คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1613

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 597/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิเก็บกินและยกที่ดินให้บุตรไม่ถือเป็นเงื่อนไข
เมื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลย บุตรจำเลย และผู้ร้องขัดทรัพย์ มีข้อตกลงว่า จำเลยยอมสละมรดกส่วนของตนทั้งสิ้น เช่นนี้แม้จะมีข้อตกลงต่อไปว่า ให้จำเลยมีสิทธิเก็บกินจนกว่าจะวายชนม์ และผู้ร้องขัดทรัพย์ยกที่ดินส่วนหนึ่งให้บุตรจำเลยก็ดี ก็ไม่ถือว่าเป็นการสละมรดกโดยมีเงื่อนเวลาหรือเงื่อนไข แต่ถือว่าเป็นการได้สิทธิเพราะการสละมรดกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ การสละมรดกจึงสมบูรณ์ ไม่ฝ่าฝืนมาตรา 1613

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของพินัยกรรม, หนังสือสละมรดกที่ไม่สมบูรณ์, และผลของพินัยกรรมที่ทำผิดแบบ
พินัยกรรมตามแบบมาตรา 1656 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานทั้งสองนั้นต้องลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นจึงจะสมบูรณ์ จึงต้องฟังข้อเท็จจริง (ให้) ได้ (ความ) ว่า มีการกระทำถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด มิใช่เพียงแต่ฟังตามตัวหนังสือที่เขียนขึ้นไว้ พินัยกรรมที่มีบันทึกผู้รู้เห็นเป็นพยาน 5 คน แต่คนหนึ่งในจำนวนนี้ไม่ได้ลงชื่อ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างพยานที่ลงชื่อ 4 คนนี้มาสืบว่า 3 คนในจำนวนนี้เซ็นชื่อลับหลังผู้ทำพินัยกรรม คงมีคนเดียวที่ผู้ทำพินัยกรรมพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้า ดังนี้ แม้จะเป็นการสืบพยานแก้ไขข้อความในเอกสารแต่ก็เป็นการนำสืบเพื่อแสดงความไม่สมบูรณ์ของเอกสารนั้น ย่อมนำสืบได้
ก. จำเลย กับ ฮ. บุตรของเจ้ามรดก ตกลงแบ่งมรดกกัน โดย ก. จำเลยตกลงแบ่งที่ดินหมายเลข 4 ให้ ฮ. ฮ. ก็ตกลงแบ่งที่ดินหมายเลข 5 ให้ ก. จำเลย และต่างทำเป็นหนังสือสละมรดกโดยต่างทำให้แก่กัน เมื่อปรากฏว่า ก. ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดก เพราะเป็นแต่สะใภ้ไม่มีอำนาจแบ่งมรดกได้ ข้อตกลงนี้ก็ไม่สมบูรณ์ และหนังสือนี้เป็นแต่ข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์มรดกเท่านั้น มิใช่เป็นการสละมรดกตามกฎหมาย เพราะยังมีข้อผูกพันจะต้องแบ่งมรดกบางส่วนตอบแทนให้ ฮ.ทายาทอื่นที่มิใช่คู่สัญญามีสิทธิจะอ้างข้อตกลงนี้ (หนังสือที่ ฮ.ทำ) เป็นประโยชน์แก่ตนไม่
พินัยกรรมที่ทำขึ้นผิดแบบตามมาตรา 1656 เป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ไม่เป็นพินัยกรรมเสียแล้ว ความเสียเปล่านี้ผู้มีส่วนได้เสียจะกล่าวอ้างขึ้นก็ได้ หากต้องฟ้องขอให้เพิกถอนไม่ มาตรา 1710 ใช้เฉพาะเมื่อเป็นพินัยกรรมแล้วเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1358/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พิพากษาพินัยกรรมโมฆะเนื่องจากไม่ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด และข้อตกลงสละมรดกที่ไม่สมบูรณ์
พินัยกรรมตามแบบมาตรา 1656 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้นจึงจะสมบูรณ์ จึงต้องฟังข้อเท็จจริง (ให้) ได้ (ความ) ว่า มีการกระทำถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด มิใช่เพียงแต่ฟังตามตัวหนังสือที่เขียนขึ้นไว้ พินัยกรรมที่มีบันทึกผู้รู้เห็นเป็นพยาน 5 คน แต่คนหนึ่งในจำนวนนี้ไม่ได้ลงชื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งอ้างพยานที่ลงชื่อ 4 คนนี้มาสืบว่า 3 คนในจำนวนนี้เซ็นชื่อลับหลังผู้ทำพินัยกรรม คงมีคนเดียวที่ผู้ทำพินัยกรรมพิมพ์ลายมือต่อหน้า ดังนี้ แม้จะเป็นการสืบพยานแก้ไขข้อความในเอกสาร แต่ก็เป็นการนำสืบเพื่อแสดงความไม่สมบูรณ์ของเอกสารนั้น ย่อมนำสืบได้
ก.จำเลยกับ ฮ.บุตรของเจ้ามรดกตกลงแบ่งมรดกกัน โดย ก.จำเลยตกลงแบ่งที่ดินหมายเลข 4 ให้ฮ. ฮ.ก็ตกลงแบ่งที่ดินหมายเลข 5 ให้ ก. จำเลย และต่างทำเป็นหนังสือสละมรดกโดยต่างทำให้แก่กัน เมื่อปรากฏว่า ก.ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดก เพราะเป็นแต่สะใภ้ไม่มีอำนาจแบ่งมรดกได้ ข้อตกลงนี้ก็ไม่สมบูรณ์ และหนังสือนี้เป็นแต่ข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์มรดกเท่านั้น มิใช่เป็นการสละมรดกตามกฎหมาย เพราะยังมีข้อผูกพันจะต้องแบ่งมรดกบางส่วนตอบแทนให้ ฮ. ทายาทอื่นที่มิใช่คู่สัญญาหามีสิทธิจะอ้างข้อตกลงนี้ (หนังสือที่ฮ.ทำ) เป็นประโยชน์แก่ตนไม่
พินัยกรรมที่ทำขึ้นผิดแบบตามมาตรา 1656 เป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ไม่เป็นพินัยกรรมเสียแล้ว ความเสียเปล่านี้ผู้มีส่วนได้เสียจะกล่าวอ้างขึ้นก็ได้ หาต้องฟ้องขอให้เพิกถอนไม่ ตามมาตรา 1710 ใช้เฉพาะเมื่อเป็นพินัยกรรมแล้วเท่านั้น
of 3