พบผลลัพธ์ทั้งหมด 199 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2629/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากสัญญาซื้อขายที่ไม่สมบูรณ์ การกระทำเพื่อมุ่งทางการค้าหรือหากำไร
โจทก์ได้รับการยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากบิดา แต่เนื่องจากพี่น้องของโจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนบิดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวการโอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์จึงทำเป็นสัญญาซื้อขาย แล้วโจทก์ได้ขายที่ดินไปหลังจากได้กรรมสิทธิ์มาเป็นเวลาถึง 14 ปี แม้ระหว่างนั้นจะมีการจำนองและไถ่จำนองที่ดินและการรวมที่ดินเป็นแปลงใหญ่รวมทั้งจัดหาที่ดินทำทางเข้าออกติดกับถนนใหญ่ด้วย ก็เป็นการกระทำเพียงเพื่อจะให้ได้ขายที่ดินได้ในราคาสูงซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาของปุถุชนและไม่ได้ความว่าโจทก์ได้เคยซื้อขายที่ดินมาก่อนคงมีการขายที่ดินครั้งพิพาทนี้ครั้งเดียว การกระทำของโจทก์ยังไม่เป็นการกระทำเพื่อมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร โจทก์ได้รับการยกกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากบิดา แต่ทำเป็นสัญญาซื้อขาย การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่าสัญญาซื้อขายไม่สมบูรณ์นั้นย่อมนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง การกระทำของโจทก์ในการจดทะเบียนนิติกรรมสัญญาซื้อขายที่ดินนั้นเป็นการแสดงเจตนาลวง แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและต้องเสียหายแต่การแสดงเจตนาลวงนั้นก็ตามแต่ในการประเมินเรียกเก็บภาษีของเจ้าพนักงานประเมิน จะกระทำได้ก็ต้องให้ได้ความด้วยว่าโจทก์ได้มุ่งในทางการค้าและหากำไรด้วยซึ่งข้อนี้จำต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยกเว้นการประเมินภาษีหลังยื่นคำขอเสียภาษีเพิ่มเติม แม้ข้อมูลในแบบแสดงรายการไม่ถูกต้อง
พระราชกำหนด กำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14)พ.ศ. 2529 เปิดโอกาสให้ผู้ที่ยังไม่ได้เสียภาษีหรือเสียไว้ไม่ถูกต้อง ยื่นคำขอเสียภาษีภายในระยะเวลาและตามแบบที่อธิบดีกำหนดเมื่อผู้ยื่นคำขอเสียภาษีได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ก็เป็นอันให้ผู้นั้นได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมิน ผู้ยื่นคำขอจะหมดสิทธิที่จะได้รับยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคแรก คงมีเฉพาะเพียงกรณีตามมาตรา30 วรรคห้าเท่านั้น ดังนี้ เมื่อ อ. ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบ อ.1 และได้ชำระภาษีอากรแล้ว แม้ภายหลังจะปรากฏว่าอ.ได้แสดงรายการทรัพย์สินหนี้สินรายได้ไม่ถูกต้องในแบบอ.1ก็เป็นเพียงคำขอเสียภาษีมีข้อบกพร่องเท่านั้น หาทำให้ อ.ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2529 และข้อยกเว้นการประเมินภาษี หากปฏิบัติตามเงื่อนไข
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่14) พ.ศ.2529 เปิดโอกาสให้ผู้ที่ยังไม่ได้เสียภาษีหรือเสียไว้ไม่ถูกต้อง ยื่นคำขอเสียภาษีภายในระยะเวลาและตามแบบที่อธิบดีกำหนด เมื่อผู้ยื่นคำขอเสียภาษีได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ก็เป็นอันให้ผู้นั้นได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมิน ผู้ยื่นคำขอจะหมดสิทธิที่จะได้รับยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคแรกคงมีเฉพาะเพียงกรณีตามมาตรา 30 วรรคห้าเท่านั้น ดังนี้ เมื่อ อ. ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบ อ.1 และได้ชำระภาษีอากรแล้วแม้ภายหลังจะปรากฏว่า อ. ได้แสดงรายการทรัพย์สินหนี้สินรายได้ไม่ถูกต้องในแบบ อ.1 ก็เป็นเพียงคำขอเสียภาษีมีข้อบกพร่องเท่านั้น หาทำให้ อ. ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีตาม พรฎ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) ผู้ยื่นคำขอรับสิทธิยกเว้นการประเมิน แม้ข้อมูลไม่ถูกต้อง
พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร )ฉบับที่14) พ.ศ.2529 เปิดโอกาสให้ผู้ที่ยังไม่ได้เสียภาษีหรือเสียไว้ไม่ถูกต้อง ยื่นคำขอเสียภาษีภายในระยะเวลาและตามแบบที่อธิบดีกำหนด เมื่อผู้ยื่นคำขอเสียภาษีได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ก็เป็นอันให้ผู้นั้นได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมิน ผู้ยื่นคำขอจะหมดสิทธิที่จะได้รับยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคแรกคงมีเฉพาะเพียงกรณีตามมาตรา 30 วรรคห้าเท่านั้น ดังนี้ เมื่ออ.ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบอ.1 และได้ชำระภาษีอากรแล้วแม้ภายหลังจะปรากฏว่า อ. ได้แสดงรายการทรัพย์สินหนี้สินรายได้ไม่ถูกต้องในแบบ อ.1 ก็เป็นเพียงคำขอเสียภาษีมีข้อบกพร่องเท่านั้น หาทำให้ อ. ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบ ไต่สวนประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723-1746/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นนายหน้าและหน้าที่ในการเสียภาษีการค้า แม้จะกระทำเพียงครั้งเดียว
โจทก์ชี้ชวนให้ผู้มีชื่อมาซื้อหุ้นของธนาคาร ก. และบุคคลเหล่านี้ได้ซื้อหุ้นดังกล่าวตามที่โจทก์ชี้ชวน โดยโจทก์ได้รับค่าธรรมเนียมเป็นบำเหน็จการชี้ชวนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง โจทก์จึงเป็นนายหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 และถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบการค้า มีหน้าที่เสียภาษีการค้าและจดทะเบียนการค้า
บทบัญญัติมาตรา 89 และ 89 ทวิ เป็นบทบังคับที่ไม่ต้องพิจารณาว่า ผู้ประกอบการค้ามีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีการค้าหรือไม่ โจทก์ไม่ชำระภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา โจทก์ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 และ 89 ทวิ.
บทบัญญัติมาตรา 89 และ 89 ทวิ เป็นบทบังคับที่ไม่ต้องพิจารณาว่า ผู้ประกอบการค้ามีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีการค้าหรือไม่ โจทก์ไม่ชำระภาษีการค้าภายในกำหนดเวลา โจทก์ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89 และ 89 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายฝากที่ดินเพื่อหากำไร ถือเป็นการค้าอสังหาริมทรัพย์ ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า
การที่โจทก์ทั้งสองร่วมกันรับซื้อฝากที่ดิน แล้วแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวระหว่างที่ยังอยู่ในระยะเวลาขายฝาก และเมื่อที่ดินหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองเพียง 5 เดือน โจทก์ทั้งสองก็ขายที่ดินต่อให้บุคคลอื่นไป แสดงว่าโจทก์ทั้งสองร่วมกันรับซื้อฝากที่ดินดังกล่าวไว้โดยมุ่งในทางการค้าหากำไร เงินได้จากการขายที่ดินต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้าที่ 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซื้อฝากที่ดินเพื่อหากำไร: การนับรวมรายได้เพื่อเสียภาษีและสถานะผู้ประกอบการค้า
การที่โจทก์ทั้งสองร่วมกันรับซื้อฝากที่ดิน แล้วแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวระหว่างที่ยังอยู่ในระยะเวลาขายฝาก และเมื่อที่ดินหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองเพียง 5 เดือน โจทก์ทั้งสองก็ขายที่ดินต่อให้บุคคลอื่นไป แสดงว่าโจทก์ทั้งสองร่วมกันรับซื้อฝากที่ดินดังกล่าวไว้โดยมุ่งในทางการค้าหากำไรเงินได้จากการขายที่ดินต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้าที่ 11.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไรเข้าข่ายการค้าอสังหาริมทรัพย์ ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษี
บริษัทโจทก์ได้รับอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจประเภทบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และยังมีวัตถุประสงค์จัดหาที่ดินมาจำหน่ายแก่ประชาชนโดยตรงตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่า มีกฎหมายบัญญัติบังคับห้ามมิให้โจทก์ซื้อหรือมีที่ดินหากซื้อที่ดินมากฎหมายบังคับให้โจทก์ต้องขายไปในเวลาอันสมควร ดังนั้น เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดในราคา3,500,000 บาท แล้วหลังจากนั้นเพียง 8 วัน โจทก์ขายไปในราคาถึง 7,000,000 บาท แสดงว่าการซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของโจทก์ โจทก์ทราบดีว่าเป็นการซื้อเพื่อขายต่อ และการซื้อเพื่อขายต่อหากไม่ใช่เพื่อทางค้าหรือหากำไร โจทก์ก็คงจะไม่ลงทุนซื้อด้วยเงินจำนวนมากเช่นนี้ แม้โจทก์จะอ้างว่าจำเป็นต้องเข้าสู้ราคาซื้อที่ดินที่โจทก์รับจำนองไว้จากลูกค้าเพื่อให้ราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ราคาสูงคุ้มต้นเงินและดอกเบี้ยและโจทก์ขายให้กับบริษัทในเครือของโจทก์ก็ตาม โจทก์ย่อมไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการขายของโจทก์เป็นทางค้าหรือหากำไรเข้าลักษณะเป็นรายรับตามประเภทการค้า 11การค้าอสังหาริมทรัพย์แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรโจทก์จึงต้องนำรายรับมาเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3.5ของรายรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2224/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีการค้า แม้จะขายให้บริษัทในเครือ
บริษัทโจทก์ได้รับอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจประเภทบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และยังมีวัตถุประสงค์จัดหาที่ดินมาจำหน่ายแก่ประชาชนโดยตรงตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่า มีกฎหมายบัญญัติบังคับห้ามมิให้โจทก์ซื้อหรือมีที่ดินหากซื้อที่ดินมากฎหมายบังคับให้โจทก์ต้องขายไปในเวลาอันสมควร ดังนั้น เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดในราคา 3,500,000 บาท แล้วหลังจากนั้นเพียง 8 วัน โจทก์ขายไปในราคาถึง 7,000,000 บาท แสดงว่าการซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของโจทก์ โจทก์ทราบดีว่าเป็นการซื้อเพื่อขายต่อ และการซื้อเพื่อขายต่อหากไม่ใช่เพื่อทางค้าหรือหากำไร โจทก์ก็คงจะไม่ลงทุนซื้อด้วยเงินจำนวนมากเช่นนี้ แม้โจทก์จะอ้างว่าจำเป็นต้องเข้าสู้ราคาซื้อที่ดินที่โจทก์รับจำนองไว้จากลูกค้าเพื่อให้ราคาที่ดินที่ขายทอดตลาดได้ราคาสูงคุ้มต้นเงินและดอกเบี้ยและโจทก์ขายให้กับบริษัทในเครือของโจทก์ก็ตาม โจทก์ย่อมไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการขายของโจทก์เป็นทางค้าหรือหากำไรเข้าลักษณะเป็นรายรับตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงต้องนำรายรับมาเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3.5 ของรายรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินที่ได้มาเพื่อค้ากำไรไม่ได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 42(9) ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้
สามีโจทก์กับ ป. ร่วมกันซื้อที่ดินมาเพื่อจัดสรรขายให้แก่บุคคลทั่วไปอันเป็นการซื้อมาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร ครั้นเมื่อสามีโจทก์ตายโจทก์จดทะเบียนรับโอนมรดกในที่ดิน และโจทก์ดำเนินการขายที่ดินนั้นต่อไปตามเจตนาเดิมของเจ้ามรดก ทั้งโจทก์ก็ได้จดทะเบียนการค้าประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ไว้ด้วย ดังนี้การขายที่ดินของโจทก์เป็นการขายไปในทางการค้าหากำไร ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า
เมื่อการขายที่ดินของโจทก์ถือว่าเป็นการขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร มิใช่เป็นการขายทรัพย์สินอันเป็นมรดกตามความหมายของมาตรา 42(9) แล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ต้องนำเงินได้จากการขายที่ดินนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.
เมื่อการขายที่ดินของโจทก์ถือว่าเป็นการขายทรัพย์สินที่ได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร มิใช่เป็นการขายทรัพย์สินอันเป็นมรดกตามความหมายของมาตรา 42(9) แล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 42(9) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ต้องนำเงินได้จากการขายที่ดินนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.