้จำเลยดำเนินการล่าช้า และเจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดไม่ตรงตามตกลง โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งที่เหลือ
โจทก์จำเลยเป็นบุตรของศ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันอีก5คนเดิมที่ดินพิพาทเป็นของศ.และขณะที่ศ.ถึงแก่ความตายที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมีหลักฐานเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์เมื่อศ. ถึงแก่ความตายแล้วโจทก์และจำเลยได้ยื่นคำร้องขอรับมรดกที่ดินพิพาทร่วมกัน2คนโดยพี่น้องคนอื่นๆอีก5คนได้ทำบันทึกไม่ประสงค์จะขอรับมรดกและโจทก์ได้ทำบันทึกให้ถ้อยคำต่อนายอำเภอว่าเมื่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอได้จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้เป็นของโจทก์จำเลยแล้วโจทก์ยินยอมขอรังวัดแบ่งแยกออกเป็นส่วนของโจทก์เพียง1ไร่ส่วนที่เหลือให้ตกเป็นของจำเลยโดยจำเลยจะให้เงินโจทก์40,000บาทเป็นการตอบแทนหากจำเลยไม่มีเงินชำระก็ไม่ติดใจเอาส่วนของโจทก์ตามที่ตกลงไว้ดังนี้เมื่อตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความเพียงว่าหลังจากโจทก์ตกลงกับจำเลยแล้วจำเลยก็ดำเนินการตามที่ตกลงแต่ล่าช้าเกินไปและโจทก์หมดความจำเป็นที่จะใช้เงินไปลงทุนทำการค้าแล้วจึงบอกเลิกข้อตกลงดังกล่าวเสียหาได้ปรากฏว่ามีพฤติการณ์อื่นใดพอที่จะชี้ให้เห็นว่าบันทึกข้อตกลงนั้นโจทก์ได้แสดงเจตนาเพราะถูกจำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงอันถึงขนาดไม่เมื่อตามข้อตกลงไม่ปรากฏว่าต้องให้จำเลยดำเนินการให้แล้วเสร็จเมื่อใดทั้งปรากฏว่าเมื่อโจทก์จำเลยยื่นเรื่องราวขอรับโอนมรดกไม่มีพินัยกรรมแล้วโจทก์ได้มอบอำนาจให้จำเลยทำการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินทำบันทึกข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและขอจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงเห็นได้ว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงแล้วเพียงแต่ดำเนินการล่าช้าเท่านั้นหาได้ใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงโจทก์ไม่ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆียะโจทก์ไม่มีสิทธิบอกล้างได้แต่โฉนดที่ดินที่จำเลยแบ่งแยกให้โจทก์มีเนื้อที่เพียง3งาน30ตารางวาไม่ตรงตามที่ตกลงกันเพราะความผิดพลาดของเจ้าพนักงานที่ดินโจทก์จึงยังมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งอีก70ตารางวาแม้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์กึ่งหนึ่งแต่ทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่งอีกเพียง70ตารางวาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(2)ส่วนเงินจำนวน40,000บาทนั้นไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ได้เพราะเป็นการเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5307-5308/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องบังคับให้โอนทรัพย์มรดกเฉพาะส่วนของทายาทที่ผิดสัญญาซื้อขาย และการคืนเงินมัดจำส่วนเกิน
แม้โฉนดที่ดินพิพาทได้เปลี่ยนจากชื่อผ. เจ้ามรดกเป็นชื่อของจำเลยที่1และที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกและโอนใส่ชื่อจำเลยที่1และที่2แล้วก็ตามแต่ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกยังไม่ได้แบ่งให้แก่ทายาทเหตุที่โอนใส่ชื่อจำเลยที่1และที่2เนื่องจากทายาทอื่นยินยอมเพื่อจะได้ไถ่ถอนจำนองจึงถือว่าจำเลยที่1และที่2ถือที่ดินพิพาทแทนทายาททุกคนเมื่อจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ซึ่งเป็นทายาทของศ.เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายต่อโจทก์โจทก์ย่อมบังคับให้จำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ให้แก่โจทก์ได้แต่สำหรับจำเลยที่1ถึงที่3และที่6ไม่ได้ยินยอมขายให้โจทก์จึงไม่ผูกพันส่วนของจำเลยที่1ถึงที่3และที่6 ทางพิจารณาได้ความว่าทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผ.มี8คนคือจำเลยทั้งแปดที่ดินพิพาทจึงแบ่งออกเป็น8ส่วนจำเลยที่4ที่5ที่7และที่8ได้คนละ1ส่วนจึงต้องไปจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาท4ส่วนใน8ส่วนให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8259/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกจากทรัพย์สินที่ถูกขายโดยผู้จัดการมรดก ศาลมีอำนาจแบ่งเงินที่ได้จากการขายให้ทายาท
โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกว่าจำเลยที่ 1 นำที่ดินแปลง น.ส.3 ก. ทรัพย์มรดกของนาย ย. และตกได้แก่โจทก์ทั้งสองคนละ 1 ใน 6 ส่วนไปขายโดยมิชอบ แม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้เพิกถอนที่ดินแปลงดังกล่าวเอาที่ดินส่วนของโจทก์ทั้งสองคืนมา ก็ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกมรดกจากผู้จัดการมรดก เมื่อไม่อาจเพิกถอนการขายที่ดินแปลงดังกล่าว เงินที่ได้จากการขายที่ดินนั้นต้องถือว่าเป็นทรัพย์มรดกที่จะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสอง ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจแบ่งให้โจทก์ทั้งสองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8259/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกจากทรัพย์สินที่ผู้จัดการมรดกขายไปแล้ว ศาลมีอำนาจแบ่งเงินที่ได้จากการขายให้ทายาทตามส่วน
โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกว่าจำเลยที่1นำที่ดินแปลงน.ส.3ก.ทรัพย์มรดกของนายย. และตกได้แก่โจทก์ทั้งสองคนละ1ใน6ส่วนไปขายโดยมิชอบแม้คำขอท้ายฟ้องจะขอให้เพิกถอนที่ดินแปลงดังกล่าวเอาที่ดินส่วนของโจทก์ทั้งสองคืนมาก็ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกมรดกจากผู้จัดการมรดกเมื่อไม่อาจเพิกถอนการขายที่ดินแปลงดังกล่าวเงินที่ได้จากการขายที่ดินนั้นต้องถือว่าเป็นทรัพย์มรดกที่จะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจแบ่งให้โจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4852/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: หักเงินที่ได้รับเกินไปได้ และการบังคับคดีโดยการขายทอดตลาด
โจทก์จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสินสมรสคนละครึ่งเมื่อเงินอยู่ที่โจทก์เท่ากับโจทก์ได้รับส่วนของจำเลยเกินไปต้องนำส่วนที่โจทก์ได้รับเกินไปหักออกจากสินสมรสจำนวนอื่นที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต่อไปแม้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งก็ไม่เป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1533บัญญัติไว้คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากันซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกันจะแบ่งโดยกำหนดราคาทรัพย์สินสมรสให้จำเลยต้องแบ่งแก่โจทก์หากจำเลยไม่ยอมแบ่งหรือไม่สามารถแบ่งได้ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์จนครบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4852/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: หักกลบส่วนเกินที่ได้รับไปแล้ว
โจทก์จำเลยมีสิทธิได้รับเงินสินสมรสคนละครึ่ง เมื่อเงินอยู่ที่โจทก์ เท่ากับโจทก์ได้รับส่วนของจำเลยเกินไป ต้องนำส่วนที่โจทก์ได้รับเกินไปหักออกจากสินสมรสจำนวนอื่นที่โจทก์จะได้รับจากจำเลยต่อไป แม้จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งก็ไม่เป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่หย่ากันโดยคำพิพากษาต้องแบ่งตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1533 บัญญัติไว้ คือแบ่งสินสมรสให้ชายหญิงได้ส่วนเท่ากัน ซึ่งถ้าการแบ่งไม่อาจตกลงกันได้ ก็ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาแบ่งกัน จะแบ่งโดยกำหนดราคาทรัพย์สินสมรสให้จำเลยต้องแบ่งแก่โจทก์ หากจำเลยไม่ยอมแบ่งหรือไม่สามารถแบ่งได้ ให้นำสินสมรสออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งให้แก่โจทก์จนครบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2984/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทอย่างร้ายแรงและการประพฤติเนรคุณเป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ได้
คำว่า"โจทก์แก่แล้วอายุตั้ง90ปีพูดกลับไปกลับมาพูดเหมือนเด็กเล่นขายของจำเลยไม่มีแม่ไปแล้วอย่ามาอีกเลย"เป็นถ้อยคำที่มีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์แม้จะมีอายุ90ปีแล้วก็ไม่ต่างอะไรไปจากเด็กเล่นขายของที่ไม่รู้จักเดียงสาพูดจาเชื่อถือไม่ได้เลยซึ่งเท่ากับถูกประณามว่าไม่มีค่าแห่งความเป็นคนเป็นถ้อยคำที่หมิ่นประมาทกันอย่างร้ายแรงการที่จำเลยด่าโจทก์ว่า"จำเลยไม่มีแม่"และไล่โจทก์ว่า"ไปแล้วอย่ากลับมาอีกเลย"เท่ากับประณามว่าโจทก์เลวจนรับเป็นมารดาไม่ได้จำเลยไม่มีมารดาเสียดีกว่าให้โจทก์เป็นมารดาของจำเลยเมื่อโจทก์ออกจากบ้านของจำเลยไปแล้วขออย่าให้โจทก์ไปที่บ้านของจำเลยอีกเท่ากับว่าถ้าโจทก์ไปที่บ้านจำเลยอีกโจทก์จะเป็นคนนำความไม่ดีไม่งามไปสู่บ้านจำเลยถ้อยคำเช่นนี้เป็นถ้อยคำที่หมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงถือได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์โจทก์เรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา531(2) เมื่อจำเลยจำหน่ายที่ดินที่ได้รับไปแล้วบางส่วนโจทก์จึงมีสิทธิเรียกถอนคืนการให้เฉพาะส่วนที่ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยเท่านั้น จำเลยกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงหลายครั้งเมื่อระยะเวลาหลังจากจำเลยกล่าวถ้อยคำนับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน6เดือนนับแต่โจทก์ได้ทราบว่าถูกจำเลยประพฤติเนรคุณฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา533วรรคหนึ่ง
of 8