พบผลลัพธ์ทั้งหมด 199 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3137/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินชำระหนี้ถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษี หากเกี่ยวข้องกับการประกอบการค้า
โจทก์ประกอบการค้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยยืมเงินธนาคารมาดำเนินการการที่โจทก์โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชำระหนี้ให้ธนาคารตามสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้หนี้ของโจทก์ลดลงนับได้ว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ตอบแทนแล้วถือได้ว่าเป็นการขายตามความหมายของประมวลรัษฎากรมาตรา77ซึ่งให้ความหมายของคำว่า'ขาย'ว่า'หมายความรวมถึงสัญญาจะขายขายฝากแลกเปลี่ยนให้เช่าซื้อหรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีประโยชน์ตอบแทนด้วย' แม้ประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจะมิใช่เป็นประโยชน์ตอบแทนทางการค้าหรือเป็นการปลดเปลื้องหนี้สินบางส่วนมิใช่รายรับเนื่องจากการประกอบการค้าโดยตรงแต่เมื่อโจทก์ประกอบการค้าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยยืมเงินธนาคารมาดำเนินการการที่โจทก์โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างชำระหนี้ให้ธนาคารก็ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบการค้าของโจทก์นั่นเองหนี้ที่ลดลงก็เป็นประโยชน์ซึ่งมีมูลค่าที่ได้รับเนื่องจากการประกอบการค้าจึงเป็นรายรับตามประมวลรัษฏากรมาตรา79อันโจทก์จะต้องเสียภาษีการค้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028-1029/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้ากรณีนำเข้ากระดาษแล้วนำมาตัดเป็นม้วนเล็กขาย ไม่ถือเป็นการผลิตกระดาษชนิดใหม่
หมวด8(9) โจทก์สั่งกระดาษม้วนใหญ่มีความกว้าง782มิลิเมตรยาวประมาณ6,100เมตรจากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรได้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้นำเข้าร้อยละ7ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด4ประมวลรัษฎากรประเภทการค้า1การขายของชนิด1(ก)แล้วโจทก์นำกระดาษดังกล่าวมาพิมพ์เป็นลายไม้ก๊อกตัดให้มีความกว้าง48มิลลิเมตรยาว2,000เมตรม้วนเป็นม้วนเล็กๆขายให้โรงงานยาสูบไปใช้พันก้นกรองบุหรี่เช่นนี้การประกอบกิจการของโจทก์ไม่เข้าลักษณะเป็นการผลิตกระดาษใช้พันก้นกรองบุหรี่ตามนัยประมวลรัษฎากรมาตรา77เพราะการที่โจทก์นำกระดาษม้วนใหญ่มาพิมพ์เป็นลายไม้ก๊อกแล้วตัดทำเป็นม้วนเล็กๆนั้นเป็นการทำให้เหมาะสมและสะดวกแก่การใช้พันก้นกรองบุหรี่สินค้ากระดาษที่โจทก์นำเข้ามายังเป็นกระดาษอย่างเดิมมิได้แปรรูปหรือแปรสภาพเป็นสินค้าใหม่โจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตกระดาษทุกชนิดตามบัญชี1หมวด8(9)ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ(ฉบับที่54)พ.ศ.2517ในอัตราร้อยละ7ของรายรับตามบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด4ประเภทการค้า1การขายของชนิด1(ก)อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2052/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับรายรับดอกเบี้ยเพื่อเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้ ต้องเป็นดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว ไม่ใช่เพียงถึงกำหนดชำระ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ที่บัญญัติว่า รายรับหมายความว่าเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใดๆอันมีมูลค่า ที่ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร เนื่องจากการประกอบการค้า นั้น หมายถึงรายรับเนื่องจากการ ประกอบการค้าประเภททั่วไป ไม่รวมถึงรายรับจากการค้าประเภท ธนาคาร ซึ่งต้องเป็นไปตามข้อยกเว้นในมาตรา 79(3)
ดอกเบี้ยอันเป็นรายรับจากการค้าประเภทธนาคาร ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 79(3)(ก) นั้น หมายถึงดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว คือดอกเบี้ยรับชำระจริงใน เดือนใดจึงจะถือว่าเป็นรายรับของเดือนนั้น เมื่อดอกเบี้ย ที่ธนาคารโจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้เพียงแต่ถึงกำหนดชำระ แล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระจริง จึงยังไม่เป็นรายรับตาม มาตรา 79(3)(ก) ในอันที่จะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าในแต่ละเดือนนั้น (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2527)
เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ไม่ว่าจะ เป็นเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่น ต้องเป็นสิ่ง ที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงมีสิทธิที่จะได้รับ ฉะนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้ แม้เป็นดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ รับชำระมาจริง จึงยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะ นำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้มาจากกิจการของโจทก์ตามมาตรา 65
ดอกเบี้ยอันเป็นรายรับจากการค้าประเภทธนาคาร ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 79(3)(ก) นั้น หมายถึงดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว คือดอกเบี้ยรับชำระจริงใน เดือนใดจึงจะถือว่าเป็นรายรับของเดือนนั้น เมื่อดอกเบี้ย ที่ธนาคารโจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้เพียงแต่ถึงกำหนดชำระ แล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระจริง จึงยังไม่เป็นรายรับตาม มาตรา 79(3)(ก) ในอันที่จะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าในแต่ละเดือนนั้น (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2527)
เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ไม่ว่าจะ เป็นเงินทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่น ต้องเป็นสิ่ง ที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงมีสิทธิที่จะได้รับ ฉะนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้ แม้เป็นดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ รับชำระมาจริง จึงยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะ นำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้มาจากกิจการของโจทก์ตามมาตรา 65
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2052/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรู้รายได้ดอกเบี้ยธนาคารเพื่อเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้ ต้องเป็นดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว
ประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ที่บัญญัติว่า รายรับหมายความว่าเงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใดๆอันมีมูลค่า ที่ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร เนื่องจากการประกอบการค้านั้น หมายถึงรายรับเนื่องจากการ ประกอบการค้าประเภททั่วไป ไม่รวมถึงรายรับจากการค้าประเภท ธนาคาร ซึ่งต้องเป็นไปตามข้อยกเว้นในมาตรา 79(3) ดอกเบี้ยอันเป็นรายรับจากการค้าประเภทธนาคาร ตามที่ บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 79(3)(ก) นั้น หมายถึงดอกเบี้ยที่ได้รับชำระแล้ว คือดอกเบี้ยรับชำระจริงใน เดือนใดจึงจะถือว่าเป็นรายรับของเดือนนั้น เมื่อดอกเบี้ย ที่ธนาคารโจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้เพียงแต่ถึงกำหนดชำระ แล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระจริง จึงยังไม่เป็นรายรับตาม มาตรา 79(3)(ก) ในอันที่จะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้าในแต่ละเดือนนั้น (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2527)
เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ไม่ว่าจะ เป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่น ต้องเป็นสิ่ง ที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงมีสิทธิที่จะได้ รับ ฉะนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้ แม้ เป็นดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ รับชำระมาจริงจึงยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะ นำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้มาจากกิจการของโจทก์ตามมาตรา 65
เงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 ไม่ว่าจะ เป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่น ต้องเป็นสิ่ง ที่ได้รับมาแล้ว มิใช่เป็นแต่เพียงมีสิทธิที่จะได้ รับ ฉะนั้น ดอกเบี้ยที่โจทก์ลงบัญชีตั้งพักไว้ แม้ เป็นดอกเบี้ยที่ถึงกำหนดชำระแล้ว แต่โจทก์ยังไม่ได้ รับชำระมาจริงจึงยังไม่เป็นเงินได้ตามมาตรา 39 ที่จะ นำไปคิดเป็นกำไรสุทธิซึ่งได้มาจากกิจการของโจทก์ตามมาตรา 65
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้า: กิจการโรงงานทอถุงเท้าถือเป็นการผลิต ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7
ห้างโจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการตั้ง โรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ รวมทั้งโรงงานทำถุงเท้า โรงงานทำรองเท้า และโรงงานทำสิ่งถักทอทุกชนิดจำหน่ายถุงเท้า รองเท้าและอื่นๆ การขอจดทะเบียนการค้าตามประมวลรัษฎากร โจทก์ก็ระบุว่าเป็นการขายของชนิด 1(ก) สินค้าและการค้า ส่วนใหญ่เป็นจำพวกถุงเท้าและโจทก์ได้ยื่น แบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 84แห่งประมวลรัษฎากรแสดงว่า โจทก์ประกอบการค้า ประเภท 1การขายของชนิด 1(ก) ผลิต ถุงเท้าจำหน่าย ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า ว่า โจทก์ประกอบการค้าประเภท 4การรับจ้างทำของเลย ดังนั้นเมื่อโจทก์ประกอบการค้าจัดส่งถุงเท้าให้กรมพลาธิการทหารบก โดยทำสัญญากับกองทัพบกเป็นสัญญาจ้างทำถุงเท้าบ้าง สัญญาซื้อขายถุงเท้าบ้าง และคุณลักษณะเฉพาะของถุงเท้า รูปแบบถุงเท้าตามที่กำหนดไว้ ท้ายสัญญาจ้างหรือสัญญาซื้อขายถุงเท้าระหว่าง กองทัพบกกับห้างโจทก์ ก็ใช้คุณลักษณะเฉพาะแสดงว่า กองทัพบกมีวัตถุประสงค์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ในถุงเท้าที่มี คุณภาพและคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น ถึง แม้จะระบุชื่อว่าเป็นสัญญาจ้างหรือสัญญาซื้อขายก็ไม่สำคัญเห็นได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการโรงงานทอถุงเท้าจำหน่ายและได้ จำหน่ายให้กองทัพบก โดยโจทก์ได้รับมูลค่าของถุงเท้าเป็น ค่าตอบแทน โจทก์จึงเป็นผู้ทำให้ มีขึ้นซึ่งสินค้า ถุงเท้า ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิต ตามมาตรา 77แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7ของรายรับในประเภท 1 การขายของ ชนิด 1(ก) ตาม บัญชีอัตราภาษีการค้าแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4
โจทก์เคยชำระภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ โดยยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตถุงเท้าจำหน่ายมาก่อนแล้ว ต่อมา จึงได้ชำระภาษีเป็นร้อยละ 2 โดยแสดงลักษณะของการค้าว่า ผลิตถุงเท้าจำหน่ายเช่นกัน ดังนี้ ย่อมทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์ชำระลดน้อยลงกว่าที่ควรต้องเสีย แสดงว่าโจทก์มี เจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะลดเบี้ยปรับให้
โจทก์เคยชำระภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ โดยยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตถุงเท้าจำหน่ายมาก่อนแล้ว ต่อมา จึงได้ชำระภาษีเป็นร้อยละ 2 โดยแสดงลักษณะของการค้าว่า ผลิตถุงเท้าจำหน่ายเช่นกัน ดังนี้ ย่อมทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์ชำระลดน้อยลงกว่าที่ควรต้องเสีย แสดงว่าโจทก์มี เจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะลดเบี้ยปรับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้า: การผลิตถุงเท้าเพื่อขาย แม้ทำสัญญาจ้างหรือซื้อขายกับราชการ ถือเป็นผู้ผลิตต้องเสียภาษี
