คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1079/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคืนภาษีเกิน ต้องมีการประเมินภาษีก่อน
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีการค้าตามที่เจ้าพนักงานสรรพากรแนะนำและเรียกเก็บ ไม่มีการประเมินจึงไม่มีการอุทธรณ์ที่จะต้องทำก่อนฟ้องขอเรียกเงินที่เสียภาษีเกินไปคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากธุรกรรมซื้อขายที่ดินแทนบริษัทต่างด้าว โดยผู้ซื้อไม่ชำระเงิน และผู้ขายไม่ได้แจ้งข้อมูลในภ.ง.ด.
ฟ้องว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ การประเมินภาษีการค้าและภาษีเงินได้ไม่ถูก โจทก์ฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลย ไม่ฟ้องคณะกรรมการประเมินก็ได้
ค่าฤชาธรรมเนียมควรให้คู่ความฝ่ายใดรับผิด เป็นดุลพินิจที่ศาลพิจารณาตามเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีไม่จำเป็นต้องให้ฝ่ายแพ้คดีส่วนใหญ่เป็นฝ่ายรับผิด ศาลให้เป็นพับก็ได้
โจทก์ซื้อที่ดินแทนบริษัทซึ่งเป็นคนต่างด้าว แล้วโอนให้บริษัทนั้นภายหลัง โจทก์ไม่ได้รับเงินค่าที่ดิน การที่โจทก์มีชื่อในโฉนดไม่เป็นเหตุที่จะประเมินภาษีเงินได้จากโจทก์
โจทก์ไม่ได้แจ้งการขายที่ดินใน ภ.ง.ด.9 โจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ แต่ไม่ถือว่าโจทก์ประกอบการค้าที่จะต้องเสียภาษีการค้าด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้จากการรับเหมาช่วงและการจ่ายเงินแทนผู้เช่า: กำหนดระยะเวลาประเมินภาษี
บริษัทโจทก์มีวัตถุประสงค์รับเหมาก่อสร้างทำสัญญารับปรับปรุงที่ดินปลูกสร้างอาคารเรียกเก็บเงินจากผู้เช่า โจทก์จ่ายเงินแก่ผู้รับช่วงจากเจ้าของที่ดิน 30,100,000 บาท เป็นเงินที่โจทก์จ่ายเงินที่เก็บจากผู้เช่าบางส่วน แล้วโจทก์ให้ผู้เช่าชำระเงินจำนวนนี้แก่ผู้รับช่วงจากเจ้าของที่ดินเอง เท่ากับโจทก์รับเงินจากผู้เช่าไปจ่ายนั่นเอง โจทก์จึงมีรายรับ 30,100,000 บาท ซึ่งต้องเสียภาษีการค้า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการค้าว่าไม่มีรายรับ จำเลยประเมินเรียกเก็บได้ในกำหนด 10 ปี ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 88ทวิ(2) ไม่ใช่ 5 ปี ตาม มาตรา 88 ทวิ(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 273/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถงการประเมินภาษี และข้อยกเว้นภาษีจากการซื้อขายที่ดินเพื่อลงทุน
ฟ้องกรมสรรพากรให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีเงินได้โดยไม่ฟ้องเจ้าพนักงานประเมินด้วยก็ได้
ซื้อที่ดินมาเพื่อตั้งโรงงาน โดยผู้ซื้อออกเงินแทนบริษัทไปก่อนแต่ต่อมาไม่ได้ใช้ตั้งโรงงานจึงขายไปได้กำไรมากตามราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่การค้าไม่ต้องเสียภาษีการค้า
ขายที่ดินโดยไม่ได้แสดงรายการข้อ 14 แห่ง ภ.ง.ด.9 ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด ซึ่งมีสภาพบังคับได้อย่างกฎหมายโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งหนี้ภาษีและการคิดเงินเพิ่ม กรณีไม่ชำระภาษีตามกำหนด
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภาษีการค้า ไม่ใช่การประเมิน แต่เป็นการแจ้งให้ทราบว่าต้องเสียภาษีการค้า เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับ ภาษีบำรุงเทศบาล และเงินเพิ่มตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา89 ทวิด้วย
ภาษีการค้าต้องชำระตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 86,86 ทวิถ้าไม่ชำระก็ต้องเสียเงินเพิ่มตาม มาตรา 89 ทวิ มาตรา 89 ทวิเป็นเรื่องไม่เสียภาษีตามกำหนดเวลาต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 1 ต่อเดือน มาตรา 31 เป็นเรื่องอุทธรณ์และทุเลาการบังคับยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ไม่ใช่ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 211/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ผลิตปูนซิเมนต์ไม่เป็นผู้ประกอบการค้าปูนเม็ด จึงไม่ต้องเสียภาษี
โจทก์สั่งปูนเม็ดเข้ามาผลิตปูนซิเมนต์ผงขาย โจทก์ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าและขายสินค้าปูนเม็ดไม่ต้องเสียภาษีการค้าในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องกรมสรรพากรเพื่อเรียกร้องภาษี และผลกระทบของการทุเลาภาษีต่อเงินเพิ่ม
โจทก์มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเสียภาษีอากรฝ่ายสรรพากรโจทก์ฟ้องกรมสรรพากรจำเลยได้ ไม่ต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
เมื่อโจทก์ไม่เสียภาษีการค้าตามกำหนด โจทก์ต้องเสียเงินเพิ่ม การที่กรมสรรพากรทุเลาการเสียภาษีให้ระหว่างอุทธรณ์ ไม่ทำให้เงินเพิ่มที่ต้องเสียนั้นเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขอคืนภาษีการค้า กรณีสินค้าไม่เข้าข่ายยกเว้นภาษี และการประเมินภาษี
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร เมื่อนำเข้าโจทก์ยื่นแบบใบขนสินค้า และแบบแสดงรายการการค้า และชำระภาษีศุลกากร ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรตรวจแบบที่ยื่นถูกต้องแล้วรับเงินภาษีอากรที่โจทก์ขอชำระ ดังนี้ แม้ในส่วนภาษีการค้าพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจะได้กระทำแทนกรมสรรพากรก็หาใช่เป็นการประเมินภาษีตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ไม่ จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 30 เสียก่อนฟ้องเมื่อโจทก์เห็นว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นสินค้าอันได้รับยกเว้นภาษีการค้า และโจทก์มีหนังสือขอคืนเงินภาษีดังกล่าวแล้ว แต่กรมศุลกากรและกรมสรรพากรไม่ยอมคืนให้โจทก์มีอำนาจฟ้องได้
เครื่องจักรพร้อมทั้งส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักรของโจทก์นั้น โจทก์ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรทำการใช้งานผลิตสินค้าเป็นเวลานานแล้ว ส่วนสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรครั้งนี้มิใช่ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้อยู่ แต่เป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ที่สั่งเข้ามาภายหลังเพื่อใช้ทดแทนของเก่าที่ชำรุด จึงหาใช่สินค้าที่เป็นเครื่องจักรส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักรอันจะได้รับยกเว้นภาษีตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ตรี(11)ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2219/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนค้าที่ดิน และการแก้ไขจำนวนเงินประเมินหลังพ้นกำหนดระยะเวลา
ห้างหุ้นส่วนมีวัตถุประสงค์ในการค้า ทำการขายที่ดินในทางการค้าไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
เมื่อครั้งคดีนี้ขึ้นสู่ศาลฎีกาครั้งแรกศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า จ. เจ้าพนักงานประเมินคนเดียวมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีผลบังคับให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาประเด็นอื่นแล้วพิพากษาใหม่ประเด็นเรื่องอำนาจประเมินของ จ. กับอำนาจวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงยุติ โจทก์ฎีกาครั้งหลังอีกว่าไม่มีอำนาจประเมินแม้จะยกเหตุต่างกัน ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัยให้
โจทก์ยื่นรายการเสียภาษีเงินได้ปีพ.ศ.2499-2501 เจ้าพนักงานประเมินจังหวัดสงขลาได้มีหมายเรียกลงวันที่ 12 กันยายน 2501 เรียกโจทก์เพื่อไต่สวนต่อมาโจทก์ย้ายภูมิลำเนามาอยู่ในจังหวัดพระนครเจ้าพนักงานประเมินในเขตจังหวัดสงขลาโอนเรื่องให้เจ้าพนักงานประเมินในเขตจังหวัดพระนครดำเนินการจึงได้มีหมายเรียกฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2508 ถึงโจทก์ หมายเรียกฉบับหลังจึงเป็นหมายเรียกซ้ำโจทก์จะอ้างว่าเพิ่งออกหมายเรียกเมื่อพ้นกำหนด5 ปีแล้วหาได้ไม่เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิมได้
แม้เจ้าพนักงานประเมินที่มีหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนครั้งแรกจะมีความเห็นว่าโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ก็ตาม กรมสรรพากรซึ่งมีอำนาจหน้าที่และควบคุมการจัดเก็บภาษีอากรตาม ประมวลรัษฎากร ก็มีอำนาจสั่งให้ประเมินใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียเงินเพิ่มภาษีการค้าแม้ได้รับการทุเลาการชำระภาษี และการอำนาจฟ้องกรมสรรพากร
เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าเงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้โจทก์มีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรได้ เพราะมูลกรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในกรอกอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 5
การที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาโดยอนุญาตให้โจทก์ทุเลาการเสียภาษีอากรตามมาตรา 31 วรรคแรกนั้น มีผลเพียงว่าภาษีอากรที่ครบกำหนดต้องชำระ แต่ได้รับการทุเลาการเสียภาษีนั้น เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 ทำการยึดทรัพย์โจทก์นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรในระหว่างการทุเลาการเสียภาษีอากรไม่ได้เท่านั้น หามีผลเป็นการยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าแต่ประการใดไม่ดังนั้น การคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงต้องดำเนินเรื่อยไป ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมิน จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นตามมาตรา 86 ทวิ (มิใช่วันที่โจทก์รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
มาตรา 27 ซึ่งกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อนละยี่สิบแห่งภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปสำหรับกรณีที่มีการค้างชำระภาษีอื่นซึ่งมิได้บทบัญญัติใช้บังคับโดยเฉพาะ สำหรับภาษีการค้านั้น มีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับกรณีที่ไม่มีการชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนตามมารตรา 89 ทวิ จึงนำมาตรา 27 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์นำเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1 ต่อเดือนไปชำระนั้น เป็นการแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 89 ทวิ เท่านั้น ซึ่งแม้จะไม่แจ้ง โจทก์ก็ยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีการค้ารายพิพาทจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จสิ้นอยู่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่ม
of 21