พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4086/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งของข้าราชการและผู้บังคับบัญชาต่อการทุจริตยักยอกเงินของลูกน้อง, อายุความ
จำเลยที่ 1 มิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ ฎีกา จึงเป็นเรื่องนอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 2 ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยมิได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่าเคลือบคลุมอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แม้ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 2 จะได้ฎีกาโดยกล่าวรายละเอียดมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าพันตำรวจตรีพ.ยักยอกเงินไปในระหว่างวันใดถึงวันใดและกล่าวถึงยอดเงินที่ ยักยอกไปว่ารวมทั้งหมดเท่าใด ทั้งยังส่งรายละเอียดเงินขาดบัญชี ระบุประเภทของเงินที่ขาดบัญชีว่าพันตำรวจตรีพ. รับเงินดังกล่าวไปเมื่อใด เป็นจำนวนเงินเท่าใด แนบมาท้ายฟ้องตามเอกสารหมายเลข 2 ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงแจ้งชัดพอเข้าใจได้แล้วไม่จำต้องแสดงหลักฐานการรับเงินแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องรายละเอียดที่ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้องแต่อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยทั้งสามให้การเพียงว่า หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยไม่มีรายละเอียดว่าไม่สมบูรณ์อย่างไรแต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของ ประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยให้ตามฎีกาของจำเลยได้
เมื่อไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับไว้ว่า การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์จะต้องมีตราประจำตัวอธิบดีกรมตำรวจประทับไว้ด้วยแม้ใบมอบอำนาจจะ ลงชื่ออธิบดีกรมตำรวจโดยไม่มีตราประทับก็เป็นใบมอบอำนาจที่มีผลใช้บังคับได้
คดีนี้โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 121 แม้ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะไม่ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ใบมอบอำนาจดังกล่าวก็เป็นใบมอบอำนาจที่สมบูรณ์ ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพันตำรวจตรีพ.มีหน้าที่ต้องตรวจสอบและควบคุมการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชามิให้ บกพร่องหรือเกิดการทุจริตขึ้นหากจำเลยที่ 1 ตรวจสอบ ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอจำเลยที่ 1 ก็น่าจะทราบว่าพันตำรวจตรีพ. มิได้จัดทำบัญชีตามระเบียบของทางราชการเลขภายในเวลาไม่นานหลังจากเข้ารับตำแหน่งในกองบัญชาการศึกษาจำเลยที่ 1เข้ามารับหน้าที่ในตำแหน่งผู้บัญชาการศึกษาในปี 2517 และเหตุทุจริตเกิดขึ้นในปี 2519 หลังจากจำเลยที่ 1 เข้ามารับงานถึง 2 ปีแสดงว่าในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบของพันตำรวจตรีพ.มิได้ตรวจตราควบคุมให้พันตำรวจตรีพ. ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ จึงไม่พบข้อบกพร่องดังกล่าวเป็นเหตุให้พันตำรวจตรีพ. ถือโอกาสนำเงินของราชการไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว นับเป็นความประมาทเลินเล่อของผู้บังคับบัญชา เมื่อเกิดความเสียหายจากการกระทำของพันตำรวจตรีพ. จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบร่วมกับพันตำรวจตรีพ. ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3ได้ความว่า จำเลยที่ 1 มอบหมายหน้าที่การงานให้รับผิดชอบร่วมกันเกี่ยวกับการเงินที่พันตำรวจตรีพ. ปฏิบัติหน้าที่อยู่ เมื่อไม่ตรวจตราควบคุมให้พันตำรวจตรีพ.ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบก็ต้องรับผิดร่วมกับพันตำรวจตรีพ. ด้วย
