พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6115/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนโอนทรัพย์สินกองมรดก หากมีประโยชน์ส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์
ผู้ร้องมิใช่ภริยาชอบด้วยกฎหมายของ จ. ทั้ง จ.มิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมิใช่ทายาทของ จ.อันมีสิทธิที่จะรับมรดกของ จ. การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก จ. ขอโอนทรัพย์สินกองมรดกของ จ.มาเป็นของผู้ร้อง ดังนี้ประโยชน์ส่วนได้เสียของผู้ร้องย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกอยู่ในตัว ผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1722
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6115/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกขอโอนทรัพย์สินกองมรดกให้ตนเอง ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน หากมีประโยชน์ส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์
ผู้ร้องมิใช่ภริยาชอบด้วยกฎหมายของ จ. ทั้ง จ. มิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมิใช่ทายาทของ จ. อันมีสิทธิที่จะรับมรดกของ จ. การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก จ. ขอโอนทรัพย์สินกองมรดกของ จ. มาเป็นของผู้ร้อง ดังนี้ประโยชน์ส่วนได้เสียของผู้ร้องย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกอยู่ในตัวผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4816/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกเป็นโมฆะ ผู้รับซื้อฝากไม่มีสิทธิในทรัพย์สิน โจทก์มีสิทธิเรียกคืนได้
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ทั้งสามไม่มีอำนาจฟ้องเพราะเป็นการฟ้องบุพการีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562 ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุเฉพาะตัวระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วยไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ปัญหาเรื่องโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 หรือไม่ จึงเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2 ไม่อาจยกเรื่องห้ามฟ้องจำเลยที่ 1 มาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ทั้งสามได้ จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ห. ย่อมเป็นตัวแทนของบรรดาทายาทในการจัดการมรดก มีหน้าที่ต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรมและจะทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้เป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากพินัยกรรม และเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกแต่กลับโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองในฐานะส่วนตัว จึงเป็นการทำนิติกรรมให้ตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกอันเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722การโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงยังคงเป็นกองมรดกของ ห.อยู่ตามเดิม ส่วนบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินย่อมตกได้แก่โจทก์ทั้งสาม ไม่ตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ได้รับซื้อฝากที่ดินพิพาทพร้อมบ้านไว้จากจำเลยที่ 1ย่อมไม่เกิดผลให้จำเลยที่ 2 มีสิทธิตามนิติกรรมขายฝาก ทั้งเป็นการกระทำที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสาม โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องเรียกที่ดินพิพาทพร้อมบ้านคืนจากจำเลยที่ 2 ได้ เพราะเป็นการฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และจะนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2490/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาถึงที่สุด: การครอบครองปรปักษ์ vs. ทรัพย์มรดก
ในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยเพื่อพิสูจน์ว่าโจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย ศาลพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ช. ผลของคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ โจทก์จะอ้างว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ไม่มีอำนาจร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ช. ไม่ได้ เพราะจำเลยร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยใช้สิทธิทางศาล และที่ดินพิพาทก็เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยไม่ได้เป็นทรัพย์มรดกของ ช. การกระทำของจำเลยจึงไม่ได้เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของ ช. และคำพิพากษาไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนแต่อย่างใด ดังนั้น คำพิพากษาดังกล่าวยังคงมีผลผูกพันโจทก์อยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองหุ้นแทนทายาท & ครอบครองปรปักษ์: ผู้จัดการมรดกไม่มีอำนาจโอนทรัพย์สินให้ตนเอง
