คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรมสรรพากร และการเสียอากรแสตมป์จากเอกสารรับรองการขนส่ง
หนังสือที่สั่งให้โจทก์นำเงินอากรและเงินเพิ่มอากรไปชำระลงสถานที่กรมสรรพากร ผู้ลงนามเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอธิบดีกรมสรรพากรเป็นประธานประกอบกับประมวลรัษฎากร มาตรา 5 บัญญัติว่า ภาษีอากรฝ่ายสรรพากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และควบคุมของกรมสรรพากรเห็นได้ชัดว่าเจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้กระทำไปในนามของกรมสรรพากร เมื่อโจทก์เห็นว่าการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ถูกต้อง โจทก์ย่อมฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วยได้
ข้อความในเอกสาร 'ข้าพเจ้า(โจทก์)ขอรับผิดชอบในการที่จะจัดส่งสิ่งของที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ไปยังจุดหมายปลายทางโดยมิให้มีการสูญหรือเสียหายเกิดขึ้นเลย' เป็นเพียงข้อสัญญาที่โจทก์ให้ไว้ว่าจะจัดส่งสิ่งของไปยังจุดหมายปลายทางโดยความปลอดภัยมิให้สิ่งของเหล่านั้นสูญหรือเสียหาย ซึ่งถ้าเกิดสูญหรือเสียหาย โจทก์ยอมรับใช้ค่าเสียหายเอกสารดังกล่าวมิได้มีข้อความว่า โจทก์ได้รับสินค้าไป และออกใบรับของให้เอกสารดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นใบรับของตามความหมายในข้อ 16 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องเสียอากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรมสรรพากร และการเสียอากรแสตมป์ในเอกสารรับของที่ไม่ใช่ใบรับของตามกฎหมาย
หนังสือที่สั่งให้โจทก์นำเงินอากรและเงินเพิ่มอากรไปชำระ ลงสถานที่กรมสรรพากร. ผู้ลงนามเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร. คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอธิบดีกรมสรรพากรเป็นประธานประกอบกับประมวลรัษฎากร มาตรา 5 บัญญัติว่า. ภาษีอากรฝ่ายสรรพากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และควบคุมของกรมสรรพากร.เห็นได้ชัดว่าเจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้กระทำไปในนามของกรมสรรพากร. เมื่อโจทก์เห็นว่าการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ถูกต้อง. โจทก์ย่อมฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วยได้.
ข้อความในเอกสาร 'ข้าพเจ้า(โจทก์)ขอรับผิดชอบในการที่จะจัดส่งสิ่งของที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ไปยังจุดหมายปลายทางโดยมิให้มีการสูญหรือเสียหายเกิดขึ้นเลย'. เป็นเพียงข้อสัญญาที่โจทก์ให้ไว้ว่าจะจัดส่งสิ่งของไปยังจุดหมายปลายทางโดยความปลอดภัยมิให้สิ่งของเหล่านั้นสูญหรือเสียหาย. ซึ่งถ้าเกิดสูญหรือเสียหาย. โจทก์ยอมรับใช้ค่าเสียหายเอกสารดังกล่าวมิได้มีข้อความว่า. โจทก์ได้รับสินค้าไป และออกใบรับของให้. เอกสารดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นใบรับของตามความหมายในข้อ 16 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร. โจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องเสียอากรแสตมป์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 390/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรมสรรพากร และการเสียอากรแสตมป์ในเอกสารรับของที่ไม่ใช่ใบรับของตามกฎหมาย
