พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดในที่ราชพัสดุ และการยุติของประเด็นข้อพิพาทในชั้นอุทธรณ์
โจทก์ฎีกาว่า จำเลยทั้งสามกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย และฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ 1 ปี เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่ดินที่ตั้งโรงเรียนพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุซึ่งให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อจำเลยกระทำละเมิดโดยขุดดินในที่ราชพัสดุขึ้นมาใช้ถมในการก่อสร้างโรงเรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจฟ้อง เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้โจทก์ฟ้องคดี โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสามรับผิดฐานละเมิด เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และไม่ได้แก้อุทธรณ์ในประเด็นความรับผิดตามสัญญาของจำเลยที่ 1 ประเด็นความรับผิดตามสัญญาของจำเลยที่ 1จึงยุติในชั้นอุทธรณ์แล้ว ไม่เป็นประเด็นวินิจฉัยในชั้นฎีกา
ที่ดินที่ตั้งโรงเรียนพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุซึ่งให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อจำเลยกระทำละเมิดโดยขุดดินในที่ราชพัสดุขึ้นมาใช้ถมในการก่อสร้างโรงเรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจฟ้อง เมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้โจทก์ฟ้องคดี โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสามรับผิดฐานละเมิด เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และไม่ได้แก้อุทธรณ์ในประเด็นความรับผิดตามสัญญาของจำเลยที่ 1 ประเด็นความรับผิดตามสัญญาของจำเลยที่ 1จึงยุติในชั้นอุทธรณ์แล้ว ไม่เป็นประเด็นวินิจฉัยในชั้นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดบนที่ราชพัสดุ: ต้องเป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลังหรือผู้ได้รับมอบหมาย
โจทก์ฎีกาว่าจำเลยทั้งสามกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์เสียหายและฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ1ปีเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ที่ดินที่ตั้งโรงเรียนพิพาทเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุซึ่งให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เมื่อจำเลยกระทำละเมิดโดยขุดดินในที่ราชพัสดุขึ้นมาใช้ถมในการก่อสร้างโรงเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจฟ้องเมื่อไม่ปรากฎว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้โจทก์ฟ้องคดีโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสามรับผิดฐานละเมิดเมื่อจำเลยที่2และที่3อุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และไม่ได้แก้อุทธรณ์ในประเด็นความรับผิดตามสัญญาของจำเลยที่1ประเด็นความรับผิดตามสัญญาของจำเลยที่1จึงยุติในชั้นอุทธรณ์แล้วไม่เป็นประเด็นวินิจฉัยในชั้นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดต่อที่ราชพัสดุ: ต้องเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ได้รับมอบหมาย
ที่ดินที่ตั้งโรงเรียนพิพาทเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ.2518มาตรา4ซึ่งตามมาตรา5ประกอบด้วยมาตรา11ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เมื่อเหตุละเมิดเป็นการกระทำต่อที่ราชพัสดุซึ่งเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจฟ้องเมื่อไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มอบหมายให้โจทก์ฟ้องคดีโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยทั้งสามรับผิดฐานละเมิดจำเลยที่2และที่3อุทธรณ์โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และไม่ได้แก้อุทธรณ์ในประเด็นความรับผิดตามสัญญาของจำเลยที่1ประเด็นความรับผิดตามสัญญาของจำเลยที่1จึงยุติในชั้นอุทธรณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดต่อที่ราชพัสดุ: กระทรวงการคลังเป็นผู้มีอำนาจฟ้อง ไม่ใช่หน่วยงานที่ครอบครอง
ที่ดินที่ตั้งโรงเรียนที่เป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 นั้นตามมาตรา 5 ประกอบด้วยมาตรา 11 ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้รับจ้างก่อสร้าง โรงเรียนดังกล่าวขุดดินในที่ราชพัสดุขึ้นมาใช้ในการก่อสร้างโรงเรียนโดยไม่ชอบเป็นการกระทำละเมิดต่อที่ราชพัสดุกระทรวงการคลังจึงเป็นผู้มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายกรมสามัญศึกษาที่โรงเรียนดังกล่าวสังกัดอยู่ ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ราชพัสดุ-โบราณสถาน: สิทธิของแผ่นดินเหนือที่ดินส่วนหนึ่งของกำแพงเมืองโบราณและอำนาจฟ้องคดีของกรมธนารักษ์
เอกสารท้ายฟ้องระบุว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการฯรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้สั่งมอบอำนาจให้อธิบดีกรมธนารักษ์ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในเรื่องต่างๆรวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีจึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่อธิบดีกรมธนารักษ์นำมาฟ้องคดีแทนกระทรวงการคลังโจทก์ได้ไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจโดยเฉพาะอีกและเป็นการกระทำการในนามของรัฐบาลจึงต้องด้วยมาตรา121แห่งประมวลรัษฎากรไม่ต้องปิดแสตมป์ ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงชั้นนอกของเมืองโบราณจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(3)และมีการขึ้นทะเบียนกำแพงเมืองเป็นที่ราชพัสดุและเป็นโบราณสถานไว้แล้วจึงไม่ใช่ที่รกร้างว่างเปล่าแต่เป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติ ที่ราชพัสดุพ.ศ.2518มาตรา4ซึ่งกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามมาตรา5ราษฎร์ย่อมไม่อาจยึดถือเอาเป็นกรรมสิทธิ์หรือโอนกันได้โดยรัฐไม่จำต้องประกาศหวงห้ามอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ราชพัสดุประเภททรัพย์สินเพื่อประโยชน์แผ่นดิน: สิทธิรัฐเหนือที่ดินโบราณและอำนาจฟ้องคดี
เอกสารท้ายฟ้องระบุว่า รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้สั่งมอบอำนาจให้อธิบดีกรมธนารักษ์ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อฟ้องคดีจึงเป็นหนังสือมอบอำนาจที่อธิบดีกรมธนารักษ์นำมาฟ้องคดีแทนกระทรวงการคลังโจทก์ได้ ไม่จำต้องมีหนังสือมอบอำนาจโดยเฉพาะอีกและเป็นการกระทำการในนามของ รัฐบาล จึงต้องด้วยมาตรา 121 แห่งประมวลรัษฎากรไม่ต้องปิดแสตมป์ ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของกำแพงชั้นนอกของเมืองโบราณ จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(3)และมีการขึ้นทะเบียนกำแพงเมืองเป็นที่ราชพัสดุและเป็นโบราณสถานไว้แล้ว จึงไม่ใช่ที่รกร้างว่างเปล่า แต่เป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติ ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ซึ่งกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 5 ราษฎร์ย่อมไม่อาจยึดถือเอาเป็นกรรมสิทธิ์หรือโอนกันได้ โดยรัฐไม่จำต้องประกาศหวงห้ามอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คูเมืองเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้มีการครอบครองนาน ก็ไม่เกิดกรรมสิทธิ์
คูเมืองเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1304(3) แม้จะมีสภาพเป็นที่ตกกล้า ทำนาหรือปลูกอาคารห้องแถวร้านค้า เป็นที่บ้านที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้ใดจะครอบครองช้านานเพียงใด ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองหรือได้กรรมสิทธิ์ ดังนั้น จำเลยจะยกระยะเวลาครอบครองขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2509 คูเมืองได้ขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานแต่กระทรวงการคลังก็ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ด้วยดังนั้นคูเมืองจึงเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ.2518 มาตรา 4 กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 5 และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองคูเมืองนั้นได้
ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2509 คูเมืองได้ขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานแต่กระทรวงการคลังก็ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ด้วยดังนั้นคูเมืองจึงเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ.2518 มาตรา 4 กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามมาตรา 5 และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองคูเมืองนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน: คูเมืองเป็นที่ราชพัสดุ แม้มีการครอบครองทำประโยชน์ ก็ไม่มีสิทธิในที่ดิน
คูเมืองเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (3) แม้จะมีสภาพเป็นที่ตกกล้า ทำนาหรือปลูกอาคารห้องแถวร้านค้า เป็นที่บ้านที่สวนตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ ก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินผู้ใดจะครอบครองช้านานเพียงใด ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองหรือได้กรรมสิทธิ์ดังนั้น จำเลยจะยกระยะเวลาครอบครองขึ้นต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2509 คูเมืองได้ขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานแต่กระทรวงการคลังก็ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ด้วยดังนั้นคูเมืองจึงเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาตรา 4 กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตามมาตรา 5 และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองคูเมืองนั้นได้
ตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2509 คูเมืองได้ขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานแต่กระทรวงการคลังก็ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุไว้ด้วยดังนั้นคูเมืองจึงเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาตรา 4 กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ตามมาตรา 5 และมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองคูเมืองนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินคูเมืองเก่าเป็นที่ราชพัสดุสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผู้บุกรุกไม่มีสิทธิครอบครอง
ตัวเมืองนครศรีธรรมราชเก่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมืองล้อมรอบทั้งสี่ด้าน นอกกำแพงเมืองมีคูล้อมรอบเช่นเดียวกันคูเมืองกว้างประมาณ 10 วาโดยตลอดตัวเมืองนครศรีธรรมราชเก่าเป็นของทางราชการและสถานที่ราชการใช้ บริหารราชการแผ่นดินในเขตเมืองนครศรีธรรมราช ฉะนั้น เมืองนครศรีธรรมราชเก่าจึงเป็นของหลวงหรือทรัพย์สินใช้เพื่อ ประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะผู้ใดจะถือเอาครอบครองเป็น กรรมสิทธิ์ส่วนตัวหาได้ไม่แม้ต่อมาจะปรากฏว่าได้มีการรื้อกำแพงเมืองลงบางส่วนเหลือแต่ฐานกำแพงเมืองแล้วใช้ ฐานกำแพงทำเป็นถนน และคูเมืองได้ตื้นเขินขึ้นเป็นที่ราบ แล้วมีราษฎรไปครอบครองปลูกเรือนอยู่อาศัยและใช้เป็น ที่ทำกินรวมถึงที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองอยู่ด้วย ก็หาได้ทำให้ฐานะของเมืองนครศรีธรรมราชเก่าพ้นสภาพจากการเป็นของหลวงหรือแผ่นดินไม่โดยเฉพาะคูเมืองแต่เดิมทาง ราชการสมัยก่อนใช้เป็นที่ป้องกันข้าศึกศัตรูจึงเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามอนุมาตรา (3) แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 และเป็นที่ราชพัสดุ ตาม มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 ด้วยแม้ที่พิพาทจะมีสภาพเป็นที่นาแต่ก็ยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นที่ราชพัสดุจำเลยจึงหาได้ สิทธิครอบครองไม่ โจทก์ร่วมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ราชพัสดุ ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาตรา 5 โจทก์ร่วม ย่อมมีสิทธิให้โจทก์เช่าที่ดินพิพาทได้เมื่อจำเลยเข้า ครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ไม่ยอมออกไปโจทก์และโจทก์ร่วม ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินคูเมืองเก่าเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ผู้บุกรุกไม่มีสิทธิครอบครอง
ตัวเมืองนครศรีธรรมราชเก่าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมืองล้อมรอบทั้งสี่ด้าน นอกกำแพงเมืองมีคูล้อมรอบเช่นเดียวกันคูเมืองกว้างประมาณ 10 วาโดยตลอดตัวเมืองนครศรีธรรมราชเก่าเป็นของทางราชการและสถานที่ราชการใช้ บริหารราชการแผ่นดินในเขตเมืองนครศรีธรรมราช ฉะนั้น เมืองนครศรีธรรมราชเก่าจึงเป็นของหลวงหรือทรัพย์สินใช้เพื่อ ประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะผู้ใดจะถือเอาครอบครองเป็น กรรมสิทธิ์ส่วนตัวหาได้ไม่แม้ต่อมาจะปรากฏว่าได้มีการรื้อกำแพงเมืองลงบางส่วนเหลือแต่ฐานกำแพงเมืองแล้วใช้ ฐานกำแพงทำเป็นถนนและคูเมืองได้ตื้นเขินขึ้นเป็นที่ราบ แล้วมีราษฎรไปครอบครองปลูกเรือนอยู่อาศัยและใช้เป็น ที่ทำกินรวมถึงที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองอยู่ด้วยก็หาได้ทำให้ฐานะของเมืองนครศรีธรรมราชเก่าพ้นสภาพจากการเป็นของหลวงหรือแผ่นดินไม่โดยเฉพาะคูเมืองแต่เดิมทางราชการสมัยก่อนใช้เป็นที่ป้องกันข้าศึกศัตรูจึงเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามอนุมาตรา (3) แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 และเป็นที่ราชพัสดุ ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ด้วยแม้ที่พิพาทจะมีสภาพเป็นที่นาแต่ก็ยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอันเป็นที่ราชพัสดุจำเลยจึงหาได้ สิทธิครอบครองไม่
โจทก์ร่วมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ราชพัสดุ ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 โจทก์ร่วม ย่อมมีสิทธิให้โจทก์เช่าที่ดินพิพาทได้เมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ไม่ยอมออกไปโจทก์และโจทก์ร่วม ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
โจทก์ร่วมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ราชพัสดุ ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 โจทก์ร่วม ย่อมมีสิทธิให้โจทก์เช่าที่ดินพิพาทได้เมื่อจำเลยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ไม่ยอมออกไปโจทก์และโจทก์ร่วม ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้