พบผลลัพธ์ทั้งหมด 118 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงคำฟ้อง การอ้างสิทธิโดยมิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า มีการแบ่งปันที่ดินพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครองเป็นส่วนสัด เมื่อปี 2533 อันเป็นการอ้างสิทธิในที่ดินพิพาทในฐานะที่เป็นทรัพย์มรดกซึ่งโจทก์มีส่วนเป็นเจ้าของ โจทก์หาได้อ้างสิทธิในที่ดินพิพาทด้วยการครอบครองตั้งแต่ปี 2522 ไม่ ที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทมาตั้งแต่ปี 2522 โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำฟ้องเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยการครอบครองแทนและการเป็นเจ้าของรวม สิทธิในการแบ่งแยกที่ดินเมื่อมีการครอบครองแทน
เมื่อโจทก์และทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกได้ตกลงแบ่งปันมรดก แม้มรดกส่วนที่โจทก์จะได้รับโจทก์ยังไม่เข้าครอบครองในฐานะเจ้าของแต่โจทก์ได้ให้ผู้อื่นครอบครองแทน ซึ่งเปรียบเสมือนโจทก์ได้รับส่วนแบ่งและได้ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยตนเองแล้วการแบ่งปันมรดกจึงเสร็จสิ้นแล้ว โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมรดกที่ บ. มารดาจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้รับการแบ่งปันมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกโดยไม่มีส่วนของโจทก์ บ. ได้ครอบครองทำประโยชน์โดยโจทก์ไม่เคยเข้ามายุ่งเกี่ยว ต่อมา บ. ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครองทำประโยชน์ต่อ โจทก์ไม่ฟ้องขอแบ่งมรดกภายใน 1 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ ดังนี้ตามคำให้การจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยที่ 2 และที่ 3ได้เปลี่ยนลักษณะการยึดถือที่ดินพิพาทอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อันเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นนี้แล้วอ้างเป็นเหตุยกฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์และ บ. มารดาจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท โดย บ. ครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไว้แทน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาหลังจาก บ. ถึงแก่ความตาย จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ด้วย โจทก์จึงยังคงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทอยู่ครึ่งหนึ่ง และมีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยการครอบครองแทนและการคงสิทธิในฐานะเจ้าของรวม
เมื่อโจทก์และทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก ได้ตกลงแบ่งปันมรดกกันแล้ว แม้มรดกส่วนที่โจทก์จะได้รับโจทก์ยังไม่เข้าครอบครองในฐานะเจ้าของแต่โจทก์ได้ให้ผู้อื่นครอบครองแทน ซึ่งเปรียบเสมือนโจทก์ได้รับส่วนแบ่งและได้ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยตนเองแล้ว การแบ่งปันมรดกจึงเสร็จสิ้นแล้ว
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมรดกที่ บ.มารดาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับการแบ่งปันมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกโดยไม่มีส่วนของโจทก์ บ.ได้ครอบครองทำประโยชน์โดยโจทก์ไม่เคยเข้ามายุ่งเกี่ยว ต่อมา บ.ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2และที่ 3 ครอบครองทำประโยชน์ต่อ โจทก์ไม่ฟ้องขอแบ่งมรดกภายใน 1 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ ดังนี้ตามคำให้การจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้เปลี่ยนลักษณะการยึดถือที่ดินพิพาทอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อันเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นนี้แล้วอ้างเป็นเหตุยกฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์และ บ.มารดาจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท โดย บ.ครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไว้แทน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาหลังจาก บ.ถึงแก่ความตาย จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ด้วย โจทก์จึงยังคงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทอยู่ครึ่งหนึ่ง และมีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทตามฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมรดกที่ บ.มารดาจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับการแบ่งปันมาจากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกโดยไม่มีส่วนของโจทก์ บ.ได้ครอบครองทำประโยชน์โดยโจทก์ไม่เคยเข้ามายุ่งเกี่ยว ต่อมา บ.ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2และที่ 3 ครอบครองทำประโยชน์ต่อ โจทก์ไม่ฟ้องขอแบ่งมรดกภายใน 1 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ ดังนี้ตามคำให้การจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้เปลี่ยนลักษณะการยึดถือที่ดินพิพาทอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อันเป็นการแย่งการครอบครองของโจทก์ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยประเด็นนี้แล้วอ้างเป็นเหตุยกฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์และ บ.มารดาจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท โดย บ.ครอบครองที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไว้แทน การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาหลังจาก บ.ถึงแก่ความตาย จึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ด้วย โจทก์จึงยังคงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทอยู่ครึ่งหนึ่ง และมีสิทธิขอแบ่งที่ดินพิพาทตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกหลีกเลี่ยงแบ่งทรัพย์มรดกให้ทายาท ออกเช็คแล้วไม่จ่าย ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ซ. มีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกแล้วนำมาแบ่งให้แก่ทายาทของ ซ. เมื่อบรรดาทายาทได้ตกลงกันให้จำเลยขายที่ดินทรัพย์มรดก จำเลยขายได้แล้วจึงออกเช็คสั่งจ่ายเงินส่วนแบ่งล่วงหน้าให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของ ซ. ตามที่ตกลงกันแล้ว แต่จำเลยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ยอมแบ่งเงินที่ขายทรัพย์มรดกได้ให้แก่ผู้เสียหายและบรรดาทายาทของ ซ.และแม้จะปรากฏว่ายังมีที่ดินมรดกอีกส่วนหนึ่งยังขายไม่ได้แต่ก็ปรากฏว่า เมื่อจำเลยตกลงแบ่งเงินที่ขายได้แล้วให้แก่บรรดาพี่น้องที่เป็นชายเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ผู้เสียหายและพี่น้องจึงไม่ติดใจทรัพย์มรดกส่วนนั้น ซึ่งหมายความว่าพร้อมใจกันยกให้แก่จำเลยนั่นเอง การที่จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกขายทรัพย์มรดกได้แล้วตกลงแบ่งเงินที่ขายได้แล้วให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ผู้เสียหายแล้ว และเมื่อจำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อค้ำประกันเงินส่วนแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยจะแบ่งให้แก่ผู้เสียหาย ดังนี้เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คจากการไม่จ่ายเงินตามเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้จากการขายทรัพย์มรดก
จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดกของ ซ. จึงมีหน้าที่รวบรวมทรัพย์มรดกแล้วนำมาแบ่งให้แก่ทายาทของ ซ. เมื่อบรรดาทายาทได้ตกลงกันให้จำเลยขายที่ดินทรัพย์มรดก จำเลยขายมาได้แล้วจึงออกเช็คสั่งจ่ายเงินส่วนแบ่งล่วงหน้าให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งซึ่งมีสิทธิได้รับมรดกของ ซ. ตามที่ตกลงกันแล้ว แต่จำเลยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ยอมแบ่งเงินที่ขายทรัพย์มรดกได้ให้แก่ผู้เสียหายและบรรดาทายาทของ ซ. และแม้จะปรากฏว่ายังมีที่ดินมรดกอีกส่วนหนึ่งยังขายไม่ได้ แต่ก็ได้ปรากฏว่า เมื่อจำเลยตกลงแบ่งเงินที่ขายได้แล้วให้แก่บรรดาพี่น้องที่เป็นชายเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ผู้เสียหายและพี่น้องจึงไม่ติดใจทรัพย์มรดกส่วนนั้น ซึ่งหมายความว่าพร้อมใจกันยกให้แก่จำเลยนั่นเอง การที่จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์มรดก ขายทรัพย์มรดกได้แล้วตกลงแบ่งเงินที่ขายได้แล้วให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่ผู้เสียหายแล้ว เมื่อจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อค้ำประกันเงินส่วนแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยจะแบ่งให้แก่ผู้เสียหายอย่างใดไม่ดังนี้ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4236/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งปันทรัพย์มรดกโดยสัญญาประนีประนอมยอมความ ผลผูกพันทางกฎหมาย
ที่โจทก์ฎีกาว่า ข้อความตามบันทึกข้อตกลงเป็นการแสดงเจตนามอบหมายให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนทายาททุกคน หาได้เป็นการยกทรัพย์มรดกที่ดินให้จำเลยนั้น ฎีกาโจทก์เป็นการแปลความหมายข้อความในบันทึกข้อตกลงอันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เพราะในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบปฏิเสธว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อยกทรัพย์มรดกที่ดินตามบันทึกข้อตกลงให้จำเลย ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
บันทึกข้อตกลงที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินทุกโฉนดของ อ.ให้แก่จำเลย แม้มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดยสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850 จึงมีผลบังคับได้ ตามมาตรา 852
บันทึกข้อตกลงที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินทุกโฉนดของ อ.ให้แก่จำเลย แม้มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดยสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850 จึงมีผลบังคับได้ ตามมาตรา 852
