คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1613

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15721/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก: สิทธิของทายาทเมื่อมีการตกลงแบ่งทรัพย์มรดกโดยประนีประนอมยอมความ และการโอนมรดกก่อนเสียชีวิต
ตามบันทึกถ้อยคำไม่รับมรดกที่โจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง และ ก. ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินมีใจความสำคัญว่า ที่ดินพิพาทที่มีชื่อ ว. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ อ. สามีของ ว. ได้มายื่นเรื่องราวขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของ ว. ซึ่งโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสอง และ ก. ทายาทของ ว. ไม่ประสงค์จะขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ และยินยอมให้ อ. เป็นผู้ขอรับมรดกแต่เพียงผู้เดียว ต่อมา อ. จดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งสอง ดังนี้ ไม่ใช่การสละมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612, 1613 เพราะการสละมรดกต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด แต่บันทึกถ้อยคำดังกล่าวมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความมีผลบังคับได้ตามมาตรา 850, 852 และ 1750 วรรคสอง โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ว. จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7068/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกโดยการแสดงเจตนายินยอมให้ผู้รับมรดกโอนทรัพย์ การแสดงเจตนาถือเป็นการประนีประนอมยอมความ
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่า การสละมรดกนั้นจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ สัญญาประนีประนอมแบ่งมรดกระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า จำเลยตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกบ้าน 4 หลังซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินที่เช่าจากวัดกับเงินอีก 10,000 บาท ให้โจทก์ โจทก์ยอมรับส่วนแบ่งดังกล่าว ไม่ติดใจเรียกร้องทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดจากจำเลยอีก เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า นอกจากบ้าน 4 หลังดังกล่าวแล้ว ยังมีบ้านอีก 7 หลังซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินที่เช่าจากวัดกับที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่ง แต่สัญญาดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึง หากเป็นการสละมรดกก็เป็นการสละเพียงบางส่วน จึงถือไม่ได้ว่าสัญญาประนีประนอมแบ่งมรดกดังกล่าวเป็นการสละมรดก และโจทก์มิได้สละสิทธิในที่ดินพิพาท อย่างไรก็ดีข้อเท็จจริงได้ความว่า หลังจากจำเลยไปยื่นคำขอรับโอนทรัพย์มรดกบ้าน 7 หลังแล้วได้ยื่นคำขอจดทะเบียนรับโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาท โดยโจทก์แสดงเจตนาให้ความยินยอมแก่จำเลยในการรับโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทดังกล่าวต่อเจ้าพนักงานที่ดิน พฤติการณ์ดังกล่าวเท่ากับเป็นการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในการสละมรดกถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 ตอนท้าย และมาตรา 850 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4921/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละมรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย และผลผูกพันของสัญญาประนีประนอมยอมความในการแบ่งทรัพย์มรดก
การสละมรดกมี ป.พ.พ. มาตรา 1612 บัญญัติให้กระทำได้ 2 แบบคือ แสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ คำว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 หมายถึง ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอหรือหัวหน้ากิ่งอำเภอและหมายรวมถึงบุคคลที่กระทำหน้าที่แทนด้วย ดังนั้น การที่บุตรทั้งเจ็ดของเจ้ามรดกไปให้ถ้อยคำและทำบันทึกหลักฐานเป็นหนังสือระบุชัดแจ้งว่าไม่ขอรับโอนมรดกที่ดินไว้ต่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอซึ่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำสำนักงานที่ดินอำเภอสวี ในฐานะเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินปฏิบัติราชการแทนนายอำเภอ ซึ่งนายอำเภอมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 38 (10) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นที่จะมอบอำนาจให้หัวหน้าส่วนราชการที่ประจำอยู่ในอำเภอปฏิบัติราชการแทนได้ จึงเป็นการแสดงเจตนาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว แต่การที่บุตรทั้งเจ็ดระบุว่า ไม่ประสงค์ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้และยินยอมให้จำเลยรับมรดกแปลงนี้แต่ผู้เดียว ไม่ใช่การสละมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 เพราะเป็นการสละมรดกโดยมีเงื่อนไข ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1613 อย่างไรก็ตามบันทึกดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลใช้บังคับผูกพันบุตรทั้งเจ็ดกับจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850, 852 และ 1750

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยผู้จัดการมรดกที่ไม่ได้รับความยินยอมจากทายาทอื่น และการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดก
การที่ ล. กับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกและจำเลยถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก แม้ศาลจะพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้ให้ความยินยอมทั้งไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ทั้งกรณีดังกล่าวถือว่า ล. และจำเลยปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ดังนั้น โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกย่อมฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1363
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่า การสละมรดกนั้น จะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การที่ ล. ยอมแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยก็เพื่อให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้จัดการมรดก และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกส่วนอื่น ๆ อีก เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า ล. สละมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยผู้จัดการมรดก การสละมรดก และสิทธิของทายาทอื่น
ที่ดินพิพาททั้ง 4 แปลง และเงินสดจำนวน 200,000 บาท ที่ ล. แบ่งให้จำเลยเป็นทรัพย์มรดกของ ก. โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมเช่นเดียวกับจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะได้รับมรดกดังกล่าวด้วย การที่ ล. ฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งแล้ว ล. กับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกและจำเลยถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก แม้ศาลจะพิพากษาตามยอม เมื่อโจทก์ทั้งสามไม่ได้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสาม ดังนั้น เมื่อจำเลยและ ล. แบ่งปันทรัพย์มรดกโดยไม่แบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสามซึ่งมีสิทธิรับมรดกจึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 โจทก์ทั้งสามย่อมฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับไปได้ ตามมาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1363
ฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบุตรนอกสมรสของ ช. โดย ช. ไม่ได้จดทะเบียนรับรองโจทก์ที่ 1 เป็นบุตรนั้น จำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าโจทก์ที่ 1 เป็นบุตรนั้น จำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าโจทก์ที่ 1 ไม่ได้เป็นทายาทโดยธรรมของ ช. เจ้ามรดก จึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่าการสละมรดกจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การที่ ล. ยอมแบ่งทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นของ ก. ให้แก่จำเลยก็เพื่อให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้จัดการมรดกและจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกส่วนอื่นๆ อีก เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่า ล. สละมรดก เมื่อ ก. มี ล. เป็นคู่สมรส ล. ย่อมมีสิทธิได้รับทรัพย์พิพาทกึ่งหนึ่งตามมาตรา 1635 (2) อีกกึ่งหนึ่งคงตกได้แก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยคนละส่วนเท่าๆ กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดก: สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่มีผลผูกพันทายาทอื่น & การปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดก
โจทก์ทั้งสาม จำเลย และ ล. เป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก การที่ ล. กับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกและจำเลยถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก แม้ศาลจะพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามไม่ได้ให้ความยินยอมทั้งไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสาม ทั้งกรณีดังกล่าวถือว่า ล. และจำเลยปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก ย่อมฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1363
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่า การสละมรดกนั้นจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การที่ ล. ยอมแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยก็เพื่อให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้จัดการมรดก และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกส่วนอื่น ๆ อีก เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า ล. สละมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ & สละมรดก: สิทธิในการจัดการมรดก & อำนาจร้องขอถอนผู้จัดการมรดก
พินัยกรรมที่ไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ไว้ แม้จะมีพยานลงลายมือชื่อ 2 คน ในขณะทำพินัยกรรม ก็ต้องถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1705 ผู้ร้องซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีส่วนได้เสียในอันที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ทำบันทึกมีข้อความว่า ได้รับเงินจากผู้ร้องในนามผู้จัดการมรดกแล้วและจะไม่เรียกร้องใด ๆ อีกนั้น เป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ตายในอนาคตให้หมดไป จึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 ทั้งยังปรากฏว่าเงินที่ผู้คัดค้านที่ 1 รับไปนั้นเป็นเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งมิใช่ทรัพย์มรดกเพราะมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนหรือขณะถึงแก่ความตาย ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ทำบันทึกดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่เพียงบางส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 ไม่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 1613 ซึ่งมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่ใช่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ไม่มีอำนาจมาร้องขอถอนผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์-สละมรดก: ผลต่อการจัดการมรดกและการมีส่วนได้เสียของผู้ร้อง
แม้พินัยกรรมจะมีพยานลงลายมือชื่อสองคน แต่มิได้ลงวันเดือนปีในขณะที่ทำพินัยกรรม ต้องถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1615 ย่อมเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1705
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะทายาทจำนวน 10,000 บาท แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใดๆ ทั้งสิ้นอีก โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในอนาคตให้หมดไปจึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามป.พ.พ. มาตรา 850 และข้อความดังกล่าวเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกบางส่วนเพราะเงินฌาปนิจสงเคราะห์มิใช่ทรัพย์มรดก การประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกตามป.พ.พ. มาตรา 1612 และมีผลย้อนหลังในถึงเวลาเข้ามรดกตามมาตรา 1615 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือถอนผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ & การสละมรดกมีผลย้อนหลัง ทำให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีอำนาจขอเป็นผู้จัดการมรดก
แม้พินัยกรรมจะมีพยานลงลายมือชื่อสองคน แต่มิได้ลงวันเดือนปีในขณะที่ทำพินัยกรรม ต้องถือว่าเป็นพินัยกรรมที่ทำขึ้นโดยขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1656 ย่อมเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1705
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกแบ่งเงินฌาปนกิจสงเคราะห์ให้ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะทายาทจำนวน 10,000 บาท แล้วทำบันทึกว่าจะไม่เรียกร้องใด ๆ ทั้งสิ้นอีก โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ลงลายมือชื่อไว้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงระงับข้อพิพาทในทรัพย์มรดกที่จะมีขึ้นในอนาคตให้หมดไปจึงเป็นการประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และข้อความดังกล่าวเป็นการสละมรดกทั้งหมดมิใช่สละมรดกบางส่วนเพราะเงินฌาปนกิจสงเคราะห์มิใช่ทรัพย์มรดก การประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงเป็นการสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 และมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาเจ้ามรดกตายตามมาตรา 1615 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือถอนผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3555/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยข้อตกลง: สละสิทธิ vs. สัญญาประนีประนอมยอมความ
ข้อความในหนังสือสละมรดกที่ ถ. และโจทก์ยอมสละสิทธิในที่ดินพิพาทโดยมีเงื่อนไขว่าต้องสร้างอนุสรณ์สำหรับฝังอัฐิ ฮ. ในที่ดินพิพาทเนื้อที่ 2 ไร่และเจาะจงให้ที่ดินที่เหลือตกแก่ ส.และจำเลยที่1โดยเฉพาะนั้นไม่ใช่การสละมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612 และ 1613 เพราะการสละมรดกจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเจตนาให้มรดกนั้นตกได้แก่ทายาทคนใดคนหนึ่งไม่ได้ แต่หลังจาก ฮ. ตายแล้วทายาทของ ฮ. ได้เจรจาตกลงกันโดยทำบันทึกข้อตกลงว่าที่ดินของ ฮ. 2 แปลง ถ. มารดาโจทก์ตกลงเอาไว้เป็นของตนก็เพื่อเป็นหลักฐานว่า ถ. และโจทก์สละสิทธิในที่ดินพิพาท จึงมีลักษณะเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 และ 1750 โจทก์จึงฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนไม่ได้
of 3