พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5130/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: การพิสูจน์ทายาทและการเปิดเผยทรัพย์สินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ที่ผู้ร้องยื่นคำแก้ฎีกาว่า หลังจากการพิจารณาคดีนี้ผู้ร้องพบว่า ส. น้องสาวร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายซึ่งถึงแก่ความตายไปแล้วมีบุตรซึ่งยังมีชีวิตอยู่อีก 3 คนบุคคลทั้งสามคนดังกล่าวเป็นทายาทมรดกแทนที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในลำดับก่อนผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายนั้น เมื่อมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย แม้ผู้ร้องจะมิได้ระบุในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายว่าผู้คัดค้านเป็นทายาทของผู้ตาย ก็ยังถือ ไม่ได้ว่าเป็นการปิดบังทายาทหรือปิดบังทรัพย์มรดก การที่ผู้ร้องมิได้ระบุว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องดังกล่าวนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่บัญญัติให้คำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องระบุถึงทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมดและตามคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายของผู้ร้องก็ระบุเพียงว่าผู้ร้องไปขอเบิกเงิน จากธนาคารออมสิน แต่ธนาคารแจ้งว่าจ่ายเงินให้ผู้ร้องไม่ได้และแนะนำให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน อันเป็นการที่ผู้ร้องอ้างเหตุที่ไม่สามารถถอนเงินที่ผู้ตายฝากไว้กับธนาคารออมสินเป็นข้ออ้างที่ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ผู้ร้องหาได้ระบุว่านอกจากเงินฝากในธนาคารออมสินแล้ว ผู้ตายไม่มีทรัพย์มรดกอื่นอีกแต่อย่างใดไม่ และหากศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว ผู้ร้องก็ย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายใน 1 เดือน และแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทให้เสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันเริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดก ดังนั้น การที่ผู้ร้องมิได้อ้างถึงที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ว่าเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายในคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก ของผู้ตาย จึงมิใช่เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างนั้น อันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องถูกกำจัด มิให้ได้มรดกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605 กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะสั่งถอนผู้ร้อง จากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดก การแบ่งมรดกโดยเปิดเผย และการไม่สมควรเพิกถอนผู้จัดการมรดก
จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้รับการจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกมาเป็นชื่อของจำเลย และจำเลยเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากของเจ้ามรดกนำมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยแล้วนำเงินมรดกดังกล่าวบริจาคให้วัด กับสร้างโบสถ์และ ซื้อที่ดินให้วัดอันเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดกเพื่อ จัดแบ่งให้แก่ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นทายาท ส่วนการบริจาคเงินมรดกก็เป็นการจัดการตามความประสงค์ของผู้ตายโดยฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกยินยอมไม่คัดค้าน และจำเลยได้จัดการ มรดกในลักษณะที่เปิดเผย ทั้งจำเลยได้แบ่งปันที่ดินทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์บางส่วนแล้วและจะแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกอื่นให้อีก โดยมอบโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ไว้ แต่โจทก์ไม่ยอม ไปจดทะเบียนรับโอนเพราะยังไม่พอใจในอัตราส่วนแบ่งมรดกเช่นนี้กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งแต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้วและจำเลยได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดและจัดทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการทรัพย์มรดกแล้ว