เมื่อมีการทราบเรื่องว่าพันตำรวจตรีพ. ยักยอกเงินในปี 2520แต่ไม่ทราบว่ามีผู้อื่นจะต้องรับผิดชอบทางแพ่งร่วมกับพันตำรวจตรีพ.หรือไม่ จึงได้มีการตั้งกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งเมื่อปี 2522 คณะกรรมการดำเนินการเสร็จแล้วเห็นว่าจำเลยทั้งสามจะต้องรับผิด และเสนอเรื่องต่อผู้บังคับบัญชาไปตามลำดับชั้น ผลที่สุดผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจ สั่งให้ฟ้องจำเลยทั้งสาม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม2524 ถือว่าโจทก์ได้ทราบตัวผู้ที่จะต้องร่วมรับผิดกับพันตำรวจตรีพ. ใช้เงินให้โจทก์ในวันดังกล่าว โจทก์ได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่25 มิถุนายน 2525 ยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยมิได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่าเคลือบคลุมอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แม้ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 2 จะได้ฎีกาโดยกล่าวรายละเอียดมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าพันตำรวจตรีพ.ยักยอกเงินไปในระหว่างวันใดถึงวันใดและกล่าวถึงยอดเงินที่ ยักยอกไปว่ารวมทั้งหมดเท่าใด ทั้งยังส่งรายละเอียดเงินขาดบัญชี ระบุประเภทของเงินที่ขาดบัญชีว่าพันตำรวจตรีพ. รับเงินดังกล่าวไปเมื่อใด เป็นจำนวนเงินเท่าใด แนบมาท้ายฟ้องตามเอกสารหมายเลข 2 ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงแจ้งชัดพอเข้าใจได้แล้วไม่จำต้องแสดงหลักฐานการรับเงินแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องรายละเอียดที่ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้องแต่อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยทั้งสามให้การเพียงว่า หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยไม่มีรายละเอียดว่าไม่สมบูรณ์อย่างไรแต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของ ประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยให้ตามฎีกาของจำเลยได้
เมื่อไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับไว้ว่า การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์จะต้องมีตราประจำตัวอธิบดีกรมตำรวจประทับไว้ด้วยแม้ใบมอบอำนาจจะ ลงชื่ออธิบดีกรมตำรวจโดยไม่มีตราประทับก็เป็นใบมอบอำนาจที่มีผลใช้บังคับได้
คดีนี้โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 121 แม้ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะไม่ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ใบมอบอำนาจดังกล่าวก็เป็นใบมอบอำนาจที่สมบูรณ์ ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพันตำรวจตรีพ.มีหน้าที่ต้องตรวจสอบและควบคุมการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชามิให้ บกพร่องหรือเกิดการทุจริตขึ้นหากจำเลยที่ 1 ตรวจสอบ ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอจำเลยที่ 1 ก็น่าจะทราบว่าพันตำรวจตรีพ. มิได้จัดทำบัญชีตามระเบียบของทางราชการเลขภายในเวลาไม่นานหลังจากเข้ารับตำแหน่งในกองบัญชาการศึกษาจำเลยที่ 1เข้ามารับหน้าที่ในตำแหน่งผู้บัญชาการศึกษาในปี 2517 และเหตุทุจริตเกิดขึ้นในปี 2519 หลังจากจำเลยที่ 1 เข้ามารับงานถึง 2 ปีแสดงว่าในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบของพันตำรวจตรีพ.มิได้ตรวจตราควบคุมให้พันตำรวจตรีพ. ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ จึงไม่พบข้อบกพร่องดังกล่าวเป็นเหตุให้พันตำรวจตรีพ. ถือโอกาสนำเงินของราชการไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว นับเป็นความประมาทเลินเล่อของผู้บังคับบัญชา เมื่อเกิดความเสียหายจากการกระทำของพันตำรวจตรีพ. จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบร่วมกับพันตำรวจตรีพ. ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3ได้ความว่า จำเลยที่ 1 มอบหมายหน้าที่การงานให้รับผิดชอบร่วมกันเกี่ยวกับการเงินที่พันตำรวจตรีพ. ปฏิบัติหน้าที่อยู่ เมื่อไม่ตรวจตราควบคุมให้พันตำรวจตรีพ.ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบก็ต้องรับผิดร่วมกับพันตำรวจตรีพ. ด้วย
เมื่อมีการทราบเรื่องว่าพันตำรวจตรีพ. ยักยอกเงินในปี 2520แต่ไม่ทราบว่ามีผู้อื่นจะต้องรับผิดชอบทางแพ่งร่วมกับพันตำรวจตรีพ.หรือไม่ จึงได้มีการตั้งกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งเมื่อปี 2522 คณะกรรมการดำเนินการเสร็จแล้วเห็นว่าจำเลยทั้งสามจะต้องรับผิด และเสนอเรื่องต่อผู้บังคับบัญชาไปตามลำดับชั้น ผลที่สุดผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจ สั่งให้ฟ้องจำเลยทั้งสาม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม2524 ถือว่าโจทก์ได้ทราบตัวผู้ที่จะต้องร่วมรับผิดกับพันตำรวจตรีพ. ใช้เงินให้โจทก์ในวันดังกล่าว โจทก์ได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่25 มิถุนายน 2525 ยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ภาษีอากรหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และผลต่อการยกเลิกการล้มละลาย
