พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขีดฆ่าอากรแสตมป์และการใช้สัญญากู้เป็นพยานหลักฐาน รวมถึงดอกเบี้ยผิดนัด
แม้ประมวลรัษฎากร มาตรา 103 จะให้ความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" ว่า "การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก โดยในกรณีแสตมป์ปิดทับได้ลงลายมือชื่อหรือ ลงชื่อ ห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษ และลงวัน เดือน ปี ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย ฯลฯ" ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่า ความมุ่งหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" นั้น ก็เพื่อจะให้แสตมป์ที่ปิดทับเอกสารนั้นใช้ไม่ได้ต่อไปเท่านั้น มาตรา 103 จึงให้ความหมายไว้ในตอนแรกว่า เป็นการ กระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก ส่วนข้อความตอนต่อไปนั้นเป็นเพียงการอธิบายเพิ่มเติมวิธีกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีกเท่านั้น ฉะนั้น เมื่อได้กระทำการใด ๆ ให้แสตมป์นั้นใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว แม้จะมิได้ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามข้อความที่อธิบายเพิ่มเติมไว้ก็ถือได้ว่าเป็นการขีดฆ่าตามความหมายของ มาตรา 103 ที่ได้บัญญัติเกี่ยวกับคำว่า ขีดฆ่า นั้นแล้ว
การขีดฆ่าอากรแสตมป์ที่ปิดบนเอกสารสัญญากู้ด้วยหมึกเพื่อมิให้อากรแสตมป์นั้นใช้ได้อีกต่อไป เป็นการขีดฆ่าที่ชอบแล้ว แม้จะมิได้ลง วัน เดือน ปี ที่ขีดฆ่าก็ถือว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องนี้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญากู้เพราะดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยต้องรับผิดใช้ ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินกู้ให้โจทก์ในระหว่างที่จำเลย ผิดนัดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 224 และเมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีได้ มีการผิดนัด จำเลยจึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2519)
การขีดฆ่าอากรแสตมป์ที่ปิดบนเอกสารสัญญากู้ด้วยหมึกเพื่อมิให้อากรแสตมป์นั้นใช้ได้อีกต่อไป เป็นการขีดฆ่าที่ชอบแล้ว แม้จะมิได้ลง วัน เดือน ปี ที่ขีดฆ่าก็ถือว่าสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องนี้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่วันทำสัญญากู้เพราะดอกเบี้ยที่เรียกเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เป็นโมฆะก็ตาม แต่จำเลยต้องรับผิดใช้ ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินกู้ให้โจทก์ในระหว่างที่จำเลย ผิดนัดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 224 และเมื่อไม่ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีได้ มีการผิดนัด จำเลยจึงต้องชดใช้ดอกเบี้ยให้โจทก์ตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอเฉลี่ยทรัพย์สินของเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างตามกฎหมายพิเศษและการจำกัดสิทธิบุริมสิทธิ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เป็นกฎหมายพิเศษให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานที่จะเรียกเก็บภาษีอากรค้างโดยสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดได้เองไม่จำต้องนำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาลสิทธิของผู้ร้องตามประมวลรัษฎากรจึงถือได้ว่าเป็นสิทธิอื่นๆ ซึ่งบุคคลภายนอกอาจขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องก็มีสิทธิจะขอเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดได้ แต่จะอ้างบุริมสิทธิตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253 ได้เฉพาะที่ค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่งตามมาตรา 256 การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยเมื่อเกินกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าหนี้บุริมสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณภาษีเงินได้กรณีนายจ้างจ่ายภาษีให้ลูกจ้าง ต้องรวมเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อคำนวณภาษีที่ถูกต้อง
เงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นค่าภาษีของลูกจ้างผู้ใดนั้น ก่อนที่จะทราบว่าเป็นเงินได้จำนวนเท่าใด ก็จะต้องทราบเสียก่อนว่าลูกจ้างผู้นั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินของตนเป็นจำนวนเท่าใด และภาษีเงินได้ที่ลูกจ้างจะต้องเสียจำนวนนี้ หากนายจ้างออกให้ก็จะต้องนำมารวมกับรายได้พึงประเมินเดิมของลูกจ้างเพื่อถือเป็นเงินได้พึงประเมิน.ทั้งสิ้นของลูกจ้าง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) แต่จะคำนวณทำนองนี้ต่อไปซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่ได้ เพราะจะเป็นการคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: การประเมินภาษีเพิ่มเติมและการอุทธรณ์ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องขาดอายุความ
ห้างโจทก์เป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีพร้อมด้วยบัญชีต่าง ๆ ตามที่กฎหมายระบุไว้ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และถ้ามีกำไรสุทธิก็ต้องชำระเงินภาษีที่ต้องเสียต่ออำเภอพร้อมกับรายการที่ยื่นนั้นด้วย ดังบัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65,68,69 ดังนั้น หนี้ภาษีอากรของโจทก์ได้ถึงกำหนดชำระแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร เมื่อนับจากวันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวจนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์ชำระภาษีที่ขาดเพิ่มเติมให้ครบถ้วนยังไม่ครบ 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของกรมสรรพากรจำเลยจึงยังไม่ขาดอายุความส่วนที่ห้าง โจทก์อุทธรณ์คำสั่งการประเมินต่อเจ้าพนักงานอุทธรณ์ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ห้างโจทก์ทราบเมื่อพ้น 10 ปีแล้วนั้นคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นเพียงข้อวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินว่าถูกต้องหรือไม่ ควรลดหย่อนภาษีให้ห้างโจทก์หรือไม่เท่านั้น ไม่ใช่คำสั่งเรียกเก็บภาษี ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยและการหักรายจ่ายที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร
ธนาคารโจทก์กับสาขาต่างประเทศและสาขากรุงเทพฯ เป็นนิติบุคคลเดียวกัน เมื่อสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศส่งเงินมาให้สาขากรุงเทพฯ ใช้เป็นเงินกองทุนและเป็นเงินทุนหมุนเวียนของสาขากรุงเทพฯ แม้เงินที่ส่งมานั้นจะเคยเป็นเงินฝากของลูกค้าของสาขาต่างประเทศซึ่งมีความผูกพันจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากก็ตามการที่สาขากรุงเทพฯ ส่งดอกเบี้ยสำหรับเงินจำนวนนี้ไปให้สาขาต่างประเทศก็เป็นเพียงการผ่อนภาระของสาขาต่างประเทศเท่านั้นมิใช่รายจ่ายโดยตรงของสาขากรุงเทพฯ ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงและเป็นค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สินซึ่งนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง ทั้งเป็นดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่างๆ หรือเงินกองทุนของตนเองตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9)(10)(11) ซึ่งมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ จึงต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อหากำไรสุทธิในการเสียภาษีเงินได้
บริษัท ป. กู้เงินจากสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศดอกเบี้ยที่บริษัท ป. ขอให้สาขากรุงเทพฯ หักจากบัญชีเงินฝากของบริษัท ป. ส่งไปให้สาขาต่างประเทศ ถือว่าเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำไปรวมคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกันและการที่สาขากรุงเทพฯ ส่งเงินดอกเบี้ยทั้งสองรายนี้ออกไปให้สาขาต่างประเทศย่อมเป็นการจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยจึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 70 ทวิ
บริษัท ป. กู้เงินจากสาขาธนาคารโจทก์ที่ต่างประเทศดอกเบี้ยที่บริษัท ป. ขอให้สาขากรุงเทพฯ หักจากบัญชีเงินฝากของบริษัท ป. ส่งไปให้สาขาต่างประเทศ ถือว่าเป็นรายได้ของโจทก์ที่จะต้องนำไปรวมคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ด้วยเหตุผลอย่างเดียวกันและการที่สาขากรุงเทพฯ ส่งเงินดอกเบี้ยทั้งสองรายนี้ออกไปให้สาขาต่างประเทศย่อมเป็นการจำหน่ายกำไรออกจากประเทศไทยจึงต้องเสียภาษีเงินได้อัตราร้อยละ 15 ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 70 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ซิเมนต์ผงขายให้บริษัทในเครือเพื่อผลิตต่อ ไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูป เสียภาษีตามอัตราวัสดุ