หนังสือที่สั่งให้โจทก์นำเงินอากรและเงินเพิ่มอากรไปชำระ ลงสถานที่กรมสรรพากร ผู้ลงนามเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอธิบดีกรมสรรพากรเป็นประธาน ประกอบกับประมวลรัษฎากรมาตรา 5 บัญญัติกว่า ภาษีอากรฝ่ายสรรพากรเป็นประธาน ประกอบกับประมวลรัษฎากรมาตรา 5 บัญญัติว่า ภาษีอากรฝ่ายสรรพากรอยู่ในอำนาจหน้าที่และควบคุมของกรมสรรพากร เห็นได้ชัดว่าเจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้กระทำไปในนามของกรมสรรพากร เมื่อโจทก์เห็นว่าการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ถูกต้อง โจทก์ย่อมฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วยได้
ข้อความในเอกสาร "ข้าพเจ้า (โจทก์) ขอรับผิดชอบในการที่จะจัดส่งสิ่งของที่ระบุไว้ข้างล่างนี้ไปยังจุดหมายปลายทางโดยมิให้มีการสูญหรือเสียหายเกิดขึ้นเลย" เป็นเพียงข้อสัญญาที่โจทก์ให้ไว้ว่าจะจัดส่งสิ่งของไปยังจุดหมายปลายทางโดยความปลอดภัย มิให้สิ่งของเหล่านั้นสูญหรือเสียหาย ซึ่งถ้าเกิดสูญหรือเสียหาย โจทก์ยอมรับใช้ค่าเสียหายเอกสารดังกล่าวมิได้มีข้อความว่า โจทก์ได้รับสินค้าไป และออกใบรับของให้ เอกสารดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าเป็นใบรับของตามความหมายในข้อ 16 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร โจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องเสียอากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร มีหน้าที่เสียภาษีการค้า แม้จะอ้างเป็นการขายของเดิม
การขายอสังหาริมทรัพย์ในทางการค้าก่อนวันที่ 5 พฤศจิกายน2502 ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 มาตรา 40 ซึ่งต้องคำนึงถึงค่ารายปีของสถานที่ประกอบการค้าและเสียภาษีตามยอดเงินรายรับส่วนการค้าตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2502 ตลอดมา ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่16) พ.ศ.2502 มาตรา 38 จึงไม่ต้องคำนึงถึงค่ารายปีหรือจำนวนเงินซึ่งสถานการค้าสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆนั้นอีก
โจทก์ซื้อที่ดินเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2485 จำนวน 6 โฉนด เนื้อที่ 39 ไร่ ราคา 113,996 บาท ต่อมาปีเศษ โจทก์ยื่นคำร้องขอรวมที่ดินทั้งหมดนี้เข้าเป็นแปลงเดียวกัน เมื่อเจ้าพนักงานจัดทำให้เสร็จแล้ว ได้ขอแบ่งแยกเป็นที่ดินแปลงย่อยๆ รวม 24 แปลงโจทก์ตัดถนนผ่านที่ดินกว้าง 10 เมตร เป็นถนนคอนกรีตทำเสร็จเมื่อ พ.ศ.2496 และได้ขอต่อไฟฟ้าและน้ำประปาเข้าที่ดินทั้งหมดและในปี พ.ศ.2496 นี้ ได้เริ่มขายที่ดินแปลงย่อยๆจนถึงพ.ศ.2504 จำนวน 20 แปลงเป็นเงิน 7,831,803 บาทตามพฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่า โจทก์ประกอบธุรกิจการค้าหากำไรจึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าและภาษีเทศบาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีจากการรับเหมาซ่อมและซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ: ตัวการ ผู้ประกอบการ ตัวแทน
กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีจากรายรับอันเกิดจากสัญญาจ้างเหมาซ่อมรถจักรไอน้ำ ซึ่งบริษัทจำกัด โจทก์ร่วมกับบริษัทต่างประเทศทำไว้กับการรถไฟแห่งประเทศไทยโจทก์จะโต้แย้งว่า การซ่อมรถจักรไอน้ำมิใช่วัตถุประสงค์ของโจทก์ และสัญญานั้นมิได้ประทับตราบริษัทโจทก์ ขัดกับอำนาจของผู้จัดการที่จดทะเบียนไว้ หาได้ไม่ เพราะไม่ได้โต้แย้งกับการรถไฟแห่งประเทศไทยอันเป็นคู่สัญญา แต่โต้แย้งกับอำนาจการเก็บภาษีอากรเป็นคนละเรื่องคนละกรณีกัน
โจทก์ร่วมกับบริษัทต่างประเทศเป็นผู้รับเหมาซ่อมรถจักรไอน้ำของการรถไฟแห่งประเทศไทย โจทก์จึงเป็นตัวการผู้รับจ้างอันถือได้ว่า เป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคสุดท้าย แม้การซ่อมรถจักรไอน้ำนั้นจะได้นำไปซ่อมในต่างประเทศและผู้จ้างชำระเงินค่าซ่อมให้ในต่างประเทศ ก็ต้องถือว่าเงินจำนวนที่จ่ายและรับกันไปแล้วนั้นเป็นรายรับตามความในมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า
เพียงเป็นผู้เสนอรายการแสดงราคาของสินค้า และเป็นผู้ติดต่อให้ผู้ขายซึ่งอยู่ต่างประเทศจัดส่งแบบแปลนของสินค่าให้แก่ผู้ซื้อตามที่ผู้ซื้อต้องการ ดังนี้ ถือว่าเป็นผู้จัดการหรือผู้ทำการแทนเฉพาะเรื่องเฉพาะรายของผู้ขาย ไม่ได้เป็นตัวแทนของผู้ขาย ไม่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีจากการซ่อมรถจักรไอน้ำและการเป็นตัวแทนซื้อขายสะพานเหล็ก โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์บริษัทและลักษณะการกระทำ
กรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีจากรายรับอันเกิดจากสัญญาจ้างเหมาซ่อมรถจักรไอน้ำ ซึ่งบริษัทจำกัดโจทก์ร่วมกับบริษัทต่างประเทศทำไว้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย โจทก์จะโต้แย้งว่า การซ่อมรถจักรไอน้ำมิใช่วัตถุประสงค์ของโจทก์ และสัญญานั้นมิได้ประทับตราบริษัทโจทก์ขัดกับอำนาจของผู้จัดการที่จดทะเบียนไว้หาได้ไม่ เพราะไม่ได้โต้แย้งกับการรถไฟแห่งประเทศไทยอันเป็นคู่สัญญา แต่โต้แย้งกับอำนาจการเก็บภาษีอากรเป็นคนละเรื่องคนละกรณีกัน
โจทก์ร่วมกับบริษัทต่างประเทศเป็นผู้รับเหมาซ่อมรถจักรไอน้ำของการรถไฟแห่งประเทศไทย โจทก์จึงเป็นตัวการผู้รับจ้างอันถือได้ว่า เป็นผู้ประกอบการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคสุดท้ายแม้การซ่อมรถจักรไอน้ำนั้นจะได้นำไปซ่อมในต่างประเทศและผู้จ้างชำระเงินค่าซ่อมให้ในต่างประเทศ ก็ต้องถือว่าเงินจำนวนที่จ่ายและรับกันไปแล้วนั้นเป็นรายรับตามความในมาตรา 78 แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า
เพียงเป็นผู้เสนอรายการแสดงราคาของสินค้า และเป็นผู้ติดต่อให้ผู้ขายซึ่งอยู่ต่างประเทศจัดส่งแบบแปลนของสินค้าให้แก่ผู้ซื้อตามที่ผู้ซื้อต้องการ ดังนี้ ถือว่าเป็นผู้จัดการหรือผู้ทำการแทนเฉพาะเรื่องเฉพาะรายของผู้ขาย ไม่ได้เป็นตัวแทนของผู้ขาย ไม่ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต่อเนื่องและการโอนสิทธิโดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองยังคงต่อเนื่อง