แถลงการณ์กระทรวงการคลังระบุว่า "ฯลฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตาม มาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร จึงขยายเวลาชำระและนำส่งภาษีอากร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เสียภาษีอากร ฯลฯ ได้ยื่นชำระภาษีอากร ฯลฯ ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ ฯลฯ ทั้งนี้ตามเงื่อนไข ฯลฯ ข้อ 4 ในกรณีผู้มีหน้าที่เสีย ฯลฯ ภาษีอากร ฯลฯ รับแจ้งการประเมินฯลฯ ก่อนวันที่ที่ลงในแถลงการณ์นี้ แต่ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา ฯลฯ ในแบบแจ้งการประเมิน ฯลฯ นั้น และพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในระยะเวลาตามข้อ 7 แล้ว ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น ถ้าภาษีอากรค้างนั้น ค้างอยู่ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือต่อศาลผู้เสียภาษีอากรต้องขอถอนอุทธรณ์หรือถอนฟ้องนั้น และได้ รับอนุมัติเสียก่อน ฯลฯ" ดังนั้น กรณีผู้เสียภาษีอากรอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีที่ผู้เสียภาษีอากรถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายก็ดี หรือกรณีลูกหนี้ถูกแจ้งการประเมินภาษีและมิได้อุทธรณ์การประเมินนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาลในเรื่องการประเมินก็ดี ทั้งสองกรณีไม่อยู่ในเงื่อนไขของแถลงการณ์กระทรวงการคลังดังกล่าว ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ชำระค่าภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วนและภายในเวลาที่กำหนด ลูกหนี้ย่อมได้รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตาม แถลงการณ์กระทรวงการคลัง โดยไม่ต้องขอถอนฟ้องก่อน
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะได้ รับชำระหนี้โดยเสมอภาค
คดีที่ลูกหนี้ถูก ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีเจ้าหนี้เพียงรายเดียวคือโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ ไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เต็มจำนวน เหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นคนล้มละลายหมดไป จึงต้องยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะได้ รับชำระหนี้โดยเสมอภาค
คดีที่ลูกหนี้ถูก ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีเจ้าหนี้เพียงรายเดียวคือโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ ไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เต็มจำนวน เหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นคนล้มละลายหมดไป จึงต้องยกเลิกการล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากราคาซื้อขายที่ต่ำกว่าราคาตลาด เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจกำหนดราคาตามราคาที่พึงได้รับ
ค. โอนที่ดินตามฟ้องทั้งสี่แปลงชำระหนี้โจทก์ โดยที่ดิน 3 แปลงแรกตีใช้หนี้ 2,971,500 บาท ที่ดินแปลงที่ 4 ตีใช้หนี้ 731,000 บาท ซึ่งเป็นการโอนโดยมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาที่พึงได้รับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ตามปกติ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจกำหนดราคาขายที่ดินทั้งสี่แปลงตามราคาที่พึงได้รับจากการขายตามปกติตามราคาในวันที่โอน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 ทวิ ค. ให้ถ้อยคำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในวันโอนว่าที่ดิน 3 แปลงแรกตกลงโอนในราคา 4,700,000 บาท และแปลงที่ 4 ตกลงโอนในราคา 2,000,000 บาท พนักงานเจ้าหน้าที่จึงกำหนดเอาราคาที่ ค. แจ้งเป็นราคา ที่พึงได้รับจากการขายตามปกติตามราคาในวันที่โอนนั้น ซึ่งเป็นการชอบด้วยประมวลรัษฎากร มาตรา 49 ทวิแล้ว เพราะราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรด้วยได้กำหนดนั้นไม่เกินจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในอาคารเช่าชั่วคราวและการคำนวณเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
โจทก์ที่ 1 เช่าที่ดินจาก น. โดยมีข้อสัญญาระบุว่า โจทก์ที่ 1 มีสิทธิปลูกสร้างอาคารลงในที่ดิน เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ที่ 1 ต้องรื้อถอนอาคารที่ปลูกสร้างออกไป ดังนั้นการที่โจทก์ที่ 1 ให้ ด. ปลูกตึกแถวลงในที่ดินเพื่อให้คนเช่า โดยให้ ด. ออกเงินค่าก่อสร้างเอง และ ด. มีสิทธิเรียกเก็บเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่าแต่ผู้เดียว ตึกแถวดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ติดกับที่ดินเพียงชั่วคราวมิใช่ส่วนควบของที่ดิน กรรมสิทธิ์ในตึกแถวดังกล่าวย่อมตกได้แก่โจทก์ที่ 1 และถือว่าเป็นประโยชน์อย่างอื่นที่โจทก์ที่ 1 ได้รับเนื่องจากการให้เช่าทรัพย์สิน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(5) (ก) จึงต้องนำตึกแถวดังกล่าวมาคำนวณมูลค่าถือเป็นเงินได้พึงประเมินในการเสียภาษีเงินได้ของโจทก์ที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3125/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ทำให้ใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน จำเลยให้การต่อสู้ว่าได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญาค้ำประกันในขณะที่ไม่มีข้อความในเอกสารดังกล่าวเท่ากับจำเลยกล่าวอ้างว่าหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่ถูกต้อง โจทก์ต้องนำสืบถึงข้อกล่าวอ้างของโจทก์ให้ปรากฏ ซึ่งต้องอาศัยหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นพยานหลักฐาน เมื่อหนังสือสัญญาค้ำประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ ย่อมใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อส่งไปยังสถานที่รื้อถอนแล้ว และขาดหลักฐานความสัมพันธ์ของผู้รับ
ไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ข้อ 351 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่า บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือสำนักทำการงานของผู้รับเมื่อปรากฏว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้ส่งไปยังสถานที่อันเป็นสำนักทำการงานของผู้รับซึ่งได้รื้อถอนไปก่อนแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้เซ็นรับเอกสารแทนผู้รับเป็นใครเกี่ยวพันกับผู้รับอย่างไร และการเซ็นรับกระทำที่อาคารหลังใดเช่นนี้ แม้ผู้รับจะยังมิได้จดทะเบียนเลิกห้างหรือแจ้งย้ายภูมิลำเนาไปจากเดิมก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าการแจ้งการประเมินดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจไม่ติดอากรแสตมป์ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จะชำระภายหลังก็ยังใช้ไม่ได้
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ให้ ม. ฟ้องคดีแทนไม่ได้ปิดอากรแสตมป์แต่ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยมิได้วินิจฉัยเรื่องนี้ จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวโจทก์จึงได้ไปเสียอากรแสตมป์พร้อมเงินเพิ่มต่อเจ้าหน้าที่อากรแสตมป์ตามใบสลักหลังตราสารและส่งต่อศาลพร้อมคำแก้อุทธรณ์ แม้โจทก์จะได้เสียค่าอากรแสตมป์สำหรับหนังสือมอบอำนาจครบถ้วนในระหว่างอุทธรณ์ก็ตาม แต่ในขณะยื่นฟ้องหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ซึ่งเท่ากับว่า ม. ฟ้องคดีนี้โดยมิได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ ม. จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และการไม่ปิดอากรแสตมป์นี้แม้จำเลยจะไม่ตั้งเป็นประเด็นขึ้นมาแต่แรกจำเลยก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้ เพราะเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีตาม พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) การประเมินภาษีหลังยื่นคำขอไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชกำหนด กำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14)พ.