พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4427/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจ, อากรแสตมป์, อายุความ, และข้อยกเว้นความรับผิดในประกันภัย: ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
การที่จำเลยร่วมให้การว่า การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ที่ 1ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมิได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนตามกฎหมาย เป็นคำให้การที่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ชัดแจ้งแล้ว คดีจึงมีประเด็นพิพาทด้วยว่าหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนตามกฎหมายหรือไม่ โจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้ ม. ฟ้องคดีซึ่งเป็นการมอบให้บุคคลเดียวกระทำการครั้งเดียว เพราะเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเดียว ที่หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท จึงครบถ้วนตามประมวลรัษฎากรแล้ว เมื่อจำเลยร่วมมิได้อุทธรณ์ในปัญหาที่ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้วเพราะโจทก์เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าเสียหายจำเลยร่วมจะฎีกาปัญหาดังกล่าวไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 แม้จำเลยที่ 1 จะขาดต่อใบอนุญาตขับขี่รถยนต์เกินกว่า 180 วันในเวลาเกิดเหตุซึ่งจำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดตามกรมธรรมประกันภัยข้อ 2.13 ก็ตาม แต่ตามข้อ 2.14 ระบุเป็นใจความว่าบริษัท (จำเลยร่วม) จะไม่ยกข้อ 2.13 เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามข้อ 2.1 เมื่อบริษัทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว แต่บริษัทไม่ต้องรับผิดตามกรมธรรม์ต่อผู้เอาประกันภัยเพราะกรณีดังกล่าวข้างต้นซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ผู้เอาประกันภัยต้องใช้จำนวนเงินที่บริษัทได้จ่ายไปนั้นคืนให้บริษัททันที ดังนั้นจำเลยร่วมไม่มีสิทธิที่จะยกเอาเหตุที่ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ขาดการต่ออายุดังกล่าวมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะตามข้อ 2.1 ได้แต่ยกขึ้นว่ากล่าวเอากับผู้เอาประกันภัย จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และมีสิทธิได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3775/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทสินค้าเพื่อเสียภาษี: แผ่นพลาสติกปูพื้นเป็นวัตถุก่อสร้าง ไม่ใช่สิ่งทอหรือเครื่องแต่งกาย
โจทก์ผลิตสินค้าแผ่นพลาสติกดูราฟลอร์ซึ่งเป็นแผ่นพี.วี.ซี.หรือแผ่นพลาสติกนิ่มเพื่อให้ผู้ใช้สินค้านำไปใช้ประโยชน์เป็นวัสดุสำหรับปูพื้นอาคารและปิดผนังอาคารโดยเฉพาะ หาได้มีความประสงค์จะให้ใช้เป็นสินค้าประเภทอื่นไม่การที่มีผู้นำสินค้าที่โจทก์ผลิตไปใช้ประกอบเป็นสินค้าอื่น เช่น รองเท้า กระเป๋าที่รองจานเป็นเพียงผลพลอยได้นอกเหนือจากความประสงค์ของโจทก์เท่านั้นสินค้าของโจทก์จึงจัดเป็นวัตถุก่อสร้างและเครื่องเรือนเข้าลักษณะสิ่งปูลาดตามความหมายในหมวด 4(7) บัญชี 1 ท้าย พ.ร.ฎ. ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 มิใช่ประเภทผ้า เครื่องหนัง เครื่องประดับหรือเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์เครื่องแต่งกายในหมวด 2(2)จึงไม่ได้รับการลดหย่อนภาษีการค้าตาม พ.ร.ฎ. ดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ภาษีอากรและการขยายเวลาไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ/เงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลัง การเฉลี่ยชำระหนี้
แถลงการณ์กระทรวงการคลัง เรื่องเปิดโอกาสให้เสียภาษีอากรเพิ่มเติม ลงวันที่26 กุมภาพันธ์ 2525 ข้อ 4 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมิน และพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2525 ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ดังนี้ การที่โจทก์ชำระภาษีอากรให้แก่จำเลยด้วยเช็ค จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา321 วรรคท้าย กล่าวคือหนี้ภาษีอากรจะระงับต่อเมื่อเช็คนั้นได้ใช้เงินแล้ว เมื่อปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หนี้ภาษีอากรย่อมไม่ระงับสิ้นไป แม้ว่าต่อมาวันที่ 15 มิถุนายน 2525โจทก์จะได้นำแคชเชียร์เช็คไปชำระหนี้ให้จำเลยแทนเช็คเดิมที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และจำเลยได้รับชำระหนี้ตามแคชเชียร์เช็คนั้นแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการล่วงเลยเวลาวันที่ 31 พฤษภาคม2528 ตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามแถลงการณ์ฉบับดังกล่าว
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2528 ข้อ 3 วรรคแรก กำหนดว่า ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระ หรือยังมิได้ชำระเฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มให้ครบถ้วน ตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2528 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2528ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น และวรรคสองกำหนดว่ากรณีที่มีการชำระค่าภาษีอากรไว้แล้ว คงค้างอยู่เฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรยื่นคำร้องขอก็ให้ได้รับสิทธิตามประกาศนี้ด้วย ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าแคชเชียร์เช็คที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรให้จำเลยไม่เพียงพอที่จะปลดเปลื้องค่าภาษีอากร เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มได้หมดทุกราย อีกทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงินที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรต้องเสียเป็นกรณีพิเศษ มิใช่เป็นค่าฤชาธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 329ซึ่งลูกหนี้จะต้องชำระก่อนหนี้ภาษีอากร การชำระหนี้รายนี้จึงอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา328 วรรคแรก และการที่โจทก์มอบแคชเชียร์เช็คให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากร ย่อมแสดงว่าโจทก์ระบุชำระหนี้ค่าภาษีอากรก่อน หนี้ค่าภาษีอากรนั้นเป็นอันได้เปลื้องไป ตามมาตรา 328วรรคแรก กรณีเช่นนี้จำเลยจะถือปฏิบัติตามระเบียบโดยให้เฉลี่ยชำระหนี้ทั้งค่าภาษีอากร เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ด้วยการจัดการแบ่งเฉลี่ยชำระเองตามที่ต้องการโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วยไม่ได้เมื่อมีการชำระค่าภาษีอากรแล้ว คงค้างเฉพาะเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอตามประกาศกระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์ย่อมได้รับสิทธิไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระหรือนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2528 ข้อ 3 วรรคแรก กำหนดว่า ในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรได้รับแจ้งการประเมิน แต่ยังมิได้ชำระ หรือยังมิได้ชำระเฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มให้ครบถ้วน ตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วหากได้นำภาษีอากรที่ค้างอยู่นั้นไปชำระภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2528 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2528ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น และวรรคสองกำหนดว่ากรณีที่มีการชำระค่าภาษีอากรไว้แล้ว คงค้างอยู่เฉพาะเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่ม ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรยื่นคำร้องขอก็ให้ได้รับสิทธิตามประกาศนี้ด้วย ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าแคชเชียร์เช็คที่โจทก์ชำระค่าภาษีอากรให้จำเลยไม่เพียงพอที่จะปลดเปลื้องค่าภาษีอากร เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มได้หมดทุกราย อีกทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเป็นเงินที่ประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้หลีกเลี่ยงภาษีอากรต้องเสียเป็นกรณีพิเศษ มิใช่เป็นค่าฤชาธรรมเนียมหรือดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 329ซึ่งลูกหนี้จะต้องชำระก่อนหนี้ภาษีอากร การชำระหนี้รายนี้จึงอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา328 วรรคแรก และการที่โจทก์มอบแคชเชียร์เช็คให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ค่าภาษีอากร ย่อมแสดงว่าโจทก์ระบุชำระหนี้ค่าภาษีอากรก่อน หนี้ค่าภาษีอากรนั้นเป็นอันได้เปลื้องไป ตามมาตรา 328วรรคแรก กรณีเช่นนี้จำเลยจะถือปฏิบัติตามระเบียบโดยให้เฉลี่ยชำระหนี้ทั้งค่าภาษีอากร เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ด้วยการจัดการแบ่งเฉลี่ยชำระเองตามที่ต้องการโดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วยไม่ได้เมื่อมีการชำระค่าภาษีอากรแล้ว คงค้างเฉพาะเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอตามประกาศกระทรวงการคลังเช่นว่านั้นแล้ว โจทก์ย่อมได้รับสิทธิไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5817/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันจำกัดตามสัญญา แม้มีการยักยอกเงิน และอายุความฟ้องคดี
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 9 บัญญัติว่า"ถ้าสหกรณ์เกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสำหรับการได้มา การจำหน่าย การยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ หรือการยึดหน่วงซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนเช่นว่านั้นให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม" สัญญาค้ำประกันมิได้มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนจึงเป็นนิติกรรมธรรมดา แม้สหกรณ์โจทก์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับการยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด
แม้สัญญาค้ำประกันจะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ แต่ผู้ค้ำประกันยอมรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจริง จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันโดยไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐาน ส่วนการที่จะให้ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเกินกว่าจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาค้ำประกันนั้น ย่อมต้องอาศัยหนังสือสัญญาค้ำประกันมาเป็นพยานหลักฐานอันเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องร่วมรับผิดเต็มตามจำนวนที่ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ปลอมแปลงลายมือชื่อสมาชิกโจทก์ แล้วทำเรื่องราวขอกู้เงินฉุกเฉินจากโจทก์ในนามของสมาชิกดังกล่าวรวมหลายคราวเป็นเงิน 728,070 บาทซึ่งโจทก์หลงเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของสมาชิกจริงจึงอนุมัติจ่ายให้ไป คำฟ้องของโจทก์ชัดแจ้งพอเพียงแล้ว จำเลยที่ 1 จะปลอมแปลงลายมือชื่อสมาชิกโจทก์ด้วยวิธีใด หลักฐานการปลอมแปลงมีหรือไม่และมีการตรวจสอบไปแล้วเพียงใดเป็นเรื่องรายละเอียด ไม่จำต้องบรรยายมา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ยักยอกคืน และฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.