บุตรรับโอนที่ดินนาจากบิดามารดา ในระหว่างที่บิดามารดาครอบครองได้แลกทำนาที่นาที่โอนนั้นกับที่นาของบุคคลภายนอก โดยไม่ใช่เป็น การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ ดังนี้ถือว่าบุคคลภายนอกทำนาที่นาที่โอนนั้นโดยอาศัยสิทธิของบิดามารดา เท่ากับบิดามารดาเป็นผู้ครอบครอง ย่อมนับเวลา นั้นเข้ากับเวลาครอบครองของบุตรผู้รับโอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1385
แม้จะไม่ได้แจ้งการครอบครองหรือเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่ดิน ที่ครอบครองปรปักษ์ ก็ไม่ทำให้สิทธิครอบครองของผู้ครอบครองปรปักษ์เสียไป
ผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตถูกแย่งการครอบครองเกินกว่า 10 ปี จะยกเหตุที่ผู้ครอบครองปรปักษ์ไม่ได้จดทะเบียนสิทธิขึ้นกล่าวอ้างหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต่อเนื่องจากผู้ครอบครองเดิม สิทธิครอบครองไม่ขาดอายุ แม้ไม่ได้จดทะเบียน
บุตรรับโอนที่ดินมาจากบิดามารดา ในระหว่างที่บิดามารดาครอบครอง ได้แลกทำนาที่นาโอนนั้นกับที่นาของบุคคลภายนอก โดยไม่ใช่เป็นการแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ ดังนี้ ถือว่าบุคคลภายนอกทำนาที่นาที่โอนนั้นโดยอาศัยสิทธิของบิดามารดา เท่ากับบิดามารดาเป็นผู้ครอบครอง ย่อมนับเวลานั้นเข้ากับเวลาครอบครองของบุตรผู้รับโอนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1385
แม้จะไม่ได้แจ้งการครอบครองหรือเสียภาษีบำรุงท้องที่ที่ดินที่ครอบครองปรปักษ์ก็ไม่ทำให้สิทธิครอบครองของผู้ครอบครองปรปักษ์เสียไป
ผู้ซื้อที่ดินโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ถูกแย่งการครอบครองเกินกว่า 10 ปี จะยกเหตุที่ผู้ครอบครองปกปักษ์ไม่ได้จดทะเบียนสิทธิขึ้นกล่าวอ้างหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ ผู้รับเงินต้องคืน
การขายอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ
จำเลยรับเงินค่าขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไปจากโจทก์ เมื่อการขายฝากเป็นโมฆะ โจทก์ได้คืนที่ดินให้จำเลยแล้วจำเลยก็ต้องคืนเงินให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 เพราะเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และทำให้โจทก์เสียเปรียบ
เมื่อสัญญาขายฝากเป็นโมฆะเพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ศาลก็อาจรับฟังสัญญานั้นอย่างเป็นพยานเอกสารธรรมดาประกอบคำพยานโจทก์ มิใช่รับฟังในฐานะที่เป็นสัญญาขายฝากหรือใบรับได้ ถึงแม้หนังสือสัญญาขายฝากนั้นจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากไม่จดทะเบียนเป็นโมฆะ ผู้รับเงินต้องคืน
การขายอสังหาริมทรัพย์เมื่อไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมเป็นโมฆะ
จำเลยรับเงินค่าขายฝากอสังหาริมทรัพย์ไปจากโจทก์ เมื่อการขายฝากเป็นโมฆะ โจทก์ได้คืนที่ดินให้จำเลยแล้ว จำเลยก็ต้องคืนเงินให้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 เพราะเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และทำให้โจทก์เสียเปรียบ
เมื่อสัญญาขายฝากเป็นโมฆะเพราะไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ศาลก็อาจรับฟังสัญญานั้นอย่างเป็นพยานเอกสารธรรมดาประกอบคำพยานโจทก์ มิใช่รับฟังในฐานะที่เป็นสัญญาขายฝากหรือใบรับได้ ถึงแม้หนังสือขายฝากนั้นจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนก็ตาม
of 21