เมื่อผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกมีเพียงโจทก์และจำเลยเพียงสองคนในการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกจำเลยก็ได้ยื่นบัญชีทรัพย์มรดกแนบท้ายคำร้องขอด้วย ซึ่งฝ่ายโจทก์ทราบและยินยอมในการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกและฝ่ายโจทก์รู้เห็นในการทำบัญชีทรัพย์มรดกด้วยแล้วนอกจากนี้จำเลยได้จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์แล้วบางส่วนและยังจะแบ่งทรัพย์มรดกอื่นให้อีก เมื่อจำเลยมิได้ละเลยในการแบ่งปันทรัพย์มรดก และไม่ปรากฏว่าจำเลยทุจริตหรือความไม่สามารถอันเป็นประจักษ์ จึงยังไม่สมควรที่จะ ถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดก การแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยความยินยอม และการไม่ถือว่าเป็นการยักย้ายหรือทุจริต
จำเลยได้รับการจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 37181,37183 และ 3493 ไว้ และจำเลยเบิกเงินจากบัญชีเงินฝากของผู้ตายจำนวน2,790,425.74 บาท นำมาเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย แล้วนำเงินมรดกดังกล่าวบริจาคให้วัด กับสร้างโบสถ์และซื้อที่ดินให้วัด การที่จำเลยจดทะเบียนรับโอนที่ดินมรดกเมื่อเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดกเพื่อจัดแบ่งให้แก่ฝ่ายโจทก์ซึ่งเป็นทายาทต่อไป ส่วนการบริจาคเงินมรดกก็เป็นการจัดการตามความประสงค์ของผู้ตายโดยฝ่ายโจทก์ยินยอมไม่คัดค้าน ทั้งมารดาโจทก์และจำเลยต่างได้ร่วมกันจัดการศพผู้ตายตลอดจนปรึกษาหารือกันเรื่องทรัพย์มรดกมาโดยตลอด และจำเลยก็จัดการมรดกในลักษณะที่เปิดเผย ทั้งจำเลยได้แบ่งปันที่ดินทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์บางส่วนแล้วและจะแบ่งที่ดินทรัพย์มรดกอื่นให้อีก โดยมอบโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ไว้ แต่โจทก์ไม่ยอมไปจดทะเบียนรับโอนเพราะยังไม่พอใจในอัตราส่วนแบ่งมรดกเช่นนี้ กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉล
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และจำเลยได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และจัดทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการทรัพย์มรดกแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกมีเพียงโจทก์และจำเลยเพียงสองคน ซึ่งในการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกจำเลยก็ได้ยื่นบัญชีทรัพย์มรดกแนบท้ายคำร้องขอด้วย ซึ่งฝ่ายโจทก์ทราบและยินยอมในการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก และน่าเชื่อว่าฝ่ายโจทก์รู้เห็นในการทำบัญชีทรัพย์มรดกด้วยแล้ว นอกจากนี้จำเลยได้จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์แล้วบางส่วนและยังจะแบ่งทรัพย์มรดกอื่นให้อีก จำเลยหาได้ละเลยในการแบ่งปันทรัพย์มรดกไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่า จำเลยละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการมรดก หรือทุจริตหรือความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ จึงยังไม่สมควรที่จะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก และจำเลยได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และจัดทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการทรัพย์มรดกแล้ว ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกมีเพียงโจทก์และจำเลยเพียงสองคน ซึ่งในการยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกจำเลยก็ได้ยื่นบัญชีทรัพย์มรดกแนบท้ายคำร้องขอด้วย ซึ่งฝ่ายโจทก์ทราบและยินยอมในการที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก และน่าเชื่อว่าฝ่ายโจทก์รู้เห็นในการทำบัญชีทรัพย์มรดกด้วยแล้ว นอกจากนี้จำเลยได้จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์แล้วบางส่วนและยังจะแบ่งทรัพย์มรดกอื่นให้อีก จำเลยหาได้ละเลยในการแบ่งปันทรัพย์มรดกไม่ พฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่า จำเลยละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการจัดการมรดก หรือทุจริตหรือความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ จึงยังไม่สมควรที่จะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5567/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นทายาทและอายุความฟ้องแย่งทรัพย์มรดก
เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นบุตรที่ ฉ.ได้ให้การรับรองว่าเป็นบุตรแล้ว แม้จำเลยจะมีเอกสารสำเนาทะเบียนบ้านกับทะเบียนนักเรียนที่ระบุว่าโจทก์เป็นบุตร ฉ.และนางแฉล้มมาแสดงก็ตาม แต่เมื่อพยานโจทก์ที่นำสืบมาฟังได้ดังกล่าวข้างต้น กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้นำสืบถึงความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารสำเนาทะเบียนบ้านกับทะเบียนนักเรียนอันเป็นการนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 127 แล้ว
แม้จำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า จำเลยเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ฉ.โดยมิได้แจ้งว่าโจทก์เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกด้วยก็ตาม แต่การที่จำเลยไปขอรับมรดกของ ฉ.โดยระบุบัญชีเครือญาติของ ฉ.เจ้ามรดกว่ามีเฉพาะจำเลยและ ส.บุตรนายเฉลียวเพียง 2 คน เท่านั้นที่เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ฉ.เจ้ามรดกและ ส.ไม่ขอรับมรดก โดยไม่ได้ระบุถึงโจทก์ด้วยตามพฤติการณ์เพียงเท่านี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องปิดบังทรัพย์มรดก อันจะเป็นเหตุให้จำเลยถูกกำจัดมิให้รับทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1605
ฉ.เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2532โจทก์ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกภายหลังจากที่ ฉ.ถึงแก่กรรมแล้วโดยได้รับอนุญาตจากจำเลย กรณีจึงมิใช่โจทก์ในฐานะทายาทคนหนึ่งมีเจตนายึดถือเพื่อตนอันจะมีสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดกฉ.ร่วมกับจำเลยแต่ประการใด แต่เป็นการครอบครองแทนจำเลย และเมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอรับโอนที่ดินมรดก โจทก์ก็ไปด้วยและโจทก์ไม่ได้ขอแบ่งที่ดินมรดก เมื่อรับฟังประกอบกับเมื่อขณะที่จำเลยขอรับโอนที่ดินมรดกจำเลยก็ไม่ได้ระบุว่าโจทก์เป็นทายาท ดังนี้ถือได้ว่า โจทก์มิได้ครอบครองที่ดินมรดกอย่างเจ้าของ และการครอบครองที่ดินมรดกของจำเลยมิใช่การครอบครองที่ดินมรดกแทนโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ ฉ.เจ้ามรดกถึงแก่กรรม คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754
แม้จำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า จำเลยเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ฉ.โดยมิได้แจ้งว่าโจทก์เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกด้วยก็ตาม แต่การที่จำเลยไปขอรับมรดกของ ฉ.โดยระบุบัญชีเครือญาติของ ฉ.เจ้ามรดกว่ามีเฉพาะจำเลยและ ส.บุตรนายเฉลียวเพียง 2 คน เท่านั้นที่เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ฉ.เจ้ามรดกและ ส.ไม่ขอรับมรดก โดยไม่ได้ระบุถึงโจทก์ด้วยตามพฤติการณ์เพียงเท่านี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องปิดบังทรัพย์มรดก อันจะเป็นเหตุให้จำเลยถูกกำจัดมิให้รับทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1605
ฉ.เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2532โจทก์ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกภายหลังจากที่ ฉ.ถึงแก่กรรมแล้วโดยได้รับอนุญาตจากจำเลย กรณีจึงมิใช่โจทก์ในฐานะทายาทคนหนึ่งมีเจตนายึดถือเพื่อตนอันจะมีสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดกฉ.ร่วมกับจำเลยแต่ประการใด แต่เป็นการครอบครองแทนจำเลย และเมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอรับโอนที่ดินมรดก โจทก์ก็ไปด้วยและโจทก์ไม่ได้ขอแบ่งที่ดินมรดก เมื่อรับฟังประกอบกับเมื่อขณะที่จำเลยขอรับโอนที่ดินมรดกจำเลยก็ไม่ได้ระบุว่าโจทก์เป็นทายาท ดังนี้ถือได้ว่า โจทก์มิได้ครอบครองที่ดินมรดกอย่างเจ้าของ และการครอบครองที่ดินมรดกของจำเลยมิใช่การครอบครองที่ดินมรดกแทนโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ ฉ.เจ้ามรดกถึงแก่กรรม คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5567/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแบ่งมรดก การครอบครองแทน การรับรองบุตร และการสันนิษฐานทางกฎหมาย
เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลย และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นบุตรที่ ฉ.ได้ให้การรับรองว่าเป็นบุตรแล้ว แม้จำเลยจะมีเอกสารสำเนาทะเบียนบ้านนักเรียนที่ระบุว่า โจทก์เป็นบุตร ฉ.และนางแฉล้มมาแสดงก็ตาม แต่เมื่อพยานโจทก์ที่นำสืบมาฟังได้ดังกล่าวข้างต้น กรณีถือได้ว่าโจทก์ได้นำสืบถึงความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารสำเนาทะเบียนบ้านกับทะเบียนนักเรียนอันเป็นการนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 แล้ว แม้จำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า จำเลยเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ฉ. โดยมิได้แจ้งว่าโจทก์เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกด้วยก็ตาม แต่การที่จำเลยไปขอรับมรดกของฉ.โดยระบุบัญชีเครือญาติของฉ. เจ้ามรดกว่ามีเฉพาะจำเลยและ ส. บุตรนายเฉลียวเพียง 2 คน เท่านั้นที่เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของ ฉ.เจ้ามรดกและส. ไม่ขอรับมรดกโดยไม่ได้ระบุถึงโจทก์ด้วยตามพฤติการณ์เพียงเท่านี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเรื่องปิดบังทรัพย์มรดก อันจะเป็นเหตุให้จำเลยถูกกำจัดมิให้รับทรัพย์มรดกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605 ฉ. เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2532โจทก์ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกภายหลังจากที่ฉ. ถึงแก่กรรมแล้วโดยได้รับอนุญาตจากจำเลย กรณีจึงมิใช่โจทก์ในฐานะทายาทคนหนึ่งมีเจตนายึดถือเพื่อตนอันจะมีสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดก ฉ. ร่วมกับจำเลยแต่ประการใด แต่เป็นการครอบครองแทนจำเลยและเมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอรับโอนที่ดินมรดก โจทก์ก็ไปด้วยและโจทก์ไม่ได้ขอแบ่งที่ดินมรดก เมื่อรับฟังประกอบกับเมื่อขณะที่จำเลยขอรับโอนที่ดินมรดกจำเลยก็ไม่ได้ระบุว่าโจทก์เป็นทายาท ดังนี้ถือได้ว่า โจทก์มิได้ครอบครองที่ดินมรดกอย่างเจ้าของ และการครอบครองที่ดินมรดกของจำเลยมิใช่การครอบครองที่ดินมรดกแทนโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ ฉ. เจ้ามรดกถึงแก่กรรมคดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาพินัยกรรมโมฆะ การฉ้อฉล และสิทธิของผู้จัดการมรดก
ผู้ตายมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์อยู่เพราะสามารถลงลายมือชื่อตามที่ น. บอกให้ลงลายมือชื่อได้ นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบลายมือชื่อผู้ตายในพินัยกรรมกับเอกสารอื่นที่ผู้ตายเคยลงลายมือชื่อไว้แล้วมีลักษณะลีลาการเขียนอย่างเดียวกันเพียงแต่อักษรตัวใหญ่กว่าเท่านั้น จึงเป็นข้อสนับสนุนว่าผู้ตายได้ลงลายมือชื่ออย่างมีสติ พินัยกรรมมีเพียงหน้าเดียวเป็นตัวพิมพ์มีข้อความด้านบนระบุว่าพินัยกรรมทั้งในช่องที่ผู้ตายลงลายมือชื่อนั้นก็พิมพ์ข้อความว่า ผู้ทำพินัยกรรม ไว้ ผู้ตายต้องใช้เวลาในการลงลายมือชื่อถึงครึ่งชั่วโมง โดย น. บอกให้เขียนทีละตัว เชื่อว่าผู้ตายน่าจะเห็นข้อความคำว่าพินัยกรรมและทราบว่าเป็นการลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ดังนั้น การลงลายมือชื่อของผู้ตายยังถือไม่ได้ว่าถูกจำเลยฉ้อฉลให้ทำพินัยกรรม ส่วนที่พินัยกรรมระบุสถานที่ไม่ตรงตามสถานที่จริงและ วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมไม่ตรงตาม วัน เดือน ปีที่แท้จริงนั้นข้อความดังกล่าวก็ปรากฏอยู่แล้วในขณะที่ผู้ตายลงลายมือชื่อ แม้จำเลยจะเป็นผู้จัดทำมาก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการปลอมพินัยกรรม จำเลยจึงไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5396/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดก การครอบครองปรปักษ์ และอายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์มรดก
