พบผลลัพธ์ทั้งหมด 199 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไรและหน้าที่เสียภาษี
เมื่อปี พ.ศ. 2492 โจทก์ซื้อ ที่ดิน 1 แปลง เนื้อที่ 11 ไร่ราคา 22,320 บาท ต่อ มาปี พ.ศ. 2520 โจทก์แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็น 102 แปลงและให้ห้าง ส. ลงทุนทำถนน สร้างตึกแถวติดตั้ง ไฟฟ้าและน้ำประปาลงบนที่ดินที่แบ่งแยก จากนั้นโจทก์และห้าง ส. ก็ขายที่ดินและตึกแถวโดย โจทก์จดทะเบียนขายเฉพาะ ที่ดินห้าง ส. ทำสัญญาขายเฉพาะ ตึกแถว โจทก์ขายที่ดินในราคาตารางวาละ5,000 บาท ได้ เงินมาแล้ว 9 ล้านบาทเศษ ได้ กำไรถึง ประมาณ1,000 เท่า เห็นได้ว่าโจทก์ประกอบธุรกิจการค้าหากำไร จึงเป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ ต้อง เสียภาษีการค้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2242/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบธุรกิจซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อหากำไรเข้าข่ายต้องเสียภาษีการค้า แม้จะอ้างว่ามีหนี้สิน
เมื่อปี พ.ศ. 2492 โจทก์ซื้อที่ดิน 1 แปลง เนื้อที่ 11 ไร่ ราคา 22,320 บาท ต่อมาปี พ.ศ. 2520 โจทก์แบ่งแยกที่ดินดังกล่าวออกเป็น 102 แปลง และให้ห้าง ส. ลงทุนทำถนนสร้างตึกแถวติดตั้งไฟฟ้าและน้ำประปาลงบนที่ดินที่แบ่งแยก จากนั้นโจทก์และห้าง ส. ก็ขายที่ดินและตึกแถวโดยโจทก์จดทะเบียนขายเฉพาะที่ดินห้าง ส. ทำสัญญาขายเฉพาะตึกแถว โจทก์ขายที่ดินในราคาตารางวาละ 5,000 บาท ได้เงินมาแล้ว 9 ล้านบาทเศษ ได้กำไรถึงประมาณ 1,000 เท่า เห็นได้ว่าโจทก์ประกอบธุรกิจการค้าหากำไร จึงเป็นผู้ประกอบการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อ: พิจารณาภาษีการค้าฐานะผู้ผลิตหรือผู้รับจ้างทำของ โดยพิจารณาจากความสำคัญของวัตถุดิบและการงาน
เมื่อคุณภาพและส่วนผสมของสบู่และเนยที่โจทก์ผลิตตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้ากับที่โจทก์ผลิตและจำหน่ายเองเหมือนกัน สัมภาระหรือวัตถุที่นำมาใช้ในการผลิตตามคำสั่งเฉพาะรายดังกล่าวจึงมีความสำคัญยิ่งกว่าการงานกรณีเป็นการผลิตและขายให้ลูกค้าผู้สั่ง มิใช่การรับจ้างทำของ ดังนั้นโจทก์ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วน/ทายาทในหนี้ภาษีของห้างหุ้นส่วน/คณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล และการคำนวณเงินเพิ่มภาษีที่ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากรมาตรา56วรรคสองบัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน2คนคือ ห. กับจำเลยที่1เมื่อ ห. ตายจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่1ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้นเมื่อจำเลยที่1ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่1แล้วแม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลเลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชีผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการมีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา77และ84ฉวรรคสองเมื่อ ห.ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1055(5)และไม่มีการชำระบัญชีจำเลยที่1ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษีการที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่1จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา88 ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1025เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตายทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่1รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรมาตรา89ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น15วันถัดจากเดือนภาษีทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา89ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วน/ทายาทในหนี้ภาษี, การประเมินภาษีที่ถูกต้อง, และขอบเขตการคำนวณเงินเพิ่มภาษี
ป.รัษฎากร มาตรา 56 วรรคสอง บัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน 2 คน คือ ห. กับจำเลยที่ 2 เมื่อ ห. ตายจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 แล้ว แม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของ ห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลเลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชีผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการมีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามป.รัษฎากร มาตรา 77 และ 84 ฉวรรคสองเมื่อห.ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามป.พ.พ. มาตรา 1055(5) และไม่มีการชำระบัญชี จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่ 1จึงชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 88
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1025 เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตายทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย
การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วัน ถัดจากเดือนภาษี ทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ ดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้.