แม้สัญญาค้ำประกันจะมิได้ปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ แต่ผู้ค้ำประกันยอมรับว่าได้ทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจริง จึงต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันโดยไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐาน ส่วนการที่จะให้ผู้ค้ำประกันต้องร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเกินกว่าจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาค้ำประกันนั้น ย่อมต้องอาศัยหนังสือสัญญาค้ำประกันมาเป็นพยานหลักฐานอันเป็นการต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องร่วมรับผิดเต็มตามจำนวนที่ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทุจริตต่อหน้าที่ ปลอมแปลงลายมือชื่อสมาชิกโจทก์ แล้วทำเรื่องราวขอกู้เงินฉุกเฉินจากโจทก์ในนามของสมาชิกดังกล่าวรวมหลายคราวเป็นเงิน 728,070 บาทซึ่งโจทก์หลงเชื่อว่าเป็นลายมือชื่อของสมาชิกจริงจึงอนุมัติจ่ายให้ไป คำฟ้องของโจทก์ชัดแจ้งพอเพียงแล้ว จำเลยที่ 1 จะปลอมแปลงลายมือชื่อสมาชิกโจทก์ด้วยวิธีใด หลักฐานการปลอมแปลงมีหรือไม่และมีการตรวจสอบไปแล้วเพียงใดเป็นเรื่องรายละเอียด ไม่จำต้องบรรยายมา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินของโจทก์ที่จำเลยที่ 1 ยักยอกคืน และฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งกฎหมายมิได้บัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5577/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินไม่ปิดอากรแสตมป์ ไม่เป็นเหตุให้สัญญาเป็นโมฆะ การโอนการครอบครองที่ดินมีผลทางกฎหมาย
ประมวลรัษฎากรไม่ได้บังคับว่าสัญญาซื้อขายจะต้องปิดอากรแสตมป์ดังนั้น แม้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทจะไม่ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5341/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสิทธิบัตร: หนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องและสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์เป็นสำคัญ
หนังสือมอบอำนาจประกอบกับหนังสือรับรองหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวซึ่งได้ทำขึ้นก่อนวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ได้ระบุให้อำนาจด. ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทยซึ่งสิทธิบัตร/แผนแบบ เหยือก หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกัน รวมทั้งทำการยื่นฟ้องต่อศาลในประเทศไทยเกี่ยวกับคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เหยือก หรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันของโจทก์ผู้มอบอำนาจได้และในวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร โจทก์มีสิทธิในแบบผลิตภัณฑ์ของโจทก์แล้ว ดังนั้น ด. ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงมีอำนาจยื่นคำขอรับสิทธิบัตรและฟ้องคดีนี้แทนโจทก์
หนังสือของผู้ช่วยเลขานุการบริษัทโจทก์ เป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงว่าได้มีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้เท่านั้นมิใช่ใบมอบอำนาจ ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้.
หนังสือของผู้ช่วยเลขานุการบริษัทโจทก์ เป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงว่าได้มีการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้เท่านั้นมิใช่ใบมอบอำนาจ ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5302/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าสินค้า, ความรับผิดทางภาษีอากร, การประเมินราคา, และดอกเบี้ยเงินเพิ่ม
การนำสินค้าเข้าเป็นอันสำเร็จแต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่ายของจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึงเมื่อจำเลยนำสินค้าเข้ามาในอาณาจักรสำเร็จ จึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรให้โจทก์ ส่วนที่จำเลยอ้างว่าจำเลยได้คืนสินค้าพิพาทให้แก่ผู้ขายและผู้ขายได้คืนเงินค่าสินค้าให้จำเลยแล้ว ไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยเปลี่ยนแปลงไป
ปัญหาว่าโจทก์ประเมินราคาสินค้าพิพาทสูงเกินไปไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดนั้น พยานจำเลยเลื่อนลอยปราศจากพยานหลักฐานอ้างอิง ทั้งตามคำอุทธรณ์ของจำเลยก็มิได้โต้แย้งราคาประเมินสินค้าพิพาทที่โจทก์ได้ประเมินไว้เพียงแต่ขอให้ระงับการปรับ พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานจำเลย
โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินเพิ่มร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระนับแต่วันที่ได้ส่งมอบของจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา กับเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน สำหรับภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา89 ทวิ อันมีลักษณะคล้ายดอกเบี้ยอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 อีก และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยนั้นชอบแล้ว.
ปัญหาว่าโจทก์ประเมินราคาสินค้าพิพาทสูงเกินไปไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดนั้น พยานจำเลยเลื่อนลอยปราศจากพยานหลักฐานอ้างอิง ทั้งตามคำอุทธรณ์ของจำเลยก็มิได้โต้แย้งราคาประเมินสินค้าพิพาทที่โจทก์ได้ประเมินไว้เพียงแต่ขอให้ระงับการปรับ พยานโจทก์จึงมีน้ำหนักมากกว่าพยานจำเลย
โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินเพิ่มร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระนับแต่วันที่ได้ส่งมอบของจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา กับเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือน สำหรับภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา89 ทวิ อันมีลักษณะคล้ายดอกเบี้ยอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชำระดอกเบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 อีก และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยนั้นชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลิตภัณฑ์ทองเหลืองใช้ในการก่อสร้างและทำเครื่องเรือน ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีที่ 1 และ 2 ของ พ.ร.ก.ลดหย่อนภาษี
ผลิตภัณฑ์ทองเหลืองหน้าตัดรูปตัวทีผู้ซื้อนำไปใช้คั่นในการปูพื้นหินขัดหรือหินอ่อน เป็นส่วนประกอบในการตกแต่งพื้นอาคารและทองเหลืองหน้าตัดรูปตัวแอล ผู้ซื้อนำไปทำคิ้วเครื่องเรือนและติดขอบบันได เป็นวัสดุที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในการก่อสร้างและทำเครื่องเรือน แม้มิใช่สิ่งจำเป็นในการก่อสร้างและทำเครื่องเรือนแต่ถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างและทำเครื่องเรือนจึงเป็นสินค้าตามบัญชีที่ 1 หมวด 4(6) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรา และยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54)พ.ศ. 2517 และบัญชีที่ 2 หมวด 4(1)(3) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย(ฉบับที่ 133) พ.ศ. 2526 และมิได้รับยกเว้นภาษีการค้าตามมาตรา 5(8) การที่โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร มิใช่ผลิตสินค้าขึ้นเอง สินค้านี้มิใช่สินค้าตามมาตรา 7(4) อันจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1.5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรศุลกากร: สิทธิในการอุทธรณ์และอำนาจฟ้องคดีเมื่อมีการประเมินภาษีและราคาอันแท้จริง
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิวรรคสามเป็นเพียงข้อกำหนดว่าอาจอุทธรณ์ได้ ถ้ามิได้อุทธรณ์ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี เมื่อมีการอุทธรณ์แล้วแม้จะมิได้พิจารณาอุทธรณ์หรือพิจารณาไม่เสร็จก็มิได้ห้ามมิให้ฟ้องคดีฉะนั้นเมื่อมีการ ประเมินภาษีอากรอันจะพึงต้องเสียและแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่ชำระก็เป็นการโต้แย้งสิทธิและโจทก์มีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้ทันที
การที่จำเลยขอความเป็นธรรมต่อโจทก์ที่ 1 เกี่ยวกับการประเมินภาษีถือเป็นการอุทธรณ์การประเมินอากร ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคสาม แต่ไม่ถือว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30
การประเมินภาษีอากรขาเข้าจะชอบหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าใด
การที่จำเลยขอความเป็นธรรมต่อโจทก์ที่ 1 เกี่ยวกับการประเมินภาษีถือเป็นการอุทธรณ์การประเมินอากร ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคสาม แต่ไม่ถือว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30
การประเมินภาษีอากรขาเข้าจะชอบหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของสินค้าดังกล่าวเป็นจำนวนเท่าใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากดอกเบี้ยสัญญาจำนองที่ไม่ได้รับจริง ศาลฎีกาพิพากษากลับให้คืนเงินภาษีพร้อมดอกเบี้ย
จำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาสืบให้เห็นว่า โจทก์และภรรยาได้รับดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองเลย คงอ้างแต่เพียงว่าเมื่อระบุว่าคิดดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ไว้ในสัญญาจำนอง ก็ต้องถือว่าโจทก์และภรรยาได้รับดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้นั้น พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย ฟังได้ว่า โจทก์และภรรยาไม่ได้รับเงินดอกเบี้ยตามสัญญาจำนอง จึงไม่มีเงินได้พึงประเมินจากเงินดอกเบี้ย.