พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5033/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานบันทึกเสียงก่อน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ปัจจุบัน
มาตรา 78 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เป็นบทเฉพาะกาลที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานที่จัดทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับและไม่มีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมฯ หรือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 แต่เป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งเห็นได้ว่า บทบัญญัติมาตรา 78 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองเป็นเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แต่สิทธินักแสดงเป็นสิทธิข้างเคียงของลิขสิทธิ์ ซึ่งแม้จะอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์เช่นกันแต่ก็มิใช่สิทธิอย่างเดียวกับลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ยังได้บัญญัติแยกลิขสิทธิ์ไว้ในหมวด 1 และสิทธินักแสดงไว้ในหมวด 2 ทั้งเมื่อประสงค์ให้ใช้บังคับบทบัญญัติใดแก่ทั้งลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดงก็จะบัญญัติไว้ชัดเจนฉะนั้นการแสดงหรือการบันทึกเสียงการแสดงของนักแสดงที่ได้จัดทำขึ้นก่อนที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับ จึงไม่ได้รับความคุ้มครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของนักแสดงตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์: การคุ้มครองงานที่จัดทำขึ้นก่อนมีกฎหมายใหม่ และขอบเขตการฟ้องละเมิด
มาตรา 78 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เป็นบทเฉพาะกาลที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานที่ได้จัดทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับ และไม่มีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมฯ และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 แต่เป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จึงให้ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จึงเห็นได้ว่า มาตรา 78 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองเป็นเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แต่ลิขสิทธิ์ของนักแสดงเป็นสิทธิข้างเคียง (Related Rights หรือ Neighboring Rights) ของลิขสิทธิ์ แม้จะอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์เช่นกัน แต่ก็ไม่ใช่สิทธิอย่างเดียวกันกับลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ยังได้บัญญัติแยกลิขสิทธิ์ไว้ในหมวด 1 และสิทธิของนักแสดงไว้ในหมวด 2 ทั้งเมื่อ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ประสงค์ให้ใช้บังคับบทบัญญัติใดแก่ทั้งลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดงระหว่างประเทศ และมาตรา 62 - 66 ในหมวด 6 ว่าด้วยคดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดง นอกจากนี้ในหมวด 2 ว่าด้วยสิทธิของนักแสดง ก็มีบทบัญญัติเฉพาะเกี่ยวกับประเภทของสิทธินักแสดง เงื่อนไขแห่งการได้มาซึ่งสิทธิ อายุแห่งการคุ้มครอง การโอนสิทธิ การละเมิดสิทธิของนักแสดงและข้อยกเว้นการละเมิดสิทธิตามมาตรา 44 ถึงมาตรา 52 แม้กฎหมายจะบัญญัติให้นำบทบัญญัติข้อยกเว้นการละเมิดสิทธิ์มาใช้บังคับแก่สิทธิของนักแสดงโดยอนุโลมตามมาตรา 53 ก็ตาม ฉะนั้น การแสดงหรือบันทึกการแสดงของนักแสดงที่ได้จัดทำขึ้นก่อนการใช้บังคับของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จึงไม่ได้รับความคุ้มครอง การที่โจทก์รับจ้างขับร้องเพลงโดยบันทึกเสียงในห้องบันทึกระหว่างปี 2496 - 2510 ไม่ว่าจะมีสิทธิของนักแสดงหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่อยู่ภายในขอบเขตการคุ้มครองของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานละเมิดสิทธิของนักแสดงของโจทก์ ไม่ใช่ละเมิดลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง (มาสเตอร์เทป) และไม่ใช่กรณีพิพาทกันในเรื่องลิขสิทธิ์ในงานเพลงและสิ่งบันทึกเสียง (มาสเตอร์เทป) ที่เก็บไว้ที่จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ที่ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียวในงานเพลงและสิ่งบันทึกเสียง มาสเตอร์เทป) พิพาทจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งห้าในความผิดฐานละเมิดสิทธิของนักแสดงของโจทก์ ไม่ใช่ละเมิดลิขสิทธิ์สิ่งบันทึกเสียง (มาสเตอร์เทป) และไม่ใช่กรณีพิพาทกันในเรื่องลิขสิทธิ์ในงานเพลงและสิ่งบันทึกเสียง (มาสเตอร์เทป) ที่เก็บไว้ที่จำเลยที่ 3 อุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ที่ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียวในงานเพลงและสิ่งบันทึกเสียง มาสเตอร์เทป) พิพาทจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7328/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ที่ไม่สมบูรณ์: ราคา, หมายเหตุ, และเจตนาของคู่สัญญาเป็นสาระสำคัญ