จำเลยที่2รับโอนที่ดินมาจากจำเลยที่1ซึ่งเป็นมารดาและผู้จัดการมรดกของม. ซึ่งเป็นบิดายังถือไม่ได้ว่าเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกอันจะถูกกำจัดมิให้รับมรดก จำเลยที่1รับโอนที่พิพาทมาในฐานะเป็นมรดกของม.โดยยังไม่ได้มีการแบ่งให้แก่ทายาทอื่นและต่อมาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของม. ถือว่าจำเลยที่1ครอบครองที่พิพาทไว้แทนทายาทอื่นด้วยทั้งจำเลยที่1ก็ไม่ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองไปยังทายาทอื่นแม้จะครอบครองนานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นทายาทของม. ฟ้องขอแบ่งมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งกันจากจำเลยที่1แม้พ้นกำหนด1ปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตายหรือเมื่อโจทก์ทั้งหกรู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกคดีก็ไม่ขาดอายุความส่วนที่ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างจำเลยที่1และที่2นั้นมิใช่การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลแต่เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกคืนจากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้จึงไม่ขาดอายุความเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5382-5383/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักย้ายทรัพย์มรดก การรับโอนโดยไม่สุจริต และสิทธิในการเพิกถอนนิติกรรมของผู้รับมรดก
จำเลยที่2ไปรับโอนมรดกแต่ผู้เดียวและนำที่ดินทรัพย์มรดกซึ่งตกได้แก่โจทก์ทั้งสามและจ.ด้วยไปโอนให้แก่จำเลยที่1ซึ่งไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกจึงเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่าจำเลยที่2จึงถูกกำจัดมิให้รับมรดกเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1605ส่วนจำเลยที่1ไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกการกระทำของจำเลยที่1จึงไม่เป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่1รับโอนที่ดินจากจำเลยที่2โดยทราบว่าโจทก์ทั้งสามและจ.เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริตจำเลยที่3ถึงที่5เป็นบุตรของจำเลยที่1มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมโดยการยกให้โดยเสน่หาของจำเลยที่1จึงเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300 จำเลยที่3ถึงที่5ขายที่ดินให้จำเลยที่6หลังจากโจทก์ที่3ได้อายัดที่ดินไว้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินโดยกรรมการของจำเลยที่6ทราบเรื่องแล้วถือว่าจำเลยที่6รับโอนโดยไม่สุจริตโจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิให้เพิกถอนการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300ได้เช่นกัน ผู้ที่จะยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่บุคคลซึ่งเป็นทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1755จำเลยที่1และที่3ถึงที่5ไม่ใช่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกทั้งจำเลยที่2ถูกกำจัดมิให้รับมรดกจำเลยที่2จึงไม่อยู่ในฐานะทายาทการที่จำเลยที่1รับโอนที่ดินจากจำเลยที่2แล้วให้จำเลยที่3ถึงที่5ถือกรรมสิทธิ์รวมจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1และที่3ถึงที่5เป็นบุคคลซึ่งชอบจะใช้สิทธิของทายาทจึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5382-5383/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักย้ายทรัพย์มรดก, อายุความมรดก, การโอนโดยไม่สุจริต, และการเพิกถอนนิติกรรม