ห้างโจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการตั้ง โรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ รวมทั้งโรงงานทำถุงเท้า โรงงานทำรองเท้า และโรงงานทำสิ่งถักทอทุกชนิดจำหน่ายถุงเท้า รองเท้าและอื่นๆการขอจดทะเบียนการค้าตามประมวลรัษฎากร โจทก์ก็ระบุว่าเป็นการขายของชนิด 1(ก) สินค้าและการค้าส่วนใหญ่เป็นจำพวกถุงเท้าและโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา 84 แห่งประมวลรัษฎากรแสดงว่า โจทก์ประกอบการค้า ประเภท 1การขายของชนิด 1(ก) ผลิต ถุงเท้าจำหน่าย ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าว่า โจทก์ประกอบการค้าประเภท 4การรับจ้างทำของเลย ดังนั้นเมื่อโจทก์ประกอบการค้าจัดส่งถุงเท้าให้กรมพลาธิการทหารบก โดยทำสัญญากับกองทัพบกเป็นสัญญาจ้างทำถุงเท้าบ้าง สัญญาซื้อขายถุงเท้าบ้าง และคุณลักษณะเฉพาะของถุงเท้า รูปแบบถุงเท้าตามที่กำหนดไว้ท้ายสัญญาจ้างหรือสัญญาซื้อขายถุงเท้าระหว่าง กองทัพบกกับห้างโจทก์ ก็ใช้คุณลักษณะเฉพาะแสดงว่า กองทัพบกมีวัตถุประสงค์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ในถุงเท้าที่มีคุณภาพและคุณลักษณะตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเท่านั้น ถึง แม้จะระบุชื่อว่าเป็นสัญญาจ้างหรือสัญญาซื้อขายก็ไม่สำคัญ เห็นได้ว่าโจทก์ประกอบกิจการโรงงานทอถุงเท้าจำหน่ายและได้ จำหน่ายให้กองทัพบกโดยโจทก์ได้รับมูลค่าของถุงเท้าเป็นค่าตอบแทน โจทก์จึงเป็นผู้ทำให้มีขึ้นซึ่งสินค้า ถุงเท้า ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผลิต ตามมาตรา 77แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7ของรายรับในประเภท 1 การขายของ ชนิด 1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่งประมวลรัษฎากร หมวด 4
โจทก์เคยชำระภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับโดยยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตถุงเท้าจำหน่ายมาก่อนแล้ว ต่อมาจึงได้ชำระภาษีเป็นร้อยละ 2 โดยแสดงลักษณะของการค้าว่าผลิตถุงเท้าจำหน่ายเช่นกัน ดังนี้ ย่อมทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์ชำระลดน้อยลงกว่าที่ควรต้องเสีย แสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะลดเบี้ยปรับให้
โจทก์เคยชำระภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับโดยยอมรับว่าเป็นผู้ผลิตถุงเท้าจำหน่ายมาก่อนแล้ว ต่อมาจึงได้ชำระภาษีเป็นร้อยละ 2 โดยแสดงลักษณะของการค้าว่าผลิตถุงเท้าจำหน่ายเช่นกัน ดังนี้ ย่อมทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์ชำระลดน้อยลงกว่าที่ควรต้องเสีย แสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่ศาลจะลดเบี้ยปรับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินเพื่อแลกกับหุ้นถือเป็นการค้าและต้องเสียภาษีการค้า แม้จะไม่มีกำไรหรือขาดทุน
การที่โจทก์ขายที่ดินให้บริษัท ท. แล้วเอาเงินทั้งหมดไปซื้อหุ้นของบริษัท ท. ก็เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่าเช่น เงินปันผล หรือราคาหุ้นที่จะสูงขึ้น ถือได้ว่าโจทก์ได้ขายที่ดินให้แก่บริษัท ท. เป็นทางค้าหรือหากำไรจึงต้องเสียภาษีการค้าตามรายรับ โดยไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ขายที่ดินไปมีกำไรหรือขาดทุน โจทก์โอนที่ดินให้บริษัท อ. แทนการชำระค่าหุ้น เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนโดยมีผลประโยชน์ตอบแทน จึงเป็นการขายตามความหมายในมาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากร และการตั้งบริษัท อ. ขึ้นมาก็มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันกำไรที่จะพึงได้ จากกิจการนั้น อันเป็นการค้าตามความหมายของมาตราดังกล่าว เช่นกัน ดังนั้น การที่โจทก์โอนที่ดินเพื่อแลกกับหุ้น ที่ได้รับโอนมา จึงเป็นการขายที่ดินในทางค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บริษัทต่างประเทศประกอบการค้าในไทย มีหน้าที่เสียภาษีการค้า แม้จะระบุในสัญญาให้โจทก์เป็นผู้ออกภาษีแทน
บริษัทส.จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมีสำนักงานตั้งอยู่ในต่างประเทศ แต่เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย โดยเข้าทำสัญญากับโจทก์รับจ้างและร่วมดำเนินการในการให้บริการในด้านวิศวกรรมและให้บริการต่างๆ เกี่ยวกับการผลิตเหล็กให้แก่โจทก์ โดยได้รับเงินค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากโจทก์ อันถือได้ว่าเป็นการประกอบการค้าจะต้องเสียภาษีการค้าสำหรับเงินค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่ได้รับจากโจทก์เมื่อตามสัญญาระบุว่าโจทก์รับเป็นผู้ออกภาษีให้ ถือได้ว่าโจทก์เป็นสาขาหรือตัวแทนของบริษัท ฮ. ในการเสียภาษีด้วย โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าของบริษัท ฮ. ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เมื่อไม่ปฏิบัติ เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรจำเลยย่อมมีอำนาจประเมินภาษี เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: นิติสัมพันธ์ซื้อขายสินค้ากับโรงงาน ไม่ถือเป็นการผลิต
โจทก์จำหน่ายรองเท้าโดยสั่งโรงงานผลิตให้ และตกลงราคากัน เป็นคู่ ๆ ไป โรงงานเป็นผู้เสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิต ดังนี้ นิติสัมพันธ์ ระหว่างโจทก์กับโรงงานเป็นเรื่องซื้อขายสินค้ากันตามธรรมดาไม่ใช่เจตนา ว่าจ้างหรือรับจ้างทำของอันจะถือว่าโจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้ผลิตรองเท้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีต้องกระทำ ณ สถานการค้า การฝ่าฝืนถือเป็นเหตุไม่อาจอ้างเหตุสุดวิสัยได้
มาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติว่า สถานการค้าหมายความว่าสถานที่ซึ่งผู้ประกอบการค้าใช้ประกอบการค้าเป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย โจทก์ประกอบการค้าและเก็บสินค้าไว้ที่สำนักงานห้างโจทก์ เพียงแต่เก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ที่บ้านเลขที่ 137 เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าบ้านเลขที่ 137 เป็นสถานการค้าหรือส่วนหนึ่งของสถานการค้าของโจทก์
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานการค้าของตน แต่กลับกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยนำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บไว้ที่อื่นอันมิใช่สถานการค้าของโจทก์ ต่อมาเกิดเพลิงไหม้สมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี แม้โจทก์มิได้เป็นผู้กระทำก็ตาม โจทก์ย่อมอ้างเอาเหตุที่บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของโจทก์ถูกเพลิงไหม้อันสืบเนื่องมาจากที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายมาเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกหาได้ไม่ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2526)
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานการค้าของตน แต่กลับกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยนำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บไว้ที่อื่นอันมิใช่สถานการค้าของโจทก์ ต่อมาเกิดเพลิงไหม้สมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี แม้โจทก์มิได้เป็นผู้กระทำก็ตาม โจทก์ย่อมอ้างเอาเหตุที่บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของโจทก์ถูกเพลิงไหม้อันสืบเนื่องมาจากที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายมาเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกหาได้ไม่ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2526)