ศ. 2529 มุ่งประสงค์จะให้ประโยชน์แก่ผู้เสียภาษีอากร โดย มุ่งหวังให้ผู้ที่ไม่เคยเสียภาษีอากรหรือเสียไว้ไม่ถูกต้องมาทำการ เสียภาษีอากรกับทางราชการเสียโดยจะไม่นำระบบการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรมาใช้กับผู้ต้องการเสียภาษีอากรตามวิธีการพิเศษนี้ ในขณะเดียวกันทางราชการก็กำหนดวิธีการคำนวณภาษีอากรไว้เป็นพิเศษต่างหากจากวิธีการปกติธรรมดาวิธีการคำนวณภาษีอากรดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อให้ได้จำนวนภาษีอากรที่ผู้ยื่นคำขอจะต้องเสียเท่านั้นหาใช่เป็นเงื่อนไขของผู้ยื่นคำขอว่าถ้ายื่นคำขอแจ้งมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ หรืยอดรายได้ไม่ตรงตามความจริงแล้ว ผู้ยื่นคำขอจะหมดสิทธิที่จะได้รับยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 วรรคแรก เหตุที่ผู้ยื่นคำขอจะหมดสิทธิและไม่ได้รับผลจากการยกเว้นดังกล่าว คงมีเพียงกรณีตามที่บัญญัติไว้ มาตรา 30 วรรคห้า โจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบ อ.1 ถึง 2 ครั้งและตามแบบ อ.11 อีก 1 ครั้งและได้ชำระภาษีอากรให้จำเลยที่ 1 จนจำเลย ที่ 1 ได้ออกใบเสร็จรับเงินของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์เป็นหลักฐาน และเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้ทำการวิเคราะห์คำขอเสียภาษีอากร ของโจทก์จนเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งได้แจ้งผลการวิเคราะห์ให้ โจทก์ทราบว่าโจทก์ได้เสียภาษีอากรครบถ้วนถูกต้องและได้ สั่งยุติเรื่องแล้ว โจทก์จึงได้รับการยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากร แม้ภายหลังจากที่โจทก์ ยื่นฟ้องคดีแล้ว เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จะตรวจพบว่าโจทก์ยังมีทรัพย์สินอื่นและรายได้ที่ไม่ได้นำมาลงในคำขอเสียภาษีอากรตามแบบ อ.1และคำขอเสียภาษีอากรตามแบบอ.11 ก็เป็นเพียงคำขอเสียภาษีอากรของโจทก์มีข้อบกพร่อง ไม่ทำให้โจทก์กลายเป็นผู้ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบ ไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรจำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจประเมินภาษีอากรเอากับโจทก์ภายหลังที่โจทก์ได้ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามแบบ อ.1ครั้งแรกและเป็นเวลาอยู่ระหว่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ใช้บังคับ การประเมินภาษีของจำเลยที่ 1 ไม่มีผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินและตึกแถวเพื่อหากำไร ถือเป็นเงินได้ต้องเสียภาษี
โจทก์ซื้อที่ดินมาดำเนินการแบ่งแยกโฉนดเป็น 11 โฉนดและจดทะเบียนแบ่งแยก แล้วปลูกสร้างตึกแถวบนที่ดินที่แบ่งแยกจำนวน 11 คูหาจากนั้นทยอยขายไปจนหมดภายใน 8 เดือนเช่นนี้เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาเพื่อมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีนั้น ทั้งการที่โจทก์แบ่งแยกและขายที่ดินพร้อมตึกแถวไปดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้า ประเภทการค้าอสังหาริมทรัพย์ จึงต้องนำรายรับมาเสียภาษีการค้าด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ภาษีการค้าไม้พื้น: ข้อจำกัดทุนทรัพย์ & การจัดประเภทสินค้า
อุทธรณ์ของโจทก์โต้เถียงคำวินิจฉัยของศาลภาษีอากรกลางในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สินค้าไม้พื้นลิ้นรอบตัวที่มีความยาวต่ำกว่า 50 เซนติเมตรที่โจทก์ผลิตเป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์โดยการปูบนพื้นซีเมนต์ หาใช่ใช้ปู บนไม้ตงโดยตรงไม่ทั้งมีระเบียบของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เช่นนั้น จึงเป็นสินค้าไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะเป็นสิ่งปูลาดอย่างหนึ่งตามความหมายของสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวดที่ 4(7) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 54 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทผู้ผลิตสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก)
สินค้าไม้พื้นลิ้นรอบตัวที่มีความยาวต่ำกว่า 50 เซนติเมตรที่โจทก์ผลิตเป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์โดยการปูบนพื้นซีเมนต์ หาใช่ใช้ปู บนไม้ตงโดยตรงไม่ทั้งมีระเบียบของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เช่นนั้น จึงเป็นสินค้าไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ในลักษณะเป็นสิ่งปูลาดอย่างหนึ่งตามความหมายของสินค้าในบัญชีที่ 1 หมวดที่ 4(7) ท้ายพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 54 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทผู้ผลิตสินค้าประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก)