พบผลลัพธ์ทั้งหมด 118 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโมฆะ, สิทธิในกองมรดก, หนังสือสละมรดกที่ไม่สมบูรณ์, การแบ่งมรดก
ด. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์(ฉบับเดิม) ในขณะที่ ด. มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5อยู่แล้ว การสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ด. จึงเป็นโมฆะตามมาตรา 1490 และ 1445(เดิม) โจทก์ที่ 1จึงมิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ด. ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ด.แม้การสมรสระหว่างด. กับโจทก์ที่ 1จะยังไม่มีคำพิพากษาเพิกถอนหรือพิพากษาว่าเป็นโมฆะ แต่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะจำเลยได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า 'บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย' ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า 'บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย' ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3742/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสโมฆะของคู่สมรสเดิมก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และสิทธิในการรับมรดกของทายาท
ด. จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับเดิม) ในขณะที่ ด. มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 อยู่แล้ว การสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ ด. จึงเป็นโมฆะตามมาตรา 1490 และ 1445 (เดิม) โจทก์ที่ 1 จึงมิใช่ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ด. ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของ ด. แม้การสมรสระหว่าง ด. กับโจทก์ที่ 1 จะยังไม่มีคำพิพากษาเพิกถอนหรือพิพากษาว่าเป็นโมฆะ แต่ศาลยกขึ้นวินิจฉัยว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะจำเลยได้ต่อสู้เป็นประเด็นไว้
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า "บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย" ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก
มรดกอยู่ระหว่างจัดการแบ่งให้ทายาท โจทก์ฟ้องคดีแม้จะเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย คดีก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
เอกสารมีข้อความว่า "บัดนี้ ว. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลได้จัดการแบ่งมรดกตามที่ควรได้เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาทไว้เป็นที่เรียบร้อยซึ่งผู้รับได้รับไว้ถูกต้องทุกประการแล้ว และขอรับรองไว้ในหนังสือนี้ว่า ข้าพเจ้าหมดสิทธิในกองมรดกทั้งหมดด้วย" ซึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ลงชื่อไว้ก็ตาม แต่ผู้จัดการมรดกบอกในวันทำเอกสารว่าใครมารับเงินก็ต้องเซ็นชื่อ ในวันทำเอกสารนี้โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังไม่ทราบว่ามีที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพราะผู้จัดการมรดกไม่เคยบอกให้ทราบ ทั้งเอกสารก็ไม่ได้ระบุชัดว่าโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ไม่ต้องการที่ดินมรดกดังนั้นที่โจทก์ที่ 2 ที่ 3 รับรองว่าหมดสิทธิในกองมรดกด้วยซึ่งหมายความถึงเฉพาะเงินอันเป็นส่วนแบ่งบางส่วนของกองมรดกซึ่งโจทก์ที่ 2 ที่ 3 ได้รับไปเท่านั้น โจทก์ที่ 2 ที่ 3 ยังมีสิทธิรับที่ดินซึ่งเป็นมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละมรดกบางส่วนและสัญญาแบ่งปันมรดก: ผลผูกพันตามกฎหมาย
แม้เอกสารที่โจทก์ทำจะมิใช่เอกสารสละมรดกตามความหมายของมาตรา 1612 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะได้ความว่าทรัพย์มรดกที่โจทก์มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในฐานะทายาทนอกจากที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นแล้ว ยังมีทรัพย์อื่นอีกและการสละมรดกจะทำแต่เพียงบางส่วนไม่ได้ตามมาตรา 1613แต่เอกสารดังกล่าวก็เป็นหลักฐานแห่งสัญญาแบ่งปันมรดกซึ่งโจทก์ลงลายพิมพ์นิ้วมือให้ไว้กับจำเลยว่า โจทก์เป็นทายาทของเจ้ามรดก มีสิทธิได้รับมรดกแต่โจทก์ไม่พึงปรารถนาที่จะรับโอนมรดก โดยตกลงยินยอมให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกเป็นผู้รับโอนย่อมมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850,852 และ 1750โจทก์เรียกร้องทรัพย์มรดกส่วนนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 733/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันโจทก์ สละสิทธิในมรดก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบิดาและเป็นทายาทของ ถ.ผู้ตายจำเลยเป็นภริยาของ ถ..ก่อนตายถ.มีที่ดินมรดก 2 แปลง จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกได้โอนรับมรดกเอาเป็นของตนแต่ผู้เดียวเป็นการปิดบังเอาทรัพย์มรดกเกินส่วนที่ควรจะได้รับ ขอให้ศาลพิพากษากำจัดจำเลยไม่ให้รับมรดกของ ถ.แต่ได้ความว่าหลังจากถ.ตาย โจทก์จำเลยได้พากันไปที่สำนักงานที่ดิน แล้วโจทก์ได้ให้เจ้าพนักงานที่ดินทำบันทึกความว่า ที่โจทก์ยื่นคัดค้านการที่จำเลยขอรับมรดกของ ถ.นั้น โจทก์ขอถอนยอมให้จำเลยเป็นผู้รับมรดกแต่ผู้เดียว แล้วโจทก์พิมพ์มือโดยมีพยานรับรอง 2 คน ดังนี้เอกสารดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งผูกพันโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเอาส่วนแบ่งมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและการครอบครองทรัพย์สินโดยเจตนา ผู้รับมรดกมีสิทธิในส่วนที่ครอบครองแยกต่างหาก
เจ้าของที่ดินมารดาจำเลยที่ 1,2 กู้เงิน เมื่อตายแล้วจำเลยที่ 2 กู้เงินโจทก์เพิ่ม และเจ้าหนี้เดิมทำเป็นสัญญาที่จำเลยที่ 2 กู้ขึ้นใหม่ ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ใช้หนี้โจทก์ โจทก์ยึดที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 1 ครอบครองเป็นส่วนสัดแล้วไม่ได้ จำเลยที่ 1 ร้องขัดทรัพย์ได้ ไม่ใช่เจ้าของรวมที่จะต้องขอกันส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงใช้หนี้มรดกและการโอนสิทธิในทรัพย์มรดก
ทายาททุกคนตกลงกันให้โจทก์ใช้หนี้มรดกและให้โจทก์ได้รับทรัพย์มรดก โจทก์ได้รับ น.ส.3 แล้วให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งอาศัยอยู่ จำเลยหมดสิทธิที่จะเรียกมรดกซึ่งตกเป็นของโจทก์ไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712-713/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนมรดกเพื่อชำระหนี้และการแบ่งมรดกที่สมบูรณ์ ทายาทมีสิทธิเรียกร้องได้หรือไม่
โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินมือเปล่าตามพินัยกรรมตามส่วนของตน แต่ได้แสดงเจตนายกที่ดินมรดกส่วนของตนตีใช้หนี้ ส.แล้ว โจทก์ที่ 1 ย่อมหมดสิทธิในที่ดินมรดก ส.ได้สิทธิครอบครอง ถือว่าโจทก์ที่ 1 ได้รับมรดกตามพินัยกรรมแล้ว และกรณีไม่ใช่เรื่องสละมรดก จึงไม่ต้องทำตามแบบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 โจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจมาฟ้องเรียกเอาที่ดินมรดกอีก
การแบ่งที่ดินมรดกให้แก่ทายาทได้แบ่งในคราวเดียวกัน โจทก์ที่ 2 ได้รับเอาที่ดินมรดกมา 3 งานเศษ ยังขาดอยู่ 80 ตารางวาเศษ ทั้งๆ ที่รู้ข้อความในพินัยกรรมดี แต่ก็ไม่ทักท้วง และได้ขายส่วนของตนที่ได้รับมาทั้งหมดให้แก่ ส.ในวันเดียวกันนั้น ทายาททุกคนพอใจในการแบ่งมรดกและได้ถือเอาที่ดินมรดกส่วนแบ่งที่ได้รับมาเป็นของตนเแล้ว จึงถือว่าผู้จัดการมรดกได้จัดแบ่งที่ดินมรดกเสร็จโดยสมบูรณ์ โจทก์ที่ 2 พอใจในการแบ่งมรดกแล้ว จึงไม่มีอำนาจมาฟ้องเอาส่วนแบ่งอีก มิใช่เรื่องการสละมรดกเช่นเดียวกัน
การแบ่งที่ดินมรดกให้แก่ทายาทได้แบ่งในคราวเดียวกัน โจทก์ที่ 2 ได้รับเอาที่ดินมรดกมา 3 งานเศษ ยังขาดอยู่ 80 ตารางวาเศษ ทั้งๆ ที่รู้ข้อความในพินัยกรรมดี แต่ก็ไม่ทักท้วง และได้ขายส่วนของตนที่ได้รับมาทั้งหมดให้แก่ ส.ในวันเดียวกันนั้น ทายาททุกคนพอใจในการแบ่งมรดกและได้ถือเอาที่ดินมรดกส่วนแบ่งที่ได้รับมาเป็นของตนเแล้ว จึงถือว่าผู้จัดการมรดกได้จัดแบ่งที่ดินมรดกเสร็จโดยสมบูรณ์ โจทก์ที่ 2 พอใจในการแบ่งมรดกแล้ว จึงไม่มีอำนาจมาฟ้องเอาส่วนแบ่งอีก มิใช่เรื่องการสละมรดกเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาจะขายที่ดินมรดกแล้ว ย่อมไม่สามารถฟ้องขอแบ่งมรดกได้อีก
โจทก์จำเลยเป็นพี่น้องกัน ต่างเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินพิพาท แต่โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินมรดกส่วนของตนให้จำเลยจนได้มีการโอนโฉนดเป็นชื่อจำเลยไปแล้ว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกนั้นอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกและการทำสัญญาจะขายที่ดินมรดก ทำให้สิทธิในการเรียกร้องแบ่งมรดกสิ้นสุดลง
โจทก์จำเลยเป็นพี่น้องกัน ต่างเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินพิพาทแต่โจทก์ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินมรดกส่วนของตนให้จำเลยจนได้มีการโอนโฉนดเป็นชื่อจำเลยไปแล้วโจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งที่ดินมรดกนั้นอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกอิสลาม vs. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: หลักเกณฑ์การบังคับใช้และการแบ่งสินสมรส
แม้โจทก์และจำเลยจะเป็นอิสลามศาสนิกและเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องมรดกอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่ถ้ามิใช่เป็น คดีที่เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล แล้ว ก็จะนำลัทธิศาสนาอิสลามหรือกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับ ในการแบ่งปันทรัพย์มรดกแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการแบ่งมรดกไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อบทบัญญัติในมาตรา 3แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาสยะลาและสตูล พ.ศ. 2489 ฉะนั้น ถ้าได้มีการนำวิธีการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามลัทธิศาสนาอิสลามมาใช้ในการแบ่งปันทรัพย์มรดก ก็จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 1750ด้วย จึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆและไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้น เลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้วทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆและไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้น เลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้วทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748