ขณะ ก. มีชีวิตอยู่โจทก์เป็นผู้ครอบครองหุ้นและใบหุ้นไว้แทน ก.เมื่อ ก.ผู้ถือหุ้นตายโจทก์ชอบที่จะมอบใบหุ้นของก.แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทเพื่อนำไปเวนคืนให้บริษัทรับจำเลยลงทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทสืบไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1132 แต่โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ก.ต้องถือว่าโจทก์ได้ครอบครองใบหุ้นของก.ไว้แทนทายาทของก.ต่อไป บันทึกตกลงแบ่งทรัพย์สินมีข้อความว่า ให้ทรัพย์สินที่อยู่ในนามของก.ตกเป็นของโจทก์ แต่ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาว่าบันทึกตกลงแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวเป็นโมฆะเพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 ไม่มีผลบังคับตามกฎหมายเพราะผู้ทำบันทึกต่างเป็นผู้จัดการมรดกของก.กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกจึงไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์ยังคงครอบครองหุ้นและใบหุ้นของก.ไว้ต่อไป ต้องถือว่าได้ครอบครองไว้แทนจำเลยซึ่งเป็นทายาท จึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382ขึ้นยันจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน หากขัดแย้งกัน ศาลอาจแต่งตั้งผู้จัดการคนเดียวเพื่อประโยชน์ของทายาทส่วนใหญ่
การจัดการมรดกนั้น ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่สำคัญในการรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันให้ทายาท อำนาจของผู้จัดการมรดกในกรณีที่มีสองคน การจัดการจะต้องดำเนินการร่วมกันเพราะกรณีไม่อาจจะหาเสียงข้างมากได้ ถ้าเกิดเป็นสองฝ่ายแล้ว คนหนึ่งคนใดก็ไม่อาจจัดการไปได้ การจัดการมรดกตามคำสั่งศาลที่ให้จัดการร่วมกันก็จะไม่มีผล ข้อขัดข้องในการจัดการแบ่งปันมรดกก็คงมีอยู่ต่อไป ไม่อาจแบ่งปันให้แก่ทายาทได้ ทั้งยังมีข้อโต้แย้งว่าทรัพย์ที่ปรากฏในคำร้องนั้นเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกหรือไม่การที่จะให้จัดการร่วมกันจึงมีข้อแสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องกับผู้คัดค้านไม่อาจที่จะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้ เจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตรที่เกิดกับผู้ร้อง 4 คน เป็นผู้เยาว์3 คน ผู้ร้องเป็นมารดา และอยู่ในฐานะที่เป็นผู้มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย ถือได้ว่าผู้ร้องมีความลัมพันธ์ กับทายาทส่วนใหญ่ใกล้ชิดมากกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาเจ้ามรดก ผู้ร้องน่าจะเป็นผู้รักษาประโยชน์ของทายาทส่วนใหญ่ได้ดีกว่าผู้คัดค้านทั้งผู้คัดค้านยืนยันตลอดมาว่าทรัพย์หลายรายการที่ผู้ร้องระบุในบัญชีทรัพย์ว่าเป็นทรัพย์มรดกนั้นผู้คัดค้านว่าเป็นของบุคคลอื่นเป็นการกล่าวอ้างในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของเจ้ามรดกซึ่งถ้าผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วยก็จะกระทำการในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียว แต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่ฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทด้วยในกรณีที่ผู้ร้องจะจัดการมรดกไปในทางจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกที่มีหลักฐานทางทะเบียนให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับความเห็นชอบจากทายาททุกคนนั้น จะต้องขออนุญาตจากศาลเป็นกรณีไปซึ่งศาลสามารถวางเงื่อนไขดังกล่าวในคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียวเมื่อมีข้อขัดแย้งและผลประโยชน์ทับซ้อน
การจัดการมรดกนั้น ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่สำคัญในการรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันให้ทายาท อำนาจของผู้จัดการมรดกในกรณีที่มีสองคน การจัดการจะต้องดำเนินการร่วมกันเพราะกรณีไม่อาจจะหาเสียงข้างมากได้ ถ้าเกิดเป็นสองฝ่ายแล้ว คนหนึ่งคนใดก็ไม่อาจจัดการไปได้การจัดการมรดกตามคำสั่งศาลที่ให้จัดการร่วมกันก็จะไม่มีผล ข้อขัดข้องในการจัดการแบ่งปันมรดกก็คงมีอยู่ต่อไป ไม่อาจแบ่งปันให้แก่ทายาทได้ ทั้งยังมีข้อโต้แย้งว่า ทรัพย์ที่ปรากฏในคำร้องนั้นเป็นทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกหรือไม่ การที่จะให้จัดการร่วมกันจึงมีข้อแสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องกับผู้คัดค้านไม่อาจที่จะเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันได้
เจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตรที่เกิดกับผู้ร้อง 4 คน เป็นผู้เยาว์ 3 คน ผู้ร้องเป็นมารดา และอยู่ในฐานะที่เป็นผู้มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย ถือได้ว่าผู้ร้องมีความสัมพันธ์กับทายาทส่วนใหญ่ใกล้ชิดมากกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาเจ้ามรดก ผู้ร้องน่าจะเป็นผู้รักษาประโยชน์ของทายาทส่วนใหญ่ได้ดีกว่าผู้คัดค้าน ทั้งผู้คัดค้านยืนยันตลอดมาว่าทรัพย์หลายรายการที่ผู้ร้องระบุในบัญชีทรัพย์ว่าเป็นทรัพย์มรดกนั้นผู้คัดค้านว่าเป็นของบุคคลอื่น เป็นการกล่าวอ้างในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของเจ้ามรดก ซึ่งถ้าผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วยก็จะกระทำการในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียวแต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่ฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทด้วยในกรณีที่ผู้ร้องจะจัดการมรดกไปในทางจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกที่มีหลักฐานทางทะเบียนให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับความเห็นชอบจากทายาททุกคนนั้น จะต้องขออนุญาตจากศาลเป็นกรณีไปซึ่งศาลสามารถวางเงื่อนไขดังกล่าวในคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
เจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตรที่เกิดกับผู้ร้อง 4 คน เป็นผู้เยาว์ 3 คน ผู้ร้องเป็นมารดา และอยู่ในฐานะที่เป็นผู้มีอำนาจปกครองตามกฎหมาย ถือได้ว่าผู้ร้องมีความสัมพันธ์กับทายาทส่วนใหญ่ใกล้ชิดมากกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาเจ้ามรดก ผู้ร้องน่าจะเป็นผู้รักษาประโยชน์ของทายาทส่วนใหญ่ได้ดีกว่าผู้คัดค้าน ทั้งผู้คัดค้านยืนยันตลอดมาว่าทรัพย์หลายรายการที่ผู้ร้องระบุในบัญชีทรัพย์ว่าเป็นทรัพย์มรดกนั้นผู้คัดค้านว่าเป็นของบุคคลอื่น เป็นการกล่าวอ้างในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของเจ้ามรดก ซึ่งถ้าผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วยก็จะกระทำการในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียวแต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่ฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทด้วยในกรณีที่ผู้ร้องจะจัดการมรดกไปในทางจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกที่มีหลักฐานทางทะเบียนให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับความเห็นชอบจากทายาททุกคนนั้น จะต้องขออนุญาตจากศาลเป็นกรณีไปซึ่งศาลสามารถวางเงื่อนไขดังกล่าวในคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนและแต่งตั้งผู้จัดการมรดก, สิทธิหน้าที่ของผู้จัดการมรดก, และการส่งมอบเอกสารบัญชีทรัพย์มรดก
สิทธิในการดำเนินคดีทางศาลเป็นสิทธิโดยชอบของบุคคลตามกฎหมายในเมื่อสิทธิของตนถูกโต้แย้งหรือมีกรณีจะต้องใช้สิทธิทางศาลการที่พินัยกรรมมีข้อกำหนดห้ามทายาทผู้ได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมฟ้องคดีต่อศาลเกี่ยวกับทรัพย์ตามพินัยกรรม มิฉะนั้นให้ถือว่าผู้นั้นถูกตัดออกจากกองทรัพย์สินนั้น เช่นนี้ ข้อกำหนดในพินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงไม่เป็นการกระทำที่ต้องถูกตัดมิให้รับมรดก การฟ้องขอถอนผู้จัดการมรดกและขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกใหม่นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 มิได้กำหนดไว้โดยเฉพาะว่าจะต้องร้องเข้ามาในคดีเดิม ดังนั้น โจทก์จึงอาจฟ้องเป็นคดีใหม่หรือร้องเข้ามาในคดีเดิมก็ได้ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล จึงมีหน้าที่จะต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมาเป็นเวลาเกือบ 3 ปี ยังไม่มีการแบ่งปันมรดกให้ทายาทเลย อีกทั้งยังได้จำหน่ายทรัพย์มรดกบางส่วนไปโดยมิได้ประชุมปรึกษาทายาท รวมทั้งไม่มีบัญชีแสดงให้ทายาททราบถึงการที่ได้จัดการไป และหลังจากที่ได้เป็นผู้จัดการมรดกแล้วถึง 4 ปีเศษจึงได้ยื่นบัญชีทรัพย์มรดก แสดงว่าจำเลยไม่นำพาต่อหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1729 และ 1732 จึงมีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดก จำเลยมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรม จึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียข้อคัดค้านของจำเลยที่จะไม่ให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง เจ้ามรดกทำพินัยกรรมระบุให้โจทก์ทั้งสองและผู้ร้องสอดทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน เมื่อโจทก์ที่ 1 ถอนฟ้อง ส่วนผู้ร้องสอดที่ 1 ถูกโต้แย้งว่า ได้นำทรัพย์มรดกส่วนหนึ่งไปจำหน่าย ถือได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 1 มีข้อที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก กรณีเห็นได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 1 ไม่อาจเข้าร่วมจัดการเพื่อประโยชน์ของกองมรดกโดยไม่มีข้อขัดแย้งได้ ตามพฤติการณ์จึงไม่อาจตั้งผู้ร้องสอดที่ 1ร่วมเป็นผู้จัดการมรดกกับโจทก์ที่ 2 และผู้ร้องสอดที่ 2 ได้ จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ต่อมาศาลมีคำสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทน ดังนี้ ศาลย่อมมีอำนาจบังคับให้จำเลยส่งมอบบัญชีทรัพย์มรดกที่จำเลยทำขึ้นในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกให้ผู้จัดการมรดกคนใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกและการจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมาย
คดีเดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ร.หาก ส. จะขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกคนใหม่แทนโจทก์ ตามปกติย่อมกระทำได้โดยยื่นคำร้องในคดีเดิม หรืออาจฟ้องโจทก์แยกจากคดีเดิมได้โดยอาศัยเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นแต่ให้สิทธิยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเดิมก่อนการปัน มรดก เสร็จสิ้นลงเท่านั้น หาเป็นการตัดสิทธิมิให้ฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่างหากไม่ คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีใหม่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้ง ส.เป็นผู้จัดการมรดกของร. แทนนั้น เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมมีผลผูกพันโจทก์ โจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกของ ร. อีกต่อไป การที่ ส. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกทำตามมติที่ประชุมทายาทโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการจัดการตามอำนาจหน้าที่และมิใช่เป็นการทำนิติกรรมที่ตนมีส่วนได้เสียอันเป็นปรปักษ์ต่อกองมรดก นิติกรรมจึงมีผลสมบูรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงผู้จัดการมรดกและการโอนทรัพย์มรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย
คดีเดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ร.หาก ส. จะขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกคนใหม่แทนโจทก์ ตามปกติย่อมกระทำได้โดยยื่นคำร้องในคดีเดิม หรืออาจฟ้องโจทก์แยกจากคดีเดิมได้โดยอาศัยเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นแต่ให้สิทธิยื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีเดิมก่อนการปัน มรดก เสร็จสิ้นลงเท่านั้น หาเป็นการตัดสิทธิมิให้ฟ้องเป็นคดีใหม่อีกต่างหากไม่
คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีใหม่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้ง ส. เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. แทนนั้น เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมมีผลผูกพันโจทก์ โจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกของ ร. อีกต่อไป
การที่ ส. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกทำตามมติที่ประชุมทายาทโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการจัดการตามอำนาจหน้าที่และมิใช่เป็นการทำนิติกรรมที่ตนมีส่วนได้เสียอันเป็นปรปักษ์ต่อกองมรดก นิติกรรมจึงมีผลสมบูรณ์.
คำสั่งศาลชั้นต้นในคดีใหม่ให้ถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้ง ส. เป็นผู้จัดการมรดกของ ร. แทนนั้น เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว ย่อมมีผลผูกพันโจทก์ โจทก์มิใช่ผู้จัดการมรดกของ ร. อีกต่อไป
การที่ ส. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกทำตามมติที่ประชุมทายาทโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ย่อมเป็นการจัดการตามอำนาจหน้าที่และมิใช่เป็นการทำนิติกรรมที่ตนมีส่วนได้เสียอันเป็นปรปักษ์ต่อกองมรดก นิติกรรมจึงมีผลสมบูรณ์.