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4236/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดกโดยบันทึกข้อตกลงและการใช้ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความ
ที่โจทก์ฎีกาว่า ข้อความตามบันทึกข้อตกลงเป็นการ แสดงเจตนามอบหมายให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ ที่ดินแทนทายาททุกคน หาได้เป็นการยกทรัพย์มรดกที่ดิน ให้จำเลยนั้น ฎีกาโจทก์เป็นการแปลความหมายข้อความใน บันทึกข้อตกลงอันเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่เมื่อเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เพราะในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบปฏิเสธว่าโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อยกทรัพย์มรดกที่ดินตามบันทึกข้อตกลงให้จำเลย ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย บันทึกข้อตกลงที่โจทก์และทายาทอื่นตกลงยกทรัพย์มรดกที่ดินทุกโฉนดของ อ. ให้แก่จำเลย แม้มิใช่เป็นการสละมรดกเพราะยังมีทรัพย์มรดกส่วนอื่นอีกที่มิได้มีการสละด้วยก็ตาม แต่เมื่อเป็นกรณีที่ทายาทได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกกันโดย สัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750 วรรคสอง ประกอบมาตรา 850 จึงมีผล บังคับได้ ตามมาตรา 852
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยการครอบครองเป็นส่วนสัด และการที่สัญญาแบ่งมรดกไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750การแบ่งมรดกนั้นสามารถกระทำได้สอบประการคือโดยทายาทเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด ซึ่งไม่มีแบบที่กฎหมายกำหนดไว้และไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำสัญญาแบ่งมรดกเป็นหนังสือประการหนึ่งกับการแบ่งมรดกโดยทำสัญญาเป็นหนังสืออีกประการหนึ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิเรียกร้องตามข้อตกลงการแบ่งมรดกโดยการแบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดระหว่างโจทก์กับ ค.มารดาจำเลยทั้งห้าจำเลยทั้งห้าได้ให้การและฟ้องแย้งว่า ค.ไม่เคยตกลงแบ่งมรดกและครอบครองเป็นส่วนสัด แต่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันและแทนกัน จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเลยว่าการแบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือตามเอกสารหมาย ล.7 ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาว่าแบบบันทึกการสอบสวนขอจดทะเบียนโอนมรดกประเภทโอนมรดกตามเอกสารหมาย ล.7 เป็นสัญญาแบ่งมรดก จึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก: สัญญาแบ่งมรดก vs. การแบ่งโดยการครอบครองเป็นส่วนสัด และประเด็นการยกข้อกล่าวหาใหม่ในชั้นฎีกา
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 การแบ่งมรดกนั้นสามารถกระทำได้สองประการคือ โดยทายาทเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด ซึ่งไม่มีแบบที่กฎหมายกำหนดไว้และไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำสัญญาแบ่งมรดกเป็นหนังสือประการหนึ่งกับการแบ่งมรดกโดยทำสัญญาเป็นหนังสืออีกประการหนึ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิเรียกร้องตามข้อตกลงการแบ่งมรดกโดยการแบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดระหว่างโจทก์กับ ค.มารดาจำเลยทั้งห้า จำเลยทั้งห้าได้ให้การและฟ้องแย้งว่า ค.ไม่เคยตกลงแบ่งมรดกและครอบครองเป็นส่วนสัด แต่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันและแทนกัน จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเลยว่าการแบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือตามเอกสารหมาย ล.7 ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาว่าแบบบันทึกการสอบสวนขอจดทะเบียนโอนมรดกประเภทโอนมรดกตามเอกสารหมาย ล.7 เป็นสัญญาแบ่งมรดก จึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยการครอบครองเป็นส่วนสัดและการพิสูจน์ข้อตกลงแบ่งมรดก
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1750การแบ่งมรดกนั้นสามารถกระทำได้สอบประการคือโดยทายาทเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดซึ่งไม่มีแบบที่กฎหมายกำหนดไว้และไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำสัญญาแบ่งมรดกเป็นหนังสือประการหนึ่งกับการแบ่งมรดกโดยทำสัญญาเป็นหนังสืออีกประการหนึ่งคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิเรียกร้องตามข้อตกลงการแบ่งมรดกโดยการแบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดระหว่างโจทก์กับค.มารดาจำเลยทั้งห้าจำเลยทั้งห้าได้ให้การและฟ้องแย้งว่าค.ไม่เคยตกลงแบ่งมรดกและครอบครองเป็นส่วนสัดแต่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันและแทนกันจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเลยว่าการแบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือตามเอกสารหมายล.7ดังนี้ที่จำเลยฎีกาว่าแบบบันทึกการสอบสวนขอจดทะเบียนโอนมรดกประเภทโอนมรดกตามเอกสารหมายล.7เป็นสัญญาแบ่งมรดกจึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้