คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3080/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, หนังสือมอบอำนาจ, การยอมรับหนี้, ภาระการพิสูจน์, ฟ้องเคลือบคลุม
ธนาคารโจทก์มีวัตถุประสงค์อย่างไร ไม่เกี่ยวกับสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ หรือข้ออ้างที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ซึ่งโจทก์จะต้องแสดงโดยแจ้งชัดในคำฟ้องตามนัย มาตรา172 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงไม่จำเป็นที่โจทก์จะต้องแสดงมาในคำฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจไม่ระบุว่าให้ฟ้องผู้ใด ข้อหาใด แต่ระบุไว้ว่า " ยื่นฟ้อง ต่อสู้ เข้าเป็นคู่ความ และดำเนินคดีใด ๆ ซึ่งสาขาที่กล่าวแล้วมีส่วนได้เสียหรือเกี่ยวข้องอยู่ " เมื่อจำเลยทำหนังสือสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปจากธนาคารโจทก์สาขาที่ ก. เป็นผู้จัดการ ก. ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจฟ้อง
แม้หนังสือมอบอำนาจจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่สมบูรณ์เท่ากับไม่ได้มอบอำนาจกันนั้น แต่เมื่อจำเลยยอมรับอยู่แล้วว่าได้มีการมอบอำนาจกันจริง จึงไม่จำต้องอาศัยใบมอบอำนาจเป็นพยานหลักฐานในคดีอีก จำเลยที่ 1 ยอมรับว่าได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และมีหนี้อยู่ตามจำนวนที่โจทก์กล่าวในฟ้องจริง เพียงแต่จำเลยที่ 1 อ้างว่าหนี้จำนองดังกล่าวนี้เป็นส่วนของ จำเลยที่ 2 ที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดชอบชำระแก่โจทก์โดยต้อง ชำระผ่านบัญชีของจำเลยที่ 1 ซึ่งโจทก์ก็ทราบดี จำเลยที่ 1 ไม่ต้อง รับผิด ภาระการพิสูจน์ความข้อนี้ตกหน้าที่จำเลยที่ 1 ต้องนำพยาน หลักฐานมาสืบว่าข้อเท็จจริงเป็นดังกล่าวอ้าง เมื่อไม่สืบพยานจำเลยที่ 1 ต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงส่งเอกสารบัญชีตามหมายเรียก ทำให้เจ้าหน้าที่ประเมินภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนดได้
โจทก์พยายามหลีกเลี่ยงไม่ส่งบัญชีเอกสารหลักฐานแก่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เพื่อตรวจสอบตามหมายเรียกเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากโจทก์ในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายตาม มาตรา 71(1)แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้จากบุคคลธรรมดาไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
หนังสือรับสภาพหนี้มิได้ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานได้หรือไม่แม้จำเลยมิได้ให้การไว้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
ตามประมวลรัษฎากรเฉพาะใบรับรองหนี้ที่บริษัทสมาคมคณะบุคคลหรือองค์การทำต้องปิดอากรแสตมป์ ใบรับรองหนี้ที่บุคคลธรรมดาทำไม่ต้อง ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 151/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนำส่งบัญชีและเอกสารหลักฐาน: ระยะเวลาการบอกกล่าวและการออกหมายเรียก
ระยะเวลานับแต่วันรุ่งขึ้น เจ้าพนักงานประเมินจำเลยส่งหมายให้โจทก์วันที่ 16 กันยายนให้นำบัญชีเอกสารหลักฐานมาแสดงในวันที่ 23 กันยายนต้องเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 บอกล่วงหน้าไม่ครบ 7 วันตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 23 แต่จำเลยเตือนโจทก์และโจทก์ขอเลื่อนเวลาออกไปเกินกำหนดถือว่าให้เวลาเกิน 7 วันแล้วได้
กำหนดเวลา 150 วันตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 71 หมายถึงออกหมายเรียกหลังจาก 150 วัน จากวันครบรอบระยะเวลาบัญชีโดยโจทก์ยื่นรายการแล้วหรือไม่ยื่นรายการ ไม่ทำบัญชีหรือทำไม่ครบในกำหนดนั้นมิใช่ต้องออกหมายเรียกภายใน 150 วันนับแต่ครบรอบระยะเวลาบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3194/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแถลงรับสัญญากู้และค้ำประกัน ย่อมถือว่าจำเลยกู้ยืมและค้ำประกันจริง ไม่ต้องพิจารณาเรื่องอากรแสตมป์
จำเลยแถลงรับแล้วว่า สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องถูกต้องตามข้อความในเอกสาร ฟังได้ว่าจำเลยกู้และค้ำประกันโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่ต้องอาศัยพยานหลักฐานจากตัวเอกสารนั้นอีก ไม่ต้องวินิจฉัยปัญหาเรื่องอากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักผลขาดทุนสุทธิยกมาเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ ต้องทำตามขั้นตอนการยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 ในแต่ละปีตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ผลการขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันซึ่งยอมให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(12) นั้น หมายความว่าผลขาดทุนที่ยกมาตามวิธีการทางบัญชีแต่ละปีจนถึงปีที่มีกำไรสุทธิ แต่ต้องยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปัจุบัน ดังนั้น โดยวิธีการทางบัญชีดังกล่าวเมื่อโจทก์ยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 เพื่อเสียภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2512 โจทก์ ก็จะต้องแสดงรายการผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2512 ให้ปรากฏในแบบ ภ.ง.ด.5ข้อ 1(4) เพื่อไปหักกำไรสุทธิในการคำนวณกำไรสุทธิในรอบบัญชีปี พ.