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลเลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชีผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการมีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามป.รัษฎากร มาตรา 77 และ 84 ฉวรรคสองเมื่อห.ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามป.พ.พ. มาตรา 1055(5) และไม่มีการชำระบัญชี จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่ 1จึงชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 88
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1025 เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตายทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย
การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วัน ถัดจากเดือนภาษี ทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับ การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ ดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: ห้างหุ้นส่วนเลิกกิจการ ผู้เป็นหุ้นส่วนมีหน้าที่ร่วมกันรับผิดชอบภาษีค้างชำระ แม้ต่อมามีการโอนมรดก
ประมวลรัษฎากร มาตรา 56 วรรคสองบัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน 2 คน คือ ห. กับจำเลยที่ 1เมื่อ ห. ตาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 แล้วแม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลเลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชี ผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการ มีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 และ 84 ฉวรรคสองเมื่อห.ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1055(5) และไม่มีการชำระบัญชี จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1025 เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตาย ทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วัน ถัดจากเดือนภาษี ทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนและทายาทในหนี้ภาษีจากการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายและการคำนวณเงินเพิ่มภาษีที่ถูกต้อง
ประมวลรัษฎากรมาตรา 56 วรรคสองบัญญัติไว้เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลห้างหุ้นส่วนสามัญ จ. มีหุ้นส่วน 2 คน คือ ห. กับจำเลยที่ 1เมื่อ ห. ตาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในนามของห้างหุ้นส่วนสำหรับปีภาษีนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 แล้วแม้จะมิได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อทายาทของ ห. ก็ไม่ทำให้การประเมินเสียไป ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล เลิกกันโดยไม่มีการชำระบัญชี ผู้เป็นหุ้นส่วนและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการมีหน้าที่ร่วมกันยื่นแบบแสดงรายการการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77 และ 84 ฉ.วรรค เมื่อ ห. ผู้เป็นหุ้นส่วนตายเป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1055(5) และไม่มีการชำระบัญชี จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่เหลือต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนห้างหุ้นส่วนในการเสียภาษี การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีการค้าของห้างหุ้นส่วนต่อจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนต้องร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรของห้างหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1025 เมื่อ ห.ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งตาย ทายาทผู้รับมรดกของ ห. ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวด้วย การคำนวณเงินเพิ่มภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 ทวิต้องเริ่มนับเมื่อพ้น 15 วัน ถัดจากเดือนภาษี ทั้งเงินเพิ่มดังกล่าวจะต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิดังกล่าวเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตไม้อัดสักเข้าข่ายการผลิตสินค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราปกติ
โจทก์นำแผ่นวีเนียร์ที่ได้จากการเฉือนไม้ซุงสักออกเป็นแผ่นบาง ๆ มาวางปิดทับบนไม้อัดยางที่โจทก์ซื้อมา แล้วประสานจนเป็นเนื้อเดียวกันเป็นไม้อัดสักนับว่าเป็นการประกอบสินค้าชนิดใหม่ขึ้น จึงเป็นการผลิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77