ซิเมนต์ผงที่โจทก์ขายให้แก่บริษัทในเครือของตนเพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตเป็นสินค้าอย่างอื่นขาย มิใช่สินค้าสำเร็จรูป จึงเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภท 1 การขายของชนิด 9(ก)อัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากการออกหุ้นเพื่อแลกกับสิทธิบัตร ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ผู้ถือหุ้นมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือถึงบริษัทโจทก์ให้นำส่งภาษีเงินได้ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายของบริษัท ฟ. ซึ่งอยู่ต่างประเทศเมื่อโจทก์ถือว่าเป็นคำสั่งถึงบริษัทที่มีชื่อไม่ตรงกับชื่อโจทก์เจ้าพนักงานประเมินก็ชอบที่จะออกคำสั่งใหม่ระบุชื่อโจทก์เสียให้ถูกต้องและยกเลิกคำสั่งฉบับเดิมได้ ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติห้าม
บริษัท ฟ. ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรการผลิตยางไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์ได้ออกหุ้นชำระเต็มมูลค่าให้แก่บริษัท ฟ. เพื่อตอบแทนที่บริษัทนั้นยอมให้แบบและความรู้ทางวิศวกรรมในการผลิตยางตามที่โจทก์กับบริษัท ฟ.ทำสัญญากันไว้ ดังนี้บริษัท ฟ. ได้รับหุ้นจากโจทก์เป็นค่าแห่งสิทธิ คือสิทธิบัตรในการผลิตยาง จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(ก) แม้หุ้นจะมิใช่ตัวเงินก็เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งคิดคำนวณได้เป็นเงินจึงเป็นเงินได้ตามความหมายของมาตรา 39 โจทก์จึงมีหน้าที่เป็นผู้หักภาษีเงินได้นำส่งอำเภอท้องที่ตามมาตรา 70
หนังสือเจ้าพนักงานประเมินที่มีถึงโจทก์ แจ้งให้โจทก์จัดการนำเงินภาษีซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายของบริษัท ฟ. พร้อมเงินเพิ่มไปชำระ ไม่ใช่เป็นการประเมินภาษี แต่เป็นการแจ้งให้โจทก์นำภาษีไปชำระ ซึ่งเท่ากับเป็นคำเตือนนั่นเองเมื่อโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นคำนวณภาษีไม่ถูกต้อง ก็ควรที่จะโต้แย้งตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้
บริษัท ฟ. ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรการผลิตยางไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โจทก์ได้ออกหุ้นชำระเต็มมูลค่าให้แก่บริษัท ฟ. เพื่อตอบแทนที่บริษัทนั้นยอมให้แบบและความรู้ทางวิศวกรรมในการผลิตยางตามที่โจทก์กับบริษัท ฟ.ทำสัญญากันไว้ ดังนี้บริษัท ฟ. ได้รับหุ้นจากโจทก์เป็นค่าแห่งสิทธิ คือสิทธิบัตรในการผลิตยาง จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(ก) แม้หุ้นจะมิใช่ตัวเงินก็เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งคิดคำนวณได้เป็นเงินจึงเป็นเงินได้ตามความหมายของมาตรา 39 โจทก์จึงมีหน้าที่เป็นผู้หักภาษีเงินได้นำส่งอำเภอท้องที่ตามมาตรา 70
หนังสือเจ้าพนักงานประเมินที่มีถึงโจทก์ แจ้งให้โจทก์จัดการนำเงินภาษีซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายของบริษัท ฟ. พร้อมเงินเพิ่มไปชำระ ไม่ใช่เป็นการประเมินภาษี แต่เป็นการแจ้งให้โจทก์นำภาษีไปชำระ ซึ่งเท่ากับเป็นคำเตือนนั่นเองเมื่อโจทก์เห็นว่าคำเตือนนั้นคำนวณภาษีไม่ถูกต้อง ก็ควรที่จะโต้แย้งตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2117/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การรับชำระหนี้หลังกำหนดไม่ถือเป็นการสละสิทธิ การบอกกล่าวหนี้เป็นสำคัญ
ในสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ผู้ซื้อชำระเงินไม่ตรงตามงวดแต่ผู้ขายก็รับชำระ ไม่ถือเอากำหนดเวลาผ่อนชำระรายเดือนเป็นสำคัญ แม้จะไม่ชำระราคาที่ดินตามกำหนด ผู้ขายก็ต้องบอกกล่าวให้ชำระหนี้ก่อนเลิกสัญญาตาม มาตรา387 ผู้ขายไม่รับชำระราคาที่ดินจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ซื้อบังคับให้โอนที่ดินได้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินท้ายฟ้อง จำเลยรับตามนั้น ฟังได้โดยไม่ต้องอาศัยต้นฉบับที่โจทก์ส่งศาลภายหลัง แม้ไม่ปิดอากรแสตมป์
สัญญาจะซื้อขายที่ดินท้ายฟ้อง จำเลยรับตามนั้น ฟังได้โดยไม่ต้องอาศัยต้นฉบับที่โจทก์ส่งศาลภายหลัง แม้ไม่ปิดอากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: สิทธิประเมินภาษีค้าง, การยกเว้นภาษี, ค่าใช้จ่ายหักลดหย่อน, และช่วงทรัพย์มรดก