ศ. 2513แต่ถ้าไม่มีกำไรสุทธิ หรือกำไรสุทธิในรอบบัญชีปี พ.ศ. 2513 ยังไม่พอกับผลขาดทุนสุทธิในรอบปี พ.ศ. 2512 โจทก์ก็ต้องยกยอดขาดทุนสุทธิทั้งหมดหรือที่เหลือให้ปรากฏในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.5 เพื่อเสียภาษีเงินได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2514 เพื่อให้หักกำไรสุทธิในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2515 และทำเช่นนี้ได้เรื่อยไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว แต่โจทก์จะเอาผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2512 และ 2514 ไปหักกำไรสุทธิในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีพ.ศ. 2516 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3018/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกระทรวงกลาโหมจากการละเมิดของพนักงานขับรถ และการรับฟังเอกสารหลักฐานการเช่าซื้อรถยนต์
นายสิบทหารขับรถในราชการกองการขนส่ง กรมสารบรรณทหารบกกองบัญชาการทหารสูงสุด ซึ่งเป็นนิติบุคคลสังกัดอยู่ในกระทรวงกลาโหม กระทรวงกลาโหมต้องรับผิดในการละเมิดของผู้ขับรถ
ฟ้องระบุเลขหมายรถยนต์ของโจทก์ กท.ฟ-0783 บางแห่งบรรยายเป็น 0738 จำเลยมิได้ต่อสู้ในคำให้การว่าฟ้องเคลือบคลุมไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ยกขึ้นฎีกาศาลไม่รับวินิจฉัย โจทก์นำสืบถึงรถหมายเลขที่ถูกต้องได้ ไม่แตกต่างจากฟ้อง
เอกสารเป็นจดหมายของโจทก์ถึงบริษัทผู้ให้เช่าซื้อว่าโจทก์ได้ชำระเงินครบและได้รับของแล้ว ไม่ใช่ตราสารใบรับโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์อันต้องปิดอากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การเลิกสัญญา, สินค้าชำรุด, การคืนสู่สภาพเดิม, ค่าเสียหาย
จำเลยให้การว่าผู้ลงชื่อในใบมอบอำนาจไม่ได้เป็นผู้มีอำนาจลงชื่อทำการแทนบริษัท ใบมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ ดังนี้ ไม่มีประเด็นว่าบริษัทโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ลงชื่อมีอำนาจลงชื่อทำการแทนบริษัท แม้ใบมอบอำนาจไม่ปิดอากรแสตมป์ ก็ไม่ต้องอาศัยฟังข้อเท็จจริงนี้จากใบมอบอำนาจ
ฟ้องเลิกสัญญาเพราะผู้ขายส่งทรัพย์ชำรุดบกพร่องแตกหักเสียหายมาก ไม่บรรยายว่าสินค้าที่ชำรุดบกพร่องมีมากน้อยเพียงใด ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ผู้ขายส่งมอบทรัพย์ที่ชำรุดบกพร่อง เท่ากับไม่ชำระหนี้ตามสัญญา ผู้ซื้อเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหายได้ ผู้ขายต้องให้ผู้ซื้อกลับคืนสู่ฐานะเดิม ผู้ขายไม่รับสินค้าคืนไม่ปรากฏว่าสินค้าที่ไม่รับคืนมีราคาเท่าใด ศาลให้ผู้ขายใช้ราคาคืนและค่าเสียหายเต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารสัญญากู้ที่ไม่ได้ขีดฆ่าหลังปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ แม้ผู้กู้รับสภาพหนี้
ฟ้องเรียกเงินตามสำเนาสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องผู้กู้ให้การรับว่าได้ทำสัญญากู้ 100,000 บาทจริง แต่รับเงิน 80,000 บาท ผู้ค้ำประกันให้การว่าลงลายมือชื่อโดยเข้าใจว่าเป็นสัญญานายหน้า ดังนี้ ไม่ต้องสืบเอกสารสัญญากู้เป็นพยาน แม้เอกสารปิดอากรแสตมป์แต่ไม่ขีดฆ่าใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ศาลก็พิพากษาให้ใช้เงิน 100,000 บาทตามที่พิจารณาได้ความได้ แต่บังคับผู้ค้ำประกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, การผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, การลดเบี้ยปรับ, และการฟ้องคดีที่มิเคลือบคลุม
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การฟ้องคดีไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยว่าโจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าอะไร เพราะวัตถุประสงค์ของโจทก์จะประกอบกิจการค้าอะไรมิใช้ข้อหาอันกฎหมายบังคับต้องบรรยายให้ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายรวมทั้งอ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว ซึ่งจำเลยก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์ จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาซื้อขายค่าความยินยอมและกิจการซักรีด ไม่ใช่ตราสารหรือเอกสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร ซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องปิดอากรแสตมป์ จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และรับฟังเป็นพยานหลักฐานฟ้องคดีนี้ได้
โจทก์จำเลยมีข้อสัญญากันว่าหากจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่างวดติดต่อกัน 3 งวด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและจำเลยยินยอมเสียค่าปรับจำนวนหนึ่งกับชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง โจทก์ก็มีสิทธิเลิกสัญญา จำเลยนอกจากจะต้องใช้ค่างวดที่ค้างชำระ และค่าซ่อมแซมทรัพย์สินอันเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งแล้ว จำเลยจะต้องเสียค่าปรับหรือเบี้ยปรับอันเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าตามข้อกำหนดในสัญญาด้วย แต่เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับตามสัญญาส่วนนี้กำหนดไว้สูงไป ก็ชอบที่จะลดเบี้ยปรับลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
of 21