จำเลยที่2ไปรับโอนมรดกแต่ผู้เดียวและนำที่ดินทรัพย์มรดกซึ่งตกได้แก่โจทก์ทั้งสามและจ. ซึ่งเป็นทายาทด้วยไปโอนให้แก่จำเลยที่1ซึ่งไม่ใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่าจำเลยที่2จึงถูกกำจัดมิให้รับมรดกเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1605ส่วนจำเลยที่1ไม่ใช่ทายาทการกระทำของจำเลยที่1จึงไม่เป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกแต่เมื่อรับโอนโดยทราบว่าโจทก์ทั้งสามและจ. เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกด้วยจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริตสำหรับจำเลยที่3ถึงที่5เป็นบุตรของจำเลยที่1มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมโดยการยกให้โดยเสน่หาของจำเลยที่1จึงเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนโจทก์ทั้งสามขอให้เพิกถอนการโอนได้ตามมาตรา1300ส่วนจำเลยที่6รับโอนซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่3ถึงที่5หลังจากโจทก์ที่3ได้อายัดที่พิพาทไว้ต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้วซึ่งแม้ขณะโอนจะล่วงเลยระยะเวลา60วันที่เจ้าพนักงานที่ดินรับอายัดไว้แต่เมื่อจำเลยที่6ทราบเรื่องอายัดด้วยถือว่าจำเลยที่6รับโอนโดยไม่สุจริตโจทก์ทั้งสามจึงขอให้เพิกถอนการโอนได้เช่นกัน จำเลยที่1และที่3ถึงที่5ไม่ใช่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกส่วนจำเลยที่2ถูกกำจัดมิให้รับมรดกจึงไม่อยู่ในฐานะทายาทการที่จำเลยที่1รับโอนที่ดินจากจำเลยที่2แล้วให้จำเลยที่3ถึงที่5ถือกรรมสิทธิ์รวมถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1และที่3ถึงที่5เป็นบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทจึงไม่มีสิทธิยกอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก แม้จำเลยที่1และที่3ถึงที่5ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ทั้งสามไม่ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมต่างๆที่จำเลยที่1กระทำกับจำเลยที่2ภายใน1ปีนับแต่โจทก์ทั้งสามบรรลุนิติภาวะจนล่วงเลยมานานเกิน10ปีคดีจึงขาดอายุความไว้ก็ตามแต่เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยที่1และที่2มิได้เบียดบังทรัพย์มรดกแต่คดีโจทก์ทั้งสามขาดอายุความมรดกปัญหาเรื่องอื่นไม่จำต้องวินิจฉัยโจทก์ทั้งสามอุทธรณ์จำเลยที่1และที่3ถึงที่5ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องคดีขาดอายุความเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่2เบียดบังทรัพย์มรดกจำเลยที่1จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์คดีไม่ขาดอายุความมรดกพิพากษากลับเช่นนี้ปัญหาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดกและการแบ่งมรดก: สิทธิทายาทและการคำนวณส่วนแบ่ง
จำเลยทั้งสองทำบันทึกข้อตกลงแบ่งมรดกให้แก่โจทก์ที่ 1 และรับว่าครอบครองที่พิพาทแทนทายาทอื่นด้วย ดังนี้จำเลยทั้งสองจะยกอายุความตามป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้ทายาทไม่ได้
บุคคลที่จะถูกกำจัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605นั้นมุ่งเฉพาะแต่ทายาทของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเท่านั้น ล.มีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกคือโจทก์ที่ 2 จ.และ ม.เพียง 3 คน จำเลยทั้งสองเป็นภรรยาและบุตรของ จ.เป็นเพียงผู้สืบสิทธิของ จ.คือรับมรดกในส่วนของ จ.เท่านั้น(จ.ตายหลัง ล.) ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นทายาทอันจะถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ล.
ทายาททั้งสามมีสิทธิได้รับมรดกเท่ากันคือคนละ 144 1/3ตารางวา โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทจำนวน 166 1/2 ตารางวาอันเกินไปจากสิทธิที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับ
บุคคลที่จะถูกกำจัดมิให้รับมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1605นั้นมุ่งเฉพาะแต่ทายาทของเจ้ามรดกขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเท่านั้น ล.มีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกคือโจทก์ที่ 2 จ.และ ม.เพียง 3 คน จำเลยทั้งสองเป็นภรรยาและบุตรของ จ.เป็นเพียงผู้สืบสิทธิของ จ.คือรับมรดกในส่วนของ จ.เท่านั้น(จ.ตายหลัง ล.) ถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นทายาทอันจะถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ล.
ทายาททั้งสามมีสิทธิได้รับมรดกเท่ากันคือคนละ 144 1/3ตารางวา โจทก์ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทจำนวน 166 1/2 ตารางวาอันเกินไปจากสิทธิที่โจทก์ที่ 2 จะได้รับ