คำสั่งตามมติคณะรัฐมนตรีในสมัยปฏิวัติ ไม่ใช่คำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติ จึงไม่ใช่กฎหมายที่จะลบล้างประมวลรัษฎากรที่ให้ตรวจสอบภาษีค้างจ่ายได้
เจ้าพนักงานประเมินเรียกไต่สวนได้ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 23 และแจ้งจำนวนภาษีค้างได้ภายใน 10 ปี ตาม มาตรา 24 เมื่อมีอุทธรณ์ต่อไปโดยชำระภาษีแล้ว และโจทก์ฟ้องคดีนี้คัดค้านการประเมินไม่เกิน 10 ปี ตั้งแต่วันเรียกให้โจทก์ชำระภาษี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรไม่ขาดอายุความ
ขายที่ดินและทรัพย์อื่นที่ได้รับมรดกมา นำเงินไปซื้อที่ดินมาจัดสรร ไม่ใช่ช่วงทรัพย์ตาม มาตรา 226 วรรค 2
ขายที่ดินจัดสรรเป็นการค้าไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ แม้จะขายที่ดิน โดยมิใช่การค้าก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดไว้โดยอนุมัติรัฐมนตรี มิฉะนั้นไม่ได้รับยกเว้นตาม มาตรา 42(9)
ผู้มีเงินได้ยื่นประเมินแล้วเจ้าพนักงานเรียกไต่สวนได้ภายใน 5 ปีนับแต่วันยื่นรายการตาม มาตรา 19 กรณีที่ไม่ได้ยื่นประเมินเจ้าพนักงานเรียกมาไต่สวนได้ตาม มาตรา 23,24 ไม่อยู่ในบังคับ 5 ปีนั้น
ค่าใช้จ่ายหักได้ในการขายสิ่งอุปโภค ฯลฯ และสิ่งอื่นนอกจากที่ระบุไว้ร้อยละ 95 ตามพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2496 มาตรา 3(32)นั้น "สิ่ง" หมายความถึงสังหาริมทรัพย์ตามพจนานุกรม ไม่หมายถึงที่ดิน
เจ้าพนักงานประเมินเรียกไต่สวนได้ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 23 และแจ้งจำนวนภาษีค้างได้ภายใน 10 ปี ตาม มาตรา 24 เมื่อมีอุทธรณ์ต่อไปโดยชำระภาษีแล้ว และโจทก์ฟ้องคดีนี้คัดค้านการประเมินไม่เกิน 10 ปี ตั้งแต่วันเรียกให้โจทก์ชำระภาษี สิทธิเรียกร้องค่าภาษีอากรไม่ขาดอายุความ
ขายที่ดินและทรัพย์อื่นที่ได้รับมรดกมา นำเงินไปซื้อที่ดินมาจัดสรร ไม่ใช่ช่วงทรัพย์ตาม มาตรา 226 วรรค 2
ขายที่ดินจัดสรรเป็นการค้าไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ แม้จะขายที่ดิน โดยมิใช่การค้าก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนดไว้โดยอนุมัติรัฐมนตรี มิฉะนั้นไม่ได้รับยกเว้นตาม มาตรา 42(9)
ผู้มีเงินได้ยื่นประเมินแล้วเจ้าพนักงานเรียกไต่สวนได้ภายใน 5 ปีนับแต่วันยื่นรายการตาม มาตรา 19 กรณีที่ไม่ได้ยื่นประเมินเจ้าพนักงานเรียกมาไต่สวนได้ตาม มาตรา 23,24 ไม่อยู่ในบังคับ 5 ปีนั้น
ค่าใช้จ่ายหักได้ในการขายสิ่งอุปโภค ฯลฯ และสิ่งอื่นนอกจากที่ระบุไว้ร้อยละ 95 ตามพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2496 มาตรา 3(32)นั้น "สิ่ง" หมายความถึงสังหาริมทรัพย์ตามพจนานุกรม ไม่หมายถึงที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจและสัญญาค้ำประกัน: การปิดอากรแสตมป์และผลของการไม่ฟ้องลูกหนี้ตามสัญญา
โจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องเพียงคดีเดียว กิจการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ เช่น การแต่งทนาย ถอนฟ้อง ยอมความ อุทธรณ์ฎีกา รวมตลอดถึงการรับเงินในคดี ล้วนเป็นแต่กิจการเฉพาะคดีนั้นทั้งสิ้น จึงไม่ใช่ใบมอบอำนาจทั่วไป คงปิดอากรแสตมป์เพียง 5 บาท
หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่ตราสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การค้ำประกันจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีกรณีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ถึง 701 เช่น เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่ยอมรับ การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแจ้งให้เจ้าหนี้คือโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้เสียภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ฟ้องคดีนั้น การค้ำประกันยังไม่ระงับ
หนังสือรับสภาพหนี้ ไม่ใช่ตราสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
การค้ำประกันจะระงับสิ้นไปก็ต่อเมื่อมีกรณีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ถึง 701 เช่น เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แล้วเจ้าหนี้ไม่ยอมรับ การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแจ้งให้เจ้าหนี้คือโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้เสียภายใน 7 วัน แต่โจทก์ไม่ฟ้องคดีนั้น การค้ำประกันยังไม่ระงับ