แม้สัญญาพิพาทที่โจทก์และจำเลยที่ 3 ร่วมกันจัดทำขึ้นจะระบุว่าเป็น "สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง" ก็ตาม แต่การซื้อขายนั้นราคาของทรัพย์สินที่ตกลงซื้อขายกันถือได้ว่าเป็นสาระสำคัญของสัญญาอย่างหนึ่ง สัญญาพิพาทเป็นแบบพิมพ์สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงที่โจทก์พิมพ์สำเร็จไว้แล้วเพื่อนำมากรอกข้อความตามที่ตกลงกันเท่านั้น ซึ่งนอกจากไม่ได้กรอกข้อความในช่องวันเดือนปีที่ทำสัญญาแล้ว ในช่องราคาที่ตกลงซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงต่าง ๆ รวมทั้งเพลงพิพาทที่ ป. ผู้จดการห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์เบิกความว่า ตกลงกันเป็นเงิน 200,000บาทนั้น ก็มิได้ระบุจำนวนเงินไว้ ยิ่งกว่านั้นสัญญาพิพาทยังมีข้อความหมายเหตุไว้ท้ายสัญญาว่า "เพลงสุรพล สมบัติเจริญ ร้องไว้ขอให้เป็นสุรชัย สมบัติเจริญ ร้องแต่ถ้าหากว่าจะนำไปให้นักร้องอื่นร้อง ทางห้างจะมีการขอกันในกรณีพิเศษเป็นลายลักษณ์อักษร" โดยมีลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 ลงกำกับไว้ ซึ่งความหมายของข้อความตามหมายเหตุดังกล่าวย่อมเห็นได้ชัดว่า โจทก์ยังมิได้มีลิขสิทธิ์ในงานเพลงรวมทั้งเพลงพิพาทที่โจทก์อ้างว่าได้ตกลงซื้อขายลิขสิทธิ์กันแล้วตามบัญชีรายชื่อเพลงแนบท้ายสัญญาพิพาทในฐานะเป็นผู้รับโอนลิขสิทธิ์แต่อย่างใดเพราะหากมีการซื้อขายลิขสิทธิ์กันแล้วตามสัญญาพิพาท โจทก์ก็ย่อมได้สิทธิในงานเพลงนั้นทั้งหมด ไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องไปตกลงขอใช้สิทธิในลิขสิทธิ์จากจำเลยที่ 3 เป็นกรณีพิเศษกันอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะภาคีอนุสัญญาลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: ข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โจทก์จะต้องนำสืบข้อเท็จจริงให้รับฟังได้ด้วยว่า เมืองฮ่องกงเป็นภาคีในอนุสัญญาแห่งกรุงเบอร์นพ.ศ. 2429 ด้วย การที่เมืองใดหรือประเทศใดเป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าวหรือไม่ เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น ที่จำเลยฎีกาว่าเมืองฮ่องกงไม่เป็นภาคีในอนุสัญญาแห่งกรุงเบอร์น พ.ศ. 2429เพราะประเทศอังกฤษมิได้ประกาศให้เข้าเป็นภาคีด้วยนั้น จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5033/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์งานต่างประเทศ: จำเป็นต้องระบุรายละเอียดตามอนุสัญญาคุ้มครองลิขสิทธิ์
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยได้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์แก่งานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นงานอันมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 และโจทก์ร่วมได้แต่งตั้งให้บริษัทซีเนคัลเลอร์แลป จำกัดเป็นผู้มีสิทธิและใช้สิทธิในงานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุนี้ในประเทศไทย โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเลยว่า วีดีโอเทปภาพยนตร์ของโจทก์เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายของเมืองฮ่องกงหรือประเทศสหราชอาณาจักร และเมืองฮ่องกงหรือประเทศสหราชอาณาจักรเป็นภาคีแห่งอายุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย และกฎหมายแห่งเมืองฮ่องกงหรือประเทศสหราชอาณาจักรได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนต์ตามฟ้องมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญาในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวด้วยงานอัน มีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศ ฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3972/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือแบบเรียน การพิสูจน์เจตนาและขอบเขตความรับผิดของจำเลยต่างๆ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเก้า พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2519 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2521 เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เช่นนี้ กฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีคือพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 เพราะมูลกรณีแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในขณะที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 ยังไม่ใช้บังคับ
กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่มีส่วนในการจัดทำหนังสือแบบเรียนที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หนังสือแบบเรียนตามฟ้องที่จำเลยจัดพิมพ์ขึ้นก็ระบุเป็นของ กระทรวงศึกษาธิการที่หน้าปก ทุกเล่ม นอกจากนี้กรมการปกครองเคยขออนุญาตโจทก์พิมพ์หนังสือแบบเรียนหลายครั้ง แสดงว่ากรมการปกครองและจำเลยก็ยอมรับแล้วว่าลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบเรียนเป็นของโจทก์ กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงหามีส่วนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วยไม่
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทที่รับพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ที่ 7 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เคยอนุญาตให้กรมการปกครองจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนชั้นประถมศึกษาในระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึง 2516 โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ และหนังสือแบบเรียนที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7พิมพ์ขึ้นนั้น ด้านหน้าก็มีข้อความระบุว่าของ กระทรวงศึกษาธิการในหน้าแรกมีถ้อยคำว่าสำหรับแจกเด็กนักเรียนห้ามขาย ด้านหลังมีคำว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ถนนพหลโยธินฯลฯ และระบุชื่อนาย พ. ผู้พิมพ์โฆษณา กับมีคำแนะนำในเรื่องให้ยืมหนังสือหรือแบบเรียน ชี้ให้เห็นว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและนาย พ. เป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องทุกเล่ม แม้ความจริงจะพิมพ์โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ตามพฤติการณ์เหล่านี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ย่อมเข้าใจว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นนาย พ. และกรมการปกครองได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 จึงมิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 8 ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการฝ่ายพิมพ์ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น และจำเลยที่ 9 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกจำหน่ายของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น ก็เข้าใจว่ากรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับอนุญาตให้จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนของโจทก์ในปี พ.ศ. 2517, 2520 และ 2521 ดังเช่นที่เคยได้รับอนุญาตมาก่อน การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 1 พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของกรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ จึงเป็นการกระทำที่มิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เช่นกัน
กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่มีส่วนในการจัดทำหนังสือแบบเรียนที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หนังสือแบบเรียนตามฟ้องที่จำเลยจัดพิมพ์ขึ้นก็ระบุเป็นของ กระทรวงศึกษาธิการที่หน้าปก ทุกเล่ม นอกจากนี้กรมการปกครองเคยขออนุญาตโจทก์พิมพ์หนังสือแบบเรียนหลายครั้ง แสดงว่ากรมการปกครองและจำเลยก็ยอมรับแล้วว่าลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบเรียนเป็นของโจทก์ กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงหามีส่วนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วยไม่
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทที่รับพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ที่ 7 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เคยอนุญาตให้กรมการปกครองจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนชั้นประถมศึกษาในระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึง 2516 โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ และหนังสือแบบเรียนที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7พิมพ์ขึ้นนั้น ด้านหน้าก็มีข้อความระบุว่าของ กระทรวงศึกษาธิการในหน้าแรกมีถ้อยคำว่าสำหรับแจกเด็กนักเรียนห้ามขาย ด้านหลังมีคำว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ถนนพหลโยธินฯลฯ และระบุชื่อนาย พ. ผู้พิมพ์โฆษณา กับมีคำแนะนำในเรื่องให้ยืมหนังสือหรือแบบเรียน ชี้ให้เห็นว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและนาย พ. เป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องทุกเล่ม แม้ความจริงจะพิมพ์โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ตามพฤติการณ์เหล่านี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ย่อมเข้าใจว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นนาย พ. และกรมการปกครองได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 จึงมิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 8 ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการฝ่ายพิมพ์ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น และจำเลยที่ 9 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกจำหน่ายของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น ก็เข้าใจว่ากรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับอนุญาตให้จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนของโจทก์ในปี พ.