คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ.2474

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5033/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานบันทึกเสียงก่อน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ 2537 ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ปัจจุบัน
มาตรา 78 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 เป็นบทเฉพาะกาลที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์แก่งานที่จัดทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับและไม่มีลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมฯ หรือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 แต่เป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งเห็นได้ว่า บทบัญญัติมาตรา 78 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองเป็นเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ แต่สิทธินักแสดงเป็นสิทธิข้างเคียงของลิขสิทธิ์ ซึ่งแม้จะอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์เช่นกันแต่ก็มิใช่สิทธิอย่างเดียวกับลิขสิทธิ์ นอกจากนี้ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ยังได้บัญญัติแยกลิขสิทธิ์ไว้ในหมวด 1 และสิทธินักแสดงไว้ในหมวด 2 ทั้งเมื่อประสงค์ให้ใช้บังคับบทบัญญัติใดแก่ทั้งลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดงก็จะบัญญัติไว้ชัดเจนฉะนั้นการแสดงหรือการบันทึกเสียงการแสดงของนักแสดงที่ได้จัดทำขึ้นก่อนที่ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ใช้บังคับ จึงไม่ได้รับความคุ้มครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์หนังสือเรียน: การปรับปรุงแก้ไขเล็กน้อยไม่ถือเป็นการสร้างสรรค์งานใหม่ นายจ้างไม่มีสิทธิเผยแพร่
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 78 วรรคหนึ่งหมายความว่า งานใดเข้าลักษณะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทใดประเภทหนึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 หรือ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 และยังได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติทั้งสองดังกล่าวอยู่ในวันที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ใช้บังคับ ก็คงให้ได้รับความคุ้มครองต่อไปตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ส่วนมาตรา 78 วรรคสองหมายความว่า งานใดที่ได้จัดทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 ใช้บังคับและไม่มีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติทั้งสองดังกล่าวแต่เป็นงานที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537ก็ให้งานนั้นได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537แต่ทั้งนี้นับแต่วันที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มีผลใช้บังคับไม่ใช่นับแต่วันที่งานนั้นได้สร้างขึ้น
การพิจารณาว่าหนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วของโจทก์ซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อกลางปี 2534 มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ต้องใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 แม้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 6 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 จะไม่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหลักเกณฑ์นั้นไม่มีอยู่ เพราะหลักเกณฑ์ดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ ดังนี้ ในการพิจารณาว่างานใดมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 หรือไม่ จึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ทั่วไปนั้นด้วย
หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วของโจทก์เป็นตำราเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 โดยวางรากฐานการเรียนการสอนเป็นขั้นตอนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรชั้นประถมศึกษา มีเนื้อหาสาระของตัวอย่างการคิดและวิเคราะห์ แบบทดสอบคิดเลขเร็ว และโจทก์ปัญหาในภาคผนวกเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างทักษะในสายการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์โดยให้นักเรียนมีแนวการคิดและมีการวิเคราะห์หาคำตอบได้รวดเร็ว และดัดแปลงวิธีการคิดให้เป็นแนวทางของตนเองได้ ทั้งเป็นงานที่ทำให้เกิดความเข้าใจในการคิดเลข มีความสัมพันธ์กันตามลำดับความง่ายยากตามขั้นตอน จูงใจให้เกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อให้มีความสามารถในการคิดเลขได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การที่โจทก์นำตัวเลขรูปภาพสัญลักษณ์ โจทก์ปัญหาและเครื่องหมายต่าง