พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีจัดการมรดก: นับจากวันที่จัดการมรดกเสร็จสิ้น
น. และจำเลยที่1ผู้จัดการมรดกของส. ต่างก็เป็นทายาทของเจ้ามรดกโดยน. เป็นภรรยาจำเลยที่1เป็นบุตรการที่บุคคลทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองและทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกอยู่แล้วมิใช่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก. ผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาลเป็นกรณีที่ศาลอาจถอนผู้จัดการมรดกเสียได้เท่านั้นหาเป็นเหตุให้อำนาจในการจัดการมรดกสิ้นสุดไปไม่เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลถอนผู้จัดการมรดกอำนาจในการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อผู้จัดการมรดกได้ทำการโอนทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่ทายาทของเจ้ามรดกไปหมดแล้วในวันที่29ตุลาคม2518ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลงแล้วตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกเมื่อวันที่4มิถุนายน2524เกินกว่า5ปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงขาดอายุความตามป.พ.พ.มาตรา1733 คำฟ้องโจทก์มิได้แสดงโดยแจ้งชัดให้เห็นว่าผู้จัดการมรดกก็ดีจำเลยก็ดีได้กระทำการใดๆอันจะถือได้ว่าเป็นการรับสภาพความผิดต่อโจทก์ตามป.พ.พ.มาตรา172หรือกระทำการอื่นใดอันจะถือว่าเป็นการละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตามป.พ.พ.มาตรา192จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นปัญหาเรื่องนี้เป็นเรื่องอายุความฟ้องร้องมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการที่เป็นทายาท การโอนทรัพย์มรดก และอายุความฟ้องคดี
การที่ผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกโอนทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองและทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก หาใช่เป็นการทำนิติกรรมซึ่งคนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 ไม่
การที่ผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาล ศาลอาจถอนผู้จัดการมรดกได้ แต่เมื่อยังมิได้ถอน ผู้จัดการมรดกยังคง มีอำนาจจัดการมรดก
การที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้ทายาทไปจนหมดสิ้นแล้วในวันใด ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดในวันดังกล่าว การที่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จ คดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733
การที่ผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาล ศาลอาจถอนผู้จัดการมรดกได้ แต่เมื่อยังมิได้ถอน ผู้จัดการมรดกยังคง มีอำนาจจัดการมรดก
การที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้ทายาทไปจนหมดสิ้นแล้วในวันใด ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดในวันดังกล่าว การที่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จ คดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3408/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งทรัพย์สินกองมรดกโดยผู้จัดการมรดกที่เป็นคู่กรณี เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของสามีโจทก์ร่วมกับโจทก์ เอาทรัพย์สินกองมรดกมาทำสัญญาแบ่งให้ตนเองประโยชน์ส่วนได้เสียของจำเลยย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก แม้จะเป็นการกระทำในฐานะส่วนตัวก็ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 สัญญาแบ่งทรัพย์นั้นจึงตกเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าบันทึกตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะ เพราะทำขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย มิได้มีคำขอเกี่ยวกับทรัพย์สินตามสัญญานั้นแต่อย่างใด เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าบันทึกตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะ เพราะทำขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย มิได้มีคำขอเกี่ยวกับทรัพย์สินตามสัญญานั้นแต่อย่างใด เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3408/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแบ่งทรัพย์สินกองมรดกที่ผู้จัดการมรดกทำกับตนเองเป็นโมฆะ
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของสามีโจทก์ร่วมกับโจทก์ เอาทรัพย์สินกองมรดกมาทำสัญญาแบ่งให้ตนเองประโยชน์ส่วนได้เสียของจำเลยย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก แม้จะเป็นการกระทำในฐานะส่วนตัวก็ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 สัญญาแบ่งทรัพย์นั้นจึงตกเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าบันทึกตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะ เพราะทำขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย มิได้มีคำขอเกี่ยวกับทรัพย์สินตามสัญญานั้นแต่อย่างใด เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าบันทึกตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลยตกเป็นโมฆะ เพราะทำขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย มิได้มีคำขอเกี่ยวกับทรัพย์สินตามสัญญานั้นแต่อย่างใด เป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 787/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดก ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
ศาลมีคำสั่งตั้งให้ ล. เป็นผู้จัดการมรดก ป. ต่อมาอีก 5 ปี ล. ได้โอนทรัพย์พิพาทเป็นของตนในฐานะทายาท โดยไม่มีบุคคลใดคัดค้าน เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามหน้าที่ผู้จัดการมรดกโดยสุจริต มิใช่เป็นการกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก จึงไม่เป็นกรณีที่ผู้จัดการมรดกจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลก่อนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722
ล. ครอบครองทรัพย์พิพาทในฐานะผู้จัดการมรดก ย่อมเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยผู้สืบสิทธิจาก ล. จะนำอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้ แต่ในระหว่างที่ ล. เป็นผู้จัดการมรดกอยู่ 5 ปี ไม่มีบุคคลใดอ้างว่าเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับทรัพย์พิพาท จึงเป็นกรณีที่ ล. ไม่อาจทราบได้ว่าตนได้ยึดถือทรัพย์พิพาทไว้แทนบุคคลใด อันจะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
ล. ครอบครองทรัพย์พิพาทในฐานะผู้จัดการมรดก ย่อมเป็นการครอบครองแทนทายาท จำเลยผู้สืบสิทธิจาก ล. จะนำอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้ แต่ในระหว่างที่ ล. เป็นผู้จัดการมรดกอยู่ 5 ปี ไม่มีบุคคลใดอ้างว่าเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับทรัพย์พิพาท จึงเป็นกรณีที่ ล. ไม่อาจทราบได้ว่าตนได้ยึดถือทรัพย์พิพาทไว้แทนบุคคลใด อันจะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังบุคคลนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีผู้จัดการมรดกสมยอมขายทรัพย์สินมรดกให้ภรรยาตนเอง และการกำหนดดอกเบี้ยจากเหตุการณ์ที่จำเลยทำให้ไม่สามารถโอนโฉนดกลับได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างหลวงสกลฯ ผู้ขายกับจำเลยผู้ซื้อ ในระหว่างพิจารณาคดีก่อนจำเลยโอนขายที่ดินแก่คนอื่น ๆ ไปหลายทอด จนคดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลไม่อาจพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ โจทก์จึงมาฟ้องคดีใหม่ขอเรียกเงินราคาที่ดินแทน ไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีเดิม
ป.พ.พ.มาตรา 240 เป็นเรื่องอายุความในกรณีเพิกถอนการฉ้อฉลอันลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ส่วนเรื่องผู้จัดการมรดกคนก่อนสมยอมขายที่ดินอันเป็นมรดกให้แก่ภรรยาของต้นนั้น จะใช้อายุความตาม ม.240 มายันแก่ผู้จัดการมรดกคนใหม่ไม่ได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นจนไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทกลับคึนสู่ฐานะเดิมได้เช่นนี้ จึงเกิดเป็นหนี้ผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดใช้เงินราคาที่ดินแก่โจทก์รวมทั้งดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เป็นราคาที่ดินนั้นอีกด้วย.
ป.พ.พ.มาตรา 240 เป็นเรื่องอายุความในกรณีเพิกถอนการฉ้อฉลอันลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ส่วนเรื่องผู้จัดการมรดกคนก่อนสมยอมขายที่ดินอันเป็นมรดกให้แก่ภรรยาของต้นนั้น จะใช้อายุความตาม ม.240 มายันแก่ผู้จัดการมรดกคนใหม่ไม่ได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นจนไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทกลับคึนสู่ฐานะเดิมได้เช่นนี้ จึงเกิดเป็นหนี้ผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดใช้เงินราคาที่ดินแก่โจทก์รวมทั้งดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เป็นราคาที่ดินนั้นอีกด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินหลังเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย และอายุความในกรณีผู้จัดการมรดกสมยอม
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างหลวงสกลฯผู้ขายกับจำเลยผู้ซื้อในระหว่างพิจารณาคดีก่อนจำเลยโอนขายที่ดินแก่คนอื่นๆ ไปหลายทอด จนคดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลไม่อาจพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินดังกล่าวได้โจทก์จึงมาฟ้องคดีใหม่ขอเรียกเงินราคาที่ดินแทน ไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีเดิม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 เป็นเรื่องอายุความในกรณีเพิกถอนการฉ้อฉลอันลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ส่วนเรื่องผู้จัดการมรดกคนก่อนสมยอมขายที่ดินอันเป็นมรดกให้แก่ภรรยาของตนนั้นจะใช้อายุความตาม มาตรา240 มายันแก่ผู้จัดการมรดกคนใหม่ไม่ได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นจนไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้เช่นนี้ จึงเกิดเป็นหนี้ผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดใช้เงินราคาที่ดินแก่โจทก์รวมทั้งดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เป็นราคาที่ดินนั้นอีกด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 เป็นเรื่องอายุความในกรณีเพิกถอนการฉ้อฉลอันลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ส่วนเรื่องผู้จัดการมรดกคนก่อนสมยอมขายที่ดินอันเป็นมรดกให้แก่ภรรยาของตนนั้นจะใช้อายุความตาม มาตรา240 มายันแก่ผู้จัดการมรดกคนใหม่ไม่ได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นจนไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้เช่นนี้ จึงเกิดเป็นหนี้ผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดใช้เงินราคาที่ดินแก่โจทก์รวมทั้งดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เป็นราคาที่ดินนั้นอีกด้วย