ศ. 2517, 2520 และ 2521 ดังเช่นที่เคยได้รับอนุญาตมาก่อน การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 1 พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของกรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ จึงเป็นการกระทำที่มิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาความผิดลิขสิทธิ์: จำเลยเข้าใจผิดว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นมีสิทธิพิมพ์หนังสือได้ ฎีกายืนยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างและผู้จัดการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จ้างจำเลยอื่นให้พิมพ์ปลอมหนังสือแบบเรียนและแบบพิมพ์ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมีลิขสิทธิ์ เอาชื่อในการประกอบการค้าและรูปเสมาธรรมจักรซึ่งเป็นเครื่องหมายราชการของกระทรวงศึกษาธิการมาใช้ แล้วส่งไปจำหน่ายแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมพ.ศ. 2474 มาตรา 25,27 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มาตรา 24,43 พระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482มาตรา 6,7,8 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 19,57ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264,265,268,272(1)กรณีเป็นเรื่องการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทเมื่อบทหนักตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ พระราชบัญญัติการพิมพ์ฯและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,268 ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วความผิดบทอื่น ๆ แม้จะมีอัตราโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาทก็ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกจำหน่าย จำเลยที่ 5เป็นผู้จัดการฝ่ายการพิมพ์โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นแม้จะทราบว่ากรมการปกครองต้องขออนุญาตจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนต่อกระทรวงศึกษาธิการก่อนจึงจะจัดพิมพ์ได้ ก็เฉพาะในช่วงที่งบประมาณจัดพิมพ์เป็นของกรมการปกครองเมื่อกระทรวงมหาดไทยโอนงบประมาณในการจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนเพื่อแจกแก่นักเรียนที่ยากจนยืมเรียนให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจำเลยอาจเข้าใจว่าหน้าที่การขออนุญาตจัดพิมพ์เป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ได้การที่จำเลยได้สั่งจ้างจำเลยที่ 1 จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนเตรียมไว้ก่อนที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจะสั่งจ้างพิมพ์นั้นเป็นดุลยพินิจของจำเลยที่จะกระทำได้ ดังนี้ จำเลยที่ 4 ที่ 5กระทำไปโดยไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดย่อมขาดเจตนาในการกระทำความผิดตามฟ้อง บริษัทจำเลยที่ 1 มีจำเลยอื่นอีก 5 คน เป็นกรรมการ และลูกจ้างย่อมเข้าใจว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนราชการ สังกัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อส่วนราชการมาจ้างพิมพ์ในนามองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งพิมพ์ในรูปแบบเดียวกับ สมัยที่กรมการปกครองจัดพิมพ์ มีชื่อผู้จัดการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณาเหมือนกันจำเลยย่อมจะต้องเข้าใจว่าส่วนราชการผู้ว่าจ้าง มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะจ้างพิมพ์ได้ ย่อมไม่จำต้องไปตรวจสอบว่าผู้ว่าจ้างพิมพ์มีลิขสิทธิ์ในการสั่งพิมพ์ตามกฎหมายหรือไม่การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามกฎหมายที่โจทก์ฟ้องเพราะขาดเจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2061/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามสัญญาจ้าง ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือการแข่งขันทางการค้า
โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นของกรมการปกครองว่าจ้างให้จำเลยพิมพ์หนังสือแบบเรียนชั้นประถมสำหรับแจกเด็กนักเรียนยากจน จำเลยไม่ได้แอบอ้างว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ของคุรุสภาโจทก์ แต่ระบุว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น และระบุว่าห้ามขาย จึงไม่มีเหตุผล ที่ประชาชนจะเข้าใจผิดว่าเป็นหนังสือที่โจทก์พิมพ์ขึ้นเพื่อจำหน่าย ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาพิมพ์ปลอมขึ้นเพื่อจำหน่ายหากำไร ในลักษณะแข่งขันกับโจทก์
ลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบเรียนที่จำเลยพิมพ์เป็นของกระทรวงศึกษาธิการ แม้โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิในแบบรูปเล่ม การเรียบเรียงตัวอักษรและภาพก็ตาม แต่ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิ ประเภทนี้ เมื่อโจทก์ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้อง จำเลยว่าละเมิดต่อโจทก์ได้
ลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบเรียนที่จำเลยพิมพ์เป็นของกระทรวงศึกษาธิการ แม้โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิในแบบรูปเล่ม การเรียบเรียงตัวอักษรและภาพก็ตาม แต่ยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิ ประเภทนี้ เมื่อโจทก์ไม่ใช่เจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้อง จำเลยว่าละเมิดต่อโจทก์ได้