พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4692/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดก: เหตุผลความจำเป็นในการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินกองมรดก
ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลยังมีภาระหน้าที่ที่จะต้องรวบรวมทรัพย์มรดกซึ่งมีจำนวนมากมายหลายรายการ ต่อสู้คดีที่ถูกเจ้าหนี้กองมรดกฟ้องให้ชำระหนี้แทนกองมรดก รวมทั้งบริหารจัดการบริษัทกล้วยไม้สืบแทนเจ้ามรดก เมื่อภาระหน้าที่ดังกล่าวยังไม่ลุล่วง ผู้ร้องย่อมจะไม่สามารถลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ฟังคำสั่งศาลตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1728 (2) ประกอบมาตรา 1716 โดยให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนตามมาตรา 1729 นับแต่เวลาที่ระบุไว้ในมาตรา 1728 เพราะมีอุปสรรคขัดขวาง มิใช่ผู้ร้องละเลย ส่วนข้อที่ผู้คัดค้านอ้างว่าเป็นเพราะผู้ร้องมีเจตนาปกปิดไม่ให้ผู้คัดค้านล่วงรู้ว่าเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกมากเพื่อปิดบังทรัพย์มรดกนั้น ผู้คัดค้านมิได้นำสืบพยานใดสนับสนุนข้อกล่าวอ้างของตนตามภาระการพิสูจน์ใน ป.วิ.พ. มาตรา 84 (1) พยานหลักฐานของผู้คัดค้านจึงไม่พอรับฟัง แม้ผู้ร้องไปขอรับเงินฝากอันเป็นมรดกของเจ้ามรดกจากธนาคาร ตามหนังสือทายาทขอรับมรดก แต่ความก็ปรากฏจากเอกสารฉบับนั้นว่าผู้ร้องขอรับเงินในฐานะผู้จัดการมรดก มิได้กระทำเป็นการส่วนตัว ส่วนการรับโอนที่ดินมรดกก็ปรากฏจากคำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกของผู้คัดค้านเองว่าผู้ร้องดำเนินการในฐานะผู้จัดการมรดกเช่นกัน จึงไม่ใช่การกระทำที่ส่อว่าเป็นการทุจริตหรือปิดบังทรัพย์มรดก ที่ผู้ร้องยังมิได้แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทก็เนื่องจากกองมรดกมีหนี้สิน ดังนั้น ตราบใดที่เจ้าหนี้กองมรดกยังไม่ได้รับชำระหนี้ ป.พ.พ. มาตรา 1736 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการ โดยในวรรคสองกำหนดว่าในระหว่างเวลาเช่นว่านั้นผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใด ๆ ในทางจัดการตามที่จำเป็นได้ เช่น แก้ฟ้องในศาลและอื่น ๆ และเมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้รับชำระหนี้แล้วผู้จัดการมรดกต้องทำการแบ่งปันมรดก แม้กระนั้นมาตรา 1744 ยังบัญญัติรับรองต่อไปว่า ผู้จัดการมรดกไม่จำต้องส่งมอบทรัพย์มรดกหรือส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทก่อนปีหนึ่งนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เว้นแต่เจ้าหนี้กองมรดกที่ปรากฏตัวได้รับชำระหนี้แล้วทุกคน ดังนั้น การกระทำของผู้ร้องจึงมิใช่ละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1713 เพียงแต่กำหนดเหตุที่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งพนักงานอัยการอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีต่างๆ เท่านั้น และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกมิได้กำหนดให้ผู้ร้องต้องเสนอบัญชีทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกต่อศาลด้วยในคราวเดียวกัน หากแต่แยกกำหนดไว้ในมาตรา 1725 ว่า ผู้จัดการมรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้นั้นภายในเวลาอันสมควร การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก เช่นนั้นในขณะที่ยังไม่มีภาระหน้าที่ผู้จัดการมรดก จึงมิใช่การปกปิดข้อเท็จจริงในเรื่องทายาทของเจ้ามรดกและไม่เป็นเหตุที่ศาลอาจถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1713 เพียงแต่กำหนดเหตุที่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งพนักงานอัยการอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกในกรณีต่างๆ เท่านั้น และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกมิได้กำหนดให้ผู้ร้องต้องเสนอบัญชีทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกต่อศาลด้วยในคราวเดียวกัน หากแต่แยกกำหนดไว้ในมาตรา 1725 ว่า ผู้จัดการมรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้นั้นภายในเวลาอันสมควร การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก เช่นนั้นในขณะที่ยังไม่มีภาระหน้าที่ผู้จัดการมรดก จึงมิใช่การปกปิดข้อเท็จจริงในเรื่องทายาทของเจ้ามรดกและไม่เป็นเหตุที่ศาลอาจถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1791/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเกี่ยวกับสัญญาเช่าสร้างอาคารหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต สิทธิและหน้าที่ตกเป็นของกองมรดก
สัญญาเช่าที่ดินเพื่อสร้างอาคารที่โจทก์ทำไว้กับเจ้ามรดกนั้น เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาย่อมตกเป็นกองมรดกของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 โจทก์ต้องฟ้องคดีเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าสร้างอาคารดังกล่าวภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม ตามมาตรา 1754
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเคยฟ้อง บ. ผู้เช่าสร้างอาคารอีกรายหนึ่ง ไม่ให้เข้าไปทำการก่อสร้างในที่พิพาท และเคยเรียกโจทก์กับ บ. มาไกล่เกลี่ยเพื่อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้สร้างอาคารในที่พิพาท ถือไม่ได้ว่า จำเลยหรือกองมรดกยอมรับรู้สิทธิของโจทก์ ตามสัญญาเช่าสร้างอาคาร อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเคยฟ้อง บ. ผู้เช่าสร้างอาคารอีกรายหนึ่ง ไม่ให้เข้าไปทำการก่อสร้างในที่พิพาท และเคยเรียกโจทก์กับ บ. มาไกล่เกลี่ยเพื่อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้สร้างอาคารในที่พิพาท ถือไม่ได้ว่า จำเลยหรือกองมรดกยอมรับรู้สิทธิของโจทก์ ตามสัญญาเช่าสร้างอาคาร อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1791/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีมรดกเกี่ยวกับสัญญาเช่าสร้างอาคาร: เริ่มนับจากวันมรณะ และการกระทำที่ไม่ทำให้สะดุดหยุดลง
สัญญาเช่าที่ดินเพื่อสร้างอาคารที่โจทก์ทำไว้กับเจ้ามรดกนั้น เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรม สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาย่อมตกเป็นกองมรดกของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1600 โจทก์ต้องฟ้องคดีเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าสร้างอาคารดังกล่าวภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม ตามมาตรา 1754
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเคยฟ้อง บ. ผู้เช่าสร้างอาคารอีกรายหนึ่ง ไม่ให้เข้าไปทำการก่อสร้างในที่พิพาท และเคยเรียกโจทก์กับ บ. มาไกล่เกลี่ยเพื่อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ปลูกสร้างอาคารในที่พิพาทถือไม่ได้ว่าจำเลยหรือกองมรดกยอมรับรู้สิทธิของโจทก์ตามสัญญาเช่าสร้างอาคารอันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเคยฟ้อง บ. ผู้เช่าสร้างอาคารอีกรายหนึ่ง ไม่ให้เข้าไปทำการก่อสร้างในที่พิพาท และเคยเรียกโจทก์กับ บ. มาไกล่เกลี่ยเพื่อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ปลูกสร้างอาคารในที่พิพาทถือไม่ได้ว่าจำเลยหรือกองมรดกยอมรับรู้สิทธิของโจทก์ตามสัญญาเช่าสร้างอาคารอันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแบ่งมรดกก่อน 1 ปี และการแยกสินเดิมออกจากสินสมรสเมื่อราคาที่ดินเพิ่มขึ้น
มาตรา 1744 มุ่งหมายถึงการส่งมอบทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกโดยผู้จัดการมรดกไม่มีข้อโต้แย้งสิทธินั้นอย่างใด หาใช่บทบัญญัติห้ามทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกเพื่อตั้งสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งโต้แย้งสิทธิของทายาทนั้นๆ ไม่
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม แม้ภายหลังการสมรสที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่ จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม แม้ภายหลังการสมรสที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่ จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแบ่งมรดกก่อนครบ 1 ปี และการแยกสินเดิมออกจากสินสมรสเมื่อราคาเพิ่มขึ้น
มาตรา 1744 มุ่งหมายถึงการส่งมอบทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกโดยผู้จัดการมรดกไม่มีข้อโต้แย้งสิทธินั้นอย่างใด หาใช่บทบัญญัติห้ามทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกเพื่อตั้งสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งโต้แย้งสิทธิของทายาทนั้นๆ ไม่.
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม. แม้ภายหลังการสมรสที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม. ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง.ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่. จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้.
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม. แม้ภายหลังการสมรสที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม. ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง.ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่. จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแบ่งมรดกก่อน 1 ปี และการแยกสินเดิมออกจากสินสมรสเมื่อราคาที่ดินเพิ่มขึ้น
มาตรา 1744 มุ่งหมายถึงการส่งมอบทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดก โดยผู้จัดการมรดกไม่มีข้อโต้แย้งสิทธินั้นอย่างใด หาใช่บทบัญญัติห้ามทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกเพื่อตั้งสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งโต้แย้งสิทธิของทายาทนั้น ๆ ไม่
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม แม้ภายหลังการสมรส ที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่ จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม แม้ภายหลังการสมรส ที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่ จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทและการฟ้องคดีระหว่างผู้จัดการมรดกกับทายาทอื่น
ทายาทของผู้ตายฟ้องผู้จัดการมรดกของผู้ตายขอให้ศาลแสดงว่าตนเป็นทายาทของผู้ตาย และมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียวนั้นเมื่อปรากฏในคำฟ้องว่า จำเลยไปร้องขอรับมรดกที่ดินมรดกโดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่า ผู้ตายไม่มีทายาทอื่นดังนี้เป็นเรื่องที่ทายาทขอให้แสดงสิทธิเท่านั้น จึงไม่เป็นการขัดต่อการจัดการมรดกแต่อย่างใดฉะนั้นแม้ขณะนั้นจำเลยจะเป็นผู้จัดการมรดกโดยศาลตั้งทายาทผู้นั้นก็ยังฟ้องได้ และศาลก็จะพิพากษาเพียงแสดงว่าโจทก์เป็นทายาทของผู้ตายเท่านั้นส่วนจะเป็นทายาทแต่คนเดียวหรือไม่นั้น ไม่ชี้ขาดเพราะเป็นการพิพาทกันระห่างโจทก์ กับจำเลยซึ่งไปอ้างต่อเจ้าพนักงานว่าไม่มีทายาทอื่น นอกจากจำเลยเท่านั้น