คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 142 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2656/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ, สัญญาประนีประนอมยอมความ, การบังคับคดี, ทายาท, ฟ้องซ้ำที่ไม่เป็นฟ้อง
โจทก์ที่ 1 แต่ผู้เดียวเคยฟ้องจำเลยขอให้แบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท แล้วโจทก์ที่ 1 และจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2จึงมาฟ้องจำเลยขอแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้อีกคดีโจทก์ที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้ำแต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีก่อน โจทก์ที่ 1เคยขอบังคับคดีโดยขอให้ศาลออกหมายจับจำเลยเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษา จำเลยถูกจับตามหมายจับได้ขอประกันตัวต่อศาลและหลบหนีไปจนพ้นกำหนดการบังคับคดี แสดงถึงความไม่สุจริตของจำเลยจำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้เรื่องฟ้องซ้ำไว้ในคำให้การ จึงไม่มีประเด็นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย ย.ทายาทผู้รับมรดกของห.ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินพิพาทได้ลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีที่ศาลพิพากษาตามยอมดังกล่าวข้างต้น แต่ย.และโจทก์ที่ 2(ผู้จัดการมรดกนายห.) มิได้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวคำพิพากษาตามยอมจึงไม่ผูกพันโจทก์ที่ 2 ฟ้องโจทก์ที่ 2 คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวม ศาลพิพากษาตามสัดส่วนการครอบครอง ไม่เกินคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินกรรมสิทธิ์รวมในส่วนของโจทก์ซึ่งโจทก์มีกรรมสิทธิ์อยู่ 6 ใน 12 ส่วน จำเลยทั้งหกให้การต่อสู้คดีโดยมิได้ฟ้องแย้งเข้ามาเพื่อขอแบ่งส่วนของตน เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าโจทก์และจำเลยทั้งหกเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทและต่างได้ครอบครองเป็นสัดส่วน ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งที่ดินพิพาทตามสัดส่วนที่แต่ละฝ่ายครอบครองได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พิพากษายกฟ้องกรณีพินัยกรรมปลอมและทรัพย์มรดก โดยพิจารณาจากลักษณะลายมือชื่อและอายุของผู้ทำพินัยกรรม
เมื่อปรากฏว่าคำพยานโจทก์หลายปากขัดกันเป็นข้อพิรุธ อีก ทั้งพยานโจทก์ทุกปากล้วนเป็นผู้ใกล้ชิดกับโจทก์ทั้งสิ้น ไม่มี คนใดพอที่จะถือได้ว่าเป็นพยานคนกลางโดยแท้จริง ประกอบกับเมื่อ พิจารณาลายมือชื่อของ บ. ในพินัยกรรมที่โจทก์อ้างเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของ บ. ในเอกสารอื่น ๆ แล้ว จึงเชื่อได้ว่า บ. มิได้ทำพินัยกรรม การยกให้อสังหาริมทรัพย์ จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 โจทก์และจำเลยร่วมเป็นทายาทโดยธรรมของ บ. ย่อมมีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในบ้านพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360วรรคสอง แต่คำฟ้องแย้งของจำเลยร่วมเรียกร้องเอาดอกผลของ บ้านพิพาทจากโจทก์เป็นของตนแต่เพียงผู้เดียวทั้งหมด ศาลจะพิพากษา ให้จำเลยร่วมได้รับแต่ส่วนแบ่งในเมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยร่วมควรได้แต่ส่วนแบ่งเท่าใดก็ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3911/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกตามพินัยกรรม: ผู้รับพินัยกรรมมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องทรัพย์สิน
ผู้คัดค้านที่ 1 บรรยายคำคัดค้านไว้แล้วว่า ผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยเป็นผู้รับพินัยกรรมและมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย จึงไม่จำต้องแนบพินัยกรรมมาท้ายคำคัดค้านด้วย การที่คำคัดค้านระบุว่าเจ้ามรดกยกทรัพย์สินให้ผู้คัดค้านที่ 1เพียงผู้เดียว แต่ชั้นพิจารณาได้ความตามพินัยกรรมว่า ทรัพย์สินรายการที่ 1 เจ้ามรดกได้ทำสัญญาจะขายให้บุคคลภายนอก เงินที่ได้ยกให้กับผู้คัดค้านที่ 1 ส่วนหนึ่ง กับยกให้ ส. อีกส่วนหนึ่งส่วนทรัพย์รายการที่ 2 ตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ทั้งหมด เช่นนี้เป็นเรื่องพยานหลักฐานที่นำสืบได้ความไม่เต็มบริบูรณ์ตามคำคัดค้านและก็ยังได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกอยู่ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าผู้ที่อ้างเทปบันทึกเสียงเป็นพยานจะต้องถอดข้อความในเทปออกมา หรือต้องนำเทปมาเปิดในขณะพิจารณาคดีของฝ่ายที่อ้างเองหรือฝ่ายตรงข้าม เพราะการนำสืบเสียงพูดเป็นการนำสืบวัตถุพยาน พินัยกรรมฉบับหลังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับทรัพย์มรดกรายเดียวกับที่ระบุไว้ในพินัยกรรมฉบับก่อนเท่านั้น มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อนเฉพาะเกี่ยวกับทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1697 สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมฉบับก่อนจึงระงับ ส่วนข้อกำหนดในการตั้งผู้จัดการมรดกยังคงมีผลอยู่แต่ตามพินัยกรรมระบุให้ผู้ร้อง ด.และช. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน ถ้าผู้ใดตาย ให้ผู้มีชีวิตอยู่ดำเนินการแทน ดังนั้นเมื่อด.ตายผู้ร้องต้องร่วมกับช. จัดการมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้ร้องขอให้ศาลตั้งเฉพาะผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงขัดต่อเจตนารมณ์ของเจ้ามรดก และเมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องคัดค้านโดยขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกด้วยเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาว่าสมควรตั้งผู้ใด ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมจึงสมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ส่วนผู้ร้องไม่ได้เป็นทายาทโดยธรรมและไม่มีส่วนได้รับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม ศาลล่างทั้งสองตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกจึงเหมาะสม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3281/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดก: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ใส่ชื่อเจ้าของร่วมโดยไม่ต้องเพิกถอนชื่อเดิม
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองและเพิกถอนชื่อจำเลย คดีฟังได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองและจำเลยร่วมกันโดยทางมรดก การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อโจทก์มีสิทธิครอบครองที่พิพาทก็เป็นเรื่องของโจทก์ที่จะดำเนินการเพิ่มเติมชื่อของตนในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ร่วมกับจำเลย จะให้ศาลเพิ่มชื่อโจทก์โดยเพิกถอนชื่อจำเลยออกไม่ได้จึงพิพากษายกฟ้องมานั้น ย่อมทำให้คำพิพากษาของศาลไร้ผล การวินิจฉัยที่เป็นคุณแก่โจทก์ แต่ไม่พิพากษาให้เป็นไปตามนั้น ถือว่าคำวินิจฉัยและคำพิพากษาขัดกันย่อมเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ฉะนั้น โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(2) ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์ทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นเจ้าของร่วมกับจำเลยได้โดยไม่ต้องเพิกถอนชื่อจำเลยออก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2390/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องร้องที่ดิน: ศาลพิจารณาเฉพาะส่วนที่โจทก์ควรได้ตามข้อเท็จจริง แม้คำฟ้องขอทั้งหมด
โจทก์อ้างในคำฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสี่คัดค้าน การรังวัดที่ดินของโจทก์โดยอ้างว่า มีทางสาธารณะในที่ดินโจทก์ กว้าง 3 วาซึ่งความจริงไม่มีทางสาธารณะในที่ดินโจทก์เลย ขอให้ พิพากษาว่าที่ดินที่จำเลยอ้างว่าเป็นทางสาธารณะเป็นที่ดินโจทก์ โดยโจทก์มิได้อ้างมาในคำฟ้องว่า ทางสาธารณะกว้างเพียงใด แต่ ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของข้อเท็จจริงที่ได้นำสืบ ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงหยิบยกขึ้นฎีกาได้ โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยคัดค้านว่าที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะ ทางพิจารณาข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ด้านทิศใต้ของที่ดินโจทก์เป็นทางสาธารณะกว้าง 2 วา ยาวตลอดแนว ที่ดินโจทก์เท่ากับว่าที่ดินพิพาทกว้าง 1 วา ยาวตลอดแนวที่ดินของ โจทก์เป็นของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็น ของตนทั้งหมดแต่พิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้ในส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นได้ มิใช่เป็นการพิพากษาให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎ ในคำฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5892/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องสมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง การโอนสิทธิเรียกร้องโดยการให้สัตยาบัน และอำนาจศาลแก้ไขค่าทนายความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยโดยได้แนบสำเนาสัญญาจ้างมาท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องและระบุข้อความในสัญญาแต่ละข้อแสดงความรับผิดของจำเลยกรณีทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างหายไปโดยการโจรกรรม อันเป็นมูลแห่งคำฟ้องไว้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แม้โจทก์จะมิได้มอบอำนาจเป็นหนังสือให้ ส. บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลย แต่เมื่อ ส. บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องในนามของโจทก์และโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยแล้ว การที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์มิได้ยกสัญญาเอกสารหมาย จ.4ข้อ 11,13 ขึ้นวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์ว่าผู้ว่าจ้างไม่ได้แจ้งเหตุให้จำเลยผู้รับจ้างทราบในทันทีและแจ้งจำนวนค่าเสียหายภายในเวลาที่กำหนด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้จำเลยใช้แทนโจทก์เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ ศาลฎีกาย่อมกำหนดใหม่ให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ร้องสอดในการต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุมและอำนาจฟ้องในคดีมรดก
ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งตามมาตรา 58วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิที่จะต่อสู้ในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและอำนาจฟ้องของโจทก์ได้ โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกส่วนของนาง น. ทั้งหมดอ้างว่าตนเป็นทายาทโดยธรรมของนาง น. นาย ก. สามีนาง น.ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านาย ก. ไม่ได้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. โจทก์มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนาง น. แต่บางส่วน ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกของนาง น. ตามส่วนที่แต่ละคนจะได้รับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2) ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ร้องสอดในการต่อสู้คดีมรดก และขอบเขตการพิพากษาตามคำขอ
ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งตามมาตรา 58วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิที่จะต่อสู้ในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและอำนาจฟ้องของโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกส่วนของนาง น. ทั้งหมดอ้างว่าตนเป็นทายาทโดยธรรมของนาง น. นาย ก. สามีนาง น.ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านาย ก. ไม่ได้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. โจทก์มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนาง น. แต่บางส่วน ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกของนาง น. ตามส่วนที่แต่ละคนจะได้รับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2) ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3931/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมรดก การเพิกถอนการโอนที่ดิน และประเด็นการยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นบัญชีพยานจำเลยในวันสืบพยานโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนบัญชีพยานดังกล่าวอ้างตัวจำเลยทั้งสามซึ่งแม้เป็นกรณีจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การกฎหมายก็ยังให้จำเลยเบิกความเป็นพยานตนเองได้และปรากฏตามคำร้องของจำเลยว่าเหตุที่ไม่ได้ยื่นบัญชีพยานตามกำหนดเพราะทนายจำเลยติดการประชุมสภาจังหวัดการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีพยานโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสามจึงชอบแล้ว จำเลยยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วโดยอ้างว่ายังบกพร่องอยู่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตโจทก์แถลงคัดค้านแต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบเพิกถอนคำสั่งแล้วสั่งใหม่ว่าสำเนาให้โจทก์โจทก์แถลงคัดค้านเมื่อศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตใหม่โจทก์ไม่ได้คัดค้านคำสั่งนี้ไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา226ดังนั้นแม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือว่าไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นหลานเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกแทนที่มารดาโจทก์เจ้ามรดกมีที่ดิน3แปลงได้ยกให้โจทก์ก่อนเจ้ามรดกตายโจทก์ครอบครองตลอดมาเกินกว่า10ปีแล้วจำเลยที่1ที่2โอนที่ดินทั้ง3แปลงแก่จำเลยที่3ขอให้พิพากษาว่าที่ดินทั้ง3แปลงเป็นของโจทก์และเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยเมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าที่ดินทั้ง3แปลงเป็นมรดกและเจ้ามรดกมิได้ยกให้โจทก์แต่โจทก์เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกแทนที่มารดาโจทก์ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยเฉพาะส่วนที่โจทก์มีสิทธิรับมรดกและให้โอนที่ดินที่เพิกถอนนั้นแก่โจทก์.
of 8