ๆ กันมาปรับใช้โดยมีวิธีการคิดตามลำดับเพื่อให้เข้ากับหลักสูตรและพัฒนาเสริมสร้างทักษะในการเรียนตามวัยของเด็กนักเรียนในลำดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6โดยอาศัยข้อมูลและประสบการณ์จากการใช้สอนในโรงเรียนมาเป็นเวลานานหลายปี เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์งานของโจทก์เพื่อให้นักเรียนสามารถคิดคำนวณเลขได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ถือได้ว่าเป็นงานนิพนธ์ที่โจทก์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยแสดงออกซึ่งการริเริ่มของโจทก์เองอันเป็นงานวรรณกรรมตามความหมายในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์สร้างสรรค์งานดังกล่าว หาใช่เป็นเพียงความคิด ขั้นตอนกรรมวิธี ระบบวิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการการค้นพบ หรือทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ อันไม่ได้รับความคุ้มครองแต่อย่างใดไม่ หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วจึงเป็นงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์
แม้สัญญาจะระบุชื่อสัญญาว่า "หนังสือสัญญาขายลิขสิทธิ์"แต่มีข้อความในรายละเอียดกำหนดจำนวนตำราคณิตคิดเลขเร็วสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 ให้จำเลยที่ 1 พิมพ์ กำหนดเดือนและปีที่เริ่มจำหน่าย และการคิดเงินค่าลิขสิทธิ์ โจทก์มิได้ลงนามในฐานะผู้ขายและจำเลยที่ 1 มิได้ลงนามในฐานะผู้ซื้อเอกสารดังกล่าวจึงเป็นเพียงบันทึกข้อตกลงเท่านั้น จากการคิดค่าแห่งลิขสิทธิ์เป็นรายเล่มและกำหนดจำนวนพิมพ์ของหนังสือแต่ละเล่ม แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้มีเจตนาที่จะซื้อขายสิทธิในการทำซ้ำงานมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ได้ตามมาตรา 13(4) และ 14แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ทำข้อตกลงดังกล่าวเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่ข้อตกลงในการซื้อขายลิขสิทธิ์โดยโจทก์มีเจตนาโอนลิขสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้ขอซื้อลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมทั้งหกเล่มของโจทก์และแนบสำเนาสัญญามาท้ายฟ้องซึ่งระบุว่าเป็นหนังสือสัญญาขายลิขสิทธิ์ก็ตาม ก็เป็นเพียงความเข้าใจคลาดเคลื่อนของโจทก์ โจทก์มีเจตนาที่แท้จริงเพียงอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิแต่ผู้เดียวของโจทก์ในการทำซ้ำงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์เท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเพียงสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์
แม้หนังสือแบบฝึกคณิตคิดเลขเร็วของโจทก์จะมีการปรับปรุงใหม่โดยโจทก์และนักวิชาการของจำเลยที่ 1 ในระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 แต่เป็นการปรับปรุงโดยเปลี่ยนรูปแบบปกหนังสือใหม่และจัดรูปแบบหนังสือโดยแยกคำเฉลยออกพิมพ์ต่างหาก ส่วนเนื้อหาของหนังสือยังเหมือนเดิม หนังสือที่ปรับปรุงใหม่จึงไม่ใช่เป็นงานสร้างสรรค์ที่โจทก์ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่หรือดัดแปลงโดยปรับปรุงงานเดิมในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ แต่เป็นงานสร้างสรรค์หรืองานวรรณกรรมเดียวกันกับหนังสือฉบับเดิมนั่นเอง หนังสือที่ปรับปรุงใหม่จึงมิใช่เป็นงานที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในฐานะที่เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงไม่มีสิทธินำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ปรับปรุงใหม่ออกโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยพิมพ์ออกจำหน่ายในฐานะที่เป็นนายจ้างของโจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาความผิดลิขสิทธิ์: จำเลยเข้าใจผิดว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นมีสิทธิพิมพ์หนังสือได้ ฎีกายืนยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างและผู้จัดการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จ้างจำเลยอื่นให้พิมพ์ปลอมหนังสือแบบเรียนและแบบพิมพ์ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมีลิขสิทธิ์ เอาชื่อในการประกอบการค้าและรูปเสมาธรรมจักรซึ่งเป็นเครื่องหมายราชการของกระทรวงศึกษาธิการมาใช้ แล้วส่งไปจำหน่ายแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมพ.ศ. 2474 มาตรา 25,27 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มาตรา 24,43 พระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482มาตรา 6,7,8 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2484 มาตรา 19,57ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264,265,268,272(1)กรณีเป็นเรื่องการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบทเมื่อบทหนักตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ พระราชบัญญัติการพิมพ์ฯและประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,268 ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วความผิดบทอื่น ๆ แม้จะมีอัตราโทษจำคุก ไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาทก็ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงด้วย จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกจำหน่าย จำเลยที่ 5เป็นผู้จัดการฝ่ายการพิมพ์โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นแม้จะทราบว่ากรมการปกครองต้องขออนุญาตจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนต่อกระทรวงศึกษาธิการก่อนจึงจะจัดพิมพ์ได้ ก็เฉพาะในช่วงที่งบประมาณจัดพิมพ์เป็นของกรมการปกครองเมื่อกระทรวงมหาดไทยโอนงบประมาณในการจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนเพื่อแจกแก่นักเรียนที่ยากจนยืมเรียนให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจำเลยอาจเข้าใจว่าหน้าที่การขออนุญาตจัดพิมพ์เป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ได้การที่จำเลยได้สั่งจ้างจำเลยที่ 1 จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนเตรียมไว้ก่อนที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดจะสั่งจ้างพิมพ์นั้นเป็นดุลยพินิจของจำเลยที่จะกระทำได้ ดังนี้ จำเลยที่ 4 ที่ 5กระทำไปโดยไม่รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดย่อมขาดเจตนาในการกระทำความผิดตามฟ้อง บริษัทจำเลยที่ 1 มีจำเลยอื่นอีก 5 คน เป็นกรรมการ และลูกจ้างย่อมเข้าใจว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นส่วนราชการ สังกัดกระทรวงมหาดไทยเมื่อส่วนราชการมาจ้างพิมพ์ในนามองค์การบริหารส่วนจังหวัดซึ่งพิมพ์ในรูปแบบเดียวกับ สมัยที่กรมการปกครองจัดพิมพ์ มีชื่อผู้จัดการโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นเป็นผู้พิมพ์ผู้โฆษณาเหมือนกันจำเลยย่อมจะต้องเข้าใจว่าส่วนราชการผู้ว่าจ้าง มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะจ้างพิมพ์ได้ ย่อมไม่จำต้องไปตรวจสอบว่าผู้ว่าจ้างพิมพ์มีลิขสิทธิ์ในการสั่งพิมพ์ตามกฎหมายหรือไม่การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามกฎหมายที่โจทก์ฟ้องเพราะขาดเจตนา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์ภาพการ์ตูน: การคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์เดิม และการสละประเด็นข้อต่อสู้
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันขอให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อเดียวว่าภาพการ์ตูนที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้เหมือนหรือคล้ายกับภาพการ์ตูนสนูปปี้ของโจทก์หรือไม่ หากเหมือนหรือคล้ายกันจะเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์หรือไม่ โดยโจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยานต่อไป เช่นนี้ ต้องถือว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้อื่นๆ แล้ว โจทก์จึงไม่ต้องสืบพยานว่าสิทธิของโจทก์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไทยหรือไม่
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ฯลฯ ลิขสิทธิในศิลปกรรมจะมีขึ้นได้ก็ต้องเป็นศิลปกรรมที่ทำขึ้นในแผนกศิลป เช่น รูปศิลป ดังนี้ รูปการ์ตูนสุนัขของโจทก์ซึ่งเป็นเพียงรูปคล้ายสุนัขธรรมดาทั่วๆ ไปที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ซึ่งการขีดเขียนอาจเหมือนหรือคล้ายกันได้เป็นธรรมดา จึงไม่ใช่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมตามความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลิขสิทธิ์งานการ์ตูน: การคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ และการพิจารณาความคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้า
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงกันขอให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อเดียวว่าภาพการ์ตูนที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้เหมือนหรือคล้ายกับภาพการ์ตูนสนูปปี้ของโจทก์หรือไม่ หากเหมือนหรือคล้ายกันจะเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์หรือไม่ โดยโจทก์จำเลยไม่ติดใจสืบพยานต่อไป เช่นนี้ ต้องถือว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้อื่นๆ แล้ว โจทก์จึงไม่ต้องสืบพยานว่าสิทธิของโจทก์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไทยหรือไม่
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม ฯลฯ ลิขสิทธิในศิลปกรรมจะมีขึ้นได้ก็ต้องเป็นศิลปกรรมที่ทำขึ้นในแผนกศิลป เช่น รูปศิลป ดังนี้ รูปการ์ตูนสุนัขของโจทก์ซึ่งเป็นเพียงรูปคล้ายสุนัขธรรมดาทั่วๆ ไปที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ซึ่งการขีดเขียนอาจเหมือนหรือคล้ายกันได้เป็นธรรมดา จึงไม่ใช่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมตามความหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 89/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า จำเลยพิมพ์สำเนาหนังสือที่มีลิขสิทธิ์และใช้ตราสัญลักษณ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
หนังสือซึ่งตีพิมพ์มีข้อความสงวนลิขสิทธิ์ไว้พอที่จะฟังได้ว่าเจ้าของได้ปฏิบัติการครบถ้วนตามเงื่อนไขและวิธีการของประเทศอังกฤษซึ่งเป็นที่เกิดแห่งวรรณกรรมลิขสิทธิ์แห่งหนังสือนั้นได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 มาตรา 29(ก) ซึ่งมาตรา 28 ถือเสมือนว่าวรรณกรรมนั้นได้โฆษณาเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยที่ประเทศไทยและอังกฤษเป็นสมาชิกในสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมตามประกาศกระทรวงการต่างประเทศ ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2474 การได้ลิขสิทธิ์ไม่ต้องจดทะเบียนการมีแม่พิมพ์เพื่อพิมพ์สำเนาจำลองและการพิมพ์สำเนาจำลองโดยไม่ได้รับความยินยอมของเจ้าของเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติ นั้น มาตรา 4, 20, 25 กระทงหนึ่ง กับมีความผิดฐานใช้ตรารูปเรือใบ และ ชื่อ "ลองแมน" ให้ประชาชนหลงเชื่อตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 272(1) อีกกระทงหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดลอกหนังสือผู้อื่นเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จะมีข้อมูลที่มา
คัดลอกหนังสือที่ผู้อื่นประพันธ์ขึ้นออกจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอมหรือรับอนุญาตจากเจ้าของแล้ว แม้จะมีคำนำเขียนไว้ในหนังสือถึงที่มาของหนังสือนั้นก็ตาม ก็ถือได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมมาตรา 11 และ 20
กระทรวงศึกษาธิการให้หัวหน้าแผนกหลักสูตรและแบบเรียน กรมสามัญศึกษาเรียบเรียงประมวลการสอนชั้นประถมศึกษาขึ้น เมื่อเรียบเรียงแล้ว ได้เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ฯ รัฐมนตรีอนุมัติให้ใช้เพื่อโรงเรียนต่าง ๆ ใช้เป็นแนวสำหรับทำการสอนดังนี้ประมวลการสอนดังกล่าวย่อมเป็นลิขสิทธิตามกฎหมายเพราะเป็นหนังสือวรรณกรรมที่มีเจ้าของคิดเรียบเรียงขึ้นผู้ใดคัดลอกจัดพิมพ์ออกจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอมหรือรับอนุญาตจากเจ้าของแล้ว ย่อมมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1263/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดลอกหนังสือวรรณกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จะมีข้อมูลแหล่งที่มา
คัดลอกหนังสือที่ผู้อื่นประพันธ์ขึ้นออกจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอมหรือรับอนุญาตจากเจ้าของแล้ว แม้จะมีคำนำเขียนไว้ในหนังสือถึงที่มาของหนังสือนั้นก็ตามก็ถือได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม มาตรา 11 และ 20
กระทรวงศึกษาธิการให้หัวหน้าแผนกหลักสูตรและแบบเรียนกรมสามัญศึกษา เรียบเรียงประมวลการสอนชั้นประถมศึกษาขึ้นเมื่อเรียบเรียงแล้ว ได้เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ รัฐมนตรีอนุมัติให้ใช้เพื่อโรงเรียนต่างๆ ใช้เป็นแนวสำหรับทำการสอนดังนี้ประมวลการสอนดังกล่าวย่อมเป็นลิขสิทธิ์ตามกฎหมายเพราะเป็นหนังสือวรรณกรรมที่มีเจ้าของคิดเรียบเรียงขึ้น ผู้ใดคัดลอกจัดพิมพ์ออกจำหน่ายโดยมิได้รับความยินยอมหรือรับอนุญาตจากเจ้าของแล้ว ย่อมมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าต้องแตกต่างกันอย่างชัดเจน การใช้คำว่า 'แม่เลื่อน' ร่วมกับภาพนกยูงและภาพคน ไม่ถือว่าเป็นการเลียนแบบ
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกยูงในวงกลมสองชั้น ภายนอกมีรัศมี ภายในวงกลมมีตัวอักษรว่า"แม่เลื่อน" และใช้ชื่อว่า "ห้างขายยาตรานกยูงแม่เลื่อน"
ฝ่ายจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าหรือภาพแม่เลื่อน ภายในวงกลมรัศมี และใช้ชื่อว่าห้างขายยาตราแม่เลื่อน ดังนี้ เห็นได้ว่า ฝ่ายโจทก์ใช้ตรานกยูงเป็นเครื่องหมายการค้าฝ่ายจำเลยใช้ตราเป็นรูปตัวแม่เลื่อน ตรานกกับตราคน ผู้ใดเห็นก็รู้ได้ทันทีว่าเป็นตราคนละอย่างแตกต่างกันไกลมากจะว่าเลียนแบบของโจทก์ไม่ได้
ส่วนสลากปิดขวดยาก็ดี แผ่นพิมพ์ฉลากสรรพคุณยา ก็ดีแม้จะมีข้อความเหมือนกับฉลากของโจทก์ ก็เห็นว่าข้อความเช่นนี้ ไม่เป็นลิขสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรกรรมและศิลปกรรมโจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะห้ามจำเลย หรือว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิของโจทก์ได้