คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1605

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5750-5751/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาประโยชน์สูงสุดของกองมรดกและทายาท
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติแห่ง บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. พ.ศ.2477มาตรา 4 ระบุว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เมื่อปรากฏว่า ถ. บิดาผู้ร้องแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับมารดาผู้ร้องก่อนที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 ใช้บังคับผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ถ. และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของ ถ. ส่วนผู้คัดค้านเมื่อจดทะเบียนสมรสกับ ถ. โดยถูกต้องตามกฎหมายมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของ ถ. เช่นกัน ทั้งสองฝ่ายย่อมมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ได้ด้วยกัน
ผู้ร้องฎีกาว่า ทรัพย์มรดกเป็นสินสมรสเพราะเป็นทรัพย์สินที่ ถ.บิดาผู้ร้องกับมารดาผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกัน ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทนั้น เป็นเรื่องนอกประเด็นเพราะประเด็นพิพาทแห่งคดีมีเพียงว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านฝ่ายใดสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ผู้ตายเท่านั้น
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าผู้ร้องรับเงินค่าสิทธิการเช่าบ้านมา200,000 บาท แล้วยักยอกไว้ 165,000 บาท าเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์-มรดกโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่า ตนทำให้เสื่อมประโยชน์ทายาทคนอื่น ผู้ร้องต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกและผู้ร้องมีพฤติการณ์และการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์กับกองมรดกนั้นผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำร้องคัดค้าน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลจะตั้งฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ย่อมแล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ดังนั้น เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าการจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียว อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งได้ หากให้จัดการร่วมกันแล้วจะเป็นประโยชน์แก่กองมรดกและทายาททุกคน ก็สมควรตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีมรดก: โจทก์ไม่นำสืบหลักฐานตามภาระการพิสูจน์ ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยพยานจำเลย
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์นำพยานเข้าสืบก่อนตามภาระการพิสูจน์เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้ปรากฏตามข้อ อ้างของตน โจทก์ก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีโดยไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีมรดก: หากโจทก์ไม่มีพยานสนับสนุนข้ออ้าง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัยพยานจำเลย
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์นำพยานเข้าสืบก่อนตามภาระการพิสูจน์เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้ปรากฏตามข้ออ้างของตน โจทก์ก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีโดยไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ร้องสอดในการต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุมและอำนาจฟ้องในคดีมรดก
ผู้ร้องสอดร้องสอดเข้ามาในคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ซึ่งตามมาตรา 58วรรคแรก บัญญัติให้ผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ดังนั้น ผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิที่จะต่อสู้ในเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและอำนาจฟ้องของโจทก์ได้ โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกส่วนของนาง น. ทั้งหมดอ้างว่าตนเป็นทายาทโดยธรรมของนาง น. นาย ก. สามีนาง น.ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่านาย ก. ไม่ได้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกส่วนของนาง น. โจทก์มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกของนาง น. แต่บางส่วน ศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกของนาง น. ตามส่วนที่แต่ละคนจะได้รับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2) ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2284/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกของทายาท
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ อ. ตกทอดแก่ทายาทคือโจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสอง เมื่อ อ. ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาโดยโจทก์ทั้งสามไม่ได้ครอบครองร่วมด้วย อ. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2521 โจทก์ทั้งสามทราบแล้ว แต่เพิ่มมาฟ้องคดีมรดกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2527 พ้น 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องคดีมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748, 1754เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความฟ้องคดีมรดกเสียแล้ว ปัญหาที่โจทก์ทั้งสามอ้างว่าเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2526 จำเลยทั้งสองไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานให้ใส่ชื่อ จำเลยทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทเพียงสองคน เป็นการปิดบังทรัพย์มรดก ต้องถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยให้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2284/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทอื่น
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ อ. ตกทอดแก่ทายาทคือโจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสอง เมื่อ อ. ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยที่ 2ได้ ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาโดยโจทก์ทั้งสามไม่ได้ครอบครองร่วมด้วย อ. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2521 โจทก์ทั้งสามทราบแล้ว แต่เพิ่มมาฟ้องคดีมรดกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2527 พ้น1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องคดีมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748,1754เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความฟ้องคดีมรดกเสียแล้ว ปัญหาที่โจทก์ทั้งสามอ้างว่าเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2526 จำเลยทั้งสองไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานให้ใส่ชื่อ จำเลยทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทเพียงสองคน เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกต้อง ถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยให้ต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4164/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักย้ายปิดบังทรัพย์มรดกโดยเจตนาทำให้ทายาทอื่นเสียประโยชน์ ทำให้ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
จำเลยเป็นภรรยา อ. ไม่มีบุตรด้วยกัน เมื่อ อ. ตายศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. จำเลยจึงได้จดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ อ. มาเป็นของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกต่อมาจำเลยไปขอรับมรดกของ อ. ในฐานะเป็นทายาทโดยให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินและรับรองบัญชีเครือญาติว่า จำเลยเป็นทายาทของ อ. ทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มี ทั้งที่จำเลยก็ทราบว่า อ. มีโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมเป็นทายาทอีกคนหนึ่ง เป็นผลให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ อ. ให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ส่วนทรัพย์มรดกอื่น ๆ จำเลยก็ปฏิเสธมาโดยตลอดว่าไม่ใช่ของ อ. ถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าในส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่น จึงต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4164/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักย้ายปิดบังทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกและทายาทเท็จ ทำให้เสียประโยชน์แก่ทายาทโดยธรรม
จำเลยเป็นภรรยา อ.ไม่มีบุตรด้วยกันเมื่ออ. ตาย ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. จำเลยจึงได้จดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ อ. มาเป็นของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกต่อมาจำเลยไปขอรับมรดกของ อ. ในฐานะเป็นทายาทโดยให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินและรับรองบัญชีเครือญาติว่า จำเลยเป็นทายาทของ อ. ทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มีทั้งที่จำเลยก็ทราบว่าอ. มีโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมเป็นทายาทอีกคนหนึ่งเป็นผลให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ อ. ให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ส่วนทรัพย์มรดกอื่น ๆ จำเลยก็ปฏิเสธมาโดยตลอดว่าไม่ใช่ของ อ. ถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าในส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่นจึงต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4164/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักย้ายปิดบังทรัพย์มรดกโดยเจตนาทำให้ทายาทอื่นเสียประโยชน์ ทำให้ถูกตัดสิทธิการรับมรดก
จำเลยเป็นภรรยา อ. ไม่มีบุตรด้วยกันเมื่อ อ. ตายศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. จำเลยจึงได้จดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ อ. มาเป็นของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกต่อมาจำเลยไปขอรับมรดกของ อ. ในฐานะเป็นทายาทโดยให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินและรับรองบัญชีเครือญาติว่า จำเลยเป็นทายาทของ อ. ทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มีทั้งที่จำเลยก็ทราบว่า อ. มีโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมเป็นทายาทอีกคนหนึ่ง เป็นผลให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนที่ดินมรดกของ อ. ให้แก่จำเลยแต่ผู้เดียว ส่วนทรัพย์มรดกอื่น ๆ จำเลยก็ปฏิเสธมาโดยตลอดว่าไม่ใช่ของ อ.ถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าในส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทอื่นจึงต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1605.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทบุตรบุญธรรม การถอดถอนผู้จัดการมรดก และการพิสูจน์สิทธิในกองมรดก
โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 จำเลยซึ่งเป็นบุตรน้องสาวของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ 3 ย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกรายนี้ แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินมรดกบางแปลงตั้งแต่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ ก็หาใช่มีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์มรดกไม่ แม้ศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่าจำเลยไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก โจทก์ที่ 2 ซึ่งพิสูจน์ฟังได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียฟ้องหรือร้องขอให้ศาลถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้และศาลย่อมมีอำนาจที่จะถอดถอนและสั่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทนจำเลยได้
การที่โจทก์ที่ 2 ได้เบิกความชั้นศาลเป็นพยานโจทก์ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นว่าพินัยกรรมที่โจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบอ้างเป็นพยานในศาลนั้นเป็นพินัยกรรมอันแท้จริงของเจ้ามรดก และต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า พินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมปลอมก็ตาม แต่โจทก์ที่ 2 มิได้เป็นผู้ปลอมหรือใช้หรืออ้างพินัยกรรมปลอมนั้น จึงไม่ถือว่าโจทก์ที่ 2 ปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกอันจะถูกกำจัดมิให้ได้มรดก
การร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก โจทก์เพียงแต่บรรยายถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันจำเป็นและสมควรจะต้องมีผู้จัดการมรดกเท่านั้น การที่ศาลจะตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก และภายใต้บังคับบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ไม่จำต้องเป็นบรรยายบทบังคับให้ศาลจำต้องปฏิบัติไว้ในฟ้องด้วย
of 8