สินค้าตามบัญชีที่1 หมวด 4(1) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 เป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้าตามบัญชีที่ 3 หมวด 3(2) ซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูป เมื่อไม้อัดเป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่ระบุในหมวด 4(1) ของบัญชีที่ 1 ไม้อัดจึงเป็นวัตถุดิบ ไม้อัดสักของโจทก์โดยสภาพมิใช่สินค้าสำเร็จรูปและยังเป็นไม้อัดอย่างหนึ่ง จึงเป็นวัตถุดิบและเป็นสินค้าตามบัญชีที่ 1 หมวด 4(1) โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตและมิได้ส่งออกนอกราชอาณาจักรจึงต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 9 ของรายรับ มิใช่ร้อยละ 1.5 ของรายรับ
สินค้าตามบัญชีที่1 หมวด 4(1) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 เป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้าตามบัญชีที่ 3 หมวด 3(2) ซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูป เมื่อไม้อัดเป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่ระบุในหมวด 4(1) ของบัญชีที่ 1 ไม้อัดจึงเป็นวัตถุดิบ ไม้อัดสักของโจทก์โดยสภาพมิใช่สินค้าสำเร็จรูปและยังเป็นไม้อัดอย่างหนึ่ง จึงเป็นวัตถุดิบและเป็นสินค้าตามบัญชีที่ 1 หมวด 4(1) โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตและมิได้ส่งออกนอกราชอาณาจักรจึงต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 9 ของรายรับ มิใช่ร้อยละ 1.5 ของรายรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตไม้อัดสัก การพิจารณาการเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร และการจำแนกประเภทสินค้า
โจทก์นำแผ่นวีเนียร์ที่ได้จากการเฉือนไม้ซุงสัก ออกเป็นแผ่นบาง ๆ มาวางปิดทับบนไม้อัดยางที่โจทก์ซื้อมา แล้วประสาน จนเป็นเนื้อเดียวกันเป็นไม้อัดสัก นับว่าเป็นการประกอบสินค้าชนิดใหม่ขึ้นจึงเป็นการผลิตตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77 สินค้าตามบัญชีที่ 1 หมวด 4(1) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 เป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้าตามบัญชีที่ 3หมวด 3(2) ซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูป เมื่อไม้อัดเป็นสินค้าอย่างหนึ่งที่ระบุในหมวด 4(1) ของบัญชีที่ 1 ไม้อัดจึงเป็นวัตถุดิบไม้อัดสัก ของโจทก์โดยสภาพมิใช่สินค้าสำเร็จรูปและยังเป็นไม้อัดอย่างหนึ่ง จึงเป็นวัตถุดิบและเป็นสินค้าตามบัญชีที่ 1 หมวด 4(1)โจทก์ซึ่งเป็นผู้ผลิตและมิได้ส่งออกนอกราชอาณาจักรจึงต้องเสียภาษีการค้า ในอัตราร้อยละ 9 ของรายรับ มิใช่ร้อยละ 1.5 ของรายรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากสัญญาซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์ การกระทำเพื่อมุ่งทางการค้าหรือหากำไร
โจทก์ได้รับการยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากบิดา แต่เนื่องจากพี่น้องของโจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนบิดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวการโอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์จึงทำเป็นสัญญาซื้อขาย แล้วโจทก์ได้ขายที่ดินไปหลังจากได้กรรมสิทธิ์มาเป็นเวลาถึง 14 ปี แม้ระหว่างนั้นจะมีการจำนองและไถ่จำนองที่ดินและการรวมที่ดินเป็นแปลงใหญ่รวมทั้งจัดหาที่ดินทำทางเข้าออกติดกับถนนใหญ่ด้วย ก็เป็นการกระทำเพียงเพื่อจะให้ได้ขายที่ดินได้ในราคาสูงซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาของปุถุชนและไม่ได้ความว่าโจทก์ได้เคยซื้อขายที่ดินมาก่อนคงมีการขายที่ดินครั้งพิพาทนี้ครั้งเดียว การกระทำของโจทก์ยังไม่เป็นการกระทำเพื่อมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ได้รับการยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากบิดา แต่ทำเป็นสัญญาซื้อขาย การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่าสัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์นั้นย่อมนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง การกระทำของโจทก์ในการจดทะเบียนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินนั้นเป็นการแสดงเจตนาลวง แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นก็ตามแต่ในการประเมินเรียกเก็บภาษีของเจ้าพนักงานประเมิน จะกระทำได้ก็ต้องให้ได้ความด้วยว่าโจทก์ได้มุ่งในทางการค้าและหากำไรด้วยซึ่